- ด้านการผลิต: ขยายตัวดีขึ้นเป็นฐานกว้าง
- สาขาเกษตรกรรม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 3.5 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 2.9 ในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 ผลผลิตพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ปาล์ม และยางพารา ในขณะที่ราคาพืชผลในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะราคาสินค้าในกลุ่มพืชน้ำมัน กลุ่มธัญพืชและพืชอาหารโดยที่ราคาพืชน้ำมันที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ของพืชน้ำมันสำหรับการผลิตพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ราคาสุกรยังคงเพิ่มขึ้น ระดับราคาสินค้าเกษตรโดยรวมที่เพิ่มขึ้นและปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นส่งผลต่อรายได้ของเกษตรในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.1
- สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.7 ต่อเนื่องจากที่ขยายตัวร้อยละ 8.0 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เป็นผลมาจากการขยายตัวทั้งอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและอุตสาหกรรมที่ใช้ภายในประเทศ เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม การผลิตรถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่ง เนื่องจากผู้ประกอบการมีการผลิตรถยนต์สำหรับพลังงานทางเลือก E20 เข้าสู่ตลาดมากขึ้น ประกอบกับเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการอุปโภคบริโภคในสินค้าเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถยนต์ประหยัดพลังงานมากขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกยังคงขยายตัวโดยเฉพาะการผลิตอาหารทะเลกระป๋อง หัวอ่านข้อมูล(HDD) เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายเริ่มสร้างตราสินค้าของตนเองเพื่อการส่งออก และบางรายมีการรับจ้างผลิตเพื่อการส่งออกตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ส่วนการผลิตที่มีการหดตัวมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เป็นผลมาจากผู้ประกอบการบางส่วนได้ปรับเปลี่ยนจากผู้ผลิตเป็นผู้นำเข้ามาเพื่อทำการค้าแทน และในไตรมาสนี้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับร้อยละ 76.3 เทียบกับร้อยละ 74.6 ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550
- สาขาก่อสร้าง ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 1.1 ชะลอจากร้อยละ 5.2 ในไตรมาสสี่ ปี 2550 เป็นผลมาจากการชะลอการก่อสร้างของภาครัฐ ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ในขณะที่ราคาวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0
- สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 8.8 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 ในไตรมาสสี่ ปี 2550 ตามภาวการณ์ท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 อัตราการเข้าพักอยู่ในระดับร้อยละ 68.6 ทำ ให้รายได้จากการท่องเที่ยวในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศยุโรปอเมริกา และจีน ที่เข้ามาจับจ่ายใช้สอยในประเทศเพิ่มขึ้น
- สาขาการเงิน ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 9.1 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 8.7 ในไตรมาสสี่ ปี 2550 เป็นผลมาจากการขยายตัวของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจประกอบกับภาระการกันสำรองที่ลดลงมากหลังจากกันสำรองตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีสากล หรือ IAS 39 ครบแล้วตั้งแต่สิ้นปี 2550
- ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ: อัตราการว่างงานต่ำ แต่แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาก และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ในไตรมาสแรกของปี เงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 5.0(ข) สูงขึ้นจากเฉลี่ยร้อยละ 2.9 ในไตรมาสที่สี่ปี 2550 แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากในไตรมาสนี้เป็นผลมาจากการปรับราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่มิใช่แอลกอฮอล์ และการปรับราคาสินค้าหมวดพาหนะขนส่งและการสื่อสารเป็นหลัก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และ 9.2 ตามลำดับ สินค้าอาหารที่มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ น้ำมันพืช เนื้อสัตว์ ข้าวและแป้งผักและผลไม้ และไข่และผลิตภัณฑ์นม สำหรับสินค้าในหมวดยานพาหนะ ขนส่ง และการสื่อสาร ที่มีการปรับราคาเพิ่มสูง คือ น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8
หมายเหตุ :
(ข) ในเดือนเมษายน 2551 เงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 6.2 และในช่วง 4 เดือนแรกของปีเท่ากับร้อยละ 5.3
เงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกของปีเงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับร้อยละ 1.5(ค) เทียบกับเฉลี่ยร้อยละ 1.1 ในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าประเภทเครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง และค่าโดยสารรถเมล์เล็ก เป็นต้น
ดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสแรกของปี ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8(ฆ) สูงขึ้นจากร้อยละ 7.0 ในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว โดยดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงทุกหมวด ทั้งหมวดวัตถุดิบ หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป และหมวดสินค้าสำเร็จรูปร้อยละ 16.5 13.8 และ 9.0 ตามลำดับ ราคาสินค้าหมวดวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นมากเป็นราคาวัตถุดิบประเภทอาหารเป็นสำคัญ ได้แก่ ข้าวสารและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่) ตามการสูงขึ้นของราคาข้าวเปลือก และไก่สด จากความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนเนื้อสัตว์อื่นที่มีราคาสูง ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตร สัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ที่สำคัญได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า พืชผัก ไก่มีชีวิตและไข่ ทั้งนี้หากดัชนีราคาผู้บริโภคยังสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นนี้ต่อไปอีก จะเป็นปัจจัยกดดันให้เงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกในช่วงต่อไป
- การจ้างงาน มีจำนวน 35.78 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยมีการจ้างงานในภาคเกษตรจำนวน 12.48 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และผู้มีงานทำนอกภาคเกษตร 23.30 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่สาขาอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 สาขาโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ตาม ภาวการณ์ฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ส่วนสาขาการก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.0 สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ในระดับร้อยละ 1.6 และ ณ สิ้นไตรมาส 1 มีผู้ประกันตนจำนวน 8.82 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
หมายเหตุ :
(ค) ในเดือนเมษายน 2551 เงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับร้อยละ 2.1 และ ในช่วง
(ฆ) เดือนแรกของปี เท่ากับร้อยละ 1.6 4 ในเดือนเมษายน 2551 ดัชนีราคาผู้ผลิตเท่ากับร้อยละ 12.7 และในช่วง 4 เดือนแรกของปีเท่ากับร้อยละ 11.3
ภาวะการจ้างงงาน (อัตราเพิ่ม %)
------------- 2550 ----------- 2551
เฉลี่ย Q1 Q2 Q3 Q4 Q1*
การจ้างงาน 1.6 1.8 0.7 2.1 1.7 1.3
ภาคเกษตร 1.0 2.8 -0.5 1.2 0.6 0.5
ภาคนอกเกษตร 2.0 1.2 1.5 2.9 2.5 1.8
อุตสาหกรรม 2.1 0.2 1.3 5.4 1.7 0.4
การก่อสร้าง -0.1 1.6 1.5 -4.9 1.0 -2.0
โรงแรม และภัตตาคาร 3.0 4.3 2.0 4.0 1.8 1.9
อัตราการว่างงาน 1.4 1.6 1.6 1.2 1.1 1.6
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
* ตัวเลขเฉลี่ยรายเดือน
อย่างไรก็ตามเครื่องชี้บางประการได้แสดงว่าเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีขึ้นยังไม่ส่งผ่านไปยังตลาดแรงงานเต็มที่ประกอบกับธุรกิจที่ขยายตัวดีนั้นเป็นกลุ่มที่ใช้ทุนเป็นสำคัญ เช่น สัดส่วนตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนผู้สมัครงานใหม่ค่อนข้างทรงตัวในระดับ 0.88 เท่า เทียบกับ 0.80 เท่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550
ภาวะการจ้างงงาน (อัตราเพิ่ม %)
-------------2550----------- 2551
เฉลี่ย Q1 Q2 Q3 Q4 Q1*
การจ้างงาน 1.6 1.8 0.7 2.1 1.7 1.3
ภาคเกษตร 1.0 2.8 -0.5 1.2 0.6 0.5
ภาคนอกเกษตร 2.0 1.2 1.5 2.9 2.5 1.8
อุตสาหกรรม 2.1 0.2 1.3 5.4 1.7 0.4
การก่อสร้าง -0.1 1.6 1.5 -4.9 1.0 -2.0
โรงแรม และภัตตาคาร 3.0 4.3 2.0 4.0 1.8 1.9
อัตราการว่างงาน 1.4 1.6 1.6 1.2 1.1 1.6
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
* ตัวเลขเฉลี่ยรายเดือน
- เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2551 เท่ากับ 109.762 พันล้านดอลลาร์ สรอ.(ง) (และมี Net Forward Position อีก 20.350 พันล้านดอลลาร์) สูงกว่า 87.455 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นธันวาคม 2550 (และ Net Forward Position อีก 19.086 พันล้านดอลลาร์) คิดเป็นประมาณ 4.0 — 4.5 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น(จ) และเท่ากับการนำเข้า 7.9 เดือน
- ฐานะการคลังขาดดุลเงินสดต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2551 ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2551 (ม.ค.-มี.ค.51) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 295,782 ล้านบาทต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 2.2 และมีรายจ่าย 402,207.49 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 8.0 เป็นผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 106,425.42 ล้านบาท ขาดดุลลดลงจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน 28,539.48 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 21.1 และเมื่อรวมดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 46,684.14 ล้านบาท ทำ ให้รัฐบาลมีดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจำนวน 57,741 ล้านบาท ซึ่งขาดดุลลดลง 68,793 ล้านบาทหรือลดลงร้อยละ54.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อน
ทั้งนี้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2551 (ต.ค.50-มี.ค.51) ในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมาดุลเงินงบประมาณขาดดุล 168,133.88 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 5,254.02 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจำนวน 173,387.40 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับเป้าหมายทั้งปีที่คาดว่าจะขาดดุลจำนวน 165,000 ล้านบาท การขาดดุลในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณสูงกว่าเป้าหมาย 8,387.4 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการออกพันธบัตรและตั๋วเงินคลังจำนวน 85,447 ล้านบาทและใช้เงินคงคลังจำนวน 87,939.52 ล้านบาท
หมายเหตุ:
(ง) ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2551 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเท่ากับ 109.255 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (และ Net Forward Position เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 20.535 พันล้านดอลลาร์)
(จ) ข้อมูลล่าสุด ณ เดือนกุมภาพันธ์ สัดส่วนสำรองเงินตราต่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น เท่ากับ 4.3 เท่า
- หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนเดือนกุมภาพันธ์ 2551 มีจำนวน 3.33 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นปี 2550 โดยสาเหตุหลักเนื่องจากการก่อหนี้โดยตรงของภาครัฐ โดยเฉพาะหนี้ในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุล รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูในส่วนหนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน อย่างไรก็ตาม สัดส่วนหนี้สาธารณะเมื่อเทียบกับ GDP เป็นร้อยละ 36.35 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัดส่วนร้อยละ 37.97 ณ สิ้นปี 2550
- ภาวะการเงิน : อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินทรงตัวแต่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลง เงินฝากและสินเชื่อขยายตัว ทั้งสินเชื่อภาคธุรกิจและครัวเรือน แต่สภาพคล่องยังอยู่ในระดับสูง ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแต่ดัชนีค่าเงินบาทอ่อนค่าลงจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนสูงตามการเคลื่อนย้ายการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ
- อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัว อยู่ที่ร้อยละ 3.25 ในไตรมาสที่หนึ่ง แม้หลายประเทศจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ทั้งนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนขึ้น ในขณะที่แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเริ่มเพิ่มขึ้น สำหรับตลาดการเงินในต่างประเทศนั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Fed fund rate รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง จากร้อยละ 4.25 ในเดือนธันวาคม เหลือร้อยละ 2.25 ต่อปี ในเดือนมีนาคม และลดลงอีกครั้ง ณ สิ้นเดือนเมษายน เหลือร้อยละ 2.0 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความเสี่ยงมากขึ้น ส่วนธนาคารกลางในประเทศยุโรปและญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 และ 0.5 ต่อปี ตามลำดับ ตลอดไตรมาสที่หนึ่ง ธนาคารกลางในเอเชียส่วนใหญ่มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยเพื่อรอดูผลกระทบของปัญหา sub-prime ที่ต่อเนื่องถึงการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ในขณะที่แรงกดดันที่จะให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีมากขึ้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น แม้ว่าส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐกับอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ทรงตัวตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น ในไตรมาสแรกของปี 2551 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 12 เดือนเฉลี่ยของ 5 ธนาคารใหญ่ ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.13 และ 2.32 ตามลำดับ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั้นดีแบบมีระยะเวลา (MLR) ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.99 แต่เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.3 ในเดือนมีนาคม ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนที่แท้จริง ติดลบเท่ากับร้อยละ 2.99 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.69 และในเดือนเมษายนเมื่ออัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.2 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนที่แท้จริงจึงติดลบเท่ากับร้อยละ 3.89 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.79
- เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัว เงินฝาก ณ สิ้นไตรมาสหนึ่งขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 2.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 0.1 ในไตรมาสสี่ปี 2550 เป็นผลมาจากธนาคารพาณิชย์มีการเสนออัตราดอกเบี้ยเงินฝากแบบพิเศษในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ทีมูลค่าบัญชีไม่เกิน 1 ล้านบาท และตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไปประกอบกับยังมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด สินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 11.1 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2551 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.8 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 แต่เมื่อพิจารณาสินเชื่อของสถาบันรับฝากเงิน(ฉ) สินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.9 เทียบกับร้อยละ 4.0 ณ สิ้นไตรมาสสี่ปี 2550 โดยสินเชื่อภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 8 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นเดือนธันวาคม 2550 และสินเชื่อภาคธุรกิจขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับร้อยละ 0.7 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 การขยายตัวต่อเนื่องของสินเชื่อภาคธุรกิจแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของนักลงทุนที่คาดว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น เมื่อพิจารณาตามประเภทธุรกิจ พบว่าสินเชื่ออุตสาหกรรมการผลิต การพาณิชย์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และสินเชื่อการเกษตรขยายตัวขึ้นร้อยละ 3-13 ในขณะที่สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างหดตัวลงเล็กน้อย สำหรับสินเชื่อที่ให้กับภาคธนาคารและสถาบันการเงินขยายตัวร้อยละ 93.2 เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan)ผ่านทางสถาบันการเงินให้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่วนสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลขยายตัวจากสิ้นปี 2550 เล็กน้อย แต่ขยายตัวขึ้นจากเดือนมีนาคม 2550 ร้อยละ 13.3 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเพื่อซื้อและเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งขยายตัวดีสูงต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2550 ปริมาณการใช้จ่ายบัตรเครดิตในไตรมาสที่หนึ่งลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย แต่มีการเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น ทำให้ยอดคงค้างบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2550
หมายเหตุ :
(ฉ) สถาบันรับฝากเงิน ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ กิจการวิเทศธนกิจ บริษัท เงินทุน และธนาคารเฉพาะกิจได้แก่ ธนาคาร ออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าฯ ธนาคารเพื่อวิสาหกิจขนาดกาลางและขนาดย่อมฯ ธนาคารอิสลามฯ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน
(ยังมีต่อ).../- สภาพคล่องใน..
- สาขาเกษตรกรรม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 3.5 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 2.9 ในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 ผลผลิตพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ปาล์ม และยางพารา ในขณะที่ราคาพืชผลในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะราคาสินค้าในกลุ่มพืชน้ำมัน กลุ่มธัญพืชและพืชอาหารโดยที่ราคาพืชน้ำมันที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ของพืชน้ำมันสำหรับการผลิตพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ราคาสุกรยังคงเพิ่มขึ้น ระดับราคาสินค้าเกษตรโดยรวมที่เพิ่มขึ้นและปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นส่งผลต่อรายได้ของเกษตรในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.1
- สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.7 ต่อเนื่องจากที่ขยายตัวร้อยละ 8.0 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เป็นผลมาจากการขยายตัวทั้งอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและอุตสาหกรรมที่ใช้ภายในประเทศ เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม การผลิตรถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่ง เนื่องจากผู้ประกอบการมีการผลิตรถยนต์สำหรับพลังงานทางเลือก E20 เข้าสู่ตลาดมากขึ้น ประกอบกับเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการอุปโภคบริโภคในสินค้าเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถยนต์ประหยัดพลังงานมากขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกยังคงขยายตัวโดยเฉพาะการผลิตอาหารทะเลกระป๋อง หัวอ่านข้อมูล(HDD) เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายเริ่มสร้างตราสินค้าของตนเองเพื่อการส่งออก และบางรายมีการรับจ้างผลิตเพื่อการส่งออกตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ส่วนการผลิตที่มีการหดตัวมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เป็นผลมาจากผู้ประกอบการบางส่วนได้ปรับเปลี่ยนจากผู้ผลิตเป็นผู้นำเข้ามาเพื่อทำการค้าแทน และในไตรมาสนี้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับร้อยละ 76.3 เทียบกับร้อยละ 74.6 ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550
- สาขาก่อสร้าง ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 1.1 ชะลอจากร้อยละ 5.2 ในไตรมาสสี่ ปี 2550 เป็นผลมาจากการชะลอการก่อสร้างของภาครัฐ ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ในขณะที่ราคาวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0
- สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 8.8 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 ในไตรมาสสี่ ปี 2550 ตามภาวการณ์ท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 อัตราการเข้าพักอยู่ในระดับร้อยละ 68.6 ทำ ให้รายได้จากการท่องเที่ยวในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศยุโรปอเมริกา และจีน ที่เข้ามาจับจ่ายใช้สอยในประเทศเพิ่มขึ้น
- สาขาการเงิน ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 9.1 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 8.7 ในไตรมาสสี่ ปี 2550 เป็นผลมาจากการขยายตัวของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจประกอบกับภาระการกันสำรองที่ลดลงมากหลังจากกันสำรองตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีสากล หรือ IAS 39 ครบแล้วตั้งแต่สิ้นปี 2550
- ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ: อัตราการว่างงานต่ำ แต่แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาก และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ในไตรมาสแรกของปี เงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 5.0(ข) สูงขึ้นจากเฉลี่ยร้อยละ 2.9 ในไตรมาสที่สี่ปี 2550 แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากในไตรมาสนี้เป็นผลมาจากการปรับราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่มิใช่แอลกอฮอล์ และการปรับราคาสินค้าหมวดพาหนะขนส่งและการสื่อสารเป็นหลัก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และ 9.2 ตามลำดับ สินค้าอาหารที่มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ น้ำมันพืช เนื้อสัตว์ ข้าวและแป้งผักและผลไม้ และไข่และผลิตภัณฑ์นม สำหรับสินค้าในหมวดยานพาหนะ ขนส่ง และการสื่อสาร ที่มีการปรับราคาเพิ่มสูง คือ น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8
หมายเหตุ :
(ข) ในเดือนเมษายน 2551 เงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 6.2 และในช่วง 4 เดือนแรกของปีเท่ากับร้อยละ 5.3
เงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกของปีเงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับร้อยละ 1.5(ค) เทียบกับเฉลี่ยร้อยละ 1.1 ในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าประเภทเครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง และค่าโดยสารรถเมล์เล็ก เป็นต้น
ดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสแรกของปี ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8(ฆ) สูงขึ้นจากร้อยละ 7.0 ในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว โดยดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงทุกหมวด ทั้งหมวดวัตถุดิบ หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป และหมวดสินค้าสำเร็จรูปร้อยละ 16.5 13.8 และ 9.0 ตามลำดับ ราคาสินค้าหมวดวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นมากเป็นราคาวัตถุดิบประเภทอาหารเป็นสำคัญ ได้แก่ ข้าวสารและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่) ตามการสูงขึ้นของราคาข้าวเปลือก และไก่สด จากความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนเนื้อสัตว์อื่นที่มีราคาสูง ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตร สัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ที่สำคัญได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า พืชผัก ไก่มีชีวิตและไข่ ทั้งนี้หากดัชนีราคาผู้บริโภคยังสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นนี้ต่อไปอีก จะเป็นปัจจัยกดดันให้เงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกในช่วงต่อไป
- การจ้างงาน มีจำนวน 35.78 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยมีการจ้างงานในภาคเกษตรจำนวน 12.48 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และผู้มีงานทำนอกภาคเกษตร 23.30 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่สาขาอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 สาขาโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ตาม ภาวการณ์ฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ส่วนสาขาการก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.0 สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ในระดับร้อยละ 1.6 และ ณ สิ้นไตรมาส 1 มีผู้ประกันตนจำนวน 8.82 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
หมายเหตุ :
(ค) ในเดือนเมษายน 2551 เงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับร้อยละ 2.1 และ ในช่วง
(ฆ) เดือนแรกของปี เท่ากับร้อยละ 1.6 4 ในเดือนเมษายน 2551 ดัชนีราคาผู้ผลิตเท่ากับร้อยละ 12.7 และในช่วง 4 เดือนแรกของปีเท่ากับร้อยละ 11.3
ภาวะการจ้างงงาน (อัตราเพิ่ม %)
------------- 2550 ----------- 2551
เฉลี่ย Q1 Q2 Q3 Q4 Q1*
การจ้างงาน 1.6 1.8 0.7 2.1 1.7 1.3
ภาคเกษตร 1.0 2.8 -0.5 1.2 0.6 0.5
ภาคนอกเกษตร 2.0 1.2 1.5 2.9 2.5 1.8
อุตสาหกรรม 2.1 0.2 1.3 5.4 1.7 0.4
การก่อสร้าง -0.1 1.6 1.5 -4.9 1.0 -2.0
โรงแรม และภัตตาคาร 3.0 4.3 2.0 4.0 1.8 1.9
อัตราการว่างงาน 1.4 1.6 1.6 1.2 1.1 1.6
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
* ตัวเลขเฉลี่ยรายเดือน
อย่างไรก็ตามเครื่องชี้บางประการได้แสดงว่าเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีขึ้นยังไม่ส่งผ่านไปยังตลาดแรงงานเต็มที่ประกอบกับธุรกิจที่ขยายตัวดีนั้นเป็นกลุ่มที่ใช้ทุนเป็นสำคัญ เช่น สัดส่วนตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนผู้สมัครงานใหม่ค่อนข้างทรงตัวในระดับ 0.88 เท่า เทียบกับ 0.80 เท่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550
ภาวะการจ้างงงาน (อัตราเพิ่ม %)
-------------2550----------- 2551
เฉลี่ย Q1 Q2 Q3 Q4 Q1*
การจ้างงาน 1.6 1.8 0.7 2.1 1.7 1.3
ภาคเกษตร 1.0 2.8 -0.5 1.2 0.6 0.5
ภาคนอกเกษตร 2.0 1.2 1.5 2.9 2.5 1.8
อุตสาหกรรม 2.1 0.2 1.3 5.4 1.7 0.4
การก่อสร้าง -0.1 1.6 1.5 -4.9 1.0 -2.0
โรงแรม และภัตตาคาร 3.0 4.3 2.0 4.0 1.8 1.9
อัตราการว่างงาน 1.4 1.6 1.6 1.2 1.1 1.6
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
* ตัวเลขเฉลี่ยรายเดือน
- เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2551 เท่ากับ 109.762 พันล้านดอลลาร์ สรอ.(ง) (และมี Net Forward Position อีก 20.350 พันล้านดอลลาร์) สูงกว่า 87.455 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นธันวาคม 2550 (และ Net Forward Position อีก 19.086 พันล้านดอลลาร์) คิดเป็นประมาณ 4.0 — 4.5 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น(จ) และเท่ากับการนำเข้า 7.9 เดือน
- ฐานะการคลังขาดดุลเงินสดต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2551 ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2551 (ม.ค.-มี.ค.51) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 295,782 ล้านบาทต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 2.2 และมีรายจ่าย 402,207.49 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 8.0 เป็นผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 106,425.42 ล้านบาท ขาดดุลลดลงจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน 28,539.48 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 21.1 และเมื่อรวมดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 46,684.14 ล้านบาท ทำ ให้รัฐบาลมีดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจำนวน 57,741 ล้านบาท ซึ่งขาดดุลลดลง 68,793 ล้านบาทหรือลดลงร้อยละ54.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อน
ทั้งนี้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2551 (ต.ค.50-มี.ค.51) ในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมาดุลเงินงบประมาณขาดดุล 168,133.88 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 5,254.02 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจำนวน 173,387.40 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับเป้าหมายทั้งปีที่คาดว่าจะขาดดุลจำนวน 165,000 ล้านบาท การขาดดุลในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณสูงกว่าเป้าหมาย 8,387.4 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการออกพันธบัตรและตั๋วเงินคลังจำนวน 85,447 ล้านบาทและใช้เงินคงคลังจำนวน 87,939.52 ล้านบาท
หมายเหตุ:
(ง) ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2551 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเท่ากับ 109.255 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (และ Net Forward Position เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 20.535 พันล้านดอลลาร์)
(จ) ข้อมูลล่าสุด ณ เดือนกุมภาพันธ์ สัดส่วนสำรองเงินตราต่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น เท่ากับ 4.3 เท่า
- หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนเดือนกุมภาพันธ์ 2551 มีจำนวน 3.33 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นปี 2550 โดยสาเหตุหลักเนื่องจากการก่อหนี้โดยตรงของภาครัฐ โดยเฉพาะหนี้ในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุล รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูในส่วนหนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน อย่างไรก็ตาม สัดส่วนหนี้สาธารณะเมื่อเทียบกับ GDP เป็นร้อยละ 36.35 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัดส่วนร้อยละ 37.97 ณ สิ้นปี 2550
- ภาวะการเงิน : อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินทรงตัวแต่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลง เงินฝากและสินเชื่อขยายตัว ทั้งสินเชื่อภาคธุรกิจและครัวเรือน แต่สภาพคล่องยังอยู่ในระดับสูง ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแต่ดัชนีค่าเงินบาทอ่อนค่าลงจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนสูงตามการเคลื่อนย้ายการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ
- อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัว อยู่ที่ร้อยละ 3.25 ในไตรมาสที่หนึ่ง แม้หลายประเทศจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ทั้งนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนขึ้น ในขณะที่แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเริ่มเพิ่มขึ้น สำหรับตลาดการเงินในต่างประเทศนั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Fed fund rate รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง จากร้อยละ 4.25 ในเดือนธันวาคม เหลือร้อยละ 2.25 ต่อปี ในเดือนมีนาคม และลดลงอีกครั้ง ณ สิ้นเดือนเมษายน เหลือร้อยละ 2.0 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความเสี่ยงมากขึ้น ส่วนธนาคารกลางในประเทศยุโรปและญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 และ 0.5 ต่อปี ตามลำดับ ตลอดไตรมาสที่หนึ่ง ธนาคารกลางในเอเชียส่วนใหญ่มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยเพื่อรอดูผลกระทบของปัญหา sub-prime ที่ต่อเนื่องถึงการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ในขณะที่แรงกดดันที่จะให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีมากขึ้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น แม้ว่าส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐกับอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ทรงตัวตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น ในไตรมาสแรกของปี 2551 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 12 เดือนเฉลี่ยของ 5 ธนาคารใหญ่ ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.13 และ 2.32 ตามลำดับ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั้นดีแบบมีระยะเวลา (MLR) ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.99 แต่เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.3 ในเดือนมีนาคม ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนที่แท้จริง ติดลบเท่ากับร้อยละ 2.99 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.69 และในเดือนเมษายนเมื่ออัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.2 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนที่แท้จริงจึงติดลบเท่ากับร้อยละ 3.89 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.79
- เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัว เงินฝาก ณ สิ้นไตรมาสหนึ่งขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 2.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 0.1 ในไตรมาสสี่ปี 2550 เป็นผลมาจากธนาคารพาณิชย์มีการเสนออัตราดอกเบี้ยเงินฝากแบบพิเศษในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ทีมูลค่าบัญชีไม่เกิน 1 ล้านบาท และตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไปประกอบกับยังมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด สินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 11.1 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2551 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.8 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 แต่เมื่อพิจารณาสินเชื่อของสถาบันรับฝากเงิน(ฉ) สินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.9 เทียบกับร้อยละ 4.0 ณ สิ้นไตรมาสสี่ปี 2550 โดยสินเชื่อภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 8 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นเดือนธันวาคม 2550 และสินเชื่อภาคธุรกิจขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับร้อยละ 0.7 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 การขยายตัวต่อเนื่องของสินเชื่อภาคธุรกิจแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของนักลงทุนที่คาดว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น เมื่อพิจารณาตามประเภทธุรกิจ พบว่าสินเชื่ออุตสาหกรรมการผลิต การพาณิชย์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และสินเชื่อการเกษตรขยายตัวขึ้นร้อยละ 3-13 ในขณะที่สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างหดตัวลงเล็กน้อย สำหรับสินเชื่อที่ให้กับภาคธนาคารและสถาบันการเงินขยายตัวร้อยละ 93.2 เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan)ผ่านทางสถาบันการเงินให้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่วนสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลขยายตัวจากสิ้นปี 2550 เล็กน้อย แต่ขยายตัวขึ้นจากเดือนมีนาคม 2550 ร้อยละ 13.3 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเพื่อซื้อและเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งขยายตัวดีสูงต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2550 ปริมาณการใช้จ่ายบัตรเครดิตในไตรมาสที่หนึ่งลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย แต่มีการเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น ทำให้ยอดคงค้างบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2550
หมายเหตุ :
(ฉ) สถาบันรับฝากเงิน ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ กิจการวิเทศธนกิจ บริษัท เงินทุน และธนาคารเฉพาะกิจได้แก่ ธนาคาร ออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าฯ ธนาคารเพื่อวิสาหกิจขนาดกาลางและขนาดย่อมฯ ธนาคารอิสลามฯ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน
(ยังมีต่อ).../- สภาพคล่องใน..