1. ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
2. ชะลอปรับราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน
3. ลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำประปา
4. ลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า
5. ลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง
6. ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3
1 ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยการเพิ่มส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอล์
สาระสำคัญ ลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 ลง 3.30 บาท/ลิตร เหลือ 0.0165 บาท/ลิตร เพื่อให้ราคา
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีช่วงห่างของราคาจำหน่ายต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันเบนซิน 95 มากขึ้น
ประเภทน้ำมัน (บาท/ลิตร) ราคาน้ำมัน ส่วนลด ส่วนลดภาษีอื่นๆ ราคา ส่วน
ณ 15 ก.ค. 51 ภาษีสรรพสามิต และค่าการตลาด ใหม่ ต่าง
แก๊สโซฮอล์ 95 (E10) 38.19 -3.30 -0.58 34.71 -3.88
แก๊สโซฮอล์ 91 (E10) 37.39 -3.30 -0.53 33.41 -3.83
แก๊สโซฮอล์ 95 (E20) 36.89 -3.30 -0.58 33.51 -3.88
E85 - -3.30 - - -
ดีเซลหมุนเร็ว (HSD) 44.24 -2.30 -0.41 41.53 -2.71
ดีเซลหมุนเร็ว บี5(HSD-B5) 43.54 -2.10 -0.37 41.07 -2.47
หมายเหตุ : เมื่อสิ้นสุดมาตรการระยะ 6 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 1 กพ. 52 เป็นต้นไป) น้ำมัน E85
จะจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในอัตรา 0.55 บาท/ลิตร
ประโยชน์ เพิ่มแรงจูงใจและส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกแก่ประชาชน
ผลกระทบ รายได้จากภาษีสรรพสามิตลดลงประมาณ 32,000 ล้านบาท
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงการคลัง/กระทรวงพลังงาน
2 ชะลอปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน
วัตถุประสงค์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายก๊าซหุงต้มของภาคครัวเรือน
สาระสำคัญ ชะลอการปรับขึ้นราคาของก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงานเป็นระยะ
เวลา 6 เดือน
ประโยชน์ เพิ่มระยะเวลาในการปรับตัวด้านราคาของก๊าซหุงต้มแก่ประชาชน
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงพลังงาน
3 ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน
วัตถุประสงค์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายน้ำประปาสำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อย
สาระสำคัญ ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ำ สำหรับผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีปริมาณการใช้น้ำในช่วง 0-50 ลบ.ม./เดือน
ซึ่งเป็นปริมาณการใช้เพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน โดยจะครอบคลุมผู้ใช้น้ำทั้งประเทศประมาณ 3.2 ล้านราย แบ่งเป็นผู้ใช้น้ำที่อยู่ในเขต
นครหลวง ประมาณ 1.2 ล้านราย และเขตภูมิภาค ประมาณ 2 ล้านราย
ประโยชน์ ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ใช้น้ำประปาอย่างประหยัด สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำประปาเฉลี่ยต่อรายต่อเดือนประมาณ
213 และ 176 บาท ในเขตนครหลวงและภูมิภาค ตามลำดับ
ผลกระทบ รายได้ของ กปภ. ประมาณ 2,400 ล้านบาท และ กปน. ประมาณ 1,530 ล้านบาท โดยให้ กปน. หักค่าใช้จ่ายจากรายได้
นำส่งรัฐตามผลการดำเนินงานในปี 2551 สำหรับ กปภ. เห็นควรจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้เป็นกรอบค่าใช้
จ่ายไว้ ในกรณีที่รายได้นำส่งรัฐตามผลการดำเนินงานในปี 2551 ไม่เพียงพอ
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงมหาดไทย (กปน. กปภ.)
4 ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน
วัตถุประสงค์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายไฟฟ้าสำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อย
สาระสำคัญ สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะลดภาระค่าใช้จ่าย ใน 2 กรณี คือ 1) หากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน
80 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด และ 2) กรณีใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 80 หน่วย/เดือน แต่ไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะรับ
ภาระค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมด
ประโยชน์ ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ประมาณ 9.85 ล้านราย แยกเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในเขตนครหลวง ประมาณ 0.41 ล้านราย
และเขตภูมิภาคประมาณ 9.44 ล้านราย ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเฉลี่ย 120-200 บาท/ครัวเรือน
ผลกระทบ รายได้จากการให้บริการของ กฟน. และ กฟภ. ลดลงประมาณ 12,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผลประกอบการในปี
2551 ของรัฐวิสาหกิจ ทั้ง 2 แห่ง จึงควรให้ กฟผ. ลดราคาค่าไฟฟ้าในส่วนที่จำหน่ายให้แก่ กฟน. และ กฟภ. และให้ กฟผ. หักจากรายได้นำส่งรัฐ
จากผลการดำเนินงานในปี 2551/52 แทน
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงพลังงาน/กระทรวงมหาดไทย (กฟผ. กฟน. กฟภ.)
5 ลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง
วัตถุประสงค์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายการเดินทางของประชาชน ผู้มีรายได้น้อยที่เดินทางด้วย รถประจำทาง
สาระสำคัญ จัดรถโดยสารประจำทางธรรมดาของ ขสมก. จำนวน 800 คัน ใน 73 เส้นทาง ให้บริการใน เขตกทม.และปริมณฑลโดย
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ประโยชน์ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนผู้มีรายได้น้อย
ผลกระทบ ภาครัฐจัดสรรงบกลางชดเชย (รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น) รายได้ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
(ขสมก.) ประมาณ 1,244 ล้านบาท
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงคมนาคม (ขสมก.)
6 ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3
วัตถุประสงค์ เพื่อค่าใช้จ่ายการเดินของประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่เดินทางด้วยรถไฟชั้น 3
สาระสำคัญ ให้ประชาชนสามารถใช้บริการรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายซึ่งครอบคลุมผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 16 ล้าน
คน (6 เดือน)
ประโยชน์ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนผู้มีรายได้น้อย
ผลกระทบ รายได้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลดลง ประมาณ 250 ล้านบาท โดยภาครัฐจัดสรรงบกลางชดเชย (รายการ
เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น)
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงคมนาคม (รฟท.)
สรุปประมาณการวงเงินและการสนับสนุนงบประมาณ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
| ประมาณการวงเงินเบื้องต้น | วิธีการสนับสนุน
| |
1. รายได้ภาษีสรรพสามิตจาก | 32,000 ล้านบาท | - รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันที่สูงกว่า
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล | | สมมติฐานเดิม และตามการเพิ่มขึ้นของการบริโภคจากผลของ
| | มาตรการ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจ | 12,000 ล้านบาท |
ด้านไฟฟ้า | |
กฟผ. | 12,000 ล้านบาท | - ให้ กฟผ. พิจารณาลดราคาค่าไฟฟ้าส่วนที่จำหน่ายให้แก่ กฟน.
กฟน. | | และ กฟภ. และให้กฟผ. หักจากรายได้นำส่งรัฐของปี2551/52
กฟภ. | |
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
3. ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านประปา | 3,930 ล้านบาท | -
กปน. | 1,530 ล้านบาท | - หักจากรายไดน้ำส่งรัฐของปี 2551
กปภ. | 2,400 ล้านบาท | - จัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน
| | หรือจำเป็นให้เป็นกรอบค่าใช้จ่ายไว้ ในกรณีที่รายได้นำส่งรัฐ
| | ตามผลการดำเนินงานในปี 2551 ไม่เพียงพอ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
4. ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านขนส่ง | 1,474 ล้านบาท | -
ขสมก. | 1,224 ล้านบาท | - งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
รฟท. | 250 ล้านบาท | - งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รวม 49,404 ล้านบาท
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน่วยงานรับผิดชอบ
มาตรการ หน่วยงานรับผิดชอบ
1. มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน กระทรวงการคลัง/กระทรวงพลังงาน
2. มาตรการชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน กระทรวงพลังงาน
3. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำประปา กระทรวงมหาดไทย(กปน. กปภ.)
4. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า กระทรวงพลังงาน/กระทรวงมหาดไทย(กฟผ. กฟน. กฟภ.)
5. มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง กระทรวงคมนาคม (ขสมก.)
6. มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดย กระทรวงคมนาคม (รฟท.)รถไฟชั้น 3 กระทรวงคมนาคม (รฟท.)
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 15 กรกฎาคม 2551
1. เห็นชอบ 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน โดยยึดหลักการในการประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานทาง
เลือกในภาคประชาชน ตลอดจนลดผลกระทบต่อรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มของประชาชนที่มีรายได้น้อย เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจมีความรุนแรงขึ้นใน
ภาคการบริโภค และการรักษาวินัยทางการคลัง โดยมีระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เริ่มต้นไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม 2551 และสิ้นสุดในวันที่ 31
มกราคม 2552
2. อนุมัติงบกลางรายการเงินสำ รองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำ เป็น ในกรอบวงเงินจำนวน 3,874 ล้านบาท สำหรับอุดหนุนรัฐ
วิสาหกิจ ได้แก่ กปภ. ขสมก. และ รฟท.
3. เห็นชอบให้ยกเว้นไม่นำผลกระทบด้านการเงิน จากการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวมาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานในปี
2551 ของหน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรการดังกล่าว ทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
4. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง พิจารณาแนวทางสนับสนุนเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง ในกรณีรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบได้รับผลกระทบจาก
การดำเนินการตาม 6 มาตรการ
5. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำ เนินการตามมาตรการดังกล่าวตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องและมอบหมาย
ให้สศช.ติดตามความก้าวหน้า การดำเนินมาตรการ และรายงานให้คณะรัฐมนตรีด้านนโยบายเศรษฐกิจทราบต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
2. ชะลอปรับราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน
3. ลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำประปา
4. ลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า
5. ลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง
6. ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3
1 ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยการเพิ่มส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอล์
สาระสำคัญ ลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 ลง 3.30 บาท/ลิตร เหลือ 0.0165 บาท/ลิตร เพื่อให้ราคา
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีช่วงห่างของราคาจำหน่ายต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันเบนซิน 95 มากขึ้น
ประเภทน้ำมัน (บาท/ลิตร) ราคาน้ำมัน ส่วนลด ส่วนลดภาษีอื่นๆ ราคา ส่วน
ณ 15 ก.ค. 51 ภาษีสรรพสามิต และค่าการตลาด ใหม่ ต่าง
แก๊สโซฮอล์ 95 (E10) 38.19 -3.30 -0.58 34.71 -3.88
แก๊สโซฮอล์ 91 (E10) 37.39 -3.30 -0.53 33.41 -3.83
แก๊สโซฮอล์ 95 (E20) 36.89 -3.30 -0.58 33.51 -3.88
E85 - -3.30 - - -
ดีเซลหมุนเร็ว (HSD) 44.24 -2.30 -0.41 41.53 -2.71
ดีเซลหมุนเร็ว บี5(HSD-B5) 43.54 -2.10 -0.37 41.07 -2.47
หมายเหตุ : เมื่อสิ้นสุดมาตรการระยะ 6 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 1 กพ. 52 เป็นต้นไป) น้ำมัน E85
จะจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในอัตรา 0.55 บาท/ลิตร
ประโยชน์ เพิ่มแรงจูงใจและส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกแก่ประชาชน
ผลกระทบ รายได้จากภาษีสรรพสามิตลดลงประมาณ 32,000 ล้านบาท
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงการคลัง/กระทรวงพลังงาน
2 ชะลอปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน
วัตถุประสงค์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายก๊าซหุงต้มของภาคครัวเรือน
สาระสำคัญ ชะลอการปรับขึ้นราคาของก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงานเป็นระยะ
เวลา 6 เดือน
ประโยชน์ เพิ่มระยะเวลาในการปรับตัวด้านราคาของก๊าซหุงต้มแก่ประชาชน
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงพลังงาน
3 ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน
วัตถุประสงค์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายน้ำประปาสำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อย
สาระสำคัญ ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ำ สำหรับผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีปริมาณการใช้น้ำในช่วง 0-50 ลบ.ม./เดือน
ซึ่งเป็นปริมาณการใช้เพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน โดยจะครอบคลุมผู้ใช้น้ำทั้งประเทศประมาณ 3.2 ล้านราย แบ่งเป็นผู้ใช้น้ำที่อยู่ในเขต
นครหลวง ประมาณ 1.2 ล้านราย และเขตภูมิภาค ประมาณ 2 ล้านราย
ประโยชน์ ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ใช้น้ำประปาอย่างประหยัด สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำประปาเฉลี่ยต่อรายต่อเดือนประมาณ
213 และ 176 บาท ในเขตนครหลวงและภูมิภาค ตามลำดับ
ผลกระทบ รายได้ของ กปภ. ประมาณ 2,400 ล้านบาท และ กปน. ประมาณ 1,530 ล้านบาท โดยให้ กปน. หักค่าใช้จ่ายจากรายได้
นำส่งรัฐตามผลการดำเนินงานในปี 2551 สำหรับ กปภ. เห็นควรจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้เป็นกรอบค่าใช้
จ่ายไว้ ในกรณีที่รายได้นำส่งรัฐตามผลการดำเนินงานในปี 2551 ไม่เพียงพอ
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงมหาดไทย (กปน. กปภ.)
4 ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน
วัตถุประสงค์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายไฟฟ้าสำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อย
สาระสำคัญ สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะลดภาระค่าใช้จ่าย ใน 2 กรณี คือ 1) หากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน
80 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด และ 2) กรณีใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 80 หน่วย/เดือน แต่ไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะรับ
ภาระค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมด
ประโยชน์ ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ประมาณ 9.85 ล้านราย แยกเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในเขตนครหลวง ประมาณ 0.41 ล้านราย
และเขตภูมิภาคประมาณ 9.44 ล้านราย ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเฉลี่ย 120-200 บาท/ครัวเรือน
ผลกระทบ รายได้จากการให้บริการของ กฟน. และ กฟภ. ลดลงประมาณ 12,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผลประกอบการในปี
2551 ของรัฐวิสาหกิจ ทั้ง 2 แห่ง จึงควรให้ กฟผ. ลดราคาค่าไฟฟ้าในส่วนที่จำหน่ายให้แก่ กฟน. และ กฟภ. และให้ กฟผ. หักจากรายได้นำส่งรัฐ
จากผลการดำเนินงานในปี 2551/52 แทน
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงพลังงาน/กระทรวงมหาดไทย (กฟผ. กฟน. กฟภ.)
5 ลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง
วัตถุประสงค์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายการเดินทางของประชาชน ผู้มีรายได้น้อยที่เดินทางด้วย รถประจำทาง
สาระสำคัญ จัดรถโดยสารประจำทางธรรมดาของ ขสมก. จำนวน 800 คัน ใน 73 เส้นทาง ให้บริการใน เขตกทม.และปริมณฑลโดย
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ประโยชน์ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนผู้มีรายได้น้อย
ผลกระทบ ภาครัฐจัดสรรงบกลางชดเชย (รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น) รายได้ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
(ขสมก.) ประมาณ 1,244 ล้านบาท
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงคมนาคม (ขสมก.)
6 ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3
วัตถุประสงค์ เพื่อค่าใช้จ่ายการเดินของประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่เดินทางด้วยรถไฟชั้น 3
สาระสำคัญ ให้ประชาชนสามารถใช้บริการรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายซึ่งครอบคลุมผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 16 ล้าน
คน (6 เดือน)
ประโยชน์ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนผู้มีรายได้น้อย
ผลกระทบ รายได้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลดลง ประมาณ 250 ล้านบาท โดยภาครัฐจัดสรรงบกลางชดเชย (รายการ
เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น)
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงคมนาคม (รฟท.)
สรุปประมาณการวงเงินและการสนับสนุนงบประมาณ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
| ประมาณการวงเงินเบื้องต้น | วิธีการสนับสนุน
| |
1. รายได้ภาษีสรรพสามิตจาก | 32,000 ล้านบาท | - รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันที่สูงกว่า
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล | | สมมติฐานเดิม และตามการเพิ่มขึ้นของการบริโภคจากผลของ
| | มาตรการ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจ | 12,000 ล้านบาท |
ด้านไฟฟ้า | |
กฟผ. | 12,000 ล้านบาท | - ให้ กฟผ. พิจารณาลดราคาค่าไฟฟ้าส่วนที่จำหน่ายให้แก่ กฟน.
กฟน. | | และ กฟภ. และให้กฟผ. หักจากรายได้นำส่งรัฐของปี2551/52
กฟภ. | |
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
3. ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านประปา | 3,930 ล้านบาท | -
กปน. | 1,530 ล้านบาท | - หักจากรายไดน้ำส่งรัฐของปี 2551
กปภ. | 2,400 ล้านบาท | - จัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน
| | หรือจำเป็นให้เป็นกรอบค่าใช้จ่ายไว้ ในกรณีที่รายได้นำส่งรัฐ
| | ตามผลการดำเนินงานในปี 2551 ไม่เพียงพอ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
4. ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านขนส่ง | 1,474 ล้านบาท | -
ขสมก. | 1,224 ล้านบาท | - งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
รฟท. | 250 ล้านบาท | - งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รวม 49,404 ล้านบาท
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน่วยงานรับผิดชอบ
มาตรการ หน่วยงานรับผิดชอบ
1. มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน กระทรวงการคลัง/กระทรวงพลังงาน
2. มาตรการชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน กระทรวงพลังงาน
3. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำประปา กระทรวงมหาดไทย(กปน. กปภ.)
4. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า กระทรวงพลังงาน/กระทรวงมหาดไทย(กฟผ. กฟน. กฟภ.)
5. มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง กระทรวงคมนาคม (ขสมก.)
6. มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดย กระทรวงคมนาคม (รฟท.)รถไฟชั้น 3 กระทรวงคมนาคม (รฟท.)
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 15 กรกฎาคม 2551
1. เห็นชอบ 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน โดยยึดหลักการในการประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานทาง
เลือกในภาคประชาชน ตลอดจนลดผลกระทบต่อรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มของประชาชนที่มีรายได้น้อย เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจมีความรุนแรงขึ้นใน
ภาคการบริโภค และการรักษาวินัยทางการคลัง โดยมีระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เริ่มต้นไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม 2551 และสิ้นสุดในวันที่ 31
มกราคม 2552
2. อนุมัติงบกลางรายการเงินสำ รองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำ เป็น ในกรอบวงเงินจำนวน 3,874 ล้านบาท สำหรับอุดหนุนรัฐ
วิสาหกิจ ได้แก่ กปภ. ขสมก. และ รฟท.
3. เห็นชอบให้ยกเว้นไม่นำผลกระทบด้านการเงิน จากการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวมาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานในปี
2551 ของหน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรการดังกล่าว ทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
4. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง พิจารณาแนวทางสนับสนุนเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง ในกรณีรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบได้รับผลกระทบจาก
การดำเนินการตาม 6 มาตรการ
5. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำ เนินการตามมาตรการดังกล่าวตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องและมอบหมาย
ให้สศช.ติดตามความก้าวหน้า การดำเนินมาตรการ และรายงานให้คณะรัฐมนตรีด้านนโยบายเศรษฐกิจทราบต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-