เมื่อวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2550 รองเลขาธิการฯ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ ได้เป็นผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมในคณะทางการของนายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 เชื่อมบ้านบูเก๊ะตา อาเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส กับบูกิตบุหงา รัฐ กลันตัน ประเทศมาเลเซีย
โดยในพิธีเปิดสะพานดังกล่าว พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพันเอกหญิงท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยา พร้อมด้วยคณะ ได้แก่ นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และภริยา พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พล.ร.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.ท.วิโรจน์ บัวจรูญ แม่ทัพภาคที่ 4 และนายพระนาย สุวรรณรัตน์ ผอ.ศอ.บต. ได้เดินทางไปร่วมในพิธี โดยฝ่ายประเทศมาเลเซีย ดาโต๊ะ ซรี อับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และนางดาติน ซือริ ยีน อับดุลเลาะห์ ภริยา ได้เดินทางมาเข้าร่วมในพิธีเปิดสะพาน
สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 เชื่อมบ้านบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส กับบูกิตบุหงา รัฐกลันตัน เป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือที่สำคัญภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) และยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (JDS) โดยรัฐบาลไทยและมาเลเซียได้ร่วมลงนามความตกลงเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานฯ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547
สะพานดังกล่าวเป็นสะพานคอนกรีต 2 ช่องจราจร ความยาว 120 เมตร กว้าง 16.9 เมตร ดำเนินการโดยกรมทางหลวงของประเทศไทย และกรมโยธาธิการของประเทศมาเลเซีย ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี งบประมาณ 90 ล้านบาท โดยทั้งสองฝ่ายออกค่าใช้จ่ายฝ่ายละกึ่งหนึ่ง ซึ่งจะเปิดให้บริการต่อผู้สัญจรระหว่างเวลา 08.00-17.00 น. ในฐานะจุดผ่อนปรนชั่วคราว (ประชาชนสามารถเดินทางข้ามชายแดนไปยังพื้นที่ที่จำกัด) ซึ่งหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องของไทยและมาเลเซียกำลังหารือในรายละเอียดเพื่อยกสถานะให้สะพานฯ เป็นจุดผ่านแดนถาวรต่อไป
ทั้งนี้ สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพระหว่างไทยและมาเลเซีย เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและมาเลเซีย และเป็นการเปิดประตูไปสู่การค้าและการขนส่งที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ เนื่องจากมาเลเซียกำลังวางแผนยุทธศาสตร์ East Coast Economic Region (ECER) โดยจะทำให้มีการขนส่งสินค้าแบบโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมส่งออกมากขึ้น ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะเพิ่มพูนรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่
เมื่อเดินทางถึงบริเวณเชิงสะพานฝั่งไทย นายกรัฐมนตรีและคณะได้พบปะกับชุมชนชาวไทยที่รอต้อนรับอยู่เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นจึงเดินไปยังเต๊นท์ประธานซึ่งตั้งอยู่ ณ บริเวณกลางสะพาน ขณะที่นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เดินทางจากเชิงสะพานฝั่งมาเลเซียมายังเต็นท์ประธาน เพื่อร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดสะพานดังกล่าว
พิธีการเปิดเริ่มด้วยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวเปิดสะพานเป็นภาษามลายู โดยมีล่ามแปลเป็นภาษาไทย และนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดสะพานเป็นภาษาไทย โดยมีล่ามแปลเป็นภาษามลายู ต่อจากนั้นทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามในแผ่นป้ายซึ่งจะติดบริเวณกลางสะพาน กดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายเปิดการใช้สะพานฯ และแลกเปลี่ยนของที่ระลึก หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศได้ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกบริเวณหน้าป้ายเปิดการใช้สะพานฯ ก่อนนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย จะอำลาเพื่อเดินทางกลับ
หลังจากพิธีเปิดสะพานฯ เสร็จสิ้น พลเอกสุรยุทธ์ฯ ได้เดินทางไปยังโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นราธิวาส ที่ตำบลโล๊ะจูด อำเภอแว้ง เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปจากอาจารย์ใหญ่และชมการแสดงพื้นเมืองโดยนักเรียนของโรงเรียนฯ ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร
คำกล่าว พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เนื่องในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 ณ บ้านบูเก๊ะตา จังหวัดนราธิวาส - บูกิตบุหงา รัฐกลันตัน วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2550
ฯพณฯ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย และผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมมีความยินดี และรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งที่ 2 ร่วมกับ ฯพณฯ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย ในวันนี้
สะพานแห่งนี้แม้ว่าจะสร้างเสร็จภายหลังจากที่สะพานแห่งแรกที่เชื่อม สุไหงโกลก กับ รันเตาปันยัง ได้สร้างมาแล้วถึง 34 ปี แต่ก็ถือว่าเป็นสะพานแห่งมิตรภาพที่สำเร็จได้ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของทั้งสองฝ่าย ในปีที่เป็นมงคลแห่งการครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย
การเดินทางข้ามแดนในบริเวณนี้เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของประชาชนทั้งสองฟากแม่น้ำมาตั้งแต่ก่อนที่ประเทศไทยและมาเลเซียจะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปีพุทธศักราช 2500 และแม้ว่าในขณะนั้นจะยังไม่มีสะพาน แต่ชุมชนชาวไทยและมาเลย์ทั้งสองฟากแม่น้ำโก-ลก ก็มีความผูกพันกันฉันญาติมิตรอยู่แล้ว และเมื่อการก่อสร้างสะพานแล้วเสร็จ ญาติสนิทมิตรสหายจากทั้งสองฝั่งแม่น้ำจึงสามารถเดินทางไปมาเยี่ยมเยียนกันได้สะดวกและบ่อยครั้งยิ่งขึ้น จึงนับได้ว่าสะพานแห่งนี้มีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ และเชื่อมโยงชุมชนท้องถิ่นของทั้งสองประเทศให้ใกล้ชิดแน่นแฟ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการสนับสนุนการรวมตัวของภูมิภาคตามแนวทางของกฎบัตรอาเซียน ซึ่งทั้งประเทศไทยและมาเลเซีย ได้ลงนามที่สิงคโปร์เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
การสร้างสะพานแห่งนี้เป็นเพียงก้าวแรกของการพัฒนาพื้นที่ชายแดนและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน สิ่งที่สาคัญไม่น้อยไปกว่าการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานคือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้คนท้องถิ่นสามารถวางแผนและกำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง ดังนั้น คำแนะนำ และความช่วยเหลือจากรัฐบาลจึงเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงที่การพัฒนาศักยภาพของคนท้องถิ่นยังอยู่ระหว่างการดำเนินยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (JDS) และสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือที่สำคัญสองกรอบที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นี้ ที่จะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป
สะพานแห่งนี้แม้ว่าจะมีความยาวเพียง 120 เมตร แต่ก็เพียงพอที่จะเชื่อมโยงพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ คือ จังหวัดนราธิวาสและรัฐกลันตัน และจะอำนวยความสะดวกในการขนส่งระหว่างเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยกับเขตเศรษฐกิจตะวันออก (East Coast Economic Region-ECER) ในรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซียด้วย และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อการก่อสร้างสะพาน อื่น ๆ แล้วเสร็จ เครือข่ายดังกล่าวจะยิ่งขยายออกไป ซึ่งขณะนี้การศึกษาความเป็นไปได้สำหรับสะพานเชื่อมสุไหงโกลกในจังหวัดนราธิวาสกับรันเตา ปันยัง ในรัฐกลันตัน เพิ่มเติม ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว ส่วนสะพานที่ตากใบกับเปงกาลันกูโบร์อยู่ในระหว่างการดำเนินการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การจะอำนวยความสะดวกให้แก่การเดินทางของประชาชน และการขนส่งสินค้าข้ามแดน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายจำเป็นจะต้องประสานงานกันอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดกฎระเบียบให้สอดคล้อง สำหรับทำให้จุดผ่านแดนบริเวณบ้านบูเก๊ะตา กับ บูกิตบุหงา เป็นจุดผ่านแดนถาวร และได้ข้อสรุปสำหรับร่างความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดนและการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างกันต่อไป
ภายหลังพิธีนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ จะเป็นแขกเกียรติยศท่านแรกที่ข้ามสะพานนี้ไปยังประเทศไทย จังหวัดนราธิวาสถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่จะได้ต้อนรับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และคณะ ที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาสต่อไป
ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
วันนี้เป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซียอีกวันหนึ่ง สะพานแห่งนี้ไม่เพียงแต่จะเชื่อมโยงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างไทยกับมาเลเซียเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงมิตรภาพและนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนทั้งสองประเทศยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย
ผมและ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ประชาชนของทั้งสองประเทศจะได้ใช้สะพานแห่งนี้ เป็นช่องทางในการกระชับความสัมพันธ์ที่อบอุ่นแน่นแฟ้นระหว่างกันอย่างยั่งยืนและยาวนานตลอดไป
ขอขอบคุณครับ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
โดยในพิธีเปิดสะพานดังกล่าว พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพันเอกหญิงท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยา พร้อมด้วยคณะ ได้แก่ นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และภริยา พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พล.ร.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.ท.วิโรจน์ บัวจรูญ แม่ทัพภาคที่ 4 และนายพระนาย สุวรรณรัตน์ ผอ.ศอ.บต. ได้เดินทางไปร่วมในพิธี โดยฝ่ายประเทศมาเลเซีย ดาโต๊ะ ซรี อับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และนางดาติน ซือริ ยีน อับดุลเลาะห์ ภริยา ได้เดินทางมาเข้าร่วมในพิธีเปิดสะพาน
สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 เชื่อมบ้านบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส กับบูกิตบุหงา รัฐกลันตัน เป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือที่สำคัญภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) และยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (JDS) โดยรัฐบาลไทยและมาเลเซียได้ร่วมลงนามความตกลงเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานฯ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547
สะพานดังกล่าวเป็นสะพานคอนกรีต 2 ช่องจราจร ความยาว 120 เมตร กว้าง 16.9 เมตร ดำเนินการโดยกรมทางหลวงของประเทศไทย และกรมโยธาธิการของประเทศมาเลเซีย ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี งบประมาณ 90 ล้านบาท โดยทั้งสองฝ่ายออกค่าใช้จ่ายฝ่ายละกึ่งหนึ่ง ซึ่งจะเปิดให้บริการต่อผู้สัญจรระหว่างเวลา 08.00-17.00 น. ในฐานะจุดผ่อนปรนชั่วคราว (ประชาชนสามารถเดินทางข้ามชายแดนไปยังพื้นที่ที่จำกัด) ซึ่งหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องของไทยและมาเลเซียกำลังหารือในรายละเอียดเพื่อยกสถานะให้สะพานฯ เป็นจุดผ่านแดนถาวรต่อไป
ทั้งนี้ สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพระหว่างไทยและมาเลเซีย เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและมาเลเซีย และเป็นการเปิดประตูไปสู่การค้าและการขนส่งที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ เนื่องจากมาเลเซียกำลังวางแผนยุทธศาสตร์ East Coast Economic Region (ECER) โดยจะทำให้มีการขนส่งสินค้าแบบโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมส่งออกมากขึ้น ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะเพิ่มพูนรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่
เมื่อเดินทางถึงบริเวณเชิงสะพานฝั่งไทย นายกรัฐมนตรีและคณะได้พบปะกับชุมชนชาวไทยที่รอต้อนรับอยู่เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นจึงเดินไปยังเต๊นท์ประธานซึ่งตั้งอยู่ ณ บริเวณกลางสะพาน ขณะที่นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เดินทางจากเชิงสะพานฝั่งมาเลเซียมายังเต็นท์ประธาน เพื่อร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดสะพานดังกล่าว
พิธีการเปิดเริ่มด้วยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวเปิดสะพานเป็นภาษามลายู โดยมีล่ามแปลเป็นภาษาไทย และนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดสะพานเป็นภาษาไทย โดยมีล่ามแปลเป็นภาษามลายู ต่อจากนั้นทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามในแผ่นป้ายซึ่งจะติดบริเวณกลางสะพาน กดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายเปิดการใช้สะพานฯ และแลกเปลี่ยนของที่ระลึก หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศได้ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกบริเวณหน้าป้ายเปิดการใช้สะพานฯ ก่อนนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย จะอำลาเพื่อเดินทางกลับ
หลังจากพิธีเปิดสะพานฯ เสร็จสิ้น พลเอกสุรยุทธ์ฯ ได้เดินทางไปยังโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นราธิวาส ที่ตำบลโล๊ะจูด อำเภอแว้ง เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปจากอาจารย์ใหญ่และชมการแสดงพื้นเมืองโดยนักเรียนของโรงเรียนฯ ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร
คำกล่าว พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เนื่องในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 ณ บ้านบูเก๊ะตา จังหวัดนราธิวาส - บูกิตบุหงา รัฐกลันตัน วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2550
ฯพณฯ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย และผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมมีความยินดี และรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งที่ 2 ร่วมกับ ฯพณฯ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย ในวันนี้
สะพานแห่งนี้แม้ว่าจะสร้างเสร็จภายหลังจากที่สะพานแห่งแรกที่เชื่อม สุไหงโกลก กับ รันเตาปันยัง ได้สร้างมาแล้วถึง 34 ปี แต่ก็ถือว่าเป็นสะพานแห่งมิตรภาพที่สำเร็จได้ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของทั้งสองฝ่าย ในปีที่เป็นมงคลแห่งการครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย
การเดินทางข้ามแดนในบริเวณนี้เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของประชาชนทั้งสองฟากแม่น้ำมาตั้งแต่ก่อนที่ประเทศไทยและมาเลเซียจะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปีพุทธศักราช 2500 และแม้ว่าในขณะนั้นจะยังไม่มีสะพาน แต่ชุมชนชาวไทยและมาเลย์ทั้งสองฟากแม่น้ำโก-ลก ก็มีความผูกพันกันฉันญาติมิตรอยู่แล้ว และเมื่อการก่อสร้างสะพานแล้วเสร็จ ญาติสนิทมิตรสหายจากทั้งสองฝั่งแม่น้ำจึงสามารถเดินทางไปมาเยี่ยมเยียนกันได้สะดวกและบ่อยครั้งยิ่งขึ้น จึงนับได้ว่าสะพานแห่งนี้มีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ และเชื่อมโยงชุมชนท้องถิ่นของทั้งสองประเทศให้ใกล้ชิดแน่นแฟ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการสนับสนุนการรวมตัวของภูมิภาคตามแนวทางของกฎบัตรอาเซียน ซึ่งทั้งประเทศไทยและมาเลเซีย ได้ลงนามที่สิงคโปร์เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
การสร้างสะพานแห่งนี้เป็นเพียงก้าวแรกของการพัฒนาพื้นที่ชายแดนและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน สิ่งที่สาคัญไม่น้อยไปกว่าการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานคือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้คนท้องถิ่นสามารถวางแผนและกำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง ดังนั้น คำแนะนำ และความช่วยเหลือจากรัฐบาลจึงเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงที่การพัฒนาศักยภาพของคนท้องถิ่นยังอยู่ระหว่างการดำเนินยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (JDS) และสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือที่สำคัญสองกรอบที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นี้ ที่จะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป
สะพานแห่งนี้แม้ว่าจะมีความยาวเพียง 120 เมตร แต่ก็เพียงพอที่จะเชื่อมโยงพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ คือ จังหวัดนราธิวาสและรัฐกลันตัน และจะอำนวยความสะดวกในการขนส่งระหว่างเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยกับเขตเศรษฐกิจตะวันออก (East Coast Economic Region-ECER) ในรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซียด้วย และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อการก่อสร้างสะพาน อื่น ๆ แล้วเสร็จ เครือข่ายดังกล่าวจะยิ่งขยายออกไป ซึ่งขณะนี้การศึกษาความเป็นไปได้สำหรับสะพานเชื่อมสุไหงโกลกในจังหวัดนราธิวาสกับรันเตา ปันยัง ในรัฐกลันตัน เพิ่มเติม ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว ส่วนสะพานที่ตากใบกับเปงกาลันกูโบร์อยู่ในระหว่างการดำเนินการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การจะอำนวยความสะดวกให้แก่การเดินทางของประชาชน และการขนส่งสินค้าข้ามแดน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายจำเป็นจะต้องประสานงานกันอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดกฎระเบียบให้สอดคล้อง สำหรับทำให้จุดผ่านแดนบริเวณบ้านบูเก๊ะตา กับ บูกิตบุหงา เป็นจุดผ่านแดนถาวร และได้ข้อสรุปสำหรับร่างความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดนและการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างกันต่อไป
ภายหลังพิธีนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ จะเป็นแขกเกียรติยศท่านแรกที่ข้ามสะพานนี้ไปยังประเทศไทย จังหวัดนราธิวาสถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่จะได้ต้อนรับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และคณะ ที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาสต่อไป
ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
วันนี้เป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซียอีกวันหนึ่ง สะพานแห่งนี้ไม่เพียงแต่จะเชื่อมโยงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างไทยกับมาเลเซียเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงมิตรภาพและนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนทั้งสองประเทศยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย
ผมและ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ประชาชนของทั้งสองประเทศจะได้ใช้สะพานแห่งนี้ เป็นช่องทางในการกระชับความสัมพันธ์ที่อบอุ่นแน่นแฟ้นระหว่างกันอย่างยั่งยืนและยาวนานตลอดไป
ขอขอบคุณครับ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-