ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2548 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะผู้ประสานงานหลักของประเทศไทยในแผนงานอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS National Coordinator) นำโดย ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการฯ ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอด GMS Summit ครั้งที่ 2 ณ นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ดร.อำพน กล่าวว่า การประชุมนี้เป็นกลไกสำคัญระดับสูงสุดในการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบายและทิศทางความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ซึ่งกำหนดจัดเป็นประจำทุก 3 ปี โดยประเทศสมาชิกเวียนกันเป็นเจ้าภาพ สำหรับหัวข้อหลักของการประชุมในครั้งนี้ คือ “Stronger GMS Partnership for Common Prosperity” โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำคณะจากประเทศไทย นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลงาน GMS และ สศช. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการเตรียมการด้านสารัตถะและดูแลคณะผู้แทนไทยจำนวนกว่า 80 คน ซึ่งผลของการประชุมมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ผู้นำ 6 ประเทศได้ให้วิสัยทัศน์การพัฒนา GMS ในอนาคต โดยปรากฏในการหารือในช่วง Summit Meeting และแถลงการณ์ร่วมของผู้นำ 6 ประเทศ (Joint Summit Declaration) ว่าให้ยึดหลักการความเท่าเทียม ความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่มีความยืดหยุ่นตามความพร้อมและความสมัครใจ โดยเน้นว่าในอดีตความสำเร็จที่ผ่านมาก้าวหน้าเด่นชัดในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในระยะต่อไป GMS ต้องปรับตัวเพื่อเผชิญกับความท้าทายในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยด้านอาหาร พลังงาน และชีวิตมนุษย์ ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาใน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน การสร้างบรรยากาศเพื่ออำนวยความสะดวกการค้าการลงทุน การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม และการระดมทุนและสร้างภาคีการพัฒนา
2. นายกรัฐมนตรีของไทยได้เน้นถึงความร่วมมือของ GMS และบทบาทของไทย GMS ต้องเร่งสร้างบรรยากาศเพื่อดึงดูดการค้าการลงทุน โดยการปรับปรุงกฎระเบียบให้โปร่งใส การเร่งเปิดเสรีทางการบิน (Open sky policy) เร่งพัฒนาเครือข่าย ICT ที่ราคาถูกและเข้าถึงง่าย พัฒนาศักยภาพของแรงงาน ตลอดจนผลักดันให้เกิดความร่วมมือเรื่องการวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมกันนี้ GMS ต้องกระตุ้นการลงทุน/กิจกรรมเศรษฐกิจที่จะสร้างรายได้ ได้แก่ การลงทุนด้านเกษตรในรูปแบบ Contract Farming การส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมที่เน้นความหลากหลายทางวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติ สนับสนุนการลงทุนด้านพลังงาน และพัฒนาพลังงานทางเลือก พลังงานชีวภาพ โดยประเทศไทยมีความยินดีให้ความช่วยเหลือทั้งทางการเงินและวิชาการ ภายใต้กรอบ ACMECS
3. ผู้นำและภาคเอกชนได้ร่วมหารือเป็นครั้งแรกในช่วง Dialogue Session เป็นการยกระดับช่องทางการหารือภาครัฐ-เอกชนถึงระดับสูงสุด โดยภาคเอกชนได้เรียกร้องให้สร้างบรรยากาศสนับสนุนการค้าการลงทุนจากภายในและภายนอกภูมิภาคโดยเฉพาะตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor) เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ กำหนดนโยบายการพัฒนาด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (ICT) ที่ชัดเจนและสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาร่วมด้าน ICT ของกลุ่มประเทศ GMS
4. การลงนามในความตกลงและบันทึกความเข้าใจ รวม 4 ด้าน ได้แก่
- ด้านคมนาคม : การลงนามภาคผนวกและพิธีสารแนบท้าย ระยะที่ 3 ของความตกลงขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (จำนวน 4 ฉบับ) และการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เกี่ยวกับการเริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระหว่างคู่ประเทศในระดับทวิภาคี โดยไทยลงนามกับ 2 ประเทศ ได้แก่ ลาว (มุกดาหาร-สะหวันเขต) และกัมพูชา (อรัญประเทศ-ปอยเปต) เพื่ออำนวยความสะดวกการขนส่งคนและสินค้าผ่านแดนในอนุภูมิภาค ลดต้นทุนการประกอบการขนส่งของภาคเอกชนไทย
- ด้านพลังงาน : บันทึกความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานตามข้อตกลงด้านการปฏิบัติการเพื่อการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 1 (MOU on the Guidelines for the Implementation of the Regional Power Trade Operating Agreement — Stage 1) เป็นแนวทางเบื้องต้นเพื่อพัฒนาการเชื่อมโยงระบบสายส่งและการซื้อขายไฟฟ้าในกลุ่ม GMS ในอนาคต โดยจะช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลาที่ต้นทุนการผลิตต่างกัน และนำไปสู่การพัฒนาตลาดซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของแต่ละประเทศในอนาคตได้
- ด้านเกษตร : บันทึกความเข้าใจการป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (MOU for Cooperation to Prevent and Control Transboundary Animal Diseases in the GMS) เป็นความร่วมมือในการจัดตั้งระบบป้องกัน และควบคุมโรคระบาดสัตว์ที่มีประสิทธิภาพขึ้นในอนุภูมิภาค
- ด้านโทรคมนาคม : บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการวางแผนและจัดสร้างโครงข่ายทางด่วนสารสนเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (MOU of the Planning and Construction of GMS Information Superhighway Network) ร่วมสร้างทางด่วนสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในด้าน ICT โดยพัฒนา Broadband Platform เชื่อมโยง GMS ให้มีการจัดเตรียมบริการด้านเสียง ข้อมูล ภาพ และการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต โดยจะเป็นการเปิดช่องทางการลงทุนของนักธุรกิจไทยในประเทศเพื่อนบ้านต่อไป
5. การเยือนสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งมณฑลยูนนาน (Yunnan TV and Radio Stations) ของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) อันจะนำมาซึ่งความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนทั้งด้านเทคโนโลยี/บุคลากร/การข่าว/การดูงานในพื้นที่ การส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และการจัดมหกรรมภาพยนตร์ไทย-ยูนนาน (Thai-Yunnan Film Festival)
เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่าผลการประชุมจะช่วยสนับสนุนการพัฒนา GMS เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของการค้าและการลงทุนของประเทศ GMS ความสมบูรณ์ของวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อำนวยความสะดวกทางกฎระเบียบทั้งในและระหว่างประเทศให้สนับสนุนกิจกรรมการค้าและการลงทุนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ดร.อำพน กล่าวว่า การประชุมนี้เป็นกลไกสำคัญระดับสูงสุดในการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบายและทิศทางความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ซึ่งกำหนดจัดเป็นประจำทุก 3 ปี โดยประเทศสมาชิกเวียนกันเป็นเจ้าภาพ สำหรับหัวข้อหลักของการประชุมในครั้งนี้ คือ “Stronger GMS Partnership for Common Prosperity” โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำคณะจากประเทศไทย นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลงาน GMS และ สศช. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการเตรียมการด้านสารัตถะและดูแลคณะผู้แทนไทยจำนวนกว่า 80 คน ซึ่งผลของการประชุมมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ผู้นำ 6 ประเทศได้ให้วิสัยทัศน์การพัฒนา GMS ในอนาคต โดยปรากฏในการหารือในช่วง Summit Meeting และแถลงการณ์ร่วมของผู้นำ 6 ประเทศ (Joint Summit Declaration) ว่าให้ยึดหลักการความเท่าเทียม ความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่มีความยืดหยุ่นตามความพร้อมและความสมัครใจ โดยเน้นว่าในอดีตความสำเร็จที่ผ่านมาก้าวหน้าเด่นชัดในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในระยะต่อไป GMS ต้องปรับตัวเพื่อเผชิญกับความท้าทายในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยด้านอาหาร พลังงาน และชีวิตมนุษย์ ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาใน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน การสร้างบรรยากาศเพื่ออำนวยความสะดวกการค้าการลงทุน การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม และการระดมทุนและสร้างภาคีการพัฒนา
2. นายกรัฐมนตรีของไทยได้เน้นถึงความร่วมมือของ GMS และบทบาทของไทย GMS ต้องเร่งสร้างบรรยากาศเพื่อดึงดูดการค้าการลงทุน โดยการปรับปรุงกฎระเบียบให้โปร่งใส การเร่งเปิดเสรีทางการบิน (Open sky policy) เร่งพัฒนาเครือข่าย ICT ที่ราคาถูกและเข้าถึงง่าย พัฒนาศักยภาพของแรงงาน ตลอดจนผลักดันให้เกิดความร่วมมือเรื่องการวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมกันนี้ GMS ต้องกระตุ้นการลงทุน/กิจกรรมเศรษฐกิจที่จะสร้างรายได้ ได้แก่ การลงทุนด้านเกษตรในรูปแบบ Contract Farming การส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมที่เน้นความหลากหลายทางวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติ สนับสนุนการลงทุนด้านพลังงาน และพัฒนาพลังงานทางเลือก พลังงานชีวภาพ โดยประเทศไทยมีความยินดีให้ความช่วยเหลือทั้งทางการเงินและวิชาการ ภายใต้กรอบ ACMECS
3. ผู้นำและภาคเอกชนได้ร่วมหารือเป็นครั้งแรกในช่วง Dialogue Session เป็นการยกระดับช่องทางการหารือภาครัฐ-เอกชนถึงระดับสูงสุด โดยภาคเอกชนได้เรียกร้องให้สร้างบรรยากาศสนับสนุนการค้าการลงทุนจากภายในและภายนอกภูมิภาคโดยเฉพาะตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor) เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ กำหนดนโยบายการพัฒนาด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (ICT) ที่ชัดเจนและสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาร่วมด้าน ICT ของกลุ่มประเทศ GMS
4. การลงนามในความตกลงและบันทึกความเข้าใจ รวม 4 ด้าน ได้แก่
- ด้านคมนาคม : การลงนามภาคผนวกและพิธีสารแนบท้าย ระยะที่ 3 ของความตกลงขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (จำนวน 4 ฉบับ) และการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เกี่ยวกับการเริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระหว่างคู่ประเทศในระดับทวิภาคี โดยไทยลงนามกับ 2 ประเทศ ได้แก่ ลาว (มุกดาหาร-สะหวันเขต) และกัมพูชา (อรัญประเทศ-ปอยเปต) เพื่ออำนวยความสะดวกการขนส่งคนและสินค้าผ่านแดนในอนุภูมิภาค ลดต้นทุนการประกอบการขนส่งของภาคเอกชนไทย
- ด้านพลังงาน : บันทึกความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานตามข้อตกลงด้านการปฏิบัติการเพื่อการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 1 (MOU on the Guidelines for the Implementation of the Regional Power Trade Operating Agreement — Stage 1) เป็นแนวทางเบื้องต้นเพื่อพัฒนาการเชื่อมโยงระบบสายส่งและการซื้อขายไฟฟ้าในกลุ่ม GMS ในอนาคต โดยจะช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลาที่ต้นทุนการผลิตต่างกัน และนำไปสู่การพัฒนาตลาดซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของแต่ละประเทศในอนาคตได้
- ด้านเกษตร : บันทึกความเข้าใจการป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (MOU for Cooperation to Prevent and Control Transboundary Animal Diseases in the GMS) เป็นความร่วมมือในการจัดตั้งระบบป้องกัน และควบคุมโรคระบาดสัตว์ที่มีประสิทธิภาพขึ้นในอนุภูมิภาค
- ด้านโทรคมนาคม : บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการวางแผนและจัดสร้างโครงข่ายทางด่วนสารสนเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (MOU of the Planning and Construction of GMS Information Superhighway Network) ร่วมสร้างทางด่วนสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในด้าน ICT โดยพัฒนา Broadband Platform เชื่อมโยง GMS ให้มีการจัดเตรียมบริการด้านเสียง ข้อมูล ภาพ และการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต โดยจะเป็นการเปิดช่องทางการลงทุนของนักธุรกิจไทยในประเทศเพื่อนบ้านต่อไป
5. การเยือนสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งมณฑลยูนนาน (Yunnan TV and Radio Stations) ของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) อันจะนำมาซึ่งความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนทั้งด้านเทคโนโลยี/บุคลากร/การข่าว/การดูงานในพื้นที่ การส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และการจัดมหกรรมภาพยนตร์ไทย-ยูนนาน (Thai-Yunnan Film Festival)
เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่าผลการประชุมจะช่วยสนับสนุนการพัฒนา GMS เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของการค้าและการลงทุนของประเทศ GMS ความสมบูรณ์ของวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อำนวยความสะดวกทางกฎระเบียบทั้งในและระหว่างประเทศให้สนับสนุนกิจกรรมการค้าและการลงทุนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-