-สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ จากการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับภาครัฐ และการสำรองเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์และหุ้น กฟผ. แต่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทย ปรับตัวลดลงหลังจากเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องมา 6 สัปดาห์ เช่นเดียวกับพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ส่วนใหญ่มีทิศทางปรับตัวลดลง
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัยหลักจากแรงเทขายเงินบาทเพื่อตัดขาดทุน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบเงินสกุลหลัก จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ซึ่งจะส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ และอัตราดอกเบี้ยของประเทศอื่นๆ กว้างขึ้น
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันจันทร์มาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 3.6875 ต่อปี เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนระยะ 7 และ 14 วัน ที่ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 3.75 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับภาครัฐ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการสำรองเงินเพื่อรองรับการจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ และหุ้นของบริษัท กฟผ. ของลูกค้าในสัปดาห์หน้า ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ลดการให้กู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้นลง สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังไม่เปลี่ยนแปลง ในสัปดาห์นี้มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.78125 ต่อปี ในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.5 - 3.75 และอัตรากลาง (Mode) ยังคงปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 3.68 ต่อปี สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 29,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 4 ปี 6 เดือน 9 ปี 6 เดือน และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 4,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท ตราสารระยะสั้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตร ธปท. มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ส่วนพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลงเนื่องจากมีความต้องการเสนอประมูลค่อนข้างมาก และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 24,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 5,500 ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 70,725 ล้าน บาท คิดเป็น 14,145 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 30 แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะธุรกรรม Outright มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยลดลงเพียงร้อยละ 13 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลังรองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ปรับตัวลดลงหลังจากปรับสูงขึ้นต่อเนื่องมา 6 สัปดาห์ โดยปรับตัวลดลงมากในวันพุธตามการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรก และอีกส่วนหนึ่งเป็นการปรับตัวทางเทคนิค ทำให้ในรอบสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปี ขึ้นไปปรับตัวลดลง 15-30 basis points พันธบัตรอายุ 2-3 ปี ลดลง 1-4 basis points ส่วนพันธบัตรอายุไม่เกิน 1 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 3-13 basis points การปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 106 และ 23 basis points ตามลำดับ
สำหรับในสัปดาห์นี้ US Treasury Yield ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเช่นกัน เนื่องจากพันธบัตรสหรัฐฯ ที่เปิดประมูลในสัปดาห์นี้ได้รับความสนใจค่อนข้างมากจากธนาคารกลางของต่างประเทศ ที่ต้องการเพิ่มการถือครองพันธบัตรฯสหรัฐ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่กลับมาแข็งค่าขึ้น ประกอบกับราคาพันธบัตรฯ ได้ลดต่ำลงจนถึงระดับที่น่าลงทุน
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ต.ค. 48 40.87
เฉลี่ย 31 ต.ค. - 4 พ.ย. 48 40.78
7 พ.ย. 48 40.97
8 พ.ย. 48 41.05
9 พ.ย. 48 41.17
10 พ.ย. 48 41.17
11 พ.ย. 48 41.10
เฉลี่ย 31 ต.ค.- 4 พ.ย. 48 41.05
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.05 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.7 เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ และปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบกว่า 1 เดือนที่ระดับ 41.17 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพุธ โดยมีสาเหตุหลักจากความต้องการขายเงินบาทเพื่อตัดขาดทุนจากธนาคารพาณิชย์และจากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทยและการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติยังเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาที่กดดันค่าเงินบาทอีกทางหนึ่ง โดยการปรับลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทยดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคอ่อนค่าลงโดยเฉพาะค่าเงินเยน อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ ตามการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคและความต้องการซื้อเงินบาทจากผู้ส่งออก ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักโดยเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี เป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะต่อไป ขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยของประเทศ/กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมสำคัญอื่นๆ จะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทย ปรับตัวลดลงหลังจากเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องมา 6 สัปดาห์ เช่นเดียวกับพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ส่วนใหญ่มีทิศทางปรับตัวลดลง
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัยหลักจากแรงเทขายเงินบาทเพื่อตัดขาดทุน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบเงินสกุลหลัก จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ซึ่งจะส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ และอัตราดอกเบี้ยของประเทศอื่นๆ กว้างขึ้น
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันจันทร์มาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 3.6875 ต่อปี เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนระยะ 7 และ 14 วัน ที่ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 3.75 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับภาครัฐ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการสำรองเงินเพื่อรองรับการจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ และหุ้นของบริษัท กฟผ. ของลูกค้าในสัปดาห์หน้า ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ลดการให้กู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้นลง สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังไม่เปลี่ยนแปลง ในสัปดาห์นี้มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.78125 ต่อปี ในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.5 - 3.75 และอัตรากลาง (Mode) ยังคงปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 3.68 ต่อปี สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 29,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 4 ปี 6 เดือน 9 ปี 6 เดือน และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 4,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท ตราสารระยะสั้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตร ธปท. มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ส่วนพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลงเนื่องจากมีความต้องการเสนอประมูลค่อนข้างมาก และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 24,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 5,500 ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 70,725 ล้าน บาท คิดเป็น 14,145 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 30 แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะธุรกรรม Outright มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยลดลงเพียงร้อยละ 13 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลังรองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ปรับตัวลดลงหลังจากปรับสูงขึ้นต่อเนื่องมา 6 สัปดาห์ โดยปรับตัวลดลงมากในวันพุธตามการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรก และอีกส่วนหนึ่งเป็นการปรับตัวทางเทคนิค ทำให้ในรอบสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปี ขึ้นไปปรับตัวลดลง 15-30 basis points พันธบัตรอายุ 2-3 ปี ลดลง 1-4 basis points ส่วนพันธบัตรอายุไม่เกิน 1 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 3-13 basis points การปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 106 และ 23 basis points ตามลำดับ
สำหรับในสัปดาห์นี้ US Treasury Yield ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเช่นกัน เนื่องจากพันธบัตรสหรัฐฯ ที่เปิดประมูลในสัปดาห์นี้ได้รับความสนใจค่อนข้างมากจากธนาคารกลางของต่างประเทศ ที่ต้องการเพิ่มการถือครองพันธบัตรฯสหรัฐ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่กลับมาแข็งค่าขึ้น ประกอบกับราคาพันธบัตรฯ ได้ลดต่ำลงจนถึงระดับที่น่าลงทุน
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ต.ค. 48 40.87
เฉลี่ย 31 ต.ค. - 4 พ.ย. 48 40.78
7 พ.ย. 48 40.97
8 พ.ย. 48 41.05
9 พ.ย. 48 41.17
10 พ.ย. 48 41.17
11 พ.ย. 48 41.10
เฉลี่ย 31 ต.ค.- 4 พ.ย. 48 41.05
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.05 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.7 เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ และปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบกว่า 1 เดือนที่ระดับ 41.17 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพุธ โดยมีสาเหตุหลักจากความต้องการขายเงินบาทเพื่อตัดขาดทุนจากธนาคารพาณิชย์และจากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทยและการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติยังเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาที่กดดันค่าเงินบาทอีกทางหนึ่ง โดยการปรับลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทยดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคอ่อนค่าลงโดยเฉพาะค่าเงินเยน อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ ตามการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคและความต้องการซื้อเงินบาทจากผู้ส่งออก ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักโดยเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี เป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะต่อไป ขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยของประเทศ/กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมสำคัญอื่นๆ จะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-