เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2548 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารโลก ได้ร่วมกันจัดงานประชุมประจำปีเกี่ยวกับความร่วมมือเพื่อการพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ 1) ก้าวต่อไปของความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่าง สศช. และธนาคารโลก (บันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้และการเรียนรู้) 2) การเผยแพร่ผลงานในเรื่องของการแก้ไขปัญหาความยากจน ภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศด้านการวิเคราะห์ความยากจนและติดตามประเมินผล (The Country Development Partnership on Poverty Analysis and Monitoring : CDP-PAM)
ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นโครงการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินงานของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการสนับสนุนทางด้านวิชาการ และเพิ่มศักยภาพการทำงานเพื่อให้รัฐบาลสามารถมีระบบฐานข้อมูลและมีเครื่องมือที่สำคัญในการกำหนดเป้าหมายและพื้นที่ความยากจน มีความเข้าใจถึงปัญหาและแนวทางเพื่อช่วยลดความยากจน รวมไปถึงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านนโยบายเพื่อนำไปใช้เป็นบทเรียนในการพัฒนาประเทศพร้อมแก้ไขความยากจนและการกระจายรายได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ
ในงานประชุมประจำปีฯ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ Mr. Ian C. Porter ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ได้กล่าวสุนทรพจน์ พร้อมทั้งร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้และการเรียนรู้ระหว่าง สศช. และธนาคารโลก โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 150 คน ซึ่งประกอบด้วย กรรมการ สศช. ผู้บริหารของ สศช. ผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ผู้แทนจากธนาคารโลก องค์กรพัฒนาเอกชน สถานทูต ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และนักวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวต่อผู้เข้าร่วมประชุม มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า บันทึกความเข้าใจร่วมกันฯ จะเป็นกรอบทิศทางความร่วมมือระหว่าง สศช. และธนาคารโลก ประกอบด้วย การสนับสนุนทางด้านวิชาการ การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร ตลอดจนการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับความก้าวหน้าและโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงแผนการดำเนินงาน ประจำปี 2549 ภายใต้บันทึกความเข้าใจร่วมกันฯ โดยเน้นสาขาความร่วมมือที่ให้ความสำคัญเร่งด่วนในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ของ สศช. ไปทำงานร่วมกับธนาคารโลก ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังจะให้ความสนับสนุนทางวิชาการในการเตรียมการจัดทำแผนฯ 10 ในสาขาต่างๆ อาทิ ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านความรู้และนวัตกรรม การใช้พลังงานทางเลือก และการพัฒนาเมือง
ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าในปีที่ผ่านมา ธนาคารโลก และ สศช. ได้ประสานความร่วมมือสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าเชิงนโยบาย และเชิงวิชาการทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นโครงการ CDP-PAM ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2545 และโครงการระยะที่ 2 จะสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคมปีนี้ (รวมระยะเวลาดำเนินการ 3 ปีครึ่ง) โครงการ CDP-PAM เป็นโครงการภายใต้กรอบแนวคิดว่า การกำหนดนโยบายเพื่อลดและขจัดความยากจน รัฐบาลจำเป็นจะต้องมีฐานข้อมูลและเครื่องมือที่สำคัญในการวิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานว่ามีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลเพียงใด ดังนั้น โครงการ CDP-PAM จึงเป็นโครงการที่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงฐานข้อมูลและกระบวนการในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านความยากจน การกระจายรายได้ รวมไปถึงการสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนในกำหนดนโยบาย และการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของรัฐ
นอกจาก ความสำเร็จของโครงการ CDP-PAM แล้ว ในช่วงต้น พ.ศ. 2548 ธนาคารโลกและ สศช.ได้ร่วมกันเผยแพร่ผลการสำรวจประสิทธิภาพการผลิตและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย (Thailand Productivity and Investment Climate Study) ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้เวลาในการสำรวจ ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำรายงานถึง 2 ปี ผลการศึกษาจะเป็นการวิเคราะห์บรรยากาศในการประกอบธุรกิจและการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งสามารถนำไปเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ธนาคารโลกมีความปลื้มปิติในความสำเร็จจากโครงการต่างๆที่ได้ดำเนินการร่วมกับ สศช. ซึ่งนับเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่มีคุณค่าที่ทางธนาคารโลกจะสามารถนำไปเป็นบทเรียนเพื่อการพัฒนาทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นโครงการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินงานของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการสนับสนุนทางด้านวิชาการ และเพิ่มศักยภาพการทำงานเพื่อให้รัฐบาลสามารถมีระบบฐานข้อมูลและมีเครื่องมือที่สำคัญในการกำหนดเป้าหมายและพื้นที่ความยากจน มีความเข้าใจถึงปัญหาและแนวทางเพื่อช่วยลดความยากจน รวมไปถึงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านนโยบายเพื่อนำไปใช้เป็นบทเรียนในการพัฒนาประเทศพร้อมแก้ไขความยากจนและการกระจายรายได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ
ในงานประชุมประจำปีฯ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ Mr. Ian C. Porter ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ได้กล่าวสุนทรพจน์ พร้อมทั้งร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้และการเรียนรู้ระหว่าง สศช. และธนาคารโลก โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 150 คน ซึ่งประกอบด้วย กรรมการ สศช. ผู้บริหารของ สศช. ผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ผู้แทนจากธนาคารโลก องค์กรพัฒนาเอกชน สถานทูต ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และนักวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวต่อผู้เข้าร่วมประชุม มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า บันทึกความเข้าใจร่วมกันฯ จะเป็นกรอบทิศทางความร่วมมือระหว่าง สศช. และธนาคารโลก ประกอบด้วย การสนับสนุนทางด้านวิชาการ การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร ตลอดจนการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับความก้าวหน้าและโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงแผนการดำเนินงาน ประจำปี 2549 ภายใต้บันทึกความเข้าใจร่วมกันฯ โดยเน้นสาขาความร่วมมือที่ให้ความสำคัญเร่งด่วนในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ของ สศช. ไปทำงานร่วมกับธนาคารโลก ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังจะให้ความสนับสนุนทางวิชาการในการเตรียมการจัดทำแผนฯ 10 ในสาขาต่างๆ อาทิ ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านความรู้และนวัตกรรม การใช้พลังงานทางเลือก และการพัฒนาเมือง
ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าในปีที่ผ่านมา ธนาคารโลก และ สศช. ได้ประสานความร่วมมือสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าเชิงนโยบาย และเชิงวิชาการทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นโครงการ CDP-PAM ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2545 และโครงการระยะที่ 2 จะสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคมปีนี้ (รวมระยะเวลาดำเนินการ 3 ปีครึ่ง) โครงการ CDP-PAM เป็นโครงการภายใต้กรอบแนวคิดว่า การกำหนดนโยบายเพื่อลดและขจัดความยากจน รัฐบาลจำเป็นจะต้องมีฐานข้อมูลและเครื่องมือที่สำคัญในการวิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานว่ามีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลเพียงใด ดังนั้น โครงการ CDP-PAM จึงเป็นโครงการที่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงฐานข้อมูลและกระบวนการในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านความยากจน การกระจายรายได้ รวมไปถึงการสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนในกำหนดนโยบาย และการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของรัฐ
นอกจาก ความสำเร็จของโครงการ CDP-PAM แล้ว ในช่วงต้น พ.ศ. 2548 ธนาคารโลกและ สศช.ได้ร่วมกันเผยแพร่ผลการสำรวจประสิทธิภาพการผลิตและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย (Thailand Productivity and Investment Climate Study) ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้เวลาในการสำรวจ ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำรายงานถึง 2 ปี ผลการศึกษาจะเป็นการวิเคราะห์บรรยากาศในการประกอบธุรกิจและการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งสามารถนำไปเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ธนาคารโลกมีความปลื้มปิติในความสำเร็จจากโครงการต่างๆที่ได้ดำเนินการร่วมกับ สศช. ซึ่งนับเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่มีคุณค่าที่ทางธนาคารโลกจะสามารถนำไปเป็นบทเรียนเพื่อการพัฒนาทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-