เร่งจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่อความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-เวียดนาม สืบเนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม ได้ลงนาม กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและเวียดนาม ในระหว่างการประชุม ครม.ร่วม ไทย-เวียดนาม อย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 โดยกำหนดให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่อความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและเวียดนาม (Thailand-Vietnam Joint Strategy for Economic Partnership: TV-JSEP) ในรูปแผนแม่บทความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน และให้ สศช. เป็นหน่วยประสานงานหลักฝ่ายไทยในการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าว
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2548 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการฯ จึงเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการกำกับการศึกษาร่วมระหว่างไทยและเวียดนาม ครั้งที่ 1 สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่อความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและเวียดนาม (The First Joint Steering Committee Meeting for TV-JSEP) ณ กระทรวงวางแผนและการลงทุน กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยมี Dr.Duong Duc Ung อธิบดีกรมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงวางแผนและการลงทุน เป็นประธานฝ่ายเวียดนาม
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณากรอบแนวคิดการจัดทำ TV-JSEP ของไทยและเวียดนาม โดยที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบกรอบแนวคิด TV-JSEP ของทั้งสองฝ่าย และให้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการจัดทำ TV-JSEP พร้อมทั้งให้ทั้งสองฝ่ายเร่งรัดจัดทำร่างยุทธศาสตร์ TV-JSEP
เพื่อกำหนดรูปแบบ โครงสร้าง และเนื้อหาสำหรับการจัดทำ TV-JSEP ร่วมกันต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กำหนดให้มีการประชุมคณะทำงานจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำ TV-JSEP ของทั้งสองฝ่ายโดยเร็ว เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างยุทธศาสตร์ TV-JSEP โดยเฉพาะในส่วนของการพัฒนาสาขาความร่วมมือด้านต่างๆ และกำหนดจัดการประชุมคณะกรรมการกำกับการศึกษาร่วมระหว่างไทยและเวียดนามครั้งที่ 2 เพื่อร่วมพิจารณารายงานการศึกษาระยะกลางของ TV-JSEP ในเดือนกรกฎาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ
ร่วมผลักดันโครงการความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS)
เมื่อวันที่ 29-31 มีนาคม 2548 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการฯ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและผู้ประสานงานระดับประเทศ (National Coordinator) ของแผนงานพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) พร้อมคณะ ได้เดินทางไปร่วมประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 และร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ณ เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนม่าร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมการประชุมระดับสุดยอดผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 2 (The Second GMS Summit) ที่นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2548 นี้
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะทำงานได้เห็นชอบกับหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยของการประชุม The Second GMS Summit ที่ผู้นำของ 6 ประเทศ จะเข้าร่วมประชุมเพื่อแสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการส่งเสริมและผลักดันโครงการ GMS ให้พัฒนาอย่างต่อเนื่องและเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยมีหัวข้อหลักของการประชุม คือ "A Stronger GMS Partnership for Common Prosperity" และหัวข้อย่อยของการประชุม คือ "Enhancing Connectivity, Competitiveness and Community" ซึ่งหมายถึงการเสริมสร้างการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยง 6 ประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ 6 ประเทศ และการพัฒนาชุมชนและสังคมซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของอนุภูมิภาค
ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้เน้นถึงความสำคัญของการพัฒนาอนุภูมิภาคที่สมดุลทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยการเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ควบคู่กับการพัฒนาด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการพัฒนาทุนทางสังคม (Social Capital) การเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) การสร้างงาน เพิ่มรายได้ และการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชากรทั่วทั้งอนุภูมิภาค
นอกจากนั้น ที่ประชุมได้ระดมความเห็นในประเด็นสำคัญที่จะปรากฏใน Joint Summit Declaration (JSD) ที่ผู้นำของทั้ง 6 ประเทศจะลงนามร่วมกัน โดยสาระสำคัญของ JSD คือ การเน้นย้ำ
พันธะสัญญาของผู้นำทั้ง 6 ประเทศในการพัฒนาความร่วมมือภายใต้กรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อให้เกิดความมั่งคั่งร่วมกัน JDS จะระบุผลความสำเร็จและความท้าทายของโครงการ GMS และประเด็นสำคัญที่ทั้ง 6 ประเทศยังต้องร่วมมือกันต่อไปเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงบรรยากาศการค้าและการลงทุน การเสริมสร้างการพัฒนาด้านสังคม และการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคเอกชน
สำหรับการประชุมคณะทำงานครั้งต่อไปจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 พฤษภาคม ที่เมืองลี่เจียงและคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2548 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการฯ จึงเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการกำกับการศึกษาร่วมระหว่างไทยและเวียดนาม ครั้งที่ 1 สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่อความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและเวียดนาม (The First Joint Steering Committee Meeting for TV-JSEP) ณ กระทรวงวางแผนและการลงทุน กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยมี Dr.Duong Duc Ung อธิบดีกรมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงวางแผนและการลงทุน เป็นประธานฝ่ายเวียดนาม
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณากรอบแนวคิดการจัดทำ TV-JSEP ของไทยและเวียดนาม โดยที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบกรอบแนวคิด TV-JSEP ของทั้งสองฝ่าย และให้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการจัดทำ TV-JSEP พร้อมทั้งให้ทั้งสองฝ่ายเร่งรัดจัดทำร่างยุทธศาสตร์ TV-JSEP
เพื่อกำหนดรูปแบบ โครงสร้าง และเนื้อหาสำหรับการจัดทำ TV-JSEP ร่วมกันต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กำหนดให้มีการประชุมคณะทำงานจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำ TV-JSEP ของทั้งสองฝ่ายโดยเร็ว เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างยุทธศาสตร์ TV-JSEP โดยเฉพาะในส่วนของการพัฒนาสาขาความร่วมมือด้านต่างๆ และกำหนดจัดการประชุมคณะกรรมการกำกับการศึกษาร่วมระหว่างไทยและเวียดนามครั้งที่ 2 เพื่อร่วมพิจารณารายงานการศึกษาระยะกลางของ TV-JSEP ในเดือนกรกฎาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ
ร่วมผลักดันโครงการความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS)
เมื่อวันที่ 29-31 มีนาคม 2548 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการฯ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและผู้ประสานงานระดับประเทศ (National Coordinator) ของแผนงานพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) พร้อมคณะ ได้เดินทางไปร่วมประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 และร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ณ เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนม่าร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมการประชุมระดับสุดยอดผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 2 (The Second GMS Summit) ที่นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2548 นี้
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะทำงานได้เห็นชอบกับหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยของการประชุม The Second GMS Summit ที่ผู้นำของ 6 ประเทศ จะเข้าร่วมประชุมเพื่อแสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการส่งเสริมและผลักดันโครงการ GMS ให้พัฒนาอย่างต่อเนื่องและเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยมีหัวข้อหลักของการประชุม คือ "A Stronger GMS Partnership for Common Prosperity" และหัวข้อย่อยของการประชุม คือ "Enhancing Connectivity, Competitiveness and Community" ซึ่งหมายถึงการเสริมสร้างการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยง 6 ประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ 6 ประเทศ และการพัฒนาชุมชนและสังคมซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของอนุภูมิภาค
ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้เน้นถึงความสำคัญของการพัฒนาอนุภูมิภาคที่สมดุลทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยการเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ควบคู่กับการพัฒนาด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการพัฒนาทุนทางสังคม (Social Capital) การเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) การสร้างงาน เพิ่มรายได้ และการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชากรทั่วทั้งอนุภูมิภาค
นอกจากนั้น ที่ประชุมได้ระดมความเห็นในประเด็นสำคัญที่จะปรากฏใน Joint Summit Declaration (JSD) ที่ผู้นำของทั้ง 6 ประเทศจะลงนามร่วมกัน โดยสาระสำคัญของ JSD คือ การเน้นย้ำ
พันธะสัญญาของผู้นำทั้ง 6 ประเทศในการพัฒนาความร่วมมือภายใต้กรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อให้เกิดความมั่งคั่งร่วมกัน JDS จะระบุผลความสำเร็จและความท้าทายของโครงการ GMS และประเด็นสำคัญที่ทั้ง 6 ประเทศยังต้องร่วมมือกันต่อไปเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงบรรยากาศการค้าและการลงทุน การเสริมสร้างการพัฒนาด้านสังคม และการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคเอกชน
สำหรับการประชุมคณะทำงานครั้งต่อไปจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 พฤษภาคม ที่เมืองลี่เจียงและคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-