ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 2551 ในด้านต่าง ๆ เป็นดังนี้
- การใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวได้เร็วขึ้นและช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ดีขึ้น ในไตรมาสแรกของปี 2551 การใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 สูงกว่าร้อยละ 1.6 ในไตรมาสที่สี่ปีที่แล้ว โดยมีปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายประกอบด้วย รายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น การปรับ เงินเดือนข้าราชการและการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงลดลง ประกอบกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสแรกนี้ส่งผลให้การฟื้นตัวของใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้นยังไม่เต็มที่การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าประเภทคงทน กึ่งคงทน และอาหาร ร้อยละ 10.9 3.3 และ 3.4 ตามลำ ดับ อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทนที่เพิ่มขึ้นมากแต่เป็นการเพิ่มขึ้นบนฐานการบริโภคในช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่ลดลงมากร้อยละ 7.5 เนื่องจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงมาก สำหรับการใช้จ่ายซื้อสินค้าบริการลดลงร้อยละ 2.7 ซึ่งสะท้อนว่าผู้บริโภคมีการระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ทำให้โดยภาพรวมการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนแม้จะเพิ่มขึ้นเร็วและสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ดีขึ้นในไตรมาสนี้ แต่ยังมีความเปราะบาง
- การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวสูง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ6.5 ต่อเนื่องจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 ในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ต่ำลง และอัตราการใช้กำลังการผลิตของหลายอุตสาหกรรมที่เกือบเต็มกำลังเช่น อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม กระดาษ ปิโตรเคมี ยางรถยนต์ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟแผงวงจรไฟฟ้าเครื่องซักผ้าเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น รวมทั้งโอกาสทางการตลาดที่อยู่ในเกณฑ์ดีทั้งจากการฟื้นตัวของตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกที่ยังขยายตัวสูง ประกอบกับความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปีจากบรรยากาศทางการเมืองที่มีความชัดเจนมากขึ้น และยังเป็นผลมาจากฐานการลงทุนที่ต่ำมากในช่วงเดียวกันปีที่แล้วจากปัจจัยความเชื่อมั่นที่ลดต่ำลง
ทั้งนี้การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ขยายตัวร้อยละ 8.3 ซึ่งเป็นการนำเข้าสินค้าทุน (ณ ราคาปี 2543) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 โดยเฉพาะการนำ เข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรกลไฟฟ้า เครื่องจักรกลเพื่อการเกษตร ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ทำ จากโลหะ เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นการซื้อรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 หลังจากที่ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.9 ในปี 2550 สำหรับการลงทุนก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 0.4 ปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 8.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 โดยการลงทุนก่อสร้างอาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และการก่อสร้างอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 5.9 และ 8.8 ตามลำดับสะท้อนการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอนาคตและจะสนับสนุนการนำเข้าสินค้าทุนให้เพิ่มขึ้นต่อไปอีก สำหรับการก่อสร้างที่อยู่อาศัยยังคงลดลงเป็นร้อยละ 5.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในภูมิภาค (ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยรวม) ที่ยังลดลงมากเนื่องจากผู้บริโภคมีภาระในการใช้จ่ายซื้อสินค้าจำเป็นเพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อประกอบกับราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นผู้บริโภคส่วนหนึ่งเลื่อนการตัดสินใจออกไป
- มูลค่าส่งออกยังขยายตัวสูง แต่ปริมาณการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัว ในไตรมาสแรกของปี 2551 การส่งออกยังคงขยายตัวได้สูง โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 14.3 ในไตรมาสที่สี่ปี 2550 ในขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา ในอัตราร้อยละ 9.9 และจากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ล่าสุดในเดือนเมษายน การส่งออกยังขยายตัวได้สูงต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 ทำให้ในช่วง 4 เดือนแรกของปีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 23.0
เมื่อคิดในรูปเงินบาทในไตรมาสแรกมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 และในเดือนเมษายนมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.6 ในช่วง 4 เดือนแรกของปี
การใช้กำลังการผลิต
---------- 2550 ---------- 2551
(ร้อยละ) ทั้งปี H1 Q3 Q4 Q1
อัตราการใช้กำลังการผลิตรวม 74.6 74.1 73.9 76.3 76.3
เครื่องดื่ม 81.6 81.4 76.5 86.8 87.2
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 91.0 90.3 91.2 92.2 88.7
ผลิตภัณฑ์เคมี 95.9 90.4 101.0 101.8 92.1
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 88.2 87.5 90.8 87.1 87.2
วัสดุก่อสร้าง 78.4 78.4 80.6 76.1 79.7
ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง 72.6 68.9 75.7 76.9 78.0
ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ 79.3 72.2 81.5 91.1 80.9
ส่งออก <30% ของผลผลิต 79.8 78.8 81.0 80.5 81.8
ส่งออก 30 — 60% ของผลผลิต 69.6 71.4 65.9 69.7 81.0
ส่งออก >60% ของผลผลิต 71.1 70.0 69.7 74.6 67.6
ที่มา ธปท.
- มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรเร่งตัวต่อเนื่อง เป็นผลจากราคาที่เพิ่มสูง ประกอบกับปริมาณส่งออกเร่งตัวขึ้น มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.9 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 28.8 ในไตรมาสสุดท้าย 2550 ปริมาณและราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 และ 26.5 ตามลำดับ โดยสินค้าที่มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นมากได้แก่ ข้าว และข้าวโพด เป็นหลัก ในขณะที่ด้านราคาได้รับผลดีจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่ปรับตัวดีเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญเพิ่มขึ้นทุกสินค้าทั้งข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา
- ปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัวลงมาก แม้จะยังมีอัตราการขยายตัวดี ทั้งนี้ปริมาณส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 11.8 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 18.0 ในไตรมาสที่สี่ปี 2550 แต่ราคายังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 7.8 ทำให้มูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 สินค้าอุตสาหกรรมที่ยังคงมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ตู้เย็นตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ส่วนประกอบยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์กระดาษและบรรจุภัณฑ์ สำหรับสินค้าที่ชะลอตัวลงมาก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะ และสินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า รองเท้า และเฟอร์นิเจอร์
- ตลาดส่งออกหลักมีแนวโน้มชะลอตัว แต่ตลาดส่งออกอื่น ๆ ยังขยายตัวได้ดี ทั้งนี้มูลค่าส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 และ 7.1 ตามลำดับ ในขณะที่ตลาดญี่ปุ่น และอาเซียน (5) มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และ 20.3 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 12.2 และ 42.2 ตามลำดับในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว ทั้งนี้การส่งออกไปสหรัฐเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง ส่วนหนึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นบนฐานการส่งออกที่ต่ำในช่วงเดียวกันปีที่แล้วจากปัญหา sub-prime ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สินค้าที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ยางพารา และเครื่องยนต์สันดาปภายในและลูกสูบ เป็นต้น สำหรับการส่งออกไปตลาดอื่น ๆ ยังคงขยายตัวได้ดี อาทิ อินเดีย (24.4%) จีน (34.2%) เอเชียใต้ (25.5%) แอฟริกา (64.8%) อินโดจีน(4) (58.4%) เป็นต้น
- การนำเข้าเพิ่มขึ้นมากทั้งปริมาณและราคา มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5 เร่งตัวขึ้นมากเมื่อเทียบกับการนำเข้าร้อยละ 16.6 ในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว และเฉลี่ยร้อยละ 9.6 ในปี 2550 ราคาและปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อย 15.6 และ 16.3 ตามลำ ดับ เป็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณและราคาในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะการนำเข้าหมวดสินค้าเชื้อเพลิงที่ราคาและปริมาณนำเข้าได้เพิ่มขึ้นมาก และจากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ในเดือนเมษายนมูลค่าการนำเข้ายังเพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 44.4 ทำให้ในช่วง 4 เดือนแรกของปี มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 37.1
- สินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นในหมวดวัตถุดิบ ได้แก่ อัญมณี และเครื่องประดับ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ พืช และผลิตภัณฑ์จากพืช ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ในขณะที่หมวดสินค้าทุนมีการนำ เข้าเพิ่มขึ้นในสินค้าประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ส่วนการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้ารองเท้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทอนาฬิกาและส่วนประกอบ นมและผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น และการนำเข้าเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นมากเป็นผลจากการนำเข้าน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น
- อัตราการค้า (Term of Trade) ลดลง ราคานำเข้าเฉลี่ยในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 และเร็วกว่าราคาส่งออกที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 9.9 ทำให้ไทยยังคงเสียเปรียบอัตราการค้าต่อเนื่องจากครึ่งหลังของปี 2550 ซึ่งมีผลกระทบต่อรายได้ของประเทศ
- ดุลการค้าขาดดุล 109 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณ 3,834 ล้านบาท แต่การเกินดุลบริการที่เพิ่มขึ้นมากจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศเพิ่มขึ้น และมีการส่งกลับผลตอบแทนจากการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับเงินโอนภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสแรกของปีเกินดุล 3,068 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือประมาณ 9,657 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.3 ของ GDP
(ยังมีต่อ).../- ด้านการผลิต:..
- การใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวได้เร็วขึ้นและช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ดีขึ้น ในไตรมาสแรกของปี 2551 การใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 สูงกว่าร้อยละ 1.6 ในไตรมาสที่สี่ปีที่แล้ว โดยมีปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายประกอบด้วย รายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น การปรับ เงินเดือนข้าราชการและการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงลดลง ประกอบกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสแรกนี้ส่งผลให้การฟื้นตัวของใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้นยังไม่เต็มที่การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าประเภทคงทน กึ่งคงทน และอาหาร ร้อยละ 10.9 3.3 และ 3.4 ตามลำ ดับ อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทนที่เพิ่มขึ้นมากแต่เป็นการเพิ่มขึ้นบนฐานการบริโภคในช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่ลดลงมากร้อยละ 7.5 เนื่องจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงมาก สำหรับการใช้จ่ายซื้อสินค้าบริการลดลงร้อยละ 2.7 ซึ่งสะท้อนว่าผู้บริโภคมีการระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ทำให้โดยภาพรวมการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนแม้จะเพิ่มขึ้นเร็วและสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ดีขึ้นในไตรมาสนี้ แต่ยังมีความเปราะบาง
- การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวสูง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ6.5 ต่อเนื่องจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 ในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ต่ำลง และอัตราการใช้กำลังการผลิตของหลายอุตสาหกรรมที่เกือบเต็มกำลังเช่น อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม กระดาษ ปิโตรเคมี ยางรถยนต์ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟแผงวงจรไฟฟ้าเครื่องซักผ้าเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น รวมทั้งโอกาสทางการตลาดที่อยู่ในเกณฑ์ดีทั้งจากการฟื้นตัวของตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกที่ยังขยายตัวสูง ประกอบกับความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปีจากบรรยากาศทางการเมืองที่มีความชัดเจนมากขึ้น และยังเป็นผลมาจากฐานการลงทุนที่ต่ำมากในช่วงเดียวกันปีที่แล้วจากปัจจัยความเชื่อมั่นที่ลดต่ำลง
ทั้งนี้การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ขยายตัวร้อยละ 8.3 ซึ่งเป็นการนำเข้าสินค้าทุน (ณ ราคาปี 2543) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 โดยเฉพาะการนำ เข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรกลไฟฟ้า เครื่องจักรกลเพื่อการเกษตร ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ทำ จากโลหะ เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นการซื้อรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 หลังจากที่ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.9 ในปี 2550 สำหรับการลงทุนก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 0.4 ปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 8.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 โดยการลงทุนก่อสร้างอาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และการก่อสร้างอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 5.9 และ 8.8 ตามลำดับสะท้อนการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอนาคตและจะสนับสนุนการนำเข้าสินค้าทุนให้เพิ่มขึ้นต่อไปอีก สำหรับการก่อสร้างที่อยู่อาศัยยังคงลดลงเป็นร้อยละ 5.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในภูมิภาค (ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยรวม) ที่ยังลดลงมากเนื่องจากผู้บริโภคมีภาระในการใช้จ่ายซื้อสินค้าจำเป็นเพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อประกอบกับราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นผู้บริโภคส่วนหนึ่งเลื่อนการตัดสินใจออกไป
- มูลค่าส่งออกยังขยายตัวสูง แต่ปริมาณการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัว ในไตรมาสแรกของปี 2551 การส่งออกยังคงขยายตัวได้สูง โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 14.3 ในไตรมาสที่สี่ปี 2550 ในขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา ในอัตราร้อยละ 9.9 และจากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ล่าสุดในเดือนเมษายน การส่งออกยังขยายตัวได้สูงต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 ทำให้ในช่วง 4 เดือนแรกของปีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 23.0
เมื่อคิดในรูปเงินบาทในไตรมาสแรกมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 และในเดือนเมษายนมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.6 ในช่วง 4 เดือนแรกของปี
การใช้กำลังการผลิต
---------- 2550 ---------- 2551
(ร้อยละ) ทั้งปี H1 Q3 Q4 Q1
อัตราการใช้กำลังการผลิตรวม 74.6 74.1 73.9 76.3 76.3
เครื่องดื่ม 81.6 81.4 76.5 86.8 87.2
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 91.0 90.3 91.2 92.2 88.7
ผลิตภัณฑ์เคมี 95.9 90.4 101.0 101.8 92.1
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 88.2 87.5 90.8 87.1 87.2
วัสดุก่อสร้าง 78.4 78.4 80.6 76.1 79.7
ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง 72.6 68.9 75.7 76.9 78.0
ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ 79.3 72.2 81.5 91.1 80.9
ส่งออก <30% ของผลผลิต 79.8 78.8 81.0 80.5 81.8
ส่งออก 30 — 60% ของผลผลิต 69.6 71.4 65.9 69.7 81.0
ส่งออก >60% ของผลผลิต 71.1 70.0 69.7 74.6 67.6
ที่มา ธปท.
- มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรเร่งตัวต่อเนื่อง เป็นผลจากราคาที่เพิ่มสูง ประกอบกับปริมาณส่งออกเร่งตัวขึ้น มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.9 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 28.8 ในไตรมาสสุดท้าย 2550 ปริมาณและราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 และ 26.5 ตามลำดับ โดยสินค้าที่มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นมากได้แก่ ข้าว และข้าวโพด เป็นหลัก ในขณะที่ด้านราคาได้รับผลดีจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่ปรับตัวดีเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญเพิ่มขึ้นทุกสินค้าทั้งข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา
- ปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัวลงมาก แม้จะยังมีอัตราการขยายตัวดี ทั้งนี้ปริมาณส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 11.8 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 18.0 ในไตรมาสที่สี่ปี 2550 แต่ราคายังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 7.8 ทำให้มูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 สินค้าอุตสาหกรรมที่ยังคงมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ตู้เย็นตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ส่วนประกอบยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์กระดาษและบรรจุภัณฑ์ สำหรับสินค้าที่ชะลอตัวลงมาก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะ และสินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า รองเท้า และเฟอร์นิเจอร์
- ตลาดส่งออกหลักมีแนวโน้มชะลอตัว แต่ตลาดส่งออกอื่น ๆ ยังขยายตัวได้ดี ทั้งนี้มูลค่าส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 และ 7.1 ตามลำดับ ในขณะที่ตลาดญี่ปุ่น และอาเซียน (5) มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และ 20.3 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 12.2 และ 42.2 ตามลำดับในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว ทั้งนี้การส่งออกไปสหรัฐเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง ส่วนหนึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นบนฐานการส่งออกที่ต่ำในช่วงเดียวกันปีที่แล้วจากปัญหา sub-prime ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สินค้าที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ยางพารา และเครื่องยนต์สันดาปภายในและลูกสูบ เป็นต้น สำหรับการส่งออกไปตลาดอื่น ๆ ยังคงขยายตัวได้ดี อาทิ อินเดีย (24.4%) จีน (34.2%) เอเชียใต้ (25.5%) แอฟริกา (64.8%) อินโดจีน(4) (58.4%) เป็นต้น
- การนำเข้าเพิ่มขึ้นมากทั้งปริมาณและราคา มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5 เร่งตัวขึ้นมากเมื่อเทียบกับการนำเข้าร้อยละ 16.6 ในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว และเฉลี่ยร้อยละ 9.6 ในปี 2550 ราคาและปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อย 15.6 และ 16.3 ตามลำ ดับ เป็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณและราคาในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะการนำเข้าหมวดสินค้าเชื้อเพลิงที่ราคาและปริมาณนำเข้าได้เพิ่มขึ้นมาก และจากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ในเดือนเมษายนมูลค่าการนำเข้ายังเพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 44.4 ทำให้ในช่วง 4 เดือนแรกของปี มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 37.1
- สินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นในหมวดวัตถุดิบ ได้แก่ อัญมณี และเครื่องประดับ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ พืช และผลิตภัณฑ์จากพืช ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ในขณะที่หมวดสินค้าทุนมีการนำ เข้าเพิ่มขึ้นในสินค้าประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ส่วนการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้ารองเท้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทอนาฬิกาและส่วนประกอบ นมและผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น และการนำเข้าเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นมากเป็นผลจากการนำเข้าน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น
- อัตราการค้า (Term of Trade) ลดลง ราคานำเข้าเฉลี่ยในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 และเร็วกว่าราคาส่งออกที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 9.9 ทำให้ไทยยังคงเสียเปรียบอัตราการค้าต่อเนื่องจากครึ่งหลังของปี 2550 ซึ่งมีผลกระทบต่อรายได้ของประเทศ
- ดุลการค้าขาดดุล 109 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณ 3,834 ล้านบาท แต่การเกินดุลบริการที่เพิ่มขึ้นมากจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศเพิ่มขึ้น และมีการส่งกลับผลตอบแทนจากการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับเงินโอนภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสแรกของปีเกินดุล 3,068 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือประมาณ 9,657 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.3 ของ GDP
(ยังมีต่อ).../- ด้านการผลิต:..