ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551
"..GDP ไตรมาสที่ 2/2551 ขยายตัว ร้อยละ 5.3.."
"..การผลิตขยายตัวสูงขึ้นเนื่องจากภาคเกษตรและภาคนอกเกษตรขยายตัวได้ดี.."
ภาวะเศรษฐกิจ ไตรมาสที่ 2/2551 ขยายตัวร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากร้อยละ 6.1 ในไตรมาสที่แล้วเป็นผลมาจากอุปสงค์ในประเทศ
ชะลอลง โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาครัฐบาลหดตัวร้อยละ 2.4 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือนชะลอลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับร้อยละ 2.6
ในไตรมาสที่แล้วขณะที่การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 1.9 ชะลอลงจากร้อยละ 5.4 อุปสงค์ต่างประเทศสุทธิขยายตัวได้โดยการส่งออกในไตรมาสนี้ยัง
คงขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 9.3 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 6.9 ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลในไตรมาสนี้
การผลิต ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 6.5 สูงขึ้นจากร้อยละ 3.5 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากหมวดพืชผลและปศุสัตว์ที่มีการผลิตเพิ่ม
ขึ้น ในขณะที่หมวดประมงปรับตัวลดลง ส่วนภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากร้อยละ 6.4 ในไตรมาสที่แล้ว โดยที่สาขาอุตสาหกรรมซึ่ง
เป็นสาขาหลักขยายตัวร้อยละ 8.0 ชะลอลงจากร้อยละ 9.9 ในไตรมาสที่แล้ว แม้ว่าการผลิตสินค้าวัตถุดิบ สินค้าทุนและเทคโนโลยียังขยายตัวสูง แต่
ในอัตราที่ชะลอลง ภาคบริการโดยรวมชะลอลงเช่นกัน เช่น สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 5.0 และสาขาตัวกลางทางการเงินขยายตัว
ร้อยละ 8.9 ยกเว้นการก่อสร้างและสาขาบริการสุขภาพไตรมาสนี้หดตัวลงGDP ที่ปรับค่าฤดูกาล ชะลอลงจากร้อยละ 1.3 ในไตรมาสที่แล้ว เหลือร้อย
ละ 0.7
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) (ร้อยละ)
2550 ------------------- 2550 ------------------ -----2551-------
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
ภาคเกษตร 3.9 3.8 7.5 1.7 3.1 3.5 6.5
ภาคนอกเกษตร 4.8 4.2 4.0 5.0 6.1 6.4 5.2
GDP 4.8 4.2 4.3 4.8 5.7 6.1 5.3
GDP ปรับฤดูกาล 4.8 1.0 1.4 1.5 1.7 1.3 0.7
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาประจำปีมีมูลค่า 2,260 พันล้านบาท เมื่อหักค่าตอบแทนจากปัจจัยการผลิตสุทธิจ่ายไปต่างประเทศ
120 พันล้านบาท คงเหลือเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ(Gross National Product: GNP) เท่ากับ 2,140 พันล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.4
ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปีเกินดุล 66.6 พันล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้สุทธิจากปัจจัยการผลิตและเงินโอนสุทธิจากต่าง
ประเทศ ซึ่งขาดดุล 75.0 พันล้านบาท ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 8.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.4 ของ GDP เทียบกับร้อยละ 4.3 ในไตร
มาสที่แล้ว
ระดับราคา ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เทียบกับร้อยละ 3.7 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะเดียวกันดัชนีราคา
ผู้ผลิต และดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 และ 7.5 เมื่อเทียบกับร้อยละ 10.8 และ 5.0 ในไตรมาสที่แล้ว ตามลำดับ
ด้านการผลิต
"..การผลิตรวมขยายตัวร้อยละ 5.3 โดยภาคเกษตรขยายตัวสูงขึ้น ส่วนภาคนอกเกษตรชะลอลง.."
การผลิตรวมขยายตัวร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากร้อยละ 6.1 ในไตรมาสที่แล้ว โดยภาคเกษตรขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 6.5 จากร้อยละ
3.5 ส่วนภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากร้อยละ 6.4 ในไตรมาสที่แล้วสาขาเกษตรการผลิตขยายตัวร้อยละ 6.5 สูงขึ้นจากร้อยละ
3.5 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากหมวดพืชผลที่ขยายตัวสูงร้อยละ 11.0 ในขณะที่ปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 2.0 ส่วนประมง หดตัวร้อยละ 3.0 ในไตร
มาสนี้
"..พืชผลขยายตัว จากข้าวนาปรังและพืชพลังงานทดแทน.."
- หมวดพืชผล ขยายตัวร้อยละ 11.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสที่แล้ว โดยผลผลิตพืชสำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นมากเป็น
ผลจากราคาข้าวในตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการผลิต นอกจากนั้นปาล์มน้ำมันผลผลิตออกสู่ตลาดสูงขึ้นต่อเนื่อง
จากราคาในตลาดโลกสูงเช่นเดียวกัน
- หมวดปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 2.0 สูงขึ้นจากร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากการผลิตไก่เนื้อขยายตัวสูงตามการส่งออกที่
ขยายตัวได้ดี
- หมวดประมง หดตัวร้อยละ 3.0 จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากผลผลิตปลาชะลอลงจากภาวะน้ำมันราคา
แพง ในขณะที่ปริมาณการส่งออกกุ้งลดลงเนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศชะลอลงและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นระดับราคาสินค้าเกษตร ขยาย
ตัวร้อยละ 14.8 สูงขึ้นจากร้อยละ 11.6 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาของหมวดพืชผล และหมวดปศุสัตว์ โดยหมวดพืชผลที่
ปรับสูงขึ้นมากได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง เป็นต้น ในขณะที่ราคาปศุสัตว์โดยเฉพาะราคาไก่ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาสุกรเริ่ม
ชะลอลงเล็กน้อย
"..การผลิตชะลอลงในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม.."
สาขาอุตสาหกรรม
การผลิตขยายตัวร้อยละ 8.0 ชะลอลงจากร้อยละ 9.9 ในไตรมาสก่อน การผลิตชะลอลงในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมเบา
ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากร้อยละ 0.6 อุตสาหกรรมวัตถุดิบขยายตัวร้อยละ 4.0 จากร้อยละ 6.8 และอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีขยายตัว
ร้อยละ 16.8 จากร้อยละ 20.8 ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตามบางอุตสาหกรรมยังมีการขยายตัว เช่น Hard Disk Drive จักรยานยนต์ เครื่องใช้
ไฟฟ้าในครัวเรือน เป็นต้น
อัตราการขยายตัวสาขาอุตสาหกรรม (ร้อยละ)
2550 -------- 2550 -------- --2551--
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
อุตสาหกรรมเบา 2.6 5.6 4.5 0.3 -0.5 0.6 0.4
อุตสาหกรรมวัตถุดิบ 2.0 0.5 1.3 2.2 4.0 6.8 4.0
อุตสาหกรรมสินค้าทุน และเทคโนโลยี 10.5 6.0 6.3 11.8 16.9 20.8 16.8
อุตสาหกรรมรวม 5.7 4.6 4.5 5.7 8.0 9.9 8.0
อุตสาหกรรมเบา ขยายตัวร้อยละ 0.4 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.6
- อาหารและเครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 5.8 โดยหมวดอาหารขยายตัวร้อยละ 7.4 รายการที่มีการขยายตัวสูงเช่น โรงสีข้าว และ
น้ำตาล หมวดเครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการผลิตเบียร์ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 1.4 แต่การผลิตสุราขยายตัว
สูงเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสินค้าคงคลังลดลงมาก
- หนังและผลิตภัณฑ์จากหนัง การผลิตลดลงร้อยละ 9.0 เนื่องจากความสามารถในการแข่งขันลดลงทำให้การส่งออกหดตัวลงมาก ส่งผล
ให้ผู้ผลิตบางรายย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ
อุตสาหกรรมวัตถุดิบ ขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อน
- โรงกลั่นน้ำมัน ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 4.9 เป็นผลจากระดับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันในประเทศลดลง
- เคมี และผลิตภัณฑ์เคมี ขยายตัวร้อยละ 3.6 ชะลอลงจากร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนเป็นผลมาจากการผลิตเม็ดพลาสติกเริ่มชะลอตัว
- อโลหะ ขยายตัวร้อยละ 0.5 ชะลอลงจากร้อยละ 3.2 เนื่องจากการผลิตปูนซีเมนต์ลดลงตามภาวะการก่อสร้างที่หดตัว
- ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 9.1 จากร้อยละ 8.4 ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากปริมาณการผลิตยางขยายตัว ตามความ
ต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่นการผลิตรถยนต์ เป็นต้น ประกอบกับความต้องการจากตลาดต่างประเทศยังคงขยายตัวสูง
อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยี ขยายตัวร้อยละ 16.8 ชะลอลง จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 20.8 อุตสาหกรรมสำคัญในกลุ่ม
นี้มีดังนี้
- ยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 23.5 ชะลอลงจากร้อยละ 33.6 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่ง
ผลให้ผู้บริโภคเริ่มชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์โดยเฉพาะรถเพื่อการพาณิชย์
- ยานยนต์อื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 16.0 เป็นผลจากการผลิตมอเตอร์ไซค์ที่ขยายตัวตามความต้องการในประเทศที่สูงขึ้น
- เครื่องจักรสำนักงานฯ ขยายตัวร้อยละ 36.4 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 30.4 ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการผลิต Hard Disk
Drive ขยายตัวสูงเนื่องจากการขยายฐานการผลิตเพื่อการส่งออก
- เครื่องจักรและอุปกรณ์ ขยายตัวร้อยละ 17.5 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ17.1 ในไตรมาสที่แล้ว ตามการผลิตเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น
และอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านอื่นๆ
"การใช้ไฟฟ้าชะลอตัวลงในทุกกลุ่มผู้ใช้ ยกเว้นกิจการขนาดกลางและกิจการอื่นๆ ที่ปริมาณการใช้ลดลง"
สาขาไฟฟ้า ประปาและโรงแยกก๊าซ
ขยายตัวร้อยละ 5.5 ชะลอลงจากร้อยละ 5.9 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากหมวดไฟฟ้า ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 85.4 ของสาขาขยายตัวร้อย
ละ 5.6 ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยรวมที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 ชะลอลงจากร้อยละ 5.9 ในไตรมาสก่อน โดยผู้ใช้ไฟฟ้าเกือบทุกประเภทชะลอลง ยก
เว้นประเภทกิจการขนาดกลาง และกิจการอื่นๆ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง หมวดประปา ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 2.1 สำหรับโรงแยกก๊าซธรรมชาติ
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ตามปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติ
อัตราการขยายตัวของปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าจำแนกตามประเภทผู้ใช้ (ร้อยละ)
2550 --------- 2550 -------- --2551--
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
ที่อยู่อาศัย 3.8 2.2 5.2 4.8 3.0 6.9 2.1
สัดส่วน 21.5 20.6 22.7 21.5 21.2 20.8 22.5
กิจการขนาดเล็ก 6.2 4.0 6.9 6.0 7.7 7.5 2.7
สัดส่วน 10.3 10.0 10.5 10.2 10.5 10.1 10.5
กิจการขนาดกลาง 1.9 3.7 4.3 0.1 -0.4 1.6 -0.6
สัดส่วน 17.5 18.0 17.6 17.1 17.2 17.3 17.0
กิจการขนาดใหญ่ 4.9 4.5 3.5 5.0 6.6 7.0 4.9
สัดส่วน 42.0 42.5 40.6 42.2 42.6 42.9 41.4
กิจการเฉพาะอย่าง 5.9 4.4 6.6 7.1 5.2 9.2 5.9
สัดส่วน 3.1 3.2 3.1 3.1 3.1 3.3 3.2
ส่วนราชการ 6.2 4.6 9.1 8.8 1.9 6.9 2.1
สัดส่วน 3.3 3.1 3.2 3.5 3.2 3.1 3.2
อื่นๆ -2.9 -7.2 -7.8 2.5 1.7 -0.5 -3.0
สัดส่วน 2.3 2.6 2.2 2.3 2.3 2.4 2.1
รวม 4.1 3.5 4.3 4.3 4.3 5.9 2.8
ที่มา : การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
"..การผลิตก๊าซธรรมชาติขยายตัวสูงตามแหล่งผลิตที่เพิ่มขึ้นในขณะที่น้ำมันดิบชะลอตัว.."
สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน
ขยายตัวร้อยละ 4.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.6 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติ ก๊าชธรรมชาติเหลวและน้ำมัน
ดิบ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 68.5 ของสาขาขยายตัวร้อยละ 9.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.2 ในไตรมาสที่แล้ว โดยก๊าซธรรมชาติ ขยายตัวร้อยละ 10.5
เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.5 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากแหล่งผลิตใหม่เริ่มทำการผลิตตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2551 ก๊าซธรรมชาติเหลว เพิ่มขึ้นร้อยละ
17.2 จากร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่น้ำมันดิบ ขยายตัวร้อยละ 2.9 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.3 ในไตรมาสที่แล้ว แร่ลิกไนต์ ขยายตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากที่ลดลงร้อยละ 8.8 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ แร่อื่นๆ ลดลงร้อยละ 4.7 ต่อเนื่องจากที่ลดลงร้อยละ 7.2 ในไตรมาสที่
แล้ว ประกอบด้วยหินปูนที่ใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์ หินอ่อน เฟลด์สปาร์ แอนดิไซต์ ปริมาณการผลิตลดลง ในขณะที่แร่ยิปซั่ม แกรนิต และ แบไรต์
ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนแร่ทองและแร่เงิน ปริมาณการผลิตลดลงเช่นเดียวกัน
"..การก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 3.9.."
สาขาก่อสร้าง
ลดลงร้อยละ 3.9 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่แล้ว โดยมูลค่าเพิ่มการก่อสร้างภาครัฐลดลงโดยเฉพาะการก่อสร้างของ
รัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องมาจากการเบิกจ่ายงบการลงทุนทางด้านการก่อสร้างลดลง ในขณะที่การก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจยังคง
ขยายตัวดี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเบิกจ่ายในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานใน
เมือง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการบ้านเอื้ออาทร ของการเคหะแห่งชาติ โครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซ และปรับปรุงสถานีบริการน้ำมัน
ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ส่วนมูลค่าเพิ่มการก่อสร้างภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ต่อ
เนื่องจากช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะอาคารคอนโดมิเนียมเพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ ในเขตเทศบาลและเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วน
อาคารโรงงานลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการยังชะลอดูทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ประกอบกับต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้นอย่างมาก โดย
เฉพาะราคาเหล็ก ปูนซีเมนต์และไม้ เป็นต้น โดยสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 24.6 เทียบกับร้อยละ 13.9 ในไตรมาสที่แล้ว
"..ชะลอตัวลงทั้งบริการขนส่งและบริการคมนาคม.."
สาขาคมนาคมและขนส่ง
ขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อน โดยบริการขนส่งขยายตัวร้อยละ 1.7 ชะลอลงจากร้อยละ 2.7 ในไตร
มาสก่อน เป็นผลมาจากการบริการขนส่งทางอากาศที่ชะลอตัวลงร้อยละ 3.8 จากร้อยละ 7.0 ในไตรมาสก่อน ตามจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง ส่วน
บริการโทรคมนาคมขยายตัวร้อยละ 7.8 ชะลอลงจากร้อยละ 12.1 ในไตรมาสก่อน ตามผลประกอบการด้านคมนาคมที่ลดลง
อัตราการขยายตัวของบริการขนส่ง (ร้อยละ)
2550 ---------- 2550 --------- --2551--
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
การขนส่ง 5.6 7.5 4.5 4.6 5.5 2.7 1.7
การขนส่งทางบก -0.4 4.2 -0.9 -1.9 -3.0 -2.2 0.0
การขนส่งทางอากาศ 13.1 14.0 9.8 13.3 14.6 7.0 3.8
การขนส่งทางน้ำ 4.2 4.0 5.4 3.7 3.8 5.1 1.6
"..การค้าทรงตัวในขณะที่การบริการซ่อมแซมฯ ชะลอตัวลง.."
สาขาค้าส่งค้าปลีก
ขยายตัวร้อยละ 2.8 ชะลอลงจากร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากการค้าส่งค้าปลีกทรงตัวในระดับร้อยละ 2.4 ในขณะที่การซ่อม
แซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 6.4 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 9.9 ในไตรมาสก่อน โดยการซ่อม
แซมยานยนต์บริการล้าง อัดฉีด และซ่อมแซมของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 8.7 และ 1.2 ตามลำดับ
(ยังมีต่อ).../โรงแรมขยายตัว...
"..GDP ไตรมาสที่ 2/2551 ขยายตัว ร้อยละ 5.3.."
"..การผลิตขยายตัวสูงขึ้นเนื่องจากภาคเกษตรและภาคนอกเกษตรขยายตัวได้ดี.."
ภาวะเศรษฐกิจ ไตรมาสที่ 2/2551 ขยายตัวร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากร้อยละ 6.1 ในไตรมาสที่แล้วเป็นผลมาจากอุปสงค์ในประเทศ
ชะลอลง โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาครัฐบาลหดตัวร้อยละ 2.4 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือนชะลอลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับร้อยละ 2.6
ในไตรมาสที่แล้วขณะที่การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 1.9 ชะลอลงจากร้อยละ 5.4 อุปสงค์ต่างประเทศสุทธิขยายตัวได้โดยการส่งออกในไตรมาสนี้ยัง
คงขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 9.3 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 6.9 ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลในไตรมาสนี้
การผลิต ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 6.5 สูงขึ้นจากร้อยละ 3.5 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากหมวดพืชผลและปศุสัตว์ที่มีการผลิตเพิ่ม
ขึ้น ในขณะที่หมวดประมงปรับตัวลดลง ส่วนภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากร้อยละ 6.4 ในไตรมาสที่แล้ว โดยที่สาขาอุตสาหกรรมซึ่ง
เป็นสาขาหลักขยายตัวร้อยละ 8.0 ชะลอลงจากร้อยละ 9.9 ในไตรมาสที่แล้ว แม้ว่าการผลิตสินค้าวัตถุดิบ สินค้าทุนและเทคโนโลยียังขยายตัวสูง แต่
ในอัตราที่ชะลอลง ภาคบริการโดยรวมชะลอลงเช่นกัน เช่น สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 5.0 และสาขาตัวกลางทางการเงินขยายตัว
ร้อยละ 8.9 ยกเว้นการก่อสร้างและสาขาบริการสุขภาพไตรมาสนี้หดตัวลงGDP ที่ปรับค่าฤดูกาล ชะลอลงจากร้อยละ 1.3 ในไตรมาสที่แล้ว เหลือร้อย
ละ 0.7
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) (ร้อยละ)
2550 ------------------- 2550 ------------------ -----2551-------
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
ภาคเกษตร 3.9 3.8 7.5 1.7 3.1 3.5 6.5
ภาคนอกเกษตร 4.8 4.2 4.0 5.0 6.1 6.4 5.2
GDP 4.8 4.2 4.3 4.8 5.7 6.1 5.3
GDP ปรับฤดูกาล 4.8 1.0 1.4 1.5 1.7 1.3 0.7
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาประจำปีมีมูลค่า 2,260 พันล้านบาท เมื่อหักค่าตอบแทนจากปัจจัยการผลิตสุทธิจ่ายไปต่างประเทศ
120 พันล้านบาท คงเหลือเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ(Gross National Product: GNP) เท่ากับ 2,140 พันล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.4
ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปีเกินดุล 66.6 พันล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้สุทธิจากปัจจัยการผลิตและเงินโอนสุทธิจากต่าง
ประเทศ ซึ่งขาดดุล 75.0 พันล้านบาท ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 8.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.4 ของ GDP เทียบกับร้อยละ 4.3 ในไตร
มาสที่แล้ว
ระดับราคา ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เทียบกับร้อยละ 3.7 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะเดียวกันดัชนีราคา
ผู้ผลิต และดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 และ 7.5 เมื่อเทียบกับร้อยละ 10.8 และ 5.0 ในไตรมาสที่แล้ว ตามลำดับ
ด้านการผลิต
"..การผลิตรวมขยายตัวร้อยละ 5.3 โดยภาคเกษตรขยายตัวสูงขึ้น ส่วนภาคนอกเกษตรชะลอลง.."
การผลิตรวมขยายตัวร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากร้อยละ 6.1 ในไตรมาสที่แล้ว โดยภาคเกษตรขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 6.5 จากร้อยละ
3.5 ส่วนภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากร้อยละ 6.4 ในไตรมาสที่แล้วสาขาเกษตรการผลิตขยายตัวร้อยละ 6.5 สูงขึ้นจากร้อยละ
3.5 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากหมวดพืชผลที่ขยายตัวสูงร้อยละ 11.0 ในขณะที่ปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 2.0 ส่วนประมง หดตัวร้อยละ 3.0 ในไตร
มาสนี้
"..พืชผลขยายตัว จากข้าวนาปรังและพืชพลังงานทดแทน.."
- หมวดพืชผล ขยายตัวร้อยละ 11.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสที่แล้ว โดยผลผลิตพืชสำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นมากเป็น
ผลจากราคาข้าวในตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการผลิต นอกจากนั้นปาล์มน้ำมันผลผลิตออกสู่ตลาดสูงขึ้นต่อเนื่อง
จากราคาในตลาดโลกสูงเช่นเดียวกัน
- หมวดปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 2.0 สูงขึ้นจากร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากการผลิตไก่เนื้อขยายตัวสูงตามการส่งออกที่
ขยายตัวได้ดี
- หมวดประมง หดตัวร้อยละ 3.0 จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากผลผลิตปลาชะลอลงจากภาวะน้ำมันราคา
แพง ในขณะที่ปริมาณการส่งออกกุ้งลดลงเนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศชะลอลงและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นระดับราคาสินค้าเกษตร ขยาย
ตัวร้อยละ 14.8 สูงขึ้นจากร้อยละ 11.6 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาของหมวดพืชผล และหมวดปศุสัตว์ โดยหมวดพืชผลที่
ปรับสูงขึ้นมากได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง เป็นต้น ในขณะที่ราคาปศุสัตว์โดยเฉพาะราคาไก่ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาสุกรเริ่ม
ชะลอลงเล็กน้อย
"..การผลิตชะลอลงในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม.."
สาขาอุตสาหกรรม
การผลิตขยายตัวร้อยละ 8.0 ชะลอลงจากร้อยละ 9.9 ในไตรมาสก่อน การผลิตชะลอลงในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมเบา
ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากร้อยละ 0.6 อุตสาหกรรมวัตถุดิบขยายตัวร้อยละ 4.0 จากร้อยละ 6.8 และอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีขยายตัว
ร้อยละ 16.8 จากร้อยละ 20.8 ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตามบางอุตสาหกรรมยังมีการขยายตัว เช่น Hard Disk Drive จักรยานยนต์ เครื่องใช้
ไฟฟ้าในครัวเรือน เป็นต้น
อัตราการขยายตัวสาขาอุตสาหกรรม (ร้อยละ)
2550 -------- 2550 -------- --2551--
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
อุตสาหกรรมเบา 2.6 5.6 4.5 0.3 -0.5 0.6 0.4
อุตสาหกรรมวัตถุดิบ 2.0 0.5 1.3 2.2 4.0 6.8 4.0
อุตสาหกรรมสินค้าทุน และเทคโนโลยี 10.5 6.0 6.3 11.8 16.9 20.8 16.8
อุตสาหกรรมรวม 5.7 4.6 4.5 5.7 8.0 9.9 8.0
อุตสาหกรรมเบา ขยายตัวร้อยละ 0.4 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.6
- อาหารและเครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 5.8 โดยหมวดอาหารขยายตัวร้อยละ 7.4 รายการที่มีการขยายตัวสูงเช่น โรงสีข้าว และ
น้ำตาล หมวดเครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการผลิตเบียร์ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 1.4 แต่การผลิตสุราขยายตัว
สูงเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสินค้าคงคลังลดลงมาก
- หนังและผลิตภัณฑ์จากหนัง การผลิตลดลงร้อยละ 9.0 เนื่องจากความสามารถในการแข่งขันลดลงทำให้การส่งออกหดตัวลงมาก ส่งผล
ให้ผู้ผลิตบางรายย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ
อุตสาหกรรมวัตถุดิบ ขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อน
- โรงกลั่นน้ำมัน ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 4.9 เป็นผลจากระดับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันในประเทศลดลง
- เคมี และผลิตภัณฑ์เคมี ขยายตัวร้อยละ 3.6 ชะลอลงจากร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนเป็นผลมาจากการผลิตเม็ดพลาสติกเริ่มชะลอตัว
- อโลหะ ขยายตัวร้อยละ 0.5 ชะลอลงจากร้อยละ 3.2 เนื่องจากการผลิตปูนซีเมนต์ลดลงตามภาวะการก่อสร้างที่หดตัว
- ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 9.1 จากร้อยละ 8.4 ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากปริมาณการผลิตยางขยายตัว ตามความ
ต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่นการผลิตรถยนต์ เป็นต้น ประกอบกับความต้องการจากตลาดต่างประเทศยังคงขยายตัวสูง
อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยี ขยายตัวร้อยละ 16.8 ชะลอลง จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 20.8 อุตสาหกรรมสำคัญในกลุ่ม
นี้มีดังนี้
- ยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 23.5 ชะลอลงจากร้อยละ 33.6 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่ง
ผลให้ผู้บริโภคเริ่มชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์โดยเฉพาะรถเพื่อการพาณิชย์
- ยานยนต์อื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 16.0 เป็นผลจากการผลิตมอเตอร์ไซค์ที่ขยายตัวตามความต้องการในประเทศที่สูงขึ้น
- เครื่องจักรสำนักงานฯ ขยายตัวร้อยละ 36.4 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 30.4 ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการผลิต Hard Disk
Drive ขยายตัวสูงเนื่องจากการขยายฐานการผลิตเพื่อการส่งออก
- เครื่องจักรและอุปกรณ์ ขยายตัวร้อยละ 17.5 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ17.1 ในไตรมาสที่แล้ว ตามการผลิตเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น
และอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านอื่นๆ
"การใช้ไฟฟ้าชะลอตัวลงในทุกกลุ่มผู้ใช้ ยกเว้นกิจการขนาดกลางและกิจการอื่นๆ ที่ปริมาณการใช้ลดลง"
สาขาไฟฟ้า ประปาและโรงแยกก๊าซ
ขยายตัวร้อยละ 5.5 ชะลอลงจากร้อยละ 5.9 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากหมวดไฟฟ้า ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 85.4 ของสาขาขยายตัวร้อย
ละ 5.6 ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยรวมที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 ชะลอลงจากร้อยละ 5.9 ในไตรมาสก่อน โดยผู้ใช้ไฟฟ้าเกือบทุกประเภทชะลอลง ยก
เว้นประเภทกิจการขนาดกลาง และกิจการอื่นๆ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง หมวดประปา ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 2.1 สำหรับโรงแยกก๊าซธรรมชาติ
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ตามปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติ
อัตราการขยายตัวของปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าจำแนกตามประเภทผู้ใช้ (ร้อยละ)
2550 --------- 2550 -------- --2551--
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
ที่อยู่อาศัย 3.8 2.2 5.2 4.8 3.0 6.9 2.1
สัดส่วน 21.5 20.6 22.7 21.5 21.2 20.8 22.5
กิจการขนาดเล็ก 6.2 4.0 6.9 6.0 7.7 7.5 2.7
สัดส่วน 10.3 10.0 10.5 10.2 10.5 10.1 10.5
กิจการขนาดกลาง 1.9 3.7 4.3 0.1 -0.4 1.6 -0.6
สัดส่วน 17.5 18.0 17.6 17.1 17.2 17.3 17.0
กิจการขนาดใหญ่ 4.9 4.5 3.5 5.0 6.6 7.0 4.9
สัดส่วน 42.0 42.5 40.6 42.2 42.6 42.9 41.4
กิจการเฉพาะอย่าง 5.9 4.4 6.6 7.1 5.2 9.2 5.9
สัดส่วน 3.1 3.2 3.1 3.1 3.1 3.3 3.2
ส่วนราชการ 6.2 4.6 9.1 8.8 1.9 6.9 2.1
สัดส่วน 3.3 3.1 3.2 3.5 3.2 3.1 3.2
อื่นๆ -2.9 -7.2 -7.8 2.5 1.7 -0.5 -3.0
สัดส่วน 2.3 2.6 2.2 2.3 2.3 2.4 2.1
รวม 4.1 3.5 4.3 4.3 4.3 5.9 2.8
ที่มา : การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
"..การผลิตก๊าซธรรมชาติขยายตัวสูงตามแหล่งผลิตที่เพิ่มขึ้นในขณะที่น้ำมันดิบชะลอตัว.."
สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน
ขยายตัวร้อยละ 4.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.6 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติ ก๊าชธรรมชาติเหลวและน้ำมัน
ดิบ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 68.5 ของสาขาขยายตัวร้อยละ 9.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.2 ในไตรมาสที่แล้ว โดยก๊าซธรรมชาติ ขยายตัวร้อยละ 10.5
เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.5 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากแหล่งผลิตใหม่เริ่มทำการผลิตตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2551 ก๊าซธรรมชาติเหลว เพิ่มขึ้นร้อยละ
17.2 จากร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่น้ำมันดิบ ขยายตัวร้อยละ 2.9 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.3 ในไตรมาสที่แล้ว แร่ลิกไนต์ ขยายตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากที่ลดลงร้อยละ 8.8 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ แร่อื่นๆ ลดลงร้อยละ 4.7 ต่อเนื่องจากที่ลดลงร้อยละ 7.2 ในไตรมาสที่
แล้ว ประกอบด้วยหินปูนที่ใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์ หินอ่อน เฟลด์สปาร์ แอนดิไซต์ ปริมาณการผลิตลดลง ในขณะที่แร่ยิปซั่ม แกรนิต และ แบไรต์
ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนแร่ทองและแร่เงิน ปริมาณการผลิตลดลงเช่นเดียวกัน
"..การก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 3.9.."
สาขาก่อสร้าง
ลดลงร้อยละ 3.9 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่แล้ว โดยมูลค่าเพิ่มการก่อสร้างภาครัฐลดลงโดยเฉพาะการก่อสร้างของ
รัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องมาจากการเบิกจ่ายงบการลงทุนทางด้านการก่อสร้างลดลง ในขณะที่การก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจยังคง
ขยายตัวดี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเบิกจ่ายในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานใน
เมือง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการบ้านเอื้ออาทร ของการเคหะแห่งชาติ โครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซ และปรับปรุงสถานีบริการน้ำมัน
ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ส่วนมูลค่าเพิ่มการก่อสร้างภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ต่อ
เนื่องจากช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะอาคารคอนโดมิเนียมเพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ ในเขตเทศบาลและเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วน
อาคารโรงงานลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการยังชะลอดูทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ประกอบกับต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้นอย่างมาก โดย
เฉพาะราคาเหล็ก ปูนซีเมนต์และไม้ เป็นต้น โดยสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 24.6 เทียบกับร้อยละ 13.9 ในไตรมาสที่แล้ว
"..ชะลอตัวลงทั้งบริการขนส่งและบริการคมนาคม.."
สาขาคมนาคมและขนส่ง
ขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อน โดยบริการขนส่งขยายตัวร้อยละ 1.7 ชะลอลงจากร้อยละ 2.7 ในไตร
มาสก่อน เป็นผลมาจากการบริการขนส่งทางอากาศที่ชะลอตัวลงร้อยละ 3.8 จากร้อยละ 7.0 ในไตรมาสก่อน ตามจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง ส่วน
บริการโทรคมนาคมขยายตัวร้อยละ 7.8 ชะลอลงจากร้อยละ 12.1 ในไตรมาสก่อน ตามผลประกอบการด้านคมนาคมที่ลดลง
อัตราการขยายตัวของบริการขนส่ง (ร้อยละ)
2550 ---------- 2550 --------- --2551--
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
การขนส่ง 5.6 7.5 4.5 4.6 5.5 2.7 1.7
การขนส่งทางบก -0.4 4.2 -0.9 -1.9 -3.0 -2.2 0.0
การขนส่งทางอากาศ 13.1 14.0 9.8 13.3 14.6 7.0 3.8
การขนส่งทางน้ำ 4.2 4.0 5.4 3.7 3.8 5.1 1.6
"..การค้าทรงตัวในขณะที่การบริการซ่อมแซมฯ ชะลอตัวลง.."
สาขาค้าส่งค้าปลีก
ขยายตัวร้อยละ 2.8 ชะลอลงจากร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากการค้าส่งค้าปลีกทรงตัวในระดับร้อยละ 2.4 ในขณะที่การซ่อม
แซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 6.4 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 9.9 ในไตรมาสก่อน โดยการซ่อม
แซมยานยนต์บริการล้าง อัดฉีด และซ่อมแซมของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 8.7 และ 1.2 ตามลำดับ
(ยังมีต่อ).../โรงแรมขยายตัว...