- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวตลอดสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯไทย ระยะ 6 เดือนขึ้นไป ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุต่ำกว่า 6 เดือน ปรับลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนยังคงลดต่ำลง
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินเยน และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลง เนื่องจาก Fed ไม่ได้ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกในระยะต่อไป หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในช่วงกลางสัปดาห์
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวตลอดสัปดาห์ เนื่องจากการเตรียมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดยาวปลายสัปดาห์ จึงมีความต้องการลงทุนลดลงและมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6875 - 2.71875 และ 2.71875 - 2.75 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.75 ต่อปี ในวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.6 - 2.73 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.7 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 40,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี และ 7 ปี วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 22,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 91 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลง สำหรับพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วันมีการจัดสรรไม่เต็มวงเงินที่เปิดประมูล เนื่องจากมีผู้ประมูลบางรายเสนออัตราผลตอบแทนสูงมาก ซึ่ง ธปท.เห็นว่าจะทำให้อัตราผลตอบแทนเร่งตัวสูงขึ้นมากเกินไป จึงมีพันธบัตร ธปท.ได้รับการจัดสรรเพียง 19,145 ล้านบาท นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการประปานครหลวงอายุ 3 5 และ 7 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท
มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 51,762 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,941 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 29 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ยังคงอยู่ในทิศทางเดียวกับสัปดาห์ที่แล้ว โดย yield ของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปเพิ่มขึ้น 9-17 basis points เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed นักลงทุนจึงลดความเสี่ยงโดยการลงทุนในตราสารระยะสั้นแทนตราสารระยะยาว ทำให้ yield ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 6 เดือน ลดลงเล็กน้อย และดัชนีราคา (Clean price index) พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนยังคงปรับตัวลดลงอีก 76 และ 42 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับลดลง หลังจากปรับสูงขึ้นติดต่อกัน 5 สัปดาห์ โดยพันธบัตรฯ อายุ 2 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 6-16 basis points ขณะที่พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 2 ปี ปรับตัวระหว่าง +1 ถึง -3 basis points โดยปรับเพิ่มขึ้นในต้นสัปดาห์เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันอังคาร และเมื่อผลการประชุมเป็นไปตามคาด yield จึงปรับลดลง และปรับลดลงอีกอย่างชัดเจนในวันศุกร์เนื่องจากมีอุปสงค์จากนักลงทุนต่างประเทศเข้ามามากขึ้น
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อน ตามทิศทางค่าเงินเยนซึ่งอ่อนค่าลงจากปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นหลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนกรกฎาคมออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในวันทำการที่เหลือของสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนภายในประเทศ ได้แก่ เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และคำกล่าวยืนยันจากผู้ว่า ธปท. ว่ายังไม่มีการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในระยะนี้ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทยังเป็นไปตามกลไกตลาด สำหรับปัจจัยภายนอกประเทศที่สนับสนุนค่าเงินบาท ได้แก่ การแข็งค่าของเงินเยนในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ จากการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์โตเกียวและตัวเลขเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ออกมาดี ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 ต่อปี ในช่วงกลางสัปดาห์ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเงินดอลลาร์ สรอ. อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากตลาดได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว ประกอบกับถ้อยแถลงภายหลังการประชุมของประธาน Fed ไม่ได้ส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุก ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.03 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.7 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯไทย ระยะ 6 เดือนขึ้นไป ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุต่ำกว่า 6 เดือน ปรับลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนยังคงลดต่ำลง
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินเยน และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลง เนื่องจาก Fed ไม่ได้ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกในระยะต่อไป หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในช่วงกลางสัปดาห์
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวตลอดสัปดาห์ เนื่องจากการเตรียมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดยาวปลายสัปดาห์ จึงมีความต้องการลงทุนลดลงและมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6875 - 2.71875 และ 2.71875 - 2.75 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.75 ต่อปี ในวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.6 - 2.73 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.7 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 40,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี และ 7 ปี วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 22,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 91 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลง สำหรับพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วันมีการจัดสรรไม่เต็มวงเงินที่เปิดประมูล เนื่องจากมีผู้ประมูลบางรายเสนออัตราผลตอบแทนสูงมาก ซึ่ง ธปท.เห็นว่าจะทำให้อัตราผลตอบแทนเร่งตัวสูงขึ้นมากเกินไป จึงมีพันธบัตร ธปท.ได้รับการจัดสรรเพียง 19,145 ล้านบาท นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการประปานครหลวงอายุ 3 5 และ 7 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท
มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 51,762 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,941 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 29 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ยังคงอยู่ในทิศทางเดียวกับสัปดาห์ที่แล้ว โดย yield ของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปเพิ่มขึ้น 9-17 basis points เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed นักลงทุนจึงลดความเสี่ยงโดยการลงทุนในตราสารระยะสั้นแทนตราสารระยะยาว ทำให้ yield ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 6 เดือน ลดลงเล็กน้อย และดัชนีราคา (Clean price index) พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนยังคงปรับตัวลดลงอีก 76 และ 42 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับลดลง หลังจากปรับสูงขึ้นติดต่อกัน 5 สัปดาห์ โดยพันธบัตรฯ อายุ 2 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 6-16 basis points ขณะที่พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 2 ปี ปรับตัวระหว่าง +1 ถึง -3 basis points โดยปรับเพิ่มขึ้นในต้นสัปดาห์เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันอังคาร และเมื่อผลการประชุมเป็นไปตามคาด yield จึงปรับลดลง และปรับลดลงอีกอย่างชัดเจนในวันศุกร์เนื่องจากมีอุปสงค์จากนักลงทุนต่างประเทศเข้ามามากขึ้น
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อน ตามทิศทางค่าเงินเยนซึ่งอ่อนค่าลงจากปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นหลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนกรกฎาคมออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในวันทำการที่เหลือของสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนภายในประเทศ ได้แก่ เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และคำกล่าวยืนยันจากผู้ว่า ธปท. ว่ายังไม่มีการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในระยะนี้ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทยังเป็นไปตามกลไกตลาด สำหรับปัจจัยภายนอกประเทศที่สนับสนุนค่าเงินบาท ได้แก่ การแข็งค่าของเงินเยนในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ จากการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์โตเกียวและตัวเลขเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ออกมาดี ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 ต่อปี ในช่วงกลางสัปดาห์ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเงินดอลลาร์ สรอ. อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากตลาดได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว ประกอบกับถ้อยแถลงภายหลังการประชุมของประธาน Fed ไม่ได้ส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุก ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.03 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.7 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-