บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 28, 2005 16:31 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          ภาวะเศรษฐกิจส่วนรวม  ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(Gross Domestic Products) ปี  2546 ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับร้อยละ 5.3 ในปี 2545   เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวดี เป็นผลมาจากทั้งปัจจัยภายในประเทศ ในส่วนการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน การลงทุน และการใช้จ่ายอุปโภคภาครัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 6.4  11.9 และ 2.0  ตามลำดับ รวมทั้งปัจจัยภายนอกที่การส่งออกสินค้าและบริการสุทธิขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 4.9 แต่เป็นอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจากการบริการสุทธิลดลงร้อยละ 2.7  ตามภาวะรายได้จากการท่องเที่ยวที่หดตัวตามกระแสข่าวเรื่องการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (Severe  Acute Respiratory Syndrome : SARS)                                           
ภาวะการผลิต ในปี 2546 การผลิตในภาคเกษตรขยายตัวสูงถึงร้อยละ 8.7 มาจากทั้งสาขาพืช ปศุสัตว์ และสาขาประมงส่วนการผลิตนอกภาคเกษตรเติบโตร้อยละ 6.7 โดยมีสาขาอุตสาหกรรม สาขาตัวกลางทางการเงิน และสาขาการให้บริการชุมชน สังคมและส่วนบุคคลอื่นๆ เป็นสาขาที่ขยายตัวสูง
อัตราขยายตัวและโครงสร้าง GDP (ร้อยละ)
อัตราขยายตัว โครงสร้าง
2545 2546 2545 2546
เกษตรกรรม 1.0 8.7 10.0 10.2
นอกเกษตร 5.8 6.7 90.0 89.8
อุตสาหกรรม 6.9 10.4 36.7 37.9
ตัวกลางทางการเงิน 12.2 16.2 3.0 3.2
การให้บริการชุมชนฯ 8.1 11.2 2.0 2.0
อื่นๆ 4.6 3.1 48.3 46.7
GDP 5.3 6.9 100.0 100.0
การผลิตภาคเกษตร ขยายตัวได้ดีในสาขาเกษตรกรรม ฯ โดยเฉพาะหมวดพืช เนื่องจากพืชหลักหลายชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย ผลไม้ และยางพาราขยายตัวได้ดี หมวดปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 8.0 เนื่องจากการผลิตไก่เนื้อเติบโตสูงจาก การส่งออกไปตลาดยุโรปมากขึ้น และแม้ว่าปัญหาโรคไข้หวัดนกจะเริ่มระบาดในช่วงปลายปี แต่ยังไม่กระทบต่อภาพรวมของ ปี 2546 มากนัก ส่วนสาขาประมงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3
การผลิตนอกภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 6.7 โดยมีสาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขานำ ซึ่งการผลิตหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดเคมีภัณฑ์ หมวดยางและผลิตภัณฑ์ยาง หมวดรถยนต์ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวสูง โดยเฉพาะหมวดรถยนต์ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 40.1 เนื่องจากอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ขยายตัวสูงตามความต้องการ ทั้งตลาดภายในและตลาดส่งออก ส่วนสาขาอื่นที่เติบโตดี ได้แก่ สาขาตัวกลางทางการเงินปีนี้ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 16.2 เนื่องจากผลประกอบการของธนาคารพาณิ ชย์ และบริษัทประกันภัยปรับตัวดีขึ้นมาก สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ขยายตั วร้อยละ 5.1 สาขาการให้ บริการชุม ชน สังคม และ ส่วนบุคคลอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 11.2 เป็นผลจากรายการ สลากกินแบ่งและเลขท้าย 2 ตัว และ 3 ตัว ซึ่งเป็นรายการ ที่สำคัญในหมวดบันเทิงและสันทนาการ ปัจจุบันบันทึกข้อมูล เข้าสู่ระบบบัญชีประชาชาติแล้ว พบว่ามียอดจำหน่ายสูง
สาขาการผลิตที่ชะลอลงในปีนี้ ได้แก่ สาขาการทำเหมืองแร่ฯ สาขาการไฟฟ้าก๊าซและการประปาสอดคล้องกับภาวะ การก่อสร้าง สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ชะลอลงตามภาวะ การท่องเที่ยวที่ซบเซาลงทั้งภูมิภาคจากข่าวโรค SARS ระบาด และสาขาการผลิตในกลุ่มการบริการภาครัฐ ได้แก่ สาขาบริหารราชการแผ่นดิน สาขาการศึกษา และสาขาบริการด้านสุขภาพฯ ซึ่งปีนี้ไม่มีโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด จึงทำให้ยอดเบิกจ่ายค่าตอบแทนแรงงานภาครัฐอยู่ในภาวะปกติ
ภาวะการผลิตระดับภูมิภาค ขยายตัวดีขึ้นทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกที่ชะลอตัวลง โดยที่ภาคกลางมีอัตราสูงสุดที่ ร้อยละ 15.9 เนื่องจากเติบโตไ ด้ดีทั้งภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร โดยเฉพาะสาขาการผลิตสำคัญ ได้แก่ สาขา อุตสาหกรรมขยายตัวจากหมวดอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ และหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนภาคตะวันออกชะลอตัวลงแต่ยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 9.9 เนื่องจากภาคเกษตรหดตัวลง รวมทั้งสาขาอุตสาหกรรมที่ภาวะการผลิตชะลอลงในบางหมวด
โครงสร้างการกระจายการผลิต พิจารณาจากสัดส่วน GRP มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยที่ภาคตะวันออกเพิ่มจาก ร้อยละ 15.1 เป็น 15.5 ในปี 2546 และภาคกลางเพิ่ มจาก ร้อยละ 8.3 เป็น 9.0 อันเนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมของทั้งสองภาค ในขณ ที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 42.8 เป็น 41.8 ของ GDP
อัตราขยายตัวและโครงสร้างการผลิตรายภาค (ร้อยละ)
อัตราขยายตัว โครงสร้าง
ภาค 2545 2546 2545 2546
ตะวันออกเฉียงเหนือ 5.6 6.7 10.9 10.8
เหนือ 7.0 7.3 9.2 9.2
ใต้ 4.4 5.8 9.4 9.3
ตะวันออก 13.2 9.9 15.1 15.5
ตะวันตก 6.1 6.5 4.4 4.3
กลาง 8.4 15.9 8.3 9.0
กทม. และปริมณฑล 2.0 4.3 42.8 41.8
รวมทั้งประเทศ 5.3 6.9 100.0 100.0
ผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัว (Per Capita GRP) ในปี 2546 ยังคงมีระดับความแตกต่างสูงมากระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณ ฑล ซึ่งเป็นภาคที่มีค่าเฉลี่ยต่อหัวสูงสุด คือ 230,997 บาทต่อปี กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภาคที่มีค่าต่ำสุด คือ 30,860 บาทต่อปี ค่าความแตกต่างอยู่ในระดับ 7.5 เท่า ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวปี 2546 (บาทต่อปี) มีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย อัตราเพิ่มของค่าเฉลี่ยต่อหัวสูงสุดในปีนี้มาจากภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันตกภาคเหนือ และกรุงเทพมหานครและปริมณ ฑล ในอัตราร้อยละ 15.2 11.9 11.0 9.2 8.8 8.0 และ 3.6 ตามลำดับ โดยมีสาเหตุ จากระดับ ราคาผลผลิตเกษตรสูงขึ้น ประกอบกับรายได้นอกภาคเกษตรในสาขาต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้นทุกภาคด้วย
ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (Per Capita GPP) จังหวัดที่ มีค่าสูงสุด ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้บางส่วน ค่าความแตกต่างระหว่างจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นค่าสูงสุดที่ 604,064 บาทต่อปีกับจังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดที่ 16,350 บาทต่อปี มีความแตกต่างกัน 35.9 เท่า และมีแนวโน้มต่างกันมากขึ้น
Per capita GRP และอัตราเพิ่ม
Per capita GRP อัตราเพิ่ม
ภาค (บาท/ปี) (ร้อยละ)
2545 2546 2545 2546
ตะวันออกเฉียงเหนือ 28,274 30,860 7.4 9.2
เหนือ 43,855 47,371 9.9 8.0
ใต้ 62,577 69,450 8.1 11.0
ตะวันออก 183,032 204,857 10.2 11.9
ตะวันตก 65,527 74,545 6.9 8.8
กลาง 128,744 148,371 8.1 15.2
กทม. และปริมณฑล 223,078 230,997 0.3 3.6
เฉลี่ยทั้งประเทศ 86,249 93,164 5.3 8.0
กลุ่มจังหวัดที่ อยู่ในลำดับสูงสุดในปี 2546 มีหลายจังหวัด ยกระดับขึ้นมาก จังหวัดระยองยังคงเป็นอันดับสูงสุดของประเทศ ส่วนลำดับถัดมา ได้แก่ สมุทรสาคร สมุทรปราการพระนครศรีอยุธยา ชลบุรี กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี เป็นต้น
กลุ่มจังหวัดที่อยู่ในลำดับต่ำสุด ยังคงเป็นกลุ่มจังหวัดเดิม คือ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และจังหวัดอื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเหล่านี้มีภาคการผลิตที่มีขนาดเล็กและสร้างรายได้ให้กับจังหวัดไม่มากนัก ประกอบกับจำนวนประชากรสูงขึ้นทุกปี จ งทำให้ค่าเฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้ากว่าจังหวัดอื่นๆ
10 อันดับแรกสูงสุด 10 อันดับสุดท้ายต่ำสุด
1. ระยอง 604,064 1. หนองบัวลำภู 16,350
2. สมุทรสาคร 393,932 2. อำนาจเจริญ 18,133
3. สมุทรปราการ 336,452 3. สุรินทร์ 22,620
4. พระนครศรีอยุธยา 335,120 4. ศรีสะเกษ 22,744
5. ชลบุรี 290,342 5. บุรีรัมย์ 24,929
6. กรุงเทพมหานคร 243,605 6. มุกดาหาร 25,533
7. ปทุมธานี 190,406 7. หนองคาย 25,944
8. ภูเก็ต 172,932 8. ยโสธร 26,099
9. ฉะเชิงเทรา 168,572 9. ร้อยเอ็ด 26,713
10. สระบุรี 140,392 10. สกลนคร 26,822
(ยังมีต่อ).../ผลิตภัณฑ์ภาค...

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ