สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2493 โดยครบรอบ 55 ปีแห่งการสถาปนาในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548 ในรอบปี 2547 ที่ผ่านมา สศช. ได้มีผลการดำเนินงานที่สำคัญหลายประการ สรุปได้ดังนี้
พัฒนาฐานความรู้ทางวิชาการ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
สศช. ได้รายงานสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมต่อสาธารณชน เป็นรายไตรมาสและรายงานประจำปี เพื่อใช้ประกอบในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การเสนอแนะนโยบาย แนวทาง และมาตรการต่อรัฐบาล รวมทั้งยังส่งสัญญาณเตือนภัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยรายงานภาวะสังคมได้จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรก
นอกจากนี้ได้พัฒนาความรู้ทางวิชาการ ด้านเศรษฐกิจ พัฒนาระบบฐานข้อมูลและเครื่องชี้วัด อาทิ การพัฒนาระบบบัญชีประชาชาติให้เข้าสู่ระบบสากล ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปี 2551 การจัดทำโครงการนำร่องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้จังหวัดสามารถพัฒนาระบบข้อมูลและจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) ด้วยตนเอง และเตรียมการในการเปลี่ยนปีฐานสถิติรายได้ประชาชาติที่ใช้ในการอ้างอิงให้ทันสมัยขึ้น
ส่วนทางด้านสังคม พัฒนาและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต รวมทั้งได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านความยากจนขึ้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานแก้ไขความยากจน และการพัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน
ครึ่งแผนฯ 9 พบเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง-คนไทยอายุยืน
การประเมินผลการพัฒนาประเทศในระยะครึ่งแผนฯ9 (พ.ศ. 2545-2546) แบ่งออกเป็น 3 ด้าน โดยด้านเศรษฐกิจ พบว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2547 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2546 เฉลี่ยร้อยละ 6.2 (3 ไตรมาสแรกของปี 2547) โดยมีแรงขับเคลื่อนที่สำคัญจากการผลิตนอกภาคเกษตรที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม
ด้านสังคม พบว่าในปี 2546 คนไทยมีอายุคาดหมายเฉลี่ยของเพศชายและเพศหญิงสูงขึ้น เป็น 67.6 และ 75.1 ปี ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่า คนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน รวมทั้งภาวะโรคอ้วน ปัจจัยพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และผลิตภาพการผลิต ยังเป็นจุดอ่อน ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่าญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย และไต้หวันอยู่มาก ขณะเดียวกัน ไทยมีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาในระดับที่น้อยมาก เพียงร้อยละ 0.27 ของจีดีพีเท่านั้น เช่นเดียวกับสัดส่วนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อประชากรที่ถึงแม้จะเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพียง 43 เครื่องต่อประชากร 1,000 คน สำหรับชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวไทย พบว่ามีการหย่าร้างสูงขึ้น ปัญหาอาชญากรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกประเภท รวมทั้งการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรเพิ่มขึ้น
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและภาวะภัยแล้งเกิดเป็นประจำทุกปี ป่าไม้เสื่อมโทรมและลดลงอย่างมาก มีปัญหาดินเสื่อมโทรมและการชะล้างพังทลายของดิน รวมทั้งปัญหาการไร้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และไร้ที่ดินทำกินรุนแรงเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ความต้องการใช้พลังงานของประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องนำเข้าพลังงานเพิ่มขึ้น
ประสานการพัฒนาตามวาระแห่งชาติ
การพัฒนาตามวาระแห่งชาติรวม 4 เรื่อง มีความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ดังนี้ 1. การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ สศช. ได้จัดทำ “ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบยั่งยืน รวมถึงผู้ด้อยโอกาส” และรัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ประกอบด้วย การปรับปรุงเส้นความยากจนให้มีความทันสมัยและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาส และได้จัดทำกรอบแผนปฏิบัติการเกณฑ์พื้นฐาน 10ประการ ในการดำรงชีวิตของคนไทยในระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2547-2552)
2. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (สพข.) ภายใต้ สศช. ได้ร่วมกับหน่วยงานเศรษฐกิจ 7หน่วยงาน กำหนดตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่มีสมรรถนะสูง และกำหนดกรอบยุทธศาสตร์รายสาขา โดยการวาดฝันสภาพที่พึงปรารถนาของประเทศไทย 7 ประการ ซึ่งมีประเด็นการพัฒนาที่สำคัญคือ การพัฒนาสังคมผู้ประกอบการ เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพธุรกิจโดยใช้ระบบบ่มเพาะธุรกิจ จัดทำยุทธศาสตร์การยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จัดทำข้อเสนอรูปแบบสถาบันเฉพาะทางที่สามารถเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ความเป็นเลิศ การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมหลัก ในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2547-2552) จัดทำร่างกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ การพัฒนาคลัสเตอร์ของไทย และการสร้างความเป็นเลิศในอุตสาหกรรมยางพารา
3. การพัฒนาทุนทางสังคม สศช. ได้ดำเนินกิจกรรมสำคัญเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาทุนทางสังคม คือ การจัดกระบวนการยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ ซึ่งผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว การดำเนินโครงการนำร่องการเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อชุมชนเข้มแข็ง โดยศึกษากระบวนการสะสมทุนทางสังคมของชุมชนที่ได้สร้างและสะสมต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน และการศึกษาเครื่องมือประเมินสถานภาพทุนทางสังคมไทย
4. การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้จัดเวทีระดมความคิดเห็น สร้างความชัดเจนในแนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทของสังคมไทย โดยจัดทำกรอบยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดทำแนวทางการส่งเสริมผลิตภาพที่สะอาดในอุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยว และจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการ
นำแผนยุทธศาสตร์ พัฒนาพื้นที่ทั่วทุกภาคของไทย
สศช. ได้ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคขึ้น โดยมีความสอดคล้องกับระบบบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ ซึ่งนำไปสู่การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ ได้มีการสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่เชื่อมโยงเศรษฐกิจภาคเหนือกับนานาชาติ การนำคุณค่าศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว และธรรมชาติ เป็นฐานในการสร้างรายได้ การเพิ่มความเข้มแข็งฐานเศรษฐกิจเดิม และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการยกระดับฐานการผลิตหลักของภาค การร่วมมือกับอินโดจีนเพื่อขยายฐานเศรษฐกิจ การสร้างศักยภาพและโอกาสให้คนจน การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และการสร้างคนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคกลาง มีการเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า และสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการขนส่งของเอเชีย และการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการผลิตอาหารไปสู่ระดับมาตรฐานโลก เพื่อสนับสนุนการเป็นครัวโลก เป็นต้น
ส่วนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ อาทิ การพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง โดยการก่อสร้างและปรับปรุงถนนขนาด 4 ช่องจราจรเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย การขยายเวลาเปิดด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณ 9,000 ล้านบาท ซึ่งมีแผนงาน/โครงการในปี 2547 จำนวน 6,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินการ
จัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ
1. การพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) สศช. ร่วมกับสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และธนาคารโลก กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาของประเทศและท้าทายมากขึ้น พร้อมนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนา การจัดทำโครงการ MDGs ในระดับจังหวัด โดยคัดเลือกจังหวัดแม่ฮ่องสอนและนครพนมเป็นจังหวัดนำร่อง
2. การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) โดย สศช. เป็นหน่วยงานประสานหลักของประเทศ ได้มีการกำหนดนโยบายการดำเนินงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศ GMS ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย การกำหนดทิศทางและนโยบายการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งด้านวิชาการและการเงิน และการประสานและผลักดันให้มีการลงนามความตกลงในส่วนของความตกลงขนส่งข้ามพรมแดน การจัดตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าในอนุภาค ตลอดจนสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งในกลุ่ม
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) สศช. ได้กำหนดกรอบยุทธศาสตร์การจัดระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดน และผลักดันการดำเนินงานให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการเร่งด่วนรวมทั้งพยายามผลักดันให้ประเทศที่สามเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
4. การพัฒนาความร่วมมือเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) มีการดำเนินงานที่สำคัญคือ การวางแผนพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ การลดข้อจำกัดทางการค้าที่เป็นรูปภาษีและมิใช่ภาษี การสร้างมาตรการส่งเสริมการค้าระหว่างกัน ทำความตกลงสามประเทศด้านเขตโทรคมนาคมพิเศษ และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
5. การดำเนินงานแผนงานภายใต้กรอบคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์ร่วมสำหรับการพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย - มาเลเซีย (JDS) นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้จัดตั้งคณะกรรมการฯ ดังกล่าวขึ้น เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2547 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธาน และหน่วยงานด้านการวางแผนเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ได้แก่ สศช. และ EPU เป็นเลขานุการ โดยให้ สศช. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำแผนแม่บท ซึ่งขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับ สศช. พิจารณากลั่นกรองโครงการที่ส่วนราชการต่างๆ ยืนยันความพร้อมที่จะดำเนินการ รวมทั้งรายละเอียดวงเงินงบประมาณ เพื่อรวบรวมเสนอขออนุมัติงบประมาณต่อไป
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สศช. ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์ดังกล่าวในระยะเร่งด่วน และให้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดยุทธศาสตร์ในระยะปานกลางและระยะยาวต่อไป
2. การพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ สศช. ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขานุการของคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) โดยในปี 2547 กทภ. ได้มีมติที่สำคัญอาทิ การวางแผนผังการพัฒนาเมืองศูนย์กลางการบินสุวรรณภูมิ โครงการที่จอดรถในท่าอากาศยานฯ และการให้เอกชนเป็นผู้รับสัมปทานบริหารที่จอดรถ งบประมาณเพิ่มเติมโครงการจัดหาอุปกรณ์บริการจราจรทางอากาศ และหอบังคับการบิน พร้อมอาคารสำนักงาน โครงการก่อสร้างสถานีแปลงไฟฟ้าสถานีที่ 2 โครงการก่อสร้างศูนย์รถโดยสารใหม่ในท่าอากาศยานสุวรรณ และการจัดตั้งสถานีตำรวจสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น
3 ภารกิจพิเศษ
1. การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สศช. ได้ดำเนินงานตามกรอบแผนงานที่กำหนดไว้ 4 ด้าน คือการเชื่อมโยงเครือข่ายเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาวิชาการและส่งเสริมงานวิจัย การสร้างกระบวนการเรียนรู้ โดยการพัฒนาวิชาการเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนในหรือนอกระบบ และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยมีการประกวดความเรียงตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงที่ข้าพเจ้ารู้จัก และการผลิตสื่อต่างๆ
2. ธนาคารสมอง ได้จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยการสัมมนาเฉลิมพระเกียรติ และการจัดทำสื่อต่าง ๆ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาและวิทยากรแก่หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในขณะเดียวกันมีการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน
3. มูลนิธิพัฒนาไท โดยการสร้างวิทยากรกระบวนการเพื่อผลักดันการพัฒนาประเทศ สร้างการเรียนรู้ระหว่างผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานกลาง 6 หน่วยงาน ให้เข้าใจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนฯ 9 การสร้างระบบฐานข้อมูลเครือข่ายทุนทางสังคม และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การประชุมประจำปี 2547 กับเศรษฐกิจนอกระบบ
สศช. ได้จัดการประชุมประจำปี 2547 เรื่อง “เศรษฐกิจนอกระบบกับการบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ” เพื่อรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในครึ่งแผนฯ 9 โดยใช้ดัชนีชี้วัด 3 ชุด ได้แก่ ดัชนีความอยู่ดีมีสุข ดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืน รายงานผลการดำเนินงานตามวาระแห่งชาติ 4 เรื่อง และผลการพัฒนาในระดับภาค รวมทั้งผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล อีกทั้งได้ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจนอกระบบ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
พัฒนาฐานความรู้ทางวิชาการ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
สศช. ได้รายงานสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมต่อสาธารณชน เป็นรายไตรมาสและรายงานประจำปี เพื่อใช้ประกอบในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การเสนอแนะนโยบาย แนวทาง และมาตรการต่อรัฐบาล รวมทั้งยังส่งสัญญาณเตือนภัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยรายงานภาวะสังคมได้จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรก
นอกจากนี้ได้พัฒนาความรู้ทางวิชาการ ด้านเศรษฐกิจ พัฒนาระบบฐานข้อมูลและเครื่องชี้วัด อาทิ การพัฒนาระบบบัญชีประชาชาติให้เข้าสู่ระบบสากล ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปี 2551 การจัดทำโครงการนำร่องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้จังหวัดสามารถพัฒนาระบบข้อมูลและจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) ด้วยตนเอง และเตรียมการในการเปลี่ยนปีฐานสถิติรายได้ประชาชาติที่ใช้ในการอ้างอิงให้ทันสมัยขึ้น
ส่วนทางด้านสังคม พัฒนาและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต รวมทั้งได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านความยากจนขึ้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานแก้ไขความยากจน และการพัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน
ครึ่งแผนฯ 9 พบเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง-คนไทยอายุยืน
การประเมินผลการพัฒนาประเทศในระยะครึ่งแผนฯ9 (พ.ศ. 2545-2546) แบ่งออกเป็น 3 ด้าน โดยด้านเศรษฐกิจ พบว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2547 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2546 เฉลี่ยร้อยละ 6.2 (3 ไตรมาสแรกของปี 2547) โดยมีแรงขับเคลื่อนที่สำคัญจากการผลิตนอกภาคเกษตรที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม
ด้านสังคม พบว่าในปี 2546 คนไทยมีอายุคาดหมายเฉลี่ยของเพศชายและเพศหญิงสูงขึ้น เป็น 67.6 และ 75.1 ปี ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่า คนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน รวมทั้งภาวะโรคอ้วน ปัจจัยพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และผลิตภาพการผลิต ยังเป็นจุดอ่อน ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่าญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย และไต้หวันอยู่มาก ขณะเดียวกัน ไทยมีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาในระดับที่น้อยมาก เพียงร้อยละ 0.27 ของจีดีพีเท่านั้น เช่นเดียวกับสัดส่วนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อประชากรที่ถึงแม้จะเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพียง 43 เครื่องต่อประชากร 1,000 คน สำหรับชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวไทย พบว่ามีการหย่าร้างสูงขึ้น ปัญหาอาชญากรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกประเภท รวมทั้งการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรเพิ่มขึ้น
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและภาวะภัยแล้งเกิดเป็นประจำทุกปี ป่าไม้เสื่อมโทรมและลดลงอย่างมาก มีปัญหาดินเสื่อมโทรมและการชะล้างพังทลายของดิน รวมทั้งปัญหาการไร้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และไร้ที่ดินทำกินรุนแรงเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ความต้องการใช้พลังงานของประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องนำเข้าพลังงานเพิ่มขึ้น
ประสานการพัฒนาตามวาระแห่งชาติ
การพัฒนาตามวาระแห่งชาติรวม 4 เรื่อง มีความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ดังนี้ 1. การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ สศช. ได้จัดทำ “ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบยั่งยืน รวมถึงผู้ด้อยโอกาส” และรัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ประกอบด้วย การปรับปรุงเส้นความยากจนให้มีความทันสมัยและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาส และได้จัดทำกรอบแผนปฏิบัติการเกณฑ์พื้นฐาน 10ประการ ในการดำรงชีวิตของคนไทยในระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2547-2552)
2. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (สพข.) ภายใต้ สศช. ได้ร่วมกับหน่วยงานเศรษฐกิจ 7หน่วยงาน กำหนดตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่มีสมรรถนะสูง และกำหนดกรอบยุทธศาสตร์รายสาขา โดยการวาดฝันสภาพที่พึงปรารถนาของประเทศไทย 7 ประการ ซึ่งมีประเด็นการพัฒนาที่สำคัญคือ การพัฒนาสังคมผู้ประกอบการ เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพธุรกิจโดยใช้ระบบบ่มเพาะธุรกิจ จัดทำยุทธศาสตร์การยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จัดทำข้อเสนอรูปแบบสถาบันเฉพาะทางที่สามารถเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ความเป็นเลิศ การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมหลัก ในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2547-2552) จัดทำร่างกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ การพัฒนาคลัสเตอร์ของไทย และการสร้างความเป็นเลิศในอุตสาหกรรมยางพารา
3. การพัฒนาทุนทางสังคม สศช. ได้ดำเนินกิจกรรมสำคัญเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาทุนทางสังคม คือ การจัดกระบวนการยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ ซึ่งผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว การดำเนินโครงการนำร่องการเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อชุมชนเข้มแข็ง โดยศึกษากระบวนการสะสมทุนทางสังคมของชุมชนที่ได้สร้างและสะสมต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน และการศึกษาเครื่องมือประเมินสถานภาพทุนทางสังคมไทย
4. การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้จัดเวทีระดมความคิดเห็น สร้างความชัดเจนในแนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทของสังคมไทย โดยจัดทำกรอบยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดทำแนวทางการส่งเสริมผลิตภาพที่สะอาดในอุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยว และจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการ
นำแผนยุทธศาสตร์ พัฒนาพื้นที่ทั่วทุกภาคของไทย
สศช. ได้ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคขึ้น โดยมีความสอดคล้องกับระบบบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ ซึ่งนำไปสู่การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ ได้มีการสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่เชื่อมโยงเศรษฐกิจภาคเหนือกับนานาชาติ การนำคุณค่าศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว และธรรมชาติ เป็นฐานในการสร้างรายได้ การเพิ่มความเข้มแข็งฐานเศรษฐกิจเดิม และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการยกระดับฐานการผลิตหลักของภาค การร่วมมือกับอินโดจีนเพื่อขยายฐานเศรษฐกิจ การสร้างศักยภาพและโอกาสให้คนจน การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และการสร้างคนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคกลาง มีการเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า และสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการขนส่งของเอเชีย และการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการผลิตอาหารไปสู่ระดับมาตรฐานโลก เพื่อสนับสนุนการเป็นครัวโลก เป็นต้น
ส่วนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ อาทิ การพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง โดยการก่อสร้างและปรับปรุงถนนขนาด 4 ช่องจราจรเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย การขยายเวลาเปิดด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณ 9,000 ล้านบาท ซึ่งมีแผนงาน/โครงการในปี 2547 จำนวน 6,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินการ
จัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ
1. การพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) สศช. ร่วมกับสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และธนาคารโลก กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาของประเทศและท้าทายมากขึ้น พร้อมนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนา การจัดทำโครงการ MDGs ในระดับจังหวัด โดยคัดเลือกจังหวัดแม่ฮ่องสอนและนครพนมเป็นจังหวัดนำร่อง
2. การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) โดย สศช. เป็นหน่วยงานประสานหลักของประเทศ ได้มีการกำหนดนโยบายการดำเนินงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศ GMS ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย การกำหนดทิศทางและนโยบายการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งด้านวิชาการและการเงิน และการประสานและผลักดันให้มีการลงนามความตกลงในส่วนของความตกลงขนส่งข้ามพรมแดน การจัดตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าในอนุภาค ตลอดจนสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งในกลุ่ม
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) สศช. ได้กำหนดกรอบยุทธศาสตร์การจัดระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดน และผลักดันการดำเนินงานให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการเร่งด่วนรวมทั้งพยายามผลักดันให้ประเทศที่สามเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
4. การพัฒนาความร่วมมือเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) มีการดำเนินงานที่สำคัญคือ การวางแผนพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ การลดข้อจำกัดทางการค้าที่เป็นรูปภาษีและมิใช่ภาษี การสร้างมาตรการส่งเสริมการค้าระหว่างกัน ทำความตกลงสามประเทศด้านเขตโทรคมนาคมพิเศษ และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
5. การดำเนินงานแผนงานภายใต้กรอบคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์ร่วมสำหรับการพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย - มาเลเซีย (JDS) นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้จัดตั้งคณะกรรมการฯ ดังกล่าวขึ้น เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2547 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธาน และหน่วยงานด้านการวางแผนเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ได้แก่ สศช. และ EPU เป็นเลขานุการ โดยให้ สศช. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำแผนแม่บท ซึ่งขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับ สศช. พิจารณากลั่นกรองโครงการที่ส่วนราชการต่างๆ ยืนยันความพร้อมที่จะดำเนินการ รวมทั้งรายละเอียดวงเงินงบประมาณ เพื่อรวบรวมเสนอขออนุมัติงบประมาณต่อไป
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สศช. ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์ดังกล่าวในระยะเร่งด่วน และให้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดยุทธศาสตร์ในระยะปานกลางและระยะยาวต่อไป
2. การพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ สศช. ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขานุการของคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) โดยในปี 2547 กทภ. ได้มีมติที่สำคัญอาทิ การวางแผนผังการพัฒนาเมืองศูนย์กลางการบินสุวรรณภูมิ โครงการที่จอดรถในท่าอากาศยานฯ และการให้เอกชนเป็นผู้รับสัมปทานบริหารที่จอดรถ งบประมาณเพิ่มเติมโครงการจัดหาอุปกรณ์บริการจราจรทางอากาศ และหอบังคับการบิน พร้อมอาคารสำนักงาน โครงการก่อสร้างสถานีแปลงไฟฟ้าสถานีที่ 2 โครงการก่อสร้างศูนย์รถโดยสารใหม่ในท่าอากาศยานสุวรรณ และการจัดตั้งสถานีตำรวจสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น
3 ภารกิจพิเศษ
1. การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สศช. ได้ดำเนินงานตามกรอบแผนงานที่กำหนดไว้ 4 ด้าน คือการเชื่อมโยงเครือข่ายเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาวิชาการและส่งเสริมงานวิจัย การสร้างกระบวนการเรียนรู้ โดยการพัฒนาวิชาการเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนในหรือนอกระบบ และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยมีการประกวดความเรียงตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงที่ข้าพเจ้ารู้จัก และการผลิตสื่อต่างๆ
2. ธนาคารสมอง ได้จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยการสัมมนาเฉลิมพระเกียรติ และการจัดทำสื่อต่าง ๆ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาและวิทยากรแก่หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในขณะเดียวกันมีการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน
3. มูลนิธิพัฒนาไท โดยการสร้างวิทยากรกระบวนการเพื่อผลักดันการพัฒนาประเทศ สร้างการเรียนรู้ระหว่างผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานกลาง 6 หน่วยงาน ให้เข้าใจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนฯ 9 การสร้างระบบฐานข้อมูลเครือข่ายทุนทางสังคม และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การประชุมประจำปี 2547 กับเศรษฐกิจนอกระบบ
สศช. ได้จัดการประชุมประจำปี 2547 เรื่อง “เศรษฐกิจนอกระบบกับการบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ” เพื่อรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในครึ่งแผนฯ 9 โดยใช้ดัชนีชี้วัด 3 ชุด ได้แก่ ดัชนีความอยู่ดีมีสุข ดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืน รายงานผลการดำเนินงานตามวาระแห่งชาติ 4 เรื่อง และผลการพัฒนาในระดับภาค รวมทั้งผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล อีกทั้งได้ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจนอกระบบ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-