แนวโน้มราคาน้ำมันปี 2551
ในช่วง 5 เดือนแรกราคาน้ำมันสูงขึ้นมาก อันเนื่องจากภาวะตลาดน้ำมันตึงตัว และเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนค่าและการคาดการณ์ว่าจะอ่อนค่าลงต่อไปจูงใจให้เกิดการปรับพอร์ตการลงทุนไปสู่น้ำมันสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ มากขึ้น ประกอบกับมีปัญหาความตึงเครียดในประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่สำคัญทั้งไนจีเรียและอาร์เจนตินา รวมทั้งความต้องการน้ำมันเพื่อสะสมสะต็อคน้ำมันที่ลดลงของกลุ่มประเทศ OECD
สำหรับในช่วงที่เหลือของปีราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไปบนเงื่อนไข/ปัจจัยเดิม โดยที่ภาวะตลาดยังคงตึงตัว เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ที่ยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่เช่น จีน อินเดียและกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าราคาน้ำมันดิบจะชะลอตัวลงเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของปี โดยมีสาเหตุสำคัญจากปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งในและนอกกลุ่มโอเปคที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น และคาดว่าทั้งปี 2551 นี้ราคาน้ำมันดิบดูไบโดยเฉลี่ยจะเท่ากับ110-120.ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าราคาเฉลี่ยที่ 68.83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปี 2550 มาก ปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงผลักดันให้ราคาน้ำมันดิบยังคงตัวในระดับสูงมีดังนี้
(1) ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยที่ International Energy Agency (IEA)คาดการณ์ว่าในปี 2551 ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของโลกจะอยู่ที่ 87.2 ล้านบาร์เรลต่อวันเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิต ซึ่งคาดการณ์ว่าจะผลิตได้วันละ 86.68 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากปีผ่านมาร้อยละ 1.38 นอกจากนั้นปริมาณการผลิตยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าปริมาณการใช้วันละ 0.52 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยความต้องการใช้น้ำมันของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น มีสาเหตุสำคัญมาจากปริมาณความต้องการใช้ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน ซึ่งคาดว่าความต้องการใช้จะอยู่ที่ 7.89 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.7 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับกีฬาโอลิมปิคที่จะเริ่มขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม ในขณะที่กลุ่มประเทศ Non-OECD Asia จะมีความต้องการใช้อยู่ที่ 18 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.27 กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง คาดว่าจะมีความต้องการใช้อยู่ที่ 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1
2551
บาร์เรล/วัน 2548 2549 2550ทั้งปี Q1 Q2f Q3f Q4f ทั้งปี
ปริมาณการผลิต 84.6 85.3 84.66 86.08 86.79 87.41 86.71 86.68
Non-OPEC 50.4 51.1 49.24 49.17 49.49 50.05 50.59 49.83
OPEC น้ำมันดิบ 29.7 29.7 35.43 32.28 32.59 32.22 31.1 32.05
NGL 4.5 4.6 4.53 4.62 4.71 4.86 5.01 4.8
Supply-Demand 0.7 0.6 -1.34 -1.22 0.49 0.51 -1.69 -0.52
ที่มา: EIA
(2) ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. โดยเฉลี่ยยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลง โดยมีสาเหตุสำคัญจากสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่คาดว่าจะชะลอตัว รวมทั้งปัญหาซับไพร์มและการขาดดุลแฝด (Twin Deficit) ยังคงเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้กองทุนประกันความเสี่ยงและนักลงทุนสถาบัน กระจายความเสี่ยงจากการถือตราสารหนี้หรือหน่วยลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ไปสู่สินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เช่น น้ำมัน เหล็ก ทองคำและสินค้าเกษตร นอกจากนั้นการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ยังเป็นแรงจูงใจให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรักษาระดับราคาให้อยู่ในระดับสูงต่อไป เพื่อเป็นการชดเชยรายได้ที่ลดลงจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ.
(3) สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ปัญหาโลกร้อน (Global Warming) ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศมีความแปรปรวน ในขณะที่ภัยธรรมชาติมีความรุนแรงและมีความถี่มากขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่สองและสาม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน ผลกระทบจากพายุเฮอริเคนและภัยธรรมชาติอื่น ๆ ในแถบทวีปอเมริกาและแอฟริกา จะส่งผลให้แท่นขุดเจาะน้ำมันและโรงกลั่นหลายแห่งต้องปิดทำการชั่วคราว ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากปริมาณการผลิตจะไม่เพียงพอต่อปริมาณการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้น
ปัจจัยกำหนดราคาน้ำมันในระยะต่อไป
ปัจจัยที่เป็น upside risks สำหรับราคาน้ำมัน ประกอบด้วย
- สะต็อกน้ำมันอยู่ในระดับต่ำและประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่ม OECD มีความกังวลเรื่อง commercial stock ในภาวะที่ surplus capacity ยังต่ำ
- ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการกลั่นจาก unconventional sources
- ความต้องการใช้ที่ยังเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีการอุดหนุนราคาน้ำมัน
- การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ.
- การเก็งกำไร
- การประกันความเสี่ยง ปัจจัยที่เป็น Spike risks ประกอบด้วย
- สภาพอากาศ
- ปัญหาความไม่สงบและการเมืองระหว่างประเทศ และปัญหาการเมืองในประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปัจจัยที่เป็น Downside risks
- ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยและเศรษฐกิจโลกซบเซา
- ผ่านพ้นช่วงของการซ่อมบำรุงโรงกลั่น
- การเพิ่มปริมาณการผลิตและกำลังการผลิตของประเทศ Non-OPEC
- ความต้องการที่ชะลอตัวลงในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (ก่อนถึง driving season ในฤดูร้อน)
โดยรวมนั้นจะเห็นว่าในครึ่งแรกของปีน้ำหนักของ upside risks และ spike risks จะมีมากกว่า Downside risks ที่คาดว่าจะมีมากขึ้นในครึ่งหลังของปี โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ปรากฏการณ์ราคาข้าวในอาเซียน
ปรากฏการณ์ราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นสูงในช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นประเด็นสำคัญโดยเฉพาะในเอเชียซึ่งเป็นประเทศที่ทั้งเป็นผู้ผลิตและเป็นผู้บริโภคข้าวเป็นหลัก โดยการบริโภคข้าวในภูมิภาคคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 — 70 ของการบริโภคธัญพืชทั้งหมด ดังนั้นราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นเหตุให้นักลงทุนหันมาให้ความสนใจอย่างมาก
1. ปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น
การเพิ่มสูงขึ้นของระดับราคาข้าว (grain and rice) มีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญประกอบกัน ดังนี้
- ผลกระทบด้านอุปทาน (Supply shock) กล่าวคือ ปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรในตลาดโลกได้ลดลงตั้งแต่ปี 2550 และต่อเนื่องถึงปีนี้ โดยมีสาเหตุหลัก ๆ จากภัยแล้งในประเทศยุโรปในช่วงปลายปี 2550 รวมทั้งในประเทศออสเตรเลียนอกจากนี้ยังเกิดสภาวะน้ำท่วม และสภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างมากในช่วงต้นปี 2551 ในประเทศจีน
- การทดแทนกันด้านการผลิตและข้อจำกัดด้านพื้นที่เพาะปลูกและน้ำ จากการแย่งพื้นที่ปลูกข้าว และการใช้น้ำเพื่อการเกษตรจากภาคอุตสาหกรรม
- การทดแทนด้านอุปสงค์ (Demand substitution) การเพิ่มสูงขึ้นของราคาข้าวส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการพืชพลังงาน (energy crops) ที่เพิ่มสูงขึ้น และมีผลต่อการทดแทนความต้องการระหว่างผลผลิตพืชผลประเภทต่าง ๆ ซึ่งในระยะยาวก็จะนำไปสู่ supply substitution
- แรงกดดันด้านต้นทุนการผลิต (Cost pressures) ราคาก๊าซและน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนราคาปัจจัยการผลิต(ปุ๋ย น้ำมันเชื้อเพลิง และเครื่องจักรทางการเกษตร)ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และกำไรลดต่ำลง ซึ่งไม่จูงใจให้ทำการผลิตและการลงทุนเพิ่ม และเมื่อประกอบกับพืชพลังงานมีราคาดีขึ้นมากในส่วนของพื้นที่ที่ทดแทนกันได้ก็อาจจะมีแรงจูงใจให้ไปปลูกพืชพลังงานแทน (โดยเฉพาะในระยะยาวที่สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกได้)
- การกักตุนและการเก็งกำไร (Speculation/hoarding) ความไม่แน่นอนของปริมาณการผลิตในอนาคตส่งผลให้ผู้บริโภค และพ่อค้าคนกลางกักตุนสินค้ามากขึ้นปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เกิดความกังวลว่าปริมาณผลผลิตจะขาดแคลน และส่งผลให้ประเทศผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญ เช่น อียิปต์ อินเดีย และเวียดนามนั้นดำเนินการในทางที่จะลดการส่งออกหรือลดแรงจูงใจที่จะส่งออก จึงทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น
2. แนวโน้มราคาข้าว
สำหรับในระยะต่อไปนั้นเป็นที่คาดว่าผลผลิตในฤดูกาลเก็บเกี่ยวหน้านี้จะดีขึ้นทั้งในประเทศ บราซิล อุรุกวัย บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งก็จะช่วยลดแรงกดดันราคาข้าวได้บ้าง ซึ่งตามรายงานสถานการณ์การผลิตพืชและอาหารในเดือนเมษายนขององค์การอาหารและการเกษตรโลก (FAO) นั้นคาดว่าในปี 2551/2552 ผลผลิตในประเทศผู้ส่งออกข้าวและข้าวสาลีที่สำคัญจะเพิ่มขึ้น ซึ่งหากเป็นไปตามคาด ปริมาณผลผลิตข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นจากประเทศต่าง ๆ เหล่านี้และช่วยลดแรงกดดันต่อราคาลงได้บ้าง
แต่อย่างไรก็ตามสำหรับในระยะยาวนั้นก็มีปัจจัยที่จะทำให้แนวโน้มราคาในระยะยาวสูงขึ้น จากปัจจัยที่กล่าวถึงแล้วนั้นจะเห็นว่าจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น นั่นคือราคาน้ำมันที่ยังคงสูงขึ้น ดังนั้นเมื่อประกอบกับข้อจำกัดด้านปริมาณที่ดิน น้ำ และพลังงาน ก็จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพการผลิตและผลตอบแทนของสาขาเกษตรมากกว่าสาขาการผลิตอื่น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกสาขาการผลิตจะต้องบริหารจัดการเรื่องต้นทุนปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้นและปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่เปลี่ยนไป
แต่การปรับตัวของผู้บริโภคนั้นมีข้อสังเกตที่สำคัญคือ อาหารเป็นสิ่งจำเป็นจึงปรับปริมาณความต้องการได้ไม่มากดังนั้นภายใต้สถานการณ์ด้านความต้องการและการผลิตดังกล่าวทำให้คาดได้ว่าราคาอาหารจะสูงขึ้นโดยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าอื่น ๆ จนกระทั่งผลกำไร/ผลตอบแทนจากการผลิตอาหารนั้นมากพอที่จะจูงใจให้ระดมทรัพยากรการผลิตสู่สาขาการผลิตอาหารมากขึ้นและช่วยคงระดับปริมาณการผลิต ซึ่งหมายรวมถึงการปรับตัวด้านเทคโนโลยีและผลิตภาพการผลิต ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านที่ต้องใช้เวลาและต้องมีความชัดเจนของทิศทางนโยบาย และที่สำคัญจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในสาขาเกษตรและอาหารควบคู่ไปด้วยอย่างจริงจัง ไม่อย่างนั้นแล้วจะเป็นโยกย้ายทรัพยากรไปยังภาคการผลิตที่ผลิตภาพต่ำ สิ่งที่จะต้องจับตามองและวิเคราะห์ทำความเข้าใจในระยะต่อไปก็คือ (1) การเปลี่ยนแปลงราคาอาหารและสินค้าเกษตรโดยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าประเภทอื่น และ (2) การถ่ายโอนรายได้ในระหว่างกลุ่ม (redistribution of income) จากผู้บริโภคอาหารไปสู่ผู้ผลิตอาหารทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ
3. ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจ
ในระดับภาพรวมของโลกในอดีตที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร (food price inflation) ของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ส่วนใหญ่เป็นผลอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาของสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ และพืชผักผลไม้ มากกว่าสินค้าประเภทธัญพืช (cereals or grain) แต่ในช่วง 6 - 9 เดือนที่ผ่านมานั้นอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารเร่งตัวขึ้นเร็วกว่าเงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) ในเกือบทุกประเทศในทวีปเอเชียซึ่งในส่วนของประเทศไทยเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นมากเป็นผลทั้งจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นและราคาอาหารที่เร่งตัวขึ้นมากในไตรมาสแรก
ราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้อำนาจซื้อในการบริโภคของครัวเรือนลดลง โดยที่ผลกระทบจะแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม
- ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำจะได้รับผลกระทบมากกว่าครัวเรือนที่มีรายได้สูง เนื่องจากกลุ่มครัวเรือนผู้มีรายได้ตำมีการใช้จ่ายเพื่อบริโภคอาหารต่อรายจ่ายรวมและต่อรายได้ในสัดส่วนที่สูงกว่า ตัวอย่างเช่นในกรณีของประเทศไทยนั้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีสัดส่วนรายจ่ายค่าอาหารต่อรายจ่ายอุปโภคบริโภคร้อยละ 46.08 ซึ่งสูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศที่ร้อยละ 36.06 สำหรับครัวเรือนในชนบทซึ่งมีรายได้ต่ำและมีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอาหารในสัดส่วนสูงนั้น ราคาอาหารมักจะเพิ่มเร็วกว่าประชาชนในเมืองเนื่องค่าขนส่งจะสูงขึ้น
- เมื่อพิจารณาตามขนาดของเศรษฐกิจ ประเทศที่ได้รับผลประโยชน์มาจากที่สุดจากการโอนหรือการเปลี่ยนมือของรายได้อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารก็คือ ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม เนื่องจากเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหาร ในขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวันและเกาหลี เป็นผู้นำเข้าข้าวและมีการขาดดุลการค้าด้านอาหารในปีที่แล้ว จะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบแต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากระดับรายได้ต่อหัวในประเทศฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลีแล้ว ซึ่งอยู่ในระดับสูงผลกระทบจากราคาข้าวและราคาธัญพืชที่เพิ่มขึ้นจะไม่เป็นปัญหารุนแรงในเชิงสังคม แต่สำหรับประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งรายได้ต่อหัวประชากรยังตำผลกระทบจะมีมาก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห
ในช่วง 5 เดือนแรกราคาน้ำมันสูงขึ้นมาก อันเนื่องจากภาวะตลาดน้ำมันตึงตัว และเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนค่าและการคาดการณ์ว่าจะอ่อนค่าลงต่อไปจูงใจให้เกิดการปรับพอร์ตการลงทุนไปสู่น้ำมันสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ มากขึ้น ประกอบกับมีปัญหาความตึงเครียดในประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่สำคัญทั้งไนจีเรียและอาร์เจนตินา รวมทั้งความต้องการน้ำมันเพื่อสะสมสะต็อคน้ำมันที่ลดลงของกลุ่มประเทศ OECD
สำหรับในช่วงที่เหลือของปีราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไปบนเงื่อนไข/ปัจจัยเดิม โดยที่ภาวะตลาดยังคงตึงตัว เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ที่ยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่เช่น จีน อินเดียและกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าราคาน้ำมันดิบจะชะลอตัวลงเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของปี โดยมีสาเหตุสำคัญจากปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งในและนอกกลุ่มโอเปคที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น และคาดว่าทั้งปี 2551 นี้ราคาน้ำมันดิบดูไบโดยเฉลี่ยจะเท่ากับ110-120.ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าราคาเฉลี่ยที่ 68.83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปี 2550 มาก ปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงผลักดันให้ราคาน้ำมันดิบยังคงตัวในระดับสูงมีดังนี้
(1) ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยที่ International Energy Agency (IEA)คาดการณ์ว่าในปี 2551 ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของโลกจะอยู่ที่ 87.2 ล้านบาร์เรลต่อวันเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิต ซึ่งคาดการณ์ว่าจะผลิตได้วันละ 86.68 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากปีผ่านมาร้อยละ 1.38 นอกจากนั้นปริมาณการผลิตยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าปริมาณการใช้วันละ 0.52 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยความต้องการใช้น้ำมันของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น มีสาเหตุสำคัญมาจากปริมาณความต้องการใช้ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน ซึ่งคาดว่าความต้องการใช้จะอยู่ที่ 7.89 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.7 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับกีฬาโอลิมปิคที่จะเริ่มขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม ในขณะที่กลุ่มประเทศ Non-OECD Asia จะมีความต้องการใช้อยู่ที่ 18 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.27 กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง คาดว่าจะมีความต้องการใช้อยู่ที่ 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1
2551
บาร์เรล/วัน 2548 2549 2550ทั้งปี Q1 Q2f Q3f Q4f ทั้งปี
ปริมาณการผลิต 84.6 85.3 84.66 86.08 86.79 87.41 86.71 86.68
Non-OPEC 50.4 51.1 49.24 49.17 49.49 50.05 50.59 49.83
OPEC น้ำมันดิบ 29.7 29.7 35.43 32.28 32.59 32.22 31.1 32.05
NGL 4.5 4.6 4.53 4.62 4.71 4.86 5.01 4.8
Supply-Demand 0.7 0.6 -1.34 -1.22 0.49 0.51 -1.69 -0.52
ที่มา: EIA
(2) ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. โดยเฉลี่ยยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลง โดยมีสาเหตุสำคัญจากสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่คาดว่าจะชะลอตัว รวมทั้งปัญหาซับไพร์มและการขาดดุลแฝด (Twin Deficit) ยังคงเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้กองทุนประกันความเสี่ยงและนักลงทุนสถาบัน กระจายความเสี่ยงจากการถือตราสารหนี้หรือหน่วยลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ไปสู่สินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เช่น น้ำมัน เหล็ก ทองคำและสินค้าเกษตร นอกจากนั้นการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ยังเป็นแรงจูงใจให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรักษาระดับราคาให้อยู่ในระดับสูงต่อไป เพื่อเป็นการชดเชยรายได้ที่ลดลงจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ.
(3) สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ปัญหาโลกร้อน (Global Warming) ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศมีความแปรปรวน ในขณะที่ภัยธรรมชาติมีความรุนแรงและมีความถี่มากขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่สองและสาม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน ผลกระทบจากพายุเฮอริเคนและภัยธรรมชาติอื่น ๆ ในแถบทวีปอเมริกาและแอฟริกา จะส่งผลให้แท่นขุดเจาะน้ำมันและโรงกลั่นหลายแห่งต้องปิดทำการชั่วคราว ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากปริมาณการผลิตจะไม่เพียงพอต่อปริมาณการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้น
ปัจจัยกำหนดราคาน้ำมันในระยะต่อไป
ปัจจัยที่เป็น upside risks สำหรับราคาน้ำมัน ประกอบด้วย
- สะต็อกน้ำมันอยู่ในระดับต่ำและประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่ม OECD มีความกังวลเรื่อง commercial stock ในภาวะที่ surplus capacity ยังต่ำ
- ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการกลั่นจาก unconventional sources
- ความต้องการใช้ที่ยังเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีการอุดหนุนราคาน้ำมัน
- การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ.
- การเก็งกำไร
- การประกันความเสี่ยง ปัจจัยที่เป็น Spike risks ประกอบด้วย
- สภาพอากาศ
- ปัญหาความไม่สงบและการเมืองระหว่างประเทศ และปัญหาการเมืองในประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปัจจัยที่เป็น Downside risks
- ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยและเศรษฐกิจโลกซบเซา
- ผ่านพ้นช่วงของการซ่อมบำรุงโรงกลั่น
- การเพิ่มปริมาณการผลิตและกำลังการผลิตของประเทศ Non-OPEC
- ความต้องการที่ชะลอตัวลงในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (ก่อนถึง driving season ในฤดูร้อน)
โดยรวมนั้นจะเห็นว่าในครึ่งแรกของปีน้ำหนักของ upside risks และ spike risks จะมีมากกว่า Downside risks ที่คาดว่าจะมีมากขึ้นในครึ่งหลังของปี โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ปรากฏการณ์ราคาข้าวในอาเซียน
ปรากฏการณ์ราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นสูงในช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นประเด็นสำคัญโดยเฉพาะในเอเชียซึ่งเป็นประเทศที่ทั้งเป็นผู้ผลิตและเป็นผู้บริโภคข้าวเป็นหลัก โดยการบริโภคข้าวในภูมิภาคคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 — 70 ของการบริโภคธัญพืชทั้งหมด ดังนั้นราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นเหตุให้นักลงทุนหันมาให้ความสนใจอย่างมาก
1. ปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น
การเพิ่มสูงขึ้นของระดับราคาข้าว (grain and rice) มีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญประกอบกัน ดังนี้
- ผลกระทบด้านอุปทาน (Supply shock) กล่าวคือ ปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรในตลาดโลกได้ลดลงตั้งแต่ปี 2550 และต่อเนื่องถึงปีนี้ โดยมีสาเหตุหลัก ๆ จากภัยแล้งในประเทศยุโรปในช่วงปลายปี 2550 รวมทั้งในประเทศออสเตรเลียนอกจากนี้ยังเกิดสภาวะน้ำท่วม และสภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างมากในช่วงต้นปี 2551 ในประเทศจีน
- การทดแทนกันด้านการผลิตและข้อจำกัดด้านพื้นที่เพาะปลูกและน้ำ จากการแย่งพื้นที่ปลูกข้าว และการใช้น้ำเพื่อการเกษตรจากภาคอุตสาหกรรม
- การทดแทนด้านอุปสงค์ (Demand substitution) การเพิ่มสูงขึ้นของราคาข้าวส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการพืชพลังงาน (energy crops) ที่เพิ่มสูงขึ้น และมีผลต่อการทดแทนความต้องการระหว่างผลผลิตพืชผลประเภทต่าง ๆ ซึ่งในระยะยาวก็จะนำไปสู่ supply substitution
- แรงกดดันด้านต้นทุนการผลิต (Cost pressures) ราคาก๊าซและน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนราคาปัจจัยการผลิต(ปุ๋ย น้ำมันเชื้อเพลิง และเครื่องจักรทางการเกษตร)ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และกำไรลดต่ำลง ซึ่งไม่จูงใจให้ทำการผลิตและการลงทุนเพิ่ม และเมื่อประกอบกับพืชพลังงานมีราคาดีขึ้นมากในส่วนของพื้นที่ที่ทดแทนกันได้ก็อาจจะมีแรงจูงใจให้ไปปลูกพืชพลังงานแทน (โดยเฉพาะในระยะยาวที่สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกได้)
- การกักตุนและการเก็งกำไร (Speculation/hoarding) ความไม่แน่นอนของปริมาณการผลิตในอนาคตส่งผลให้ผู้บริโภค และพ่อค้าคนกลางกักตุนสินค้ามากขึ้นปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เกิดความกังวลว่าปริมาณผลผลิตจะขาดแคลน และส่งผลให้ประเทศผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญ เช่น อียิปต์ อินเดีย และเวียดนามนั้นดำเนินการในทางที่จะลดการส่งออกหรือลดแรงจูงใจที่จะส่งออก จึงทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น
2. แนวโน้มราคาข้าว
สำหรับในระยะต่อไปนั้นเป็นที่คาดว่าผลผลิตในฤดูกาลเก็บเกี่ยวหน้านี้จะดีขึ้นทั้งในประเทศ บราซิล อุรุกวัย บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งก็จะช่วยลดแรงกดดันราคาข้าวได้บ้าง ซึ่งตามรายงานสถานการณ์การผลิตพืชและอาหารในเดือนเมษายนขององค์การอาหารและการเกษตรโลก (FAO) นั้นคาดว่าในปี 2551/2552 ผลผลิตในประเทศผู้ส่งออกข้าวและข้าวสาลีที่สำคัญจะเพิ่มขึ้น ซึ่งหากเป็นไปตามคาด ปริมาณผลผลิตข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นจากประเทศต่าง ๆ เหล่านี้และช่วยลดแรงกดดันต่อราคาลงได้บ้าง
แต่อย่างไรก็ตามสำหรับในระยะยาวนั้นก็มีปัจจัยที่จะทำให้แนวโน้มราคาในระยะยาวสูงขึ้น จากปัจจัยที่กล่าวถึงแล้วนั้นจะเห็นว่าจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น นั่นคือราคาน้ำมันที่ยังคงสูงขึ้น ดังนั้นเมื่อประกอบกับข้อจำกัดด้านปริมาณที่ดิน น้ำ และพลังงาน ก็จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพการผลิตและผลตอบแทนของสาขาเกษตรมากกว่าสาขาการผลิตอื่น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกสาขาการผลิตจะต้องบริหารจัดการเรื่องต้นทุนปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้นและปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่เปลี่ยนไป
แต่การปรับตัวของผู้บริโภคนั้นมีข้อสังเกตที่สำคัญคือ อาหารเป็นสิ่งจำเป็นจึงปรับปริมาณความต้องการได้ไม่มากดังนั้นภายใต้สถานการณ์ด้านความต้องการและการผลิตดังกล่าวทำให้คาดได้ว่าราคาอาหารจะสูงขึ้นโดยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าอื่น ๆ จนกระทั่งผลกำไร/ผลตอบแทนจากการผลิตอาหารนั้นมากพอที่จะจูงใจให้ระดมทรัพยากรการผลิตสู่สาขาการผลิตอาหารมากขึ้นและช่วยคงระดับปริมาณการผลิต ซึ่งหมายรวมถึงการปรับตัวด้านเทคโนโลยีและผลิตภาพการผลิต ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านที่ต้องใช้เวลาและต้องมีความชัดเจนของทิศทางนโยบาย และที่สำคัญจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในสาขาเกษตรและอาหารควบคู่ไปด้วยอย่างจริงจัง ไม่อย่างนั้นแล้วจะเป็นโยกย้ายทรัพยากรไปยังภาคการผลิตที่ผลิตภาพต่ำ สิ่งที่จะต้องจับตามองและวิเคราะห์ทำความเข้าใจในระยะต่อไปก็คือ (1) การเปลี่ยนแปลงราคาอาหารและสินค้าเกษตรโดยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าประเภทอื่น และ (2) การถ่ายโอนรายได้ในระหว่างกลุ่ม (redistribution of income) จากผู้บริโภคอาหารไปสู่ผู้ผลิตอาหารทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ
3. ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจ
ในระดับภาพรวมของโลกในอดีตที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร (food price inflation) ของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ส่วนใหญ่เป็นผลอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาของสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ และพืชผักผลไม้ มากกว่าสินค้าประเภทธัญพืช (cereals or grain) แต่ในช่วง 6 - 9 เดือนที่ผ่านมานั้นอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารเร่งตัวขึ้นเร็วกว่าเงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) ในเกือบทุกประเทศในทวีปเอเชียซึ่งในส่วนของประเทศไทยเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นมากเป็นผลทั้งจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นและราคาอาหารที่เร่งตัวขึ้นมากในไตรมาสแรก
ราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้อำนาจซื้อในการบริโภคของครัวเรือนลดลง โดยที่ผลกระทบจะแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม
- ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำจะได้รับผลกระทบมากกว่าครัวเรือนที่มีรายได้สูง เนื่องจากกลุ่มครัวเรือนผู้มีรายได้ตำมีการใช้จ่ายเพื่อบริโภคอาหารต่อรายจ่ายรวมและต่อรายได้ในสัดส่วนที่สูงกว่า ตัวอย่างเช่นในกรณีของประเทศไทยนั้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีสัดส่วนรายจ่ายค่าอาหารต่อรายจ่ายอุปโภคบริโภคร้อยละ 46.08 ซึ่งสูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศที่ร้อยละ 36.06 สำหรับครัวเรือนในชนบทซึ่งมีรายได้ต่ำและมีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอาหารในสัดส่วนสูงนั้น ราคาอาหารมักจะเพิ่มเร็วกว่าประชาชนในเมืองเนื่องค่าขนส่งจะสูงขึ้น
- เมื่อพิจารณาตามขนาดของเศรษฐกิจ ประเทศที่ได้รับผลประโยชน์มาจากที่สุดจากการโอนหรือการเปลี่ยนมือของรายได้อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารก็คือ ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม เนื่องจากเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหาร ในขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวันและเกาหลี เป็นผู้นำเข้าข้าวและมีการขาดดุลการค้าด้านอาหารในปีที่แล้ว จะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบแต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากระดับรายได้ต่อหัวในประเทศฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลีแล้ว ซึ่งอยู่ในระดับสูงผลกระทบจากราคาข้าวและราคาธัญพืชที่เพิ่มขึ้นจะไม่เป็นปัญหารุนแรงในเชิงสังคม แต่สำหรับประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งรายได้ต่อหัวประชากรยังตำผลกระทบจะมีมาก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห