แท็ก
อัตราดอกเบี้ย
- ความต้องการลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนาแน่นในตลาด R/P 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปรับลดลงตลอดสัปดาห์ โดยมีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 1.625 -- 1.6875 ต่อปี ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 และ 14 วัน ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์
- ภาวะซื้อขายตราสารหนี้ค่อนข้างผันผวนจากความไม่แน่นอนเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ย ปริมาณซื้อขายโดยรวมลดลง เล็กน้อย และอัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับลดลง
- เงินบาทมีทิศทางค่อนข้างผันผวนตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาค แต่ค่าเฉลี่ยเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยใน สัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย และการอ่อนค่าลงอย่าง ต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยธนาคาร พาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการเตรียมสภาพคล่องเพื่อ รับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือนและช่วงวันหยุดยาว มาลงทุน ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการเกินดุลเคลียริ่ง จึงมี ความต้องการลงทุนระยะสั้นเช่นกัน ความต้องการลงทุนในตลาดเงิน ระยะสั้นจึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปรับลดลงตลอดสัปดาห์ จากร้อยละ 1.6875 ต่อปีในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.625 - 1.65625 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ ที่ร้อยละ 1.71875 และ 1.75 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้น จากร้อยละ 1.625 - 1.72 มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.45 - 2.0 แต่อัตรา กลาง (Mode) ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐจำนวน 33,000 ล้านบาท เนื่องจากวันจันทร์ที่ 6 ธ.ค. เป็นวันหยุดราชการ จึงมีการประมูลตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน 2 ครั้ง รวม 6 รุ่น วงเงิน 22,000 ล้านบาท มีการ ประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษเพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟู (FIDF3) อายุ 5 ปี วงเงิน 3,000 บาท และพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับ โครงสร้างหนี้ FIDF1 อายุ 10 และ 15 ปี วงเงิน 3,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 5,000 ล้าน บาท อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ส่วนใหญ่ลดลงจากสัปดาห์ก่อนมาก ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 ปี ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้ค่อนข้างผันผวน ปริมาณซื้อ ขายลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.5 มีมูลค่า 75,896 ล้านบาท หรือ เฉลี่ย 15,179 ล้านบาท ต่อวัน โดยเป็นธุรกรรม Outright 40,684 ล้าน บาท คิดเป็นร้อยละ 53.6 ปริมาณซื้อขายหนาแน่นในต้นสัปดาห์และ ปรับลดลงช่วงกลางสัปดาห์ ก่อนปรับเพิ่มขึ้นสูงอีกครั้งในวันพฤหัสบดี ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากนักลงทุนบางส่วนคาดการณ์ว่า ธปท. อาจจะไม่ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือน ธ.ค. เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งขึ้น มากในระยะนี้ และมีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามามาก นักลงทุนจึงกลับ เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ดัชนีราคาจึงมีการปรับตัวขึ้นลงตลอด สัปดาห์ โดยในรอบสัปดาห์ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตร รัฐบาล เพิ่มขึ้น 19 basis point สำหรับหุ้นกู้เอกชนดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง อัตราผลตอบแทน (yield) มีความผันผวนเช่นกัน โดยในวันจันทร์ yield ยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน แต่ปรับเพิ่มขึ้นมากในวันอังคาร ตามการเพิ่มขึ้นของ US Treasury Yield ที่ปรับสูงขึ้นในวันก่อนหน้า หลังจากนั้น yield ของพันธบัตรฯ ไทยลดลงมาเป็นลำดับ จากความไม่ แน่นอนเรื่องนโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทย ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ yield ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 2 ปี และ มากกว่า 7 ปี ปรับลดลง 4-14 basis point และ yield ของพันธบัตรฯ อายุ 3 และ 5 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0-3 basis point
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยมีค่าเฉลี่ยตลอด สัปดาห์ที่ 39.36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ ก่อนหน้าร้อยละ 0.8 ในช่วงต้นสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลง เล็กน้อยตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน เนื่องจากนักลงทุนมีความ กังวลเกี่ยวกับการแทรกแซงค่าเงินของธนาคารกลางในภูมิภาค ประกอบ กับทางการจีนออกมาปฏิเสธเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าเงินหยวนในเร็วๆ นี้ ในขณะที่นักลงทุนมีการปรับฐานเงินดอลลาร์ สรอ. ในช่วงสั้นๆ ส่งผลให้ เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทาง แข็งค่าขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากทิศทางการแข็ง ค่าของเงินเยนและเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. หลังจากประธาน ธนาคารกลางยุโรปกล่าวเป็นนัยว่าจะยังไม่เข้าแทรกแซงค่าเงินยูโรใน ระยะนี้ และเงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงถูกกดดันจากปัญหาการขาดดุลบัญชี เดินสะพัดและการขาดดุลงบประมาณในระดับสูง แม้ว่าตัวเลขทาง เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวน มาก นอกจากนี้ การปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการ ซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุน เงินบาทให้แข็งค่าขึ้นเป็นลำดับและปรับแข็งค่าที่สุดตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน ที่ระดับ 39.15 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพฤหัสบดี ก่อนจะ ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันศุกร์ เนื่องจากมีแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรในตลาดต่างประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- ภาวะซื้อขายตราสารหนี้ค่อนข้างผันผวนจากความไม่แน่นอนเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ย ปริมาณซื้อขายโดยรวมลดลง เล็กน้อย และอัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับลดลง
- เงินบาทมีทิศทางค่อนข้างผันผวนตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาค แต่ค่าเฉลี่ยเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยใน สัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย และการอ่อนค่าลงอย่าง ต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยธนาคาร พาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการเตรียมสภาพคล่องเพื่อ รับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือนและช่วงวันหยุดยาว มาลงทุน ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการเกินดุลเคลียริ่ง จึงมี ความต้องการลงทุนระยะสั้นเช่นกัน ความต้องการลงทุนในตลาดเงิน ระยะสั้นจึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปรับลดลงตลอดสัปดาห์ จากร้อยละ 1.6875 ต่อปีในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.625 - 1.65625 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ ที่ร้อยละ 1.71875 และ 1.75 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้น จากร้อยละ 1.625 - 1.72 มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.45 - 2.0 แต่อัตรา กลาง (Mode) ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐจำนวน 33,000 ล้านบาท เนื่องจากวันจันทร์ที่ 6 ธ.ค. เป็นวันหยุดราชการ จึงมีการประมูลตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน 2 ครั้ง รวม 6 รุ่น วงเงิน 22,000 ล้านบาท มีการ ประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษเพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟู (FIDF3) อายุ 5 ปี วงเงิน 3,000 บาท และพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับ โครงสร้างหนี้ FIDF1 อายุ 10 และ 15 ปี วงเงิน 3,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 5,000 ล้าน บาท อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ส่วนใหญ่ลดลงจากสัปดาห์ก่อนมาก ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 ปี ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้ค่อนข้างผันผวน ปริมาณซื้อ ขายลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.5 มีมูลค่า 75,896 ล้านบาท หรือ เฉลี่ย 15,179 ล้านบาท ต่อวัน โดยเป็นธุรกรรม Outright 40,684 ล้าน บาท คิดเป็นร้อยละ 53.6 ปริมาณซื้อขายหนาแน่นในต้นสัปดาห์และ ปรับลดลงช่วงกลางสัปดาห์ ก่อนปรับเพิ่มขึ้นสูงอีกครั้งในวันพฤหัสบดี ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากนักลงทุนบางส่วนคาดการณ์ว่า ธปท. อาจจะไม่ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือน ธ.ค. เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งขึ้น มากในระยะนี้ และมีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามามาก นักลงทุนจึงกลับ เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ดัชนีราคาจึงมีการปรับตัวขึ้นลงตลอด สัปดาห์ โดยในรอบสัปดาห์ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตร รัฐบาล เพิ่มขึ้น 19 basis point สำหรับหุ้นกู้เอกชนดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง อัตราผลตอบแทน (yield) มีความผันผวนเช่นกัน โดยในวันจันทร์ yield ยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน แต่ปรับเพิ่มขึ้นมากในวันอังคาร ตามการเพิ่มขึ้นของ US Treasury Yield ที่ปรับสูงขึ้นในวันก่อนหน้า หลังจากนั้น yield ของพันธบัตรฯ ไทยลดลงมาเป็นลำดับ จากความไม่ แน่นอนเรื่องนโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทย ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ yield ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 2 ปี และ มากกว่า 7 ปี ปรับลดลง 4-14 basis point และ yield ของพันธบัตรฯ อายุ 3 และ 5 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0-3 basis point
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยมีค่าเฉลี่ยตลอด สัปดาห์ที่ 39.36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ ก่อนหน้าร้อยละ 0.8 ในช่วงต้นสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลง เล็กน้อยตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน เนื่องจากนักลงทุนมีความ กังวลเกี่ยวกับการแทรกแซงค่าเงินของธนาคารกลางในภูมิภาค ประกอบ กับทางการจีนออกมาปฏิเสธเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าเงินหยวนในเร็วๆ นี้ ในขณะที่นักลงทุนมีการปรับฐานเงินดอลลาร์ สรอ. ในช่วงสั้นๆ ส่งผลให้ เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทาง แข็งค่าขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากทิศทางการแข็ง ค่าของเงินเยนและเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. หลังจากประธาน ธนาคารกลางยุโรปกล่าวเป็นนัยว่าจะยังไม่เข้าแทรกแซงค่าเงินยูโรใน ระยะนี้ และเงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงถูกกดดันจากปัญหาการขาดดุลบัญชี เดินสะพัดและการขาดดุลงบประมาณในระดับสูง แม้ว่าตัวเลขทาง เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวน มาก นอกจากนี้ การปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการ ซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุน เงินบาทให้แข็งค่าขึ้นเป็นลำดับและปรับแข็งค่าที่สุดตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน ที่ระดับ 39.15 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพฤหัสบดี ก่อนจะ ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันศุกร์ เนื่องจากมีแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรในตลาดต่างประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-