GDP ขยายตัวร้อยละ 5.1 ชะลอลงเมื่อเทียบกับ 3 ไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะภัยแล้ง โรคไข้
หวัดนกรอบสอง และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง GDP ทั้งปีขยายตัวร้อยละ 6.1
อัตราขยายตัว GDP (%)
2546 2547 2547
Q1 Q2 Q3 Q4
ภาคเกษตร 8.7 -4.4 -2.0 -5.8 -5.2 -4.9
ภาคนอกเกษตร 6.7 7.2 7.7 7.7 7.1 6.4
GDP 6.9 6.1 6.7 6.4 6.1 5.1
GDP (ปรับฤดูกาล) 6.9 6.1 1.0 1.0 1.5 1.8
* ภาพรวม : GDP ขยายตัวร้อยละ 5.1 ชะลอลงจากร้อยละ 6.1 ในไตรมาสที่แล้ว และเมื่อปรับฤดูกาลแล้ว
GDP ขยายตัวร้อยละ 1.8 ปัจจัยที่ส่งผลให้ชะลอ ตัวลงมาจากภาวะภัยแล้ง โรคไข้หวัดนกรอบสอง และราคาน้ำมันที่
ปรับตัวสูงขึ้น และเมื่อรวมทั้งปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 6.1 น้อยกว่าร้อยละ 6.9 ในปีที่แล้ว
* ด้านการผลิต : ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยภาคเกษตรลดลงร้อยละ 4.9 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อ
กัน จากภาวะภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง และการ ระบาดของโรคไข้หวัดนกรอบใหม่ ส่วนการผลิตภาคนอกเกษตรชะลอลง
ในอัตราร้อยละ 6.4 โดยชะลอลงในสาขาอุตสาหกรรม ขนส่ง โรงแรมและภัตตาคาร ในขณะที่สาขาก่อสร้าง และ
สาขาการเงินยังขยายตัวได้ดี
- เกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 4.9 โดยหมวดพืชผลและหมวดปศุสัตว์หดตัวลงร้อยละ 6.9 และ 9.8 ตาม
ลำดับ หมวดพืชผลลดลงจากภาวะภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตในฤดูกาลเก็บเกี่ยวได้รับความเสียหาย ส่วนหมวดปศุสัตว์หดตัว
ลงเป็นผลมาจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกที่ยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่อง
- อุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 7.4 ชะลอลงจากร้อยละ 8.4 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากอุตสาหกรรม
เบา และอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีชะลอลง ส่วนอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมเครื่อง
จักรและอุปกรณ์ไฟฟ้าหดตัวลงจากไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่อุตสาหกรรมวัตถุ ดิบโดยเฉพาะโรงกลั่นน้ำมัน และ
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง เช่น ปูนซีเมนต์ และเหล็ก ยังขยายตัวได้ดี
- ก่อสร้าง ขยายตัวค่อนข้างสูงในอัตราร้อยละ 22.2 จากร้อยละ 9.4 ในไตรมาสที่แล้ว มีผลมาจากการ
ก่อสร้างภาครัฐขยายตัวสูงถึงร้อยละ 35.5 จากการก่อสร้างรัฐวิสาหกิจที่เร่งตัวขึ้นมาก ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชน
ชะลอตัวต่อเนื่อง จากผลกระทบของราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น
- ขนส่งและคมนาคม ขยายตัวร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากร้อยละ 8.4 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมา
จากบริการโทรคมนาคมขยายตัวเพียงร้อยละ 6.4 จากที่ ขยายตัวร้อยละ 12.0 ในไตรมาสที่แล้ว ส่วนบริการขนส่ง
ขยายตัวร้อยละ 6.6 สูงกว่าไตรมาสก่อนเล็กน้อย
- โรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่ำกว่าร้อยละ 16.3 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากบริการ
ภัตตาคารที่ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 7.7 เทียบกับการ ขยายตัวร้อยละ 16.4 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการ
บริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัวลง ส่วนบริการโรงแรมขยายตัวร้อยละ 5.0 ชะลอตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่าง
ประเทศที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 4.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 14.0 ในไตรมาสที่แล้ว
- การเงิน ขยายตัวร้อยละ 15.7 เทียบกับร้อยละ 11.6 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากผลประกอบการของ
ทั้งธนาคารพาณิชย์และการประกันชีวิตขยายตัวสูง
* ด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคครัวเรือนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ส่วนการใช้จ่ายรัฐบาลเพื่อซื้อสินค้าและ
บริการ และการลงทุนขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ดุลการค้าและบริการในราคาประจำปีเกินดุล 126.9 พันล้านบาท
- การใช้จ่ายในประเทศ ชะลอตัวต่อเนื่องในส่วนของการบริโภคภาคครัวเรือน ในขณะที่การใช้จ่าย
รัฐบาล และการลงทุนขยายตัวได้ดี
(1) การบริโภค การใช้จ่ายของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่ำกว่าร้อยละ 5.6 ในไตรมาส
ที่แล้ว จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงตั้งแต่ต้นปี การระบาดของโรคไข้หวัดนก สถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้
และแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลขยายตัว ร้อยละ 5.2 เป็นผลจากค่าใช้
จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 ขณะที่ค่าตอบแทนแรงงานลดลงร้อยละ 1.7
(2) การลงทุน ขยายตัวร้อยละ 16.2 สูงขึ้นจากร้อยละ 12.0 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการลงทุน
ภาครัฐขยายตัวสูงถึงร้อยละ 28.2 จากการขยายตัวของการก่อสร้างภาครัฐวิสาหกิจที่เร่งการลงทุนในโครงการก่อ
สร้างสนามบินสุวรรณภูมิและโครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวร้อย
ละ 12.7 โดยชะลอลงทั้งด้านการก่อสร้างและด้านเครื่องจักรเครื่องมือ
- การส่งออกสุทธิ มูลค่าส่งออกสินค้าและบริการสุทธิในราคาประจำปีขยายตัวร้อยละ 9.7 หลังจากการลด
ลงติดต่อกัน 4 ไตรมาส ส่วนมูลค่าในราคาปีฐานขยายตัวร้อยละ 10.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.2 ในไตรมาสที่
แล้ว เนื่องจากการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการนำเข้า
(1) การส่งออก สินค้าและบริการมีมูลค่าในราคาประจำปีสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 1.24 ล้าน
ล้านบาท โดยมูลค่าในราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ตามอุปสงค์ของตลาดส่งออกหลัก สินค้าส่งออกหลักที่ขยายตัวต่อ
เนื่อง เช่น ยานพาหนะและชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก และคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน ส่วนรายรับบริการ
ชะลอตัวเหลือเพียงร้อยละ 1.5
(2) การนำเข้า สินค้าและบริการมีมูลค่าในราคาประจำปีชะลอลงเล็กน้อย โดยมูลค่าในราคาคง
ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.6 เนื่องจากการนำเข้าสินค้าทุน โดยเฉพาะเครื่องจักรไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า และชิ้นส่วน
คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคชะลอตัวลง
อัตราขยายตัวเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (y-o-y)
GDP ด้านการผลิต
น้ำหนัก 2546 2547
2545 2546 2547
2547 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4
เกษตร 9.2 1.0 8.7 -4.4 10.1 9.9 9.2 6.5 -2.0 -5.8 -5.2 -4.9
นอกเกษตร 90.8 5.8 6.7 7.2 6.2 6.0 6.6 7.8 7.7 7.7 7.1 6.4
อุตสาหกรรม 38.7 6.9 10.4 8.3 10.2 11.2 9.3 10.8 10.2 7.3 8.4 7.4
ไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ 3.3 6.0 4.6 5.7 4.3 7.0 4.4 2.8 3.7 5.4 8.0 5.6
ก่อสร้าง 2.6 5.4 3.3 12.7 -5.5 0.1 6.4 13.3 14.3 7.3 9.4 22.2
การค้า 13.9 1.9 3.5 3.0 3.5 3.9 3.3 3.4 3.5 2.7 2.8 2.9
ขนส่ง 10.1 6.8 3.7 7.7 6.0 0.6 4.3 4.0 5.9 10.4 8.4 6.5
โรงแรม ภัตตาคาร 3.7 4.5 -3.7 12.4 -2.5 -13.1 -1.3 1.0 1.8 28.4 16.3 6.8
การเงิน 3.5 12.2 16.2 14.2 14.3 15.0 15.2 20.2 12.9 16.7 11.6 15.7
อื่น ๆ 15.1 5.9 4.5 5.0 2.6 2.8 5.3 7.3 7.3 6.5 3.3 3.2
GDP 100.0 5.3 6.9 6.1 6.6 6.3 6.8 7.7 6.7 6.4 6.1 5.1
GDP ด้านการใช้จ่าย
หน่วย : ร้อยละ
น้ำหนัก 2546 2547
2545 2546 2547
2547 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4
การใช้จ่ายของครัวเรือน 54.5 5.3 6.4 5.6 6.7 5.9 5.6 7.5 6.2 5.7 5.6 5.1
-ไม่รวมรายจ่ายนักท่องเที่ยว 52.9 5.2 7.2 5.5 7.1 7.5 6.0 8.1 5.8 5.4 6.1 4.8
การใช้จ่ายของรัฐบาล 8.4 1.8 2.0 4.1 -8.1 4.6 4.2 7.9 7.0 4.9 0.3 5.2
การลงทุน 22.4 6.5 11.9 14.4 7.7 9.0 10.9 20.3 16.7 12.9 12.0 16.2
- ภาคเอกชน 16.5 13.4 17.5 15.3 18.3 16.4 15.8 19.4 18.6 16.1 14.2 12.7
- ภาครัฐ 6.0 -6.3 -0.8 11.7 -16.6 -7.6 3.3 23.7 10.3 3.8 8.1 28.2
การส่งออก 65.7 12.0 7.0 7.8 12.6 4.7 4.2 7.1 6.2 11.8 8.4 5.1
- สินค้า 53.6 12.0 9.5 7.0 14.9 10.1 5.1 8.6 6.3 6.7 9.2 5.9
- บริการ 12.1 11.9 -2.9 11.2 4.1 -19.5 0.2 1.4 5.8 43.3 4.5 1.5
หัก : การนำเข้า 52.9 13.7 7.7 12.1 12.6 1.5 3.8 13.4 13.5 20.1 12.5 3.6
- สินค้า 45.2 13.3 9.7 12.1 14.2 3.8 4.6 17.1 14.3 19.8 13.3 2.3
- บริการ 7.8 15.6 -3.0 12.3 4.5 -10.6 -0.5 -4.8 9.5 21.8 7.4 11.3
GDP 100.0 5.3 6.9 6.1 6.6 6.3 6.8 7.7 6.7 6.4 6.1 5.1
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
หวัดนกรอบสอง และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง GDP ทั้งปีขยายตัวร้อยละ 6.1
อัตราขยายตัว GDP (%)
2546 2547 2547
Q1 Q2 Q3 Q4
ภาคเกษตร 8.7 -4.4 -2.0 -5.8 -5.2 -4.9
ภาคนอกเกษตร 6.7 7.2 7.7 7.7 7.1 6.4
GDP 6.9 6.1 6.7 6.4 6.1 5.1
GDP (ปรับฤดูกาล) 6.9 6.1 1.0 1.0 1.5 1.8
* ภาพรวม : GDP ขยายตัวร้อยละ 5.1 ชะลอลงจากร้อยละ 6.1 ในไตรมาสที่แล้ว และเมื่อปรับฤดูกาลแล้ว
GDP ขยายตัวร้อยละ 1.8 ปัจจัยที่ส่งผลให้ชะลอ ตัวลงมาจากภาวะภัยแล้ง โรคไข้หวัดนกรอบสอง และราคาน้ำมันที่
ปรับตัวสูงขึ้น และเมื่อรวมทั้งปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 6.1 น้อยกว่าร้อยละ 6.9 ในปีที่แล้ว
* ด้านการผลิต : ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยภาคเกษตรลดลงร้อยละ 4.9 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อ
กัน จากภาวะภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง และการ ระบาดของโรคไข้หวัดนกรอบใหม่ ส่วนการผลิตภาคนอกเกษตรชะลอลง
ในอัตราร้อยละ 6.4 โดยชะลอลงในสาขาอุตสาหกรรม ขนส่ง โรงแรมและภัตตาคาร ในขณะที่สาขาก่อสร้าง และ
สาขาการเงินยังขยายตัวได้ดี
- เกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 4.9 โดยหมวดพืชผลและหมวดปศุสัตว์หดตัวลงร้อยละ 6.9 และ 9.8 ตาม
ลำดับ หมวดพืชผลลดลงจากภาวะภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตในฤดูกาลเก็บเกี่ยวได้รับความเสียหาย ส่วนหมวดปศุสัตว์หดตัว
ลงเป็นผลมาจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกที่ยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่อง
- อุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 7.4 ชะลอลงจากร้อยละ 8.4 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากอุตสาหกรรม
เบา และอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีชะลอลง ส่วนอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมเครื่อง
จักรและอุปกรณ์ไฟฟ้าหดตัวลงจากไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่อุตสาหกรรมวัตถุ ดิบโดยเฉพาะโรงกลั่นน้ำมัน และ
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง เช่น ปูนซีเมนต์ และเหล็ก ยังขยายตัวได้ดี
- ก่อสร้าง ขยายตัวค่อนข้างสูงในอัตราร้อยละ 22.2 จากร้อยละ 9.4 ในไตรมาสที่แล้ว มีผลมาจากการ
ก่อสร้างภาครัฐขยายตัวสูงถึงร้อยละ 35.5 จากการก่อสร้างรัฐวิสาหกิจที่เร่งตัวขึ้นมาก ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชน
ชะลอตัวต่อเนื่อง จากผลกระทบของราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น
- ขนส่งและคมนาคม ขยายตัวร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากร้อยละ 8.4 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมา
จากบริการโทรคมนาคมขยายตัวเพียงร้อยละ 6.4 จากที่ ขยายตัวร้อยละ 12.0 ในไตรมาสที่แล้ว ส่วนบริการขนส่ง
ขยายตัวร้อยละ 6.6 สูงกว่าไตรมาสก่อนเล็กน้อย
- โรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่ำกว่าร้อยละ 16.3 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากบริการ
ภัตตาคารที่ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 7.7 เทียบกับการ ขยายตัวร้อยละ 16.4 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการ
บริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัวลง ส่วนบริการโรงแรมขยายตัวร้อยละ 5.0 ชะลอตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่าง
ประเทศที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 4.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 14.0 ในไตรมาสที่แล้ว
- การเงิน ขยายตัวร้อยละ 15.7 เทียบกับร้อยละ 11.6 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากผลประกอบการของ
ทั้งธนาคารพาณิชย์และการประกันชีวิตขยายตัวสูง
* ด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคครัวเรือนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ส่วนการใช้จ่ายรัฐบาลเพื่อซื้อสินค้าและ
บริการ และการลงทุนขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ดุลการค้าและบริการในราคาประจำปีเกินดุล 126.9 พันล้านบาท
- การใช้จ่ายในประเทศ ชะลอตัวต่อเนื่องในส่วนของการบริโภคภาคครัวเรือน ในขณะที่การใช้จ่าย
รัฐบาล และการลงทุนขยายตัวได้ดี
(1) การบริโภค การใช้จ่ายของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่ำกว่าร้อยละ 5.6 ในไตรมาส
ที่แล้ว จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงตั้งแต่ต้นปี การระบาดของโรคไข้หวัดนก สถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้
และแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลขยายตัว ร้อยละ 5.2 เป็นผลจากค่าใช้
จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 ขณะที่ค่าตอบแทนแรงงานลดลงร้อยละ 1.7
(2) การลงทุน ขยายตัวร้อยละ 16.2 สูงขึ้นจากร้อยละ 12.0 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการลงทุน
ภาครัฐขยายตัวสูงถึงร้อยละ 28.2 จากการขยายตัวของการก่อสร้างภาครัฐวิสาหกิจที่เร่งการลงทุนในโครงการก่อ
สร้างสนามบินสุวรรณภูมิและโครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวร้อย
ละ 12.7 โดยชะลอลงทั้งด้านการก่อสร้างและด้านเครื่องจักรเครื่องมือ
- การส่งออกสุทธิ มูลค่าส่งออกสินค้าและบริการสุทธิในราคาประจำปีขยายตัวร้อยละ 9.7 หลังจากการลด
ลงติดต่อกัน 4 ไตรมาส ส่วนมูลค่าในราคาปีฐานขยายตัวร้อยละ 10.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.2 ในไตรมาสที่
แล้ว เนื่องจากการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการนำเข้า
(1) การส่งออก สินค้าและบริการมีมูลค่าในราคาประจำปีสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 1.24 ล้าน
ล้านบาท โดยมูลค่าในราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ตามอุปสงค์ของตลาดส่งออกหลัก สินค้าส่งออกหลักที่ขยายตัวต่อ
เนื่อง เช่น ยานพาหนะและชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก และคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน ส่วนรายรับบริการ
ชะลอตัวเหลือเพียงร้อยละ 1.5
(2) การนำเข้า สินค้าและบริการมีมูลค่าในราคาประจำปีชะลอลงเล็กน้อย โดยมูลค่าในราคาคง
ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.6 เนื่องจากการนำเข้าสินค้าทุน โดยเฉพาะเครื่องจักรไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า และชิ้นส่วน
คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคชะลอตัวลง
อัตราขยายตัวเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (y-o-y)
GDP ด้านการผลิต
น้ำหนัก 2546 2547
2545 2546 2547
2547 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4
เกษตร 9.2 1.0 8.7 -4.4 10.1 9.9 9.2 6.5 -2.0 -5.8 -5.2 -4.9
นอกเกษตร 90.8 5.8 6.7 7.2 6.2 6.0 6.6 7.8 7.7 7.7 7.1 6.4
อุตสาหกรรม 38.7 6.9 10.4 8.3 10.2 11.2 9.3 10.8 10.2 7.3 8.4 7.4
ไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ 3.3 6.0 4.6 5.7 4.3 7.0 4.4 2.8 3.7 5.4 8.0 5.6
ก่อสร้าง 2.6 5.4 3.3 12.7 -5.5 0.1 6.4 13.3 14.3 7.3 9.4 22.2
การค้า 13.9 1.9 3.5 3.0 3.5 3.9 3.3 3.4 3.5 2.7 2.8 2.9
ขนส่ง 10.1 6.8 3.7 7.7 6.0 0.6 4.3 4.0 5.9 10.4 8.4 6.5
โรงแรม ภัตตาคาร 3.7 4.5 -3.7 12.4 -2.5 -13.1 -1.3 1.0 1.8 28.4 16.3 6.8
การเงิน 3.5 12.2 16.2 14.2 14.3 15.0 15.2 20.2 12.9 16.7 11.6 15.7
อื่น ๆ 15.1 5.9 4.5 5.0 2.6 2.8 5.3 7.3 7.3 6.5 3.3 3.2
GDP 100.0 5.3 6.9 6.1 6.6 6.3 6.8 7.7 6.7 6.4 6.1 5.1
GDP ด้านการใช้จ่าย
หน่วย : ร้อยละ
น้ำหนัก 2546 2547
2545 2546 2547
2547 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4
การใช้จ่ายของครัวเรือน 54.5 5.3 6.4 5.6 6.7 5.9 5.6 7.5 6.2 5.7 5.6 5.1
-ไม่รวมรายจ่ายนักท่องเที่ยว 52.9 5.2 7.2 5.5 7.1 7.5 6.0 8.1 5.8 5.4 6.1 4.8
การใช้จ่ายของรัฐบาล 8.4 1.8 2.0 4.1 -8.1 4.6 4.2 7.9 7.0 4.9 0.3 5.2
การลงทุน 22.4 6.5 11.9 14.4 7.7 9.0 10.9 20.3 16.7 12.9 12.0 16.2
- ภาคเอกชน 16.5 13.4 17.5 15.3 18.3 16.4 15.8 19.4 18.6 16.1 14.2 12.7
- ภาครัฐ 6.0 -6.3 -0.8 11.7 -16.6 -7.6 3.3 23.7 10.3 3.8 8.1 28.2
การส่งออก 65.7 12.0 7.0 7.8 12.6 4.7 4.2 7.1 6.2 11.8 8.4 5.1
- สินค้า 53.6 12.0 9.5 7.0 14.9 10.1 5.1 8.6 6.3 6.7 9.2 5.9
- บริการ 12.1 11.9 -2.9 11.2 4.1 -19.5 0.2 1.4 5.8 43.3 4.5 1.5
หัก : การนำเข้า 52.9 13.7 7.7 12.1 12.6 1.5 3.8 13.4 13.5 20.1 12.5 3.6
- สินค้า 45.2 13.3 9.7 12.1 14.2 3.8 4.6 17.1 14.3 19.8 13.3 2.3
- บริการ 7.8 15.6 -3.0 12.3 4.5 -10.6 -0.5 -4.8 9.5 21.8 7.4 11.3
GDP 100.0 5.3 6.9 6.1 6.6 6.3 6.8 7.7 6.7 6.4 6.1 5.1
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-