เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2548 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมเตรียมการประชุมสุดยอดผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุ
ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 2 (GMS Summit) ณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (สศช.)
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า สศช. ในฐานะเป็นหน่วยประสานงานหลัก (National oordinator) ได้จัดประชุมเตรียมการ GMS Summit ครั้งที่ 2 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการยกร่างประเด็นการหารือของนายกรัฐมนตรี และติดตามความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมของฝ่ายไทย เพื่อลงนามความตกลงและบันทึกความเข้าใจต่างๆ
ทั้งนี้ การประชุม GMS Summit ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเข้าร่วมในกำหนดการสำคัญ 3 ส่วน คือ 1. การหารือระหว่างผู้นำกับภาคเอกชนระดับสูง ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 โดยจะมีการหารือใน 3 เรื่อง ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารของอนุภูมิภาค 2. การหารือสุดยอดผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 ซึ่งจะมีการพิจารณาถึงการดำเนินงานที่ผ่านมา และกำหนดทิศทางของแผนงาน GMS ในอนาคต และ 3. การลงนามความตกลงและบันทึกความเข้าใจต่างๆ จะเกี่ยวข้องกับความร่วมมือใน 4 เรื่อง ได้แก่ ด้านคมนาคม 2 ฉบับคือ ภาคผนวกของข้อตกลงการขนส่งสินค้าข้ามแดน (Annexes & Protocols of GMS Cross Border Agreement) และบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-ลาว ไทย-กัมพูชา และ ไทย-พม่า ในการปฏิบัติการขนส่งสินค้าข้ามแดน (Initial Implementation of the Cross Border Transport Agreement)
ด้านพลังงาน1 ฉบับคือ บันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับข้อตกลงการซื้อขายพลังงาน (MOU on Guidelines for Regional Power Trade Operating Agreement)
ด้านเกษตร 1 ฉบับคือ บันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมเชื้อโรคในสัตว์ (MOU on Cooperation in Prevention and Control of Animal Epidemics in the Great Mekong Sub-Region)
ด้านโทรคมนาคม 1 ฉบับคือ บันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนและก่อสร้างเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูง (MOU on Planning and Construction of GMS Information Superhighway)
การประชุมหารือระหว่างผู้นำกับภาคเอกชนมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ และเครือข่ายข้อมูลข่าวสาร โดยผลักดันให้มีการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเครือข่ายใยแก้วนำแสง (ไฟเบอร์ออปติก) ปรับกฎระเบียบของแต่ละประเทศให้แข่งขันเสรีเพื่อดึงดูดการลงทุน เพิ่มขีดความสามารถในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ต้องพัฒนาแนวร่วมความร่วมมือรัฐ-เอกชน โดยภาครัฐสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
ส่วนการประชุมหารือระหว่างผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง มีประเด็นสำคัญ คือแนวทางการดำเนินงานแผนงาน GMS การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางการค้าและการลงทุน ภาพรวมปริมาณการค้าและการลงทุนของประเทศ GMS โดยมีความสมบูรณ์ของวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานที่มีความประณีตละเอียดอ่อนและค่าจ้างแรงงานไม่สูง การสร้างผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการลงทุนในภูมิภาคที่เน้นคุณภาพและมาตรฐาน และเพิ่มปริมาณการค้าและการลงทุนในอนุภูมิภาค โดยการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน
นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งถนน พลังงาน และโทรคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างกัน สร้างเสถียรภาพ ความโปร่งใส และอำนวยความสะดวกทางกฎระเบียบทั้งในและระหว่างประเทศให้สนับสนุนกิจกรรมการค้าการลงทุน และการเคลื่อนย้ายคน สินค้าปัจจัยการผลิตข้ามพรมแดน เพิ่มประสิทธิภาพระบบสนับสนุนกิจกรรมทางการค้าการลงทุน เร่งพัฒนามาตรฐานสินค้าและกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน สร้างฐานการผลิต/ลงทุนของอนุภูมิภาค รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งและบทบาทนำในการพัฒนาอนุภูมิภาคของภาคเอกชน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 2 (GMS Summit) ณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (สศช.)
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า สศช. ในฐานะเป็นหน่วยประสานงานหลัก (National oordinator) ได้จัดประชุมเตรียมการ GMS Summit ครั้งที่ 2 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการยกร่างประเด็นการหารือของนายกรัฐมนตรี และติดตามความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมของฝ่ายไทย เพื่อลงนามความตกลงและบันทึกความเข้าใจต่างๆ
ทั้งนี้ การประชุม GMS Summit ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเข้าร่วมในกำหนดการสำคัญ 3 ส่วน คือ 1. การหารือระหว่างผู้นำกับภาคเอกชนระดับสูง ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 โดยจะมีการหารือใน 3 เรื่อง ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารของอนุภูมิภาค 2. การหารือสุดยอดผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 ซึ่งจะมีการพิจารณาถึงการดำเนินงานที่ผ่านมา และกำหนดทิศทางของแผนงาน GMS ในอนาคต และ 3. การลงนามความตกลงและบันทึกความเข้าใจต่างๆ จะเกี่ยวข้องกับความร่วมมือใน 4 เรื่อง ได้แก่ ด้านคมนาคม 2 ฉบับคือ ภาคผนวกของข้อตกลงการขนส่งสินค้าข้ามแดน (Annexes & Protocols of GMS Cross Border Agreement) และบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-ลาว ไทย-กัมพูชา และ ไทย-พม่า ในการปฏิบัติการขนส่งสินค้าข้ามแดน (Initial Implementation of the Cross Border Transport Agreement)
ด้านพลังงาน1 ฉบับคือ บันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับข้อตกลงการซื้อขายพลังงาน (MOU on Guidelines for Regional Power Trade Operating Agreement)
ด้านเกษตร 1 ฉบับคือ บันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมเชื้อโรคในสัตว์ (MOU on Cooperation in Prevention and Control of Animal Epidemics in the Great Mekong Sub-Region)
ด้านโทรคมนาคม 1 ฉบับคือ บันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนและก่อสร้างเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูง (MOU on Planning and Construction of GMS Information Superhighway)
การประชุมหารือระหว่างผู้นำกับภาคเอกชนมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ และเครือข่ายข้อมูลข่าวสาร โดยผลักดันให้มีการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเครือข่ายใยแก้วนำแสง (ไฟเบอร์ออปติก) ปรับกฎระเบียบของแต่ละประเทศให้แข่งขันเสรีเพื่อดึงดูดการลงทุน เพิ่มขีดความสามารถในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ต้องพัฒนาแนวร่วมความร่วมมือรัฐ-เอกชน โดยภาครัฐสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
ส่วนการประชุมหารือระหว่างผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง มีประเด็นสำคัญ คือแนวทางการดำเนินงานแผนงาน GMS การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางการค้าและการลงทุน ภาพรวมปริมาณการค้าและการลงทุนของประเทศ GMS โดยมีความสมบูรณ์ของวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานที่มีความประณีตละเอียดอ่อนและค่าจ้างแรงงานไม่สูง การสร้างผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการลงทุนในภูมิภาคที่เน้นคุณภาพและมาตรฐาน และเพิ่มปริมาณการค้าและการลงทุนในอนุภูมิภาค โดยการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน
นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งถนน พลังงาน และโทรคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างกัน สร้างเสถียรภาพ ความโปร่งใส และอำนวยความสะดวกทางกฎระเบียบทั้งในและระหว่างประเทศให้สนับสนุนกิจกรรมการค้าการลงทุน และการเคลื่อนย้ายคน สินค้าปัจจัยการผลิตข้ามพรมแดน เพิ่มประสิทธิภาพระบบสนับสนุนกิจกรรมทางการค้าการลงทุน เร่งพัฒนามาตรฐานสินค้าและกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน สร้างฐานการผลิต/ลงทุนของอนุภูมิภาค รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งและบทบาทนำในการพัฒนาอนุภูมิภาคของภาคเอกชน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-