1.2 เศรษฐกิจไทยปี 2547
ในปี 2547 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่ำกว่าการ ขยายตัวร้อยละ 6.9 ในปี 2546 เล็กน้อย แต่ก็นับว่าเป็นการ ขยายตัวที่อยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ใน ภูมิภาคเอเชีย โดยขยายตัวได้ต่ำกว่าเศรษฐกิจจีนซึ่งขยายตัว ร้อยละ 9.5 มาเลเซียซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.1 สิงคโปร์ขยายตัว ร้อยละ 8.1 และฮ่องกงร้อยละ 7.7 ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทย ต้องประสบกับปัญหาไข้หวัดนกในช่วงต้นปี การถูกไต่สวน การทุ่มตลาดกุ้งในสหรัฐฯ ในช่วงกลางปี และผลกระทบจาก ภัยแล้งในช่วงปลายปี รวมทั้งปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ซึ่ง ต่อเนื่องตลอดปี ท่ามกลางแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น มากโดยเฉพาะตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และราคา สินค้าปรับสูงขึ้นตามแรงกดดันของต้นทุน รวมทั้งอัตราดอก เบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น จึงทำให้การใช้จ่ายครัวเรือนและการลง ทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยขยายตัวร้อยละ 5.6 และ 15.3 ตามลำดับ ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 6.4 และ 17.5 ในปี 2546 และในองค์ประกอบของการใช้จ่ายนั้นหมวดสินค้าคง ทนมีการชะลอตัวอย่างชัดเจน ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลของ อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้งในช่วงตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงธันวาคม 2547 ได้มีผลให้ ดอกเบี้ยในตลาดเงินปรับเพิ่มขึ้นทุกประเภทในไตรมาสสุด ท้ายของปี สำหรับการลงทุนในการก่อสร้างของภาคเอกชน นั้นชะลอตัวเร็วกว่าการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เนื่อง จากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเริ่มขยายตัวช้าลงในภาวะที่ตลาด บนเริ่มอิ่มตัวและดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าโดยรวมการลงทุนภาคเอกชนมีการขยายตัวในอัตราสูงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 และเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุน การขยายตัวของเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่องต่อไป โดยที่การลงทุนภาคเอกชนได้รับช่วงการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคได้มากขึ้น
สำหรับมูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ดีตลอดปีตามภาวะราคา สินค้าส่งออกที่สูงขึ้น ตลอดปี 2547 การส่งออกมีมูลค่า 96.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นมูลค่า 3,868.6 พันล้าน บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ 23 และ 19.7 ตามลำดับ ราคาส่งออกในรูปเงินบาทเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 แต่ ปริมาณการส่งออกขยายตัวร้อยละ 7.0 ชะลอลงจากปี 2546 แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวสูงกว่าในปี 2547 ทั้งนี้เนื่อง จากปัญหาการส่งออกไก่สดแช่แข็ง ผลกระทบต่อการส่งออก กุ้งในช่วงของการถูกไต่สวนการทุ่มตลาดจากสหรัฐฯ และการ ส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าชะลอลงมากตามวัฏจักรสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มชะลอลงในครึ่งหลังของปี ประกอบกับฐาน การส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าที่สูงมากในปี 2546 รวมทั้งฐานการ ส่งออกไปยังประเทศจีนที่สูงมากในปี 2546 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็น ผลจากการปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าเสรี
ในปี 2547 ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปริมาณการส่ง ออกมาก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 ตามภาวะความต้องการสิน ค้าทุนเพื่อขยายการลงทุน และสินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบเพื่อ ใช้ในการผลิตสินค้าทุนและสินค้าเพื่ออุปโภคและบริโภค สำหรับป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในครึ่งแรกของปี ราคาสินค้านำเข้าในรูปของเงินบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6เพิ่ม ขึ้นไม่มากแม้ว่าราคาในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. จะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งขึ้นชัดเจน แต่ราคาสินค้าน้ำเข้าในรูป ของเงินบาทเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.7 ในครึ่งหลังเนื่องจากราคา น้ำมันที่สูงขึ้นมาก ในครึ่งหลังของปีน้ำมันดิบ (แหล่งโอมาน) มีราคาเฉลี่ยบาเรลละ 37.02 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งหลัง ปี 2546 ถึงร้อยละ 34.7 อย่างไรก็ตามโดยเฉลี่ยทั้งปีราคาสิน ค้านำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกับราคาสินค้าส่งออกโดย เฉลี่ย แต่ประเทศยังมีความได้เปรียบในอัตราการค้าเล็กน้อย รวมทั้งปี การนำเข้ามีมูลค่า 94.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่ม ขึ้นร้อยละ 26.9 หรือคิดเป็นมูลค่า 3,800.9 พันล้านบาทเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 23.5 ในปี 2547
จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าการส่งออกทำให้แหล่งที่มา โดยตรงของการขยายตัว (contribution to growth) จากการ ส่งออกสินค้าและบริการสุทธินั้นเท่ากับ --1.1 เปรียบเทียบกับ 1.0 และ 0.7 ใน 2 ปีก่อนหน้า
ในเชิงโครงสร้างในปี 2547 สัดส่วนของการนำเข้าสินค้าต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 42.7 เป็นร้อยละ 45.2 เพิ่มขึ้นเร็ว กว่าสัดส่วนขององค์ประกอบอื่นในด้านอุปสงค์ สัดส่วนของ การส่งออกสินค้ายังคงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 53.1 เป็น ร้อยละ 53.6 สำหรับอุปสงค์ภายในประเทศนั้นสัดส่วนของการ ลงทุนรวมเพิ่มขึ้นมากจากร้อยละ 20.8 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 22.4 ในขณะที่สัดส่วนของการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของภาค เอกชนลดลงเล็กน้อย
การขยายตัวรายไตรมาสแสดงว่าเศรษฐกิจขยายตัวได้ช้าลง ในช่วงครึ่งหลังของปี โดยขยายตัวร้อยละ 6.7 6.4 6.1 และ 5.1 ใน 4 ไตรมาส สำหรับยอดขายรวม (Final sale) ของ ประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ต่ำกว่าร้อยละ 6.7 ในปี 2546 ใน ขณะที่การสะสมสต็อก ณ ราคาปี 2531 เพิ่มขึ้นจาก 45,436 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 65,064 ล้านบาทในปี 2547 จากข้อ มูลเหล่านี้แสดงชัดเจนว่าเศรษฐกิจกำลังปรับตัวชะลอลงและ หากมีการจัดการที่เหมาะสมก็จะเข้าสู่ระดับที่มีเสถียรภาพ มากขึ้น และถ้าเมื่อปัญหาชั่วคราวทั้งการระบาดของไข้หวัด นก และความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หมดไป รวมทั้งมีการปรับพฤติกรรมในการใช้พลังงานให้ประหยัดมาก ขึ้น เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ในระดับศักยภาพการผลิต ประมาณร้อยละ 6-6.5 นอกจากนี้องค์ประกอบของการขยาย ตัวเริ่มปรับไปสู่การลงทุนมากขึ้นซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นใน การเพิ่มผลิตภาพการผลิตและผลิตภาพแรงงาน แต่ข้อจำกัดที่ สำคัญที่ต้องระมัดระวังสำหรับเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาคือ การ นำเข้าเร่งตัวมากขึ้น ซึ่งสะท้อนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ยัง ต้องพึ่งพิงการนำเข้าสูง
ด้านการผลิต ปี 2547 สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดี แต่ภาคเกษตรหดตัวต่อเนื่อง ในด้านการผลิต สาขา เกษตรหดตัวร้อยละ 4.4 ซึ่งเป็นการหดตัวเนื่องทั้งสี่ไตรมาส เนื่องจากหมวดปศุสตว์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของโรคไข้หวัดนกทั้งในช่วงครึ่งแรกและครึ่งหลังของปี สาขา ประมงที่ผลผลิตลดลงตามการผลิตกุ้งส่งออกและพืชผลได้รับ ผลกระทบจากภัยแล้งในไตรมาสสุดท้าย สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 8.3 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อย ละ 10.4 ในปี 2546 ทั้งนี้เนื่องจากหมวดอาหารหดตัวลงส่วน หนึ่งเนื่องมาจากผลผลิตน้ำตาลลดลงโดยเป็นผลจากนโยบาย ควบคุมพื้นที่เพาะปลูกอ้อยประกอบกับภาวะภัยแล้งทำให้มี อ้อยเข้าหีบลดลงและผลผลิตสัตว์ปีกแช่แข็งลดลงจากการ ระงับการนำเข้าของต่างประเทศ ขณะที่หมวดอื่น ๆ ยังขยาย ตัวเพิ่มขึ้น หมวดยานยนต์ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีการผลิต เพิ่มขึ้น ในขณะที่การผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลชะลอลงตาม ความต้องการในประเทศ สาขาอื่น ๆ ที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ สาขาการเงิน สาขาก่อสร้าง สาขาการสาขาบริการการท่อง เที่ยว และสาขาโทรคมนาคมและขนส่ง
สถานการณ์ด้านการจ้างงาน: การจ้างงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นจาก 33.815 ล้านคน ในปี 2546 เป็น 34.850 ล้านคน ในปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 โดยผู้มีงาน ทำสาขานอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10 จากการขยายตัว ของการจ้างงานสาขาการก่อสร้าง และการขนส่งเป็นสำคัญ การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ในขณะที่ ผู้มีงานทำในภาคเกษตรขยายตัวเพียงร้อยละ 0.01 อัตราการ ว่างงานเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 1.98 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบ อัตราการว่างงานร้อยละ 2.02 ของปี 2546 อัตราเงินเฟ้อ : แรงกดดันมากขึ้น ในปี 2547 อัตราเงิน เฟ้อทั่วไปเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 2.7 สูงขึ้นจากร้อยละ 1.8 ในปี ก่อน ดัชนีราคาสินค้าทั้งในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.5 ตามราคาข้าวสารเจ้าหอมมะลิ เนื้อสุกร ปลาและ สัตว์น้ำ ไข่ไก่ ผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้น และดัชนีราคาสินค้าใน หมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.7 จากการสูงขึ้น ของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง ค่า โดยสารสาธารณะ ตามราคาน้ำมันสูงขึ้นเป็นสำคัญ อัตราเงิน เฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.2 ในปี ก่อน
ดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จากการสูงขึ้นของดัชนี ราคาทุกหมวดสินค้า ได้แก่ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวด ผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดย เฉพาะผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์โลหะ และเมื่อจำแนกตามขั้นตอนการผลิต กลุ่มสินค้าวัตถุดิบและกึ่ง วัตถุดิบมีราคาเพิ่มขึ้นเร็วกว่ากลุ่มสินค้าสำเร็จรูปมาก
ภาคการเงิน: สินเชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ ก่อให้เกิดรายได้มีความคืบหน้ามากขึ้น สินเชื่อภาคเอกชน1 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดคงค้าง ณ สิ้นปี 2547 จำนวน 6,318.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ 9.6 การขยายตัวของสินเชื่อในอัตราที่เร่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี และสูงกว่าการขยายตัวของเงินฝาก ทำให้สามารถดูดซับ สภาพคล่องส่วนเกินของระบบธนาคารพาณิชย์ในช่วงปี 2547 ได้รวม 191.1 พันล้านบาท สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก ณ สิ้นปี เท่ากับร้อยละ 96.1 สูงกว่าร้อยละ 92.5 เมื่อสิ้นปี 2546 สะท้อนถึงสภาพคล่องในตลาดเงินที่ลดลง NPLs ในระบบ สถาบันการเงินที่ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจและบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ ณ สิ้นปี 2547 มีมูลค่ารวม 598.3 พันล้าน บาท คิดเป็นร้อยละ 10.86 ของสินเชื่อรวม อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินทุกประเภทปรับสูงขึ้นในไตรมาสสุด ท้ายตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย คณะกรรมการ นโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีมติปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 3 ครั้ง ในการประชุมเดือนสิงหาคม ตุลาคมและธันวาคม จากระดับร้อยละ 1.25 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อย ละ 2 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่ง ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ให้ยืมของธนาคาร พาณิชย์ที่ระดับเดิม ส่วนหนึ่งเนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินยัง คงอยู่ในระดับสูง อัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. แข็งค่า ขึ้น จากค่าเฉลี่ย 41.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2546 เป็น 40.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2547 จากการที่ค่าเงิน ดอลลาร์ อ่อนลงมากและค่าเงินสกุลเอเชียปรับตามทิศทางค่า เงินเยนและการคาดการณ์การปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนของ จีน รวมทั้งพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยที่ดีขึ้น ทำให้มีเงิน ทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้น ประกอบดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและ ดอกเบี้ยนโยบายปรับเพิ่มขึ้น
แม้ว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แต่ เงินบาทยังอ่อนค่าลงโดยเปรียบเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ ค้าและคู่แข่งต่างๆ โดยรวม ทั้งนี้ ค่าเฉลี่ยดัชนีค่าเงินบาทที่ แท้จริง (Real Effective Exchange Rate: REER) ทั้งปี 2547 อยู่ที่ 77.7 อ่อนลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 78.0 ในปี 2546
ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงเมื่อ เทียบกับปี 2546 โดยดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้น ธันวาคม เท่ากับ 668.1 ลดลงร้อยละ 13.5 จากช่วงเดียวกันปี ที่แล้ว มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมลดลงร้อยละ 5.6 ในปี 2547 นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ 5.7 พันล้านบาท ขณะที่ในปี 2546 มียอดขายสุทธิ 24.5 พันล้านบาท สำหรับ มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 18.9 พันล้านบาท มา เป็น 20.5 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4
ภาคการคลัง สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงอย่าง ต่อเนื่อง ฐานะการคลัง ช่วง ม.ค.-พ.ย. 2547 รัฐบาลขาดดุล งบประมาณ 27,482 ล้านบาทและขาดดุลนอกงบประมาณ เป็นเงิน 67,989 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดก่อน การกู้รวม 95,471 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีการกู้เงิน เพื่อชดเชยการขาดดุลโดยการออกตั๋วเงินคลังและพันธบัตร จำนวน 90,000 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินขาด ดุล 5,471 ล้านบาท เมื่อเทียบกับการเกินดุล 14,156 ล้าน บาทในช่วงเดียวกันของปี 2546
ยอดหนี้สาธารณะคงค้างอยู่ที่ระดับ 3.121 ล้านล้านบาท เพิ่ม ขึ้นจาก 2.902 ล้านล้านบาทในปี 2546 แต่โดยเปรียบเทียบ กับ GDP ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้สัดส่วนหนี้ สาธารณะลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นร้อยละ 47.8
หนี้ต่างประเทศลดลงและทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่ม ขึ้น ณ สิ้นปี 2547 ยอดหนี้คงค้างต่างประเทศลดลงต่อเนื่อง เป็น 50.592 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นยอดคงค้างหนี้ระยะ สั้น 11.307 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2547 เพิ่มขึ้นเป็น 49,831.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิด เป็น 4.4 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศดีขึ้น จากแนวโน้มสถานะ ภายนอกประเทศของไทยและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของไทยใน ปี 2547 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้ปรับเครดิตตรา สารหนี้ระยะยาวของประเทศเพิ่มขึ้น สถาบันจัดอันดับ Fitch ได้ปรับเพิ่มอันดับ Credit rating ของประเทศจาก BBB เป็น BBB^ และสถาบัน S&P ปรับเพิ่มอันดับจาก BBB- เป็น BB+
(ยังมีต่อ).../2.เงื่อนไขและ..
ในปี 2547 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่ำกว่าการ ขยายตัวร้อยละ 6.9 ในปี 2546 เล็กน้อย แต่ก็นับว่าเป็นการ ขยายตัวที่อยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ใน ภูมิภาคเอเชีย โดยขยายตัวได้ต่ำกว่าเศรษฐกิจจีนซึ่งขยายตัว ร้อยละ 9.5 มาเลเซียซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.1 สิงคโปร์ขยายตัว ร้อยละ 8.1 และฮ่องกงร้อยละ 7.7 ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทย ต้องประสบกับปัญหาไข้หวัดนกในช่วงต้นปี การถูกไต่สวน การทุ่มตลาดกุ้งในสหรัฐฯ ในช่วงกลางปี และผลกระทบจาก ภัยแล้งในช่วงปลายปี รวมทั้งปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ซึ่ง ต่อเนื่องตลอดปี ท่ามกลางแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น มากโดยเฉพาะตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และราคา สินค้าปรับสูงขึ้นตามแรงกดดันของต้นทุน รวมทั้งอัตราดอก เบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น จึงทำให้การใช้จ่ายครัวเรือนและการลง ทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยขยายตัวร้อยละ 5.6 และ 15.3 ตามลำดับ ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 6.4 และ 17.5 ในปี 2546 และในองค์ประกอบของการใช้จ่ายนั้นหมวดสินค้าคง ทนมีการชะลอตัวอย่างชัดเจน ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลของ อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้งในช่วงตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงธันวาคม 2547 ได้มีผลให้ ดอกเบี้ยในตลาดเงินปรับเพิ่มขึ้นทุกประเภทในไตรมาสสุด ท้ายของปี สำหรับการลงทุนในการก่อสร้างของภาคเอกชน นั้นชะลอตัวเร็วกว่าการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เนื่อง จากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเริ่มขยายตัวช้าลงในภาวะที่ตลาด บนเริ่มอิ่มตัวและดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าโดยรวมการลงทุนภาคเอกชนมีการขยายตัวในอัตราสูงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 และเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุน การขยายตัวของเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่องต่อไป โดยที่การลงทุนภาคเอกชนได้รับช่วงการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคได้มากขึ้น
สำหรับมูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ดีตลอดปีตามภาวะราคา สินค้าส่งออกที่สูงขึ้น ตลอดปี 2547 การส่งออกมีมูลค่า 96.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นมูลค่า 3,868.6 พันล้าน บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ 23 และ 19.7 ตามลำดับ ราคาส่งออกในรูปเงินบาทเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 แต่ ปริมาณการส่งออกขยายตัวร้อยละ 7.0 ชะลอลงจากปี 2546 แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวสูงกว่าในปี 2547 ทั้งนี้เนื่อง จากปัญหาการส่งออกไก่สดแช่แข็ง ผลกระทบต่อการส่งออก กุ้งในช่วงของการถูกไต่สวนการทุ่มตลาดจากสหรัฐฯ และการ ส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าชะลอลงมากตามวัฏจักรสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มชะลอลงในครึ่งหลังของปี ประกอบกับฐาน การส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าที่สูงมากในปี 2546 รวมทั้งฐานการ ส่งออกไปยังประเทศจีนที่สูงมากในปี 2546 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็น ผลจากการปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าเสรี
ในปี 2547 ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปริมาณการส่ง ออกมาก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 ตามภาวะความต้องการสิน ค้าทุนเพื่อขยายการลงทุน และสินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบเพื่อ ใช้ในการผลิตสินค้าทุนและสินค้าเพื่ออุปโภคและบริโภค สำหรับป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในครึ่งแรกของปี ราคาสินค้านำเข้าในรูปของเงินบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6เพิ่ม ขึ้นไม่มากแม้ว่าราคาในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. จะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งขึ้นชัดเจน แต่ราคาสินค้าน้ำเข้าในรูป ของเงินบาทเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.7 ในครึ่งหลังเนื่องจากราคา น้ำมันที่สูงขึ้นมาก ในครึ่งหลังของปีน้ำมันดิบ (แหล่งโอมาน) มีราคาเฉลี่ยบาเรลละ 37.02 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งหลัง ปี 2546 ถึงร้อยละ 34.7 อย่างไรก็ตามโดยเฉลี่ยทั้งปีราคาสิน ค้านำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกับราคาสินค้าส่งออกโดย เฉลี่ย แต่ประเทศยังมีความได้เปรียบในอัตราการค้าเล็กน้อย รวมทั้งปี การนำเข้ามีมูลค่า 94.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่ม ขึ้นร้อยละ 26.9 หรือคิดเป็นมูลค่า 3,800.9 พันล้านบาทเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 23.5 ในปี 2547
จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าการส่งออกทำให้แหล่งที่มา โดยตรงของการขยายตัว (contribution to growth) จากการ ส่งออกสินค้าและบริการสุทธินั้นเท่ากับ --1.1 เปรียบเทียบกับ 1.0 และ 0.7 ใน 2 ปีก่อนหน้า
ในเชิงโครงสร้างในปี 2547 สัดส่วนของการนำเข้าสินค้าต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 42.7 เป็นร้อยละ 45.2 เพิ่มขึ้นเร็ว กว่าสัดส่วนขององค์ประกอบอื่นในด้านอุปสงค์ สัดส่วนของ การส่งออกสินค้ายังคงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 53.1 เป็น ร้อยละ 53.6 สำหรับอุปสงค์ภายในประเทศนั้นสัดส่วนของการ ลงทุนรวมเพิ่มขึ้นมากจากร้อยละ 20.8 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 22.4 ในขณะที่สัดส่วนของการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของภาค เอกชนลดลงเล็กน้อย
การขยายตัวรายไตรมาสแสดงว่าเศรษฐกิจขยายตัวได้ช้าลง ในช่วงครึ่งหลังของปี โดยขยายตัวร้อยละ 6.7 6.4 6.1 และ 5.1 ใน 4 ไตรมาส สำหรับยอดขายรวม (Final sale) ของ ประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ต่ำกว่าร้อยละ 6.7 ในปี 2546 ใน ขณะที่การสะสมสต็อก ณ ราคาปี 2531 เพิ่มขึ้นจาก 45,436 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 65,064 ล้านบาทในปี 2547 จากข้อ มูลเหล่านี้แสดงชัดเจนว่าเศรษฐกิจกำลังปรับตัวชะลอลงและ หากมีการจัดการที่เหมาะสมก็จะเข้าสู่ระดับที่มีเสถียรภาพ มากขึ้น และถ้าเมื่อปัญหาชั่วคราวทั้งการระบาดของไข้หวัด นก และความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หมดไป รวมทั้งมีการปรับพฤติกรรมในการใช้พลังงานให้ประหยัดมาก ขึ้น เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ในระดับศักยภาพการผลิต ประมาณร้อยละ 6-6.5 นอกจากนี้องค์ประกอบของการขยาย ตัวเริ่มปรับไปสู่การลงทุนมากขึ้นซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นใน การเพิ่มผลิตภาพการผลิตและผลิตภาพแรงงาน แต่ข้อจำกัดที่ สำคัญที่ต้องระมัดระวังสำหรับเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาคือ การ นำเข้าเร่งตัวมากขึ้น ซึ่งสะท้อนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ยัง ต้องพึ่งพิงการนำเข้าสูง
ด้านการผลิต ปี 2547 สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดี แต่ภาคเกษตรหดตัวต่อเนื่อง ในด้านการผลิต สาขา เกษตรหดตัวร้อยละ 4.4 ซึ่งเป็นการหดตัวเนื่องทั้งสี่ไตรมาส เนื่องจากหมวดปศุสตว์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของโรคไข้หวัดนกทั้งในช่วงครึ่งแรกและครึ่งหลังของปี สาขา ประมงที่ผลผลิตลดลงตามการผลิตกุ้งส่งออกและพืชผลได้รับ ผลกระทบจากภัยแล้งในไตรมาสสุดท้าย สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 8.3 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อย ละ 10.4 ในปี 2546 ทั้งนี้เนื่องจากหมวดอาหารหดตัวลงส่วน หนึ่งเนื่องมาจากผลผลิตน้ำตาลลดลงโดยเป็นผลจากนโยบาย ควบคุมพื้นที่เพาะปลูกอ้อยประกอบกับภาวะภัยแล้งทำให้มี อ้อยเข้าหีบลดลงและผลผลิตสัตว์ปีกแช่แข็งลดลงจากการ ระงับการนำเข้าของต่างประเทศ ขณะที่หมวดอื่น ๆ ยังขยาย ตัวเพิ่มขึ้น หมวดยานยนต์ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีการผลิต เพิ่มขึ้น ในขณะที่การผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลชะลอลงตาม ความต้องการในประเทศ สาขาอื่น ๆ ที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ สาขาการเงิน สาขาก่อสร้าง สาขาการสาขาบริการการท่อง เที่ยว และสาขาโทรคมนาคมและขนส่ง
สถานการณ์ด้านการจ้างงาน: การจ้างงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นจาก 33.815 ล้านคน ในปี 2546 เป็น 34.850 ล้านคน ในปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 โดยผู้มีงาน ทำสาขานอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10 จากการขยายตัว ของการจ้างงานสาขาการก่อสร้าง และการขนส่งเป็นสำคัญ การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ในขณะที่ ผู้มีงานทำในภาคเกษตรขยายตัวเพียงร้อยละ 0.01 อัตราการ ว่างงานเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 1.98 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบ อัตราการว่างงานร้อยละ 2.02 ของปี 2546 อัตราเงินเฟ้อ : แรงกดดันมากขึ้น ในปี 2547 อัตราเงิน เฟ้อทั่วไปเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 2.7 สูงขึ้นจากร้อยละ 1.8 ในปี ก่อน ดัชนีราคาสินค้าทั้งในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.5 ตามราคาข้าวสารเจ้าหอมมะลิ เนื้อสุกร ปลาและ สัตว์น้ำ ไข่ไก่ ผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้น และดัชนีราคาสินค้าใน หมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.7 จากการสูงขึ้น ของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง ค่า โดยสารสาธารณะ ตามราคาน้ำมันสูงขึ้นเป็นสำคัญ อัตราเงิน เฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.2 ในปี ก่อน
ดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จากการสูงขึ้นของดัชนี ราคาทุกหมวดสินค้า ได้แก่ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวด ผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดย เฉพาะผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์โลหะ และเมื่อจำแนกตามขั้นตอนการผลิต กลุ่มสินค้าวัตถุดิบและกึ่ง วัตถุดิบมีราคาเพิ่มขึ้นเร็วกว่ากลุ่มสินค้าสำเร็จรูปมาก
ภาคการเงิน: สินเชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ ก่อให้เกิดรายได้มีความคืบหน้ามากขึ้น สินเชื่อภาคเอกชน1 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดคงค้าง ณ สิ้นปี 2547 จำนวน 6,318.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ 9.6 การขยายตัวของสินเชื่อในอัตราที่เร่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี และสูงกว่าการขยายตัวของเงินฝาก ทำให้สามารถดูดซับ สภาพคล่องส่วนเกินของระบบธนาคารพาณิชย์ในช่วงปี 2547 ได้รวม 191.1 พันล้านบาท สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก ณ สิ้นปี เท่ากับร้อยละ 96.1 สูงกว่าร้อยละ 92.5 เมื่อสิ้นปี 2546 สะท้อนถึงสภาพคล่องในตลาดเงินที่ลดลง NPLs ในระบบ สถาบันการเงินที่ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจและบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ ณ สิ้นปี 2547 มีมูลค่ารวม 598.3 พันล้าน บาท คิดเป็นร้อยละ 10.86 ของสินเชื่อรวม อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินทุกประเภทปรับสูงขึ้นในไตรมาสสุด ท้ายตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย คณะกรรมการ นโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีมติปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 3 ครั้ง ในการประชุมเดือนสิงหาคม ตุลาคมและธันวาคม จากระดับร้อยละ 1.25 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อย ละ 2 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่ง ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ให้ยืมของธนาคาร พาณิชย์ที่ระดับเดิม ส่วนหนึ่งเนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินยัง คงอยู่ในระดับสูง อัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. แข็งค่า ขึ้น จากค่าเฉลี่ย 41.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2546 เป็น 40.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2547 จากการที่ค่าเงิน ดอลลาร์ อ่อนลงมากและค่าเงินสกุลเอเชียปรับตามทิศทางค่า เงินเยนและการคาดการณ์การปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนของ จีน รวมทั้งพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยที่ดีขึ้น ทำให้มีเงิน ทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้น ประกอบดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและ ดอกเบี้ยนโยบายปรับเพิ่มขึ้น
แม้ว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แต่ เงินบาทยังอ่อนค่าลงโดยเปรียบเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ ค้าและคู่แข่งต่างๆ โดยรวม ทั้งนี้ ค่าเฉลี่ยดัชนีค่าเงินบาทที่ แท้จริง (Real Effective Exchange Rate: REER) ทั้งปี 2547 อยู่ที่ 77.7 อ่อนลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 78.0 ในปี 2546
ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงเมื่อ เทียบกับปี 2546 โดยดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้น ธันวาคม เท่ากับ 668.1 ลดลงร้อยละ 13.5 จากช่วงเดียวกันปี ที่แล้ว มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมลดลงร้อยละ 5.6 ในปี 2547 นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ 5.7 พันล้านบาท ขณะที่ในปี 2546 มียอดขายสุทธิ 24.5 พันล้านบาท สำหรับ มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 18.9 พันล้านบาท มา เป็น 20.5 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4
ภาคการคลัง สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงอย่าง ต่อเนื่อง ฐานะการคลัง ช่วง ม.ค.-พ.ย. 2547 รัฐบาลขาดดุล งบประมาณ 27,482 ล้านบาทและขาดดุลนอกงบประมาณ เป็นเงิน 67,989 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดก่อน การกู้รวม 95,471 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีการกู้เงิน เพื่อชดเชยการขาดดุลโดยการออกตั๋วเงินคลังและพันธบัตร จำนวน 90,000 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินขาด ดุล 5,471 ล้านบาท เมื่อเทียบกับการเกินดุล 14,156 ล้าน บาทในช่วงเดียวกันของปี 2546
ยอดหนี้สาธารณะคงค้างอยู่ที่ระดับ 3.121 ล้านล้านบาท เพิ่ม ขึ้นจาก 2.902 ล้านล้านบาทในปี 2546 แต่โดยเปรียบเทียบ กับ GDP ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้สัดส่วนหนี้ สาธารณะลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นร้อยละ 47.8
หนี้ต่างประเทศลดลงและทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่ม ขึ้น ณ สิ้นปี 2547 ยอดหนี้คงค้างต่างประเทศลดลงต่อเนื่อง เป็น 50.592 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นยอดคงค้างหนี้ระยะ สั้น 11.307 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2547 เพิ่มขึ้นเป็น 49,831.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิด เป็น 4.4 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศดีขึ้น จากแนวโน้มสถานะ ภายนอกประเทศของไทยและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของไทยใน ปี 2547 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้ปรับเครดิตตรา สารหนี้ระยะยาวของประเทศเพิ่มขึ้น สถาบันจัดอันดับ Fitch ได้ปรับเพิ่มอันดับ Credit rating ของประเทศจาก BBB เป็น BBB^ และสถาบัน S&P ปรับเพิ่มอันดับจาก BBB- เป็น BB+
(ยังมีต่อ).../2.เงื่อนไขและ..