- เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 6.0 สูงกว่าการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.8 ในปี 2550 และการขยายตัวเริ่มมีความสมดุลมากขึ้นจากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนที่มีความชัดเจนมากขึ้นในขณะที่การส่งออกสุทธิสนับสนุนการขยายตัวได้น้อยลงอันเป็นผลจากการที่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปริมาณการส่งออก ในไตรมาสแรกการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น แต่การเบิกจ่ายรัฐบาลต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี2550 ซึ่งเป็นช่วงที่เพิ่งประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณ 2550 จึงมีการเบิกจ่ายส่วนที่ค้างมาจากความล่าช้าของพ.ร.บ. งบประมาณปี 2550
- ภาพรวมเศรษฐกิจยังมีเสถียรภาพแต่แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาก ในไตรมาสแรกอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 5.0 สูงขึ้นมากจากร้อยละ 2.9 ในไตรมาสที่สี่ปี 2550 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3,068 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าการเกินดุล 4,689 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกปี 2550 และอัตราการว่างงานเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 1.6
- อัตราดอกเบี้ย ณ ราคาตลาดในตลาดเงินทรงตัว แต่อัตราดอกเบี้ยแท้จริงลดลงเนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น สินเชื่อเร่งตัวมากขึ้น ในขณะที่เงินฝากยังอยู่ในช่วงชะลอตัว ทำให้สภาพคล่องเริ่มลดลง แต่โดยรวมสภาพคล่องยังอยู่ในระดับสูง ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แต่ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริงอ่อนค่าลง ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์โดยเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีความผันผวนเป็นช่วง ๆ ตามการเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ
- ฐานะการคลังขาดดุลงบประมาณและขาดดุลเงินสดต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งเป็นไปตามการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เท่ากับร้อยละ 36.35 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 37.97 ณ สิ้นปี 2550
- ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรก ประกอบด้วย การปรับเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้างขั้นต่ำรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตร เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยยังขยายตัวดีและสนับสนุนการส่งออกของไทย อัตราดอกเบี้ยต่ำลง และความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว
- ในปี 2551 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.5. - 5.5 เท่าที่คาดการณ์ไว้เดิมแม้ว่าราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น เนื่องจาก (i) เศรษฐกิจไตรมาสแรกขยายตัวสูง จากการใช้จ่ายและการลงทุนเอกชนฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้เดิม ในขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการยังขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดไว้เช่นกัน (ii) มาตรการของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนให้ต่อเนื่องในระยะต่อไปรวมทั้งการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันและภาวะเงินเฟ้อสูง ประกอบด้วย การดำเนินมาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุน การ
- วางเป้าหมายการขยายสินเชื่อ SMEs และกลุ่มผู้มีรายได้น้อย การปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการชั้นผู้น้อย และการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ และ (iii) ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อื่น ๆ ได้แก่ การดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุลและการดำเนินนโยบายเร่งด่วนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยต่ำ และอัตราการว่างงานต่ำ
- ประเด็นความเสี่ยงที่ต้องมีการบริหารจัดการ ประกอบด้วย (i) ภาวะเงินเฟ้อและผลกระทบโดยเฉพาะกลุ่มเร่งด่วนซึ่งคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปีจะสูงร้อยละ 5.3 - 5.8 เนื่องจากราคาน้ำมัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาอาหาร และราคาวัตถุดิบ สูงขึ้น ในขณะที่เงินบาทเริ่มมีสัญญาณอ่อนลง (ii) ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกต่อการส่งออกและ (iii) การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง ซึ่งคาดว่าจะเกินดุลประมาณร้อยละ 2.0 ของ GDP และ (iv) ประสิทธิภาพการใช้พลังงานซึ่งจำเป็นต้องส่งเสริมให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
1. ภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาสแรกและตลอดปี 2551
1.1 เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 6.0 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 4.8 ของทั้งปี 2550 และการขยายตัวรายไตรมาส แสดงว่าเศรษฐกิจไทยกำ ลังฟื้นตัวดีขึ้นตามลำ ดับ จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศในขณะที่การส่งออกสินค้ายังขยายตัวได้ดี และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น มากสนับสนุนรายรับภาคบริการ
การส่งออกสินค้า
---------------------------- 2550 --------------------------- 2551
(%YOY) ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
สินค้าเกษตร มูลค่า 15.8 14.2 17.6 2.6 28.8 45.9
ราคา 10.3 10.6 2.8 3.1 26.5 26.5
ปริมาณ 5.0 3.2 14.4 -0.5 1.8 15.3
ประมง มูลค่า 11.1 20.6 15.8 4.5 7.0 -2.5
ราคา 5.1 6.0 7.0 2.7 4.9 11.0
ปริมาณ 5.7 13.7 8.2 1.7 2.0 -12.2
สินค้า มูลค่า 19.1 18.8 18.4 13.8 25.4 20.5
อุตสาหกรรม ราคา 4.9 3.8 5.0 4.4 6.3 7.8
ปริมาณ 13.6 14.4 12.7 9.0 18.0 11.8
รวม มูลค่า 18.1 17.9 18.0 12.6 24.0 21.1
ราคา 2.0 4.7 5.1 4.5 8.5 9.9
ปริมาณ 11.8 12.7 12.2 7.8 14.3 10.2
ที่มา ธปท.
ประเด็นหลัก
- เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.0 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 และร้อยละ 4.8 ของทั้งปี จากการขยายตัวดีขึ้นของหลายสาขาการผลิตที่เป็นฐานกว้างขึ้น ประกอบด้วยสาขาอุตสาหกรรมซึ่งขยายตัวร้อยละ 9.7 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในปี 2550 ตามภาวะการส่งออกที่ยังขยายตัวดีและการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศ ผลผลิตเกษตรปรับตัวดีขึ้น และสาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวเร็วขึ้นจากการที่การท่องเที่ยวปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งสาขาการเงินที่ขยายตัวได้สูงกว่าในปีที่ผ่านมาอย่างชัดเจนอันเนื่องจากการขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้น และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมทั้งได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้น
- การผลิตที่ขยายตัวได้สูงขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน ในขณะที่ปริมาณการส่งออกก็ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ในไตรมาสแรกการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ2.6 และ 6.5 ตามลำดับ สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 1.5และ 0.5 ในปี 2550 สำหรับปริมาณการส่งออกสินค้านั้นขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีร้อยละ 6.9 ในขณะที่การรายรับภาคบริการดีขึ้นมากจากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.3 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.6 ในปี 2550
- ภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 2551 มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกมากขึ้น โดยที่แรงสนับสนุนจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศเพิ่มขึ้นชัดเจนและชดเชยการชะลอตัวลงมากของปริมาณการส่งออกสุทธิที่รวมทั้งสินค้าและบริการ
- ด้านการส่งออก ปริมาณการส่งออกยังอยู่ในช่วงที่ชะลอลง แต่ราคาที่เพิ่มขึ้นช่วยชดเชยในด้านมูลค่าได้ระดับหนึ่ง แต่ในระยะต่อไปปริมาณการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกจะเป็นองค์ประกอบหลักที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวช้าลง ราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นมากนั้นเป็นกลุ่มสินค้าที่มูลค่าคิดเป็นสัดส่วนต่อการส่งออกรวมต่ำกว่าร้อยละ 10 ในขณะที่ในบางช่วงปริมาณการส่งออกมีความผันผวนได้ง่ายตามสถานการณ์ด้านการผลิต ดังนั้นมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรจะช่วยสนับสนุนภาพรวมการส่งออกได้ไม่มาก ในขณะเดียวกันการส่งออกยังเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทั้งจากราคาน้ำมัน ราคาวัตถุดิบ และค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นการแข่งขันในตลาดโลกจึงยากลำบากขึ้น และต้องเร่งปรับตัวในการเพิ่มผลิตภาพการผลิต
- กลุ่มสินค้าออกที่ขยายตัวสูงและมีสัดส่วนในการส่งออกสูงมีทิศทางชะลอลงต่อเนื่อง สินค้าในกลุ่มนี้ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ยานยนต์และชิ้นส่วน พลาสติกและผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้น
- ในขณะเดียวกันการนำเข้าเร่งตัวขึ้นมากทั้งปริมาณและราคา ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ในไตรมาสแรกมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34.5 เร่งตัวขึ้นมากจากการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ9.6 ในปี 2550 ดุลการค้าจึงเริ่มขาดดุล 109 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาสที่ผ่านมา มูลค่าการนำ เข้ารวมที่เพิ่มขึ้นมากนั้นมาจากปริมาณและราคาที่เพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยที่
- ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนทำให้ความต้องการสินค้าทุนเพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่ำมากในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่การลงทุนหดตัวและความต้องการนำเข้าสินค้าทุนลดลง โดยในไตรมาสแรกนี้ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8 แต่ราคาโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นไม่มากที่ร้อยละ 4.9
- มูลค่าการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นมากร้อยละ 68.0 อันเป็นผลของราคาที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 48.0 โดยที่ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส และราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 63.5 มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบจึงเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 79.4 โดยที่การนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมากนั้นเพื่อการกลั่นใช้ในประเทศและได้ลดการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปลง
- มูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นจากปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นตามภาวะการส่งออกและการฟื้นตัวของความต้องการสินค้าในประเทศ ในขณะที่ราคานำเข้าวัตถุดิบก็ยังคงเพิ่มขึ้นตามต้นทุนราคาน้ำมัน โดยที่ราคานำเข้าสินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.4 ในขณะที่ปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 26.0
- มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นมากถึง ร้อยละ37.3 จากปริมาณความต้องการที่เพิ่มมากถึงร้อยละ30.7 ในภาวะที่ค่าเงินบาทโดยเฉลี่ยแข็งขึ้นกว่าในปีที่แล้วมาก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำจึงจูงใจให้ผู้บริโภคในกลุ่มที่มีอำนาจซื้อสูงจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
การนำเข้าสินค้า
---------------------------- 2550 --------------------------- 2551
(%YOY) ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
สินค้าอุปโภค มูลค่า 13.80 7.2 9.7 10.3 27.2 37.3
บริโภค ราคา 3.6 1.5 2.6 5.1 5.3 5.0
ปริมาณ 9.8 5.6 6.9 4.9 20.8 30.7
สินค้าวัตถุดิบ มูลค่า 15.1 15.3 12.2 13.4 19.4 26.0
ราคา 5.8 5.7 5.9 5.4 6.2 9.4
ปริมาณ 8.7 9.0 6.0 7.6 12.4 15.2
สินค้าทุน มูลค่า 3.7 -6.6 7.2 7.6 6.4 39.4
ราคา 2.2 1.6 1.9 2.3 2.9 4.9
ปริมาณ 1.5 -8.1 5.1 5.2 3.4 32.8
สินค้า มูลค่า 2.8 -4.0 -2.9 -3.3 22.1 68.0
เชื้อเพลิง ราคา 8.1 -0.6 0.4 2.7 31.0 48.0
ปริมาณ -5.0 -3.4 -3.3 -5.8 -6.8 13.5
รวม มูลค่า 9.6 5.9 7.3 8.4 16.6 34.5
ราคา 5.4 3.4 3.4 4.1 10.5 15.6
ปริมาณ 4.1 2.4 3.8 4.1 5.5 16.3
ที่มา ธปท.
- สำหรับภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจนั้นในไตรมาสแรกมีการเบิกจ่ายได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายการเบิกจ่ายดังนี้
- การเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลมีจำนวนรวม 368,952 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 22.2 ใกล้เคียงกับเป้าหมายร้อยละ 23.5 โดยเป็นการเบิกจ่ายงบลงทุนจำนวน 76,744 ล้านบาท และงบประจำรวมทั้งการชำระหนี้จำนวน 292,173 ล้านบาท รวมทั้งมีการเบิกจ่ายรายจ่ายเหลื่อมปีอีกจำนวน 32,972 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจนั้นมีจำนวนประมาณ 54,695 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 35,305.5 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
- โดยภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลนั้นเป็นไปตามแนวโน้มปกติ แต่สาเหตุที่การเบิกจ่ายได้เป็นจำนวนเงินต่ำกว่าในช่วงเดียวของปีที่แล้วนั้น (จำนวน 407,359 ล้านบาท) เป็นเพราะในปีงบประมาณที่แล้วการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณปี 2550 ล่าช้า ออกมา 1 ไตรมาส การเบิกจ่ายที่ล่าช้าทำให้ต้องมาเบิกจ่ายรวมกันในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมปี 2550 และเมื่อประกอบกับปัจจัยด้านราคาที่สูงขึ้นในปีนี้จึงทำให้การใช้จ่ายรัฐบาลเพื่อการอุปโภคและบริโภค ณ ราคาคงที่ในไตรมาสแรกนี้ลดลงร้อยละ 0.1 สำหรับการลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่นั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0
(ยังมีต่อ).../- การลดอัตราดอกเบี้ย..
- ภาพรวมเศรษฐกิจยังมีเสถียรภาพแต่แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาก ในไตรมาสแรกอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 5.0 สูงขึ้นมากจากร้อยละ 2.9 ในไตรมาสที่สี่ปี 2550 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3,068 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าการเกินดุล 4,689 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกปี 2550 และอัตราการว่างงานเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 1.6
- อัตราดอกเบี้ย ณ ราคาตลาดในตลาดเงินทรงตัว แต่อัตราดอกเบี้ยแท้จริงลดลงเนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น สินเชื่อเร่งตัวมากขึ้น ในขณะที่เงินฝากยังอยู่ในช่วงชะลอตัว ทำให้สภาพคล่องเริ่มลดลง แต่โดยรวมสภาพคล่องยังอยู่ในระดับสูง ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แต่ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริงอ่อนค่าลง ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์โดยเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีความผันผวนเป็นช่วง ๆ ตามการเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ
- ฐานะการคลังขาดดุลงบประมาณและขาดดุลเงินสดต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งเป็นไปตามการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เท่ากับร้อยละ 36.35 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 37.97 ณ สิ้นปี 2550
- ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรก ประกอบด้วย การปรับเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้างขั้นต่ำรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตร เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยยังขยายตัวดีและสนับสนุนการส่งออกของไทย อัตราดอกเบี้ยต่ำลง และความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว
- ในปี 2551 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.5. - 5.5 เท่าที่คาดการณ์ไว้เดิมแม้ว่าราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น เนื่องจาก (i) เศรษฐกิจไตรมาสแรกขยายตัวสูง จากการใช้จ่ายและการลงทุนเอกชนฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้เดิม ในขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการยังขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดไว้เช่นกัน (ii) มาตรการของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนให้ต่อเนื่องในระยะต่อไปรวมทั้งการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันและภาวะเงินเฟ้อสูง ประกอบด้วย การดำเนินมาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุน การ
- วางเป้าหมายการขยายสินเชื่อ SMEs และกลุ่มผู้มีรายได้น้อย การปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการชั้นผู้น้อย และการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ และ (iii) ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อื่น ๆ ได้แก่ การดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุลและการดำเนินนโยบายเร่งด่วนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยต่ำ และอัตราการว่างงานต่ำ
- ประเด็นความเสี่ยงที่ต้องมีการบริหารจัดการ ประกอบด้วย (i) ภาวะเงินเฟ้อและผลกระทบโดยเฉพาะกลุ่มเร่งด่วนซึ่งคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปีจะสูงร้อยละ 5.3 - 5.8 เนื่องจากราคาน้ำมัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาอาหาร และราคาวัตถุดิบ สูงขึ้น ในขณะที่เงินบาทเริ่มมีสัญญาณอ่อนลง (ii) ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกต่อการส่งออกและ (iii) การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง ซึ่งคาดว่าจะเกินดุลประมาณร้อยละ 2.0 ของ GDP และ (iv) ประสิทธิภาพการใช้พลังงานซึ่งจำเป็นต้องส่งเสริมให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
1. ภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาสแรกและตลอดปี 2551
1.1 เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 6.0 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 4.8 ของทั้งปี 2550 และการขยายตัวรายไตรมาส แสดงว่าเศรษฐกิจไทยกำ ลังฟื้นตัวดีขึ้นตามลำ ดับ จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศในขณะที่การส่งออกสินค้ายังขยายตัวได้ดี และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น มากสนับสนุนรายรับภาคบริการ
การส่งออกสินค้า
---------------------------- 2550 --------------------------- 2551
(%YOY) ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
สินค้าเกษตร มูลค่า 15.8 14.2 17.6 2.6 28.8 45.9
ราคา 10.3 10.6 2.8 3.1 26.5 26.5
ปริมาณ 5.0 3.2 14.4 -0.5 1.8 15.3
ประมง มูลค่า 11.1 20.6 15.8 4.5 7.0 -2.5
ราคา 5.1 6.0 7.0 2.7 4.9 11.0
ปริมาณ 5.7 13.7 8.2 1.7 2.0 -12.2
สินค้า มูลค่า 19.1 18.8 18.4 13.8 25.4 20.5
อุตสาหกรรม ราคา 4.9 3.8 5.0 4.4 6.3 7.8
ปริมาณ 13.6 14.4 12.7 9.0 18.0 11.8
รวม มูลค่า 18.1 17.9 18.0 12.6 24.0 21.1
ราคา 2.0 4.7 5.1 4.5 8.5 9.9
ปริมาณ 11.8 12.7 12.2 7.8 14.3 10.2
ที่มา ธปท.
ประเด็นหลัก
- เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.0 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 และร้อยละ 4.8 ของทั้งปี จากการขยายตัวดีขึ้นของหลายสาขาการผลิตที่เป็นฐานกว้างขึ้น ประกอบด้วยสาขาอุตสาหกรรมซึ่งขยายตัวร้อยละ 9.7 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในปี 2550 ตามภาวะการส่งออกที่ยังขยายตัวดีและการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศ ผลผลิตเกษตรปรับตัวดีขึ้น และสาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวเร็วขึ้นจากการที่การท่องเที่ยวปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งสาขาการเงินที่ขยายตัวได้สูงกว่าในปีที่ผ่านมาอย่างชัดเจนอันเนื่องจากการขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้น และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมทั้งได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้น
- การผลิตที่ขยายตัวได้สูงขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน ในขณะที่ปริมาณการส่งออกก็ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ในไตรมาสแรกการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ2.6 และ 6.5 ตามลำดับ สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 1.5และ 0.5 ในปี 2550 สำหรับปริมาณการส่งออกสินค้านั้นขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีร้อยละ 6.9 ในขณะที่การรายรับภาคบริการดีขึ้นมากจากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.3 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.6 ในปี 2550
- ภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 2551 มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกมากขึ้น โดยที่แรงสนับสนุนจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศเพิ่มขึ้นชัดเจนและชดเชยการชะลอตัวลงมากของปริมาณการส่งออกสุทธิที่รวมทั้งสินค้าและบริการ
- ด้านการส่งออก ปริมาณการส่งออกยังอยู่ในช่วงที่ชะลอลง แต่ราคาที่เพิ่มขึ้นช่วยชดเชยในด้านมูลค่าได้ระดับหนึ่ง แต่ในระยะต่อไปปริมาณการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกจะเป็นองค์ประกอบหลักที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวช้าลง ราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นมากนั้นเป็นกลุ่มสินค้าที่มูลค่าคิดเป็นสัดส่วนต่อการส่งออกรวมต่ำกว่าร้อยละ 10 ในขณะที่ในบางช่วงปริมาณการส่งออกมีความผันผวนได้ง่ายตามสถานการณ์ด้านการผลิต ดังนั้นมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรจะช่วยสนับสนุนภาพรวมการส่งออกได้ไม่มาก ในขณะเดียวกันการส่งออกยังเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทั้งจากราคาน้ำมัน ราคาวัตถุดิบ และค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นการแข่งขันในตลาดโลกจึงยากลำบากขึ้น และต้องเร่งปรับตัวในการเพิ่มผลิตภาพการผลิต
- กลุ่มสินค้าออกที่ขยายตัวสูงและมีสัดส่วนในการส่งออกสูงมีทิศทางชะลอลงต่อเนื่อง สินค้าในกลุ่มนี้ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ยานยนต์และชิ้นส่วน พลาสติกและผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้น
- ในขณะเดียวกันการนำเข้าเร่งตัวขึ้นมากทั้งปริมาณและราคา ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ในไตรมาสแรกมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34.5 เร่งตัวขึ้นมากจากการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ9.6 ในปี 2550 ดุลการค้าจึงเริ่มขาดดุล 109 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาสที่ผ่านมา มูลค่าการนำ เข้ารวมที่เพิ่มขึ้นมากนั้นมาจากปริมาณและราคาที่เพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยที่
- ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนทำให้ความต้องการสินค้าทุนเพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่ำมากในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่การลงทุนหดตัวและความต้องการนำเข้าสินค้าทุนลดลง โดยในไตรมาสแรกนี้ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8 แต่ราคาโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นไม่มากที่ร้อยละ 4.9
- มูลค่าการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นมากร้อยละ 68.0 อันเป็นผลของราคาที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 48.0 โดยที่ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส และราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 63.5 มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบจึงเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 79.4 โดยที่การนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมากนั้นเพื่อการกลั่นใช้ในประเทศและได้ลดการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปลง
- มูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นจากปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นตามภาวะการส่งออกและการฟื้นตัวของความต้องการสินค้าในประเทศ ในขณะที่ราคานำเข้าวัตถุดิบก็ยังคงเพิ่มขึ้นตามต้นทุนราคาน้ำมัน โดยที่ราคานำเข้าสินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.4 ในขณะที่ปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 26.0
- มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นมากถึง ร้อยละ37.3 จากปริมาณความต้องการที่เพิ่มมากถึงร้อยละ30.7 ในภาวะที่ค่าเงินบาทโดยเฉลี่ยแข็งขึ้นกว่าในปีที่แล้วมาก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำจึงจูงใจให้ผู้บริโภคในกลุ่มที่มีอำนาจซื้อสูงจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
การนำเข้าสินค้า
---------------------------- 2550 --------------------------- 2551
(%YOY) ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
สินค้าอุปโภค มูลค่า 13.80 7.2 9.7 10.3 27.2 37.3
บริโภค ราคา 3.6 1.5 2.6 5.1 5.3 5.0
ปริมาณ 9.8 5.6 6.9 4.9 20.8 30.7
สินค้าวัตถุดิบ มูลค่า 15.1 15.3 12.2 13.4 19.4 26.0
ราคา 5.8 5.7 5.9 5.4 6.2 9.4
ปริมาณ 8.7 9.0 6.0 7.6 12.4 15.2
สินค้าทุน มูลค่า 3.7 -6.6 7.2 7.6 6.4 39.4
ราคา 2.2 1.6 1.9 2.3 2.9 4.9
ปริมาณ 1.5 -8.1 5.1 5.2 3.4 32.8
สินค้า มูลค่า 2.8 -4.0 -2.9 -3.3 22.1 68.0
เชื้อเพลิง ราคา 8.1 -0.6 0.4 2.7 31.0 48.0
ปริมาณ -5.0 -3.4 -3.3 -5.8 -6.8 13.5
รวม มูลค่า 9.6 5.9 7.3 8.4 16.6 34.5
ราคา 5.4 3.4 3.4 4.1 10.5 15.6
ปริมาณ 4.1 2.4 3.8 4.1 5.5 16.3
ที่มา ธปท.
- สำหรับภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจนั้นในไตรมาสแรกมีการเบิกจ่ายได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายการเบิกจ่ายดังนี้
- การเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลมีจำนวนรวม 368,952 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 22.2 ใกล้เคียงกับเป้าหมายร้อยละ 23.5 โดยเป็นการเบิกจ่ายงบลงทุนจำนวน 76,744 ล้านบาท และงบประจำรวมทั้งการชำระหนี้จำนวน 292,173 ล้านบาท รวมทั้งมีการเบิกจ่ายรายจ่ายเหลื่อมปีอีกจำนวน 32,972 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจนั้นมีจำนวนประมาณ 54,695 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 35,305.5 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
- โดยภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลนั้นเป็นไปตามแนวโน้มปกติ แต่สาเหตุที่การเบิกจ่ายได้เป็นจำนวนเงินต่ำกว่าในช่วงเดียวของปีที่แล้วนั้น (จำนวน 407,359 ล้านบาท) เป็นเพราะในปีงบประมาณที่แล้วการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณปี 2550 ล่าช้า ออกมา 1 ไตรมาส การเบิกจ่ายที่ล่าช้าทำให้ต้องมาเบิกจ่ายรวมกันในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมปี 2550 และเมื่อประกอบกับปัจจัยด้านราคาที่สูงขึ้นในปีนี้จึงทำให้การใช้จ่ายรัฐบาลเพื่อการอุปโภคและบริโภค ณ ราคาคงที่ในไตรมาสแรกนี้ลดลงร้อยละ 0.1 สำหรับการลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่นั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0
(ยังมีต่อ).../- การลดอัตราดอกเบี้ย..