- ธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินหลังการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันจันทร์มาลงทุนระยะสั้นหนาแน่นในตลาด R/P 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดลดลงจากสัปดาห์ก่อน ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน 7 วัน และ 1 เดือน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อัตราผลตอบแทน (Yield ) พันธบัตรฯ ไทยลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการย้ายเงินลงทุนจากตลาดหุ้น
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์ตามค่าเงินเยน ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันศุกร์ จากแรงซื้อดอลลาร์ สรอ. จากผู้นำเข้า และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากแรงเทขายจาก Hedge Funds รายงานการปรับลดสัดส่วนสินทรัพย์ดอลลาร์ สรอ. ของธนาคารกลางเอเชียจาก BIS และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตรดอกเบี้ย
ในช่วงต้นสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินหลังการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันจันทร์มาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 1.8125 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการขาดดุลเคลียริ่ง จึงมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน จึงปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.78125 ต่อปี ซึ่งยังคงต่ำกว่าอัตราปิดในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน 14 วัน และ 1 เดือน ยังปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 2.0625 2.25 และ 2.25 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 2.1 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.875 - 1.83 ต่อปีในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 36,400 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 64 และ 364 วัน วงเงินรวม 18,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,400 ล้านบาท ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ตามสัดส่วนเสนอประมูลที่ยังคงมีอยู่ค่อนข้างและมีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 3 และ 5 ปี ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 107,256 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 21,451 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.4 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 74.3 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาเป็นพันธบัตร ธปท.
อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลงตลอดสัปดาห์ โดยปรับตัวลดลงมากในกลางสัปดาห์ หลังจากที่เมอร์ริลลินช์ ประกาศลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นไทย ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างแรงและมีการย้ายการลงทุนบางส่วนมาที่ตลาดตราสารหนี้ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ระยะสั้นอายุ1-3 ปี ลดลง 1-8 basis points และพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 5 ปี ลดลง 10-14 basis point ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวสูงขึ้น 61 และ 31 basis points ตามลำดับ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของ US Treasury ปรับเพิ่มขึ้นตลอดสัปดาห์ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักลงทุนคาดว่าอาจจะส่งผลต่อเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทเคลื่อนไหวอยูในช่วงแคบๆ ระหว่าง 38.23 - 38.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.28 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาท มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็งค่า ของเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินเยนที่ได้รับปัจจัยบวกจากการปรับตัว สูงขึ้นของตลาดหลักทรัพย์โตเกียวและตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากการเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนมากของ Hedge Funds และรายงานรายไตรมาสของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ที่แสดงว่าสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ในทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียปรับตัวลดลง แม้ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรจะออกมาดี แต่ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ ยังออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด จึงไม่ทำให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากนัก เนื่องจากคาดว่า Fed จะยังสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น แรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้นำเข้า และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยกว่า 200 ล้านบาทตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม ยังเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินบาทและส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการทำธุรกรรมในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อรอผลการประกาศตัวเลขดุลการค้าของสหรัฐฯ โดยตัวเลขดุลการค้าในเดือนมกราคมที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 11 มี.ค. มียอด
ขาดดุลถึง 58.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. นับเป็นการขาดดุลสูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากยอดการขาดดุลในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งยอดการขาดดุลการค้าดังกล่าวจะเป็นปัจจัยกดดันเงินดอลลาร์ สรอ. ในระยะต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อัตราผลตอบแทน (Yield ) พันธบัตรฯ ไทยลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการย้ายเงินลงทุนจากตลาดหุ้น
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์ตามค่าเงินเยน ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันศุกร์ จากแรงซื้อดอลลาร์ สรอ. จากผู้นำเข้า และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากแรงเทขายจาก Hedge Funds รายงานการปรับลดสัดส่วนสินทรัพย์ดอลลาร์ สรอ. ของธนาคารกลางเอเชียจาก BIS และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตรดอกเบี้ย
ในช่วงต้นสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินหลังการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันจันทร์มาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 1.8125 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการขาดดุลเคลียริ่ง จึงมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน จึงปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.78125 ต่อปี ซึ่งยังคงต่ำกว่าอัตราปิดในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน 14 วัน และ 1 เดือน ยังปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 2.0625 2.25 และ 2.25 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 2.1 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.875 - 1.83 ต่อปีในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 36,400 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 64 และ 364 วัน วงเงินรวม 18,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,400 ล้านบาท ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ตามสัดส่วนเสนอประมูลที่ยังคงมีอยู่ค่อนข้างและมีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 3 และ 5 ปี ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 107,256 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 21,451 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.4 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 74.3 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาเป็นพันธบัตร ธปท.
อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลงตลอดสัปดาห์ โดยปรับตัวลดลงมากในกลางสัปดาห์ หลังจากที่เมอร์ริลลินช์ ประกาศลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นไทย ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างแรงและมีการย้ายการลงทุนบางส่วนมาที่ตลาดตราสารหนี้ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ระยะสั้นอายุ1-3 ปี ลดลง 1-8 basis points และพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 5 ปี ลดลง 10-14 basis point ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวสูงขึ้น 61 และ 31 basis points ตามลำดับ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของ US Treasury ปรับเพิ่มขึ้นตลอดสัปดาห์ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักลงทุนคาดว่าอาจจะส่งผลต่อเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทเคลื่อนไหวอยูในช่วงแคบๆ ระหว่าง 38.23 - 38.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.28 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาท มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็งค่า ของเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินเยนที่ได้รับปัจจัยบวกจากการปรับตัว สูงขึ้นของตลาดหลักทรัพย์โตเกียวและตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากการเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนมากของ Hedge Funds และรายงานรายไตรมาสของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ที่แสดงว่าสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ในทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียปรับตัวลดลง แม้ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรจะออกมาดี แต่ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ ยังออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด จึงไม่ทำให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากนัก เนื่องจากคาดว่า Fed จะยังสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น แรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้นำเข้า และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยกว่า 200 ล้านบาทตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม ยังเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินบาทและส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการทำธุรกรรมในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อรอผลการประกาศตัวเลขดุลการค้าของสหรัฐฯ โดยตัวเลขดุลการค้าในเดือนมกราคมที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 11 มี.ค. มียอด
ขาดดุลถึง 58.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. นับเป็นการขาดดุลสูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากยอดการขาดดุลในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งยอดการขาดดุลการค้าดังกล่าวจะเป็นปัจจัยกดดันเงินดอลลาร์ สรอ. ในระยะต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-