"..โรงแรมขยายตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นแต่ภัตตาคารชะลอลง.."
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร
ขยายตัวร้อยละ 5.0 ชะลอลงจากร้อยละ 8.3 ในไตรมาสก่อน โดยบริการภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 1.6 ชะลอลงจากไตรมาสก่อน
ส่วนบริการโรงแรม ขยายตัวร้อยละ 13.0 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่ขยายตัวร้อยละ 15.0 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการ
ฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มเอเชียตะวันออก สำหรับอัตราการเข้าพักอยู่ที่ร้อยละ 54.5 เท่ากับระยะเดียวกันปีก่อน
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ จำแนกตามถิ่นที่อยู่ (พันคน)
2550 ------------ 2550 ---------- ---2551 ---
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
เอเชีย 7,611 1,854 1,752 1,930 2,075 2,101 2,014
ยุโรป 3,906 1,279 676 756 1,195 1,444 777
อเมริกา 921 253 202 195 271 289 231
อื่นๆ 2,026 445 493 570 518 506 569
รวม 14,464 3,831 3,123 3,451 4,059 4,340 3,591
อัตราเพิ่มร้อยละ 4.6 5.8 0.4 2.7 8.8 13.3 15.0
ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
"..ภาคการเงินชะลอลงเล็กน้อย.."
สาขาตัวกลางทางการเงิน
ขยายตัวร้อยละ 8.9 ชะลอลงจากร้อยละ 9.6 ในไตรมาสที่แล้ว โดยกิจการธนาคารพาณิชย์มีรายได้จากการให้เช่าซื้อและสัญญาเช่าทาง
การเงิน และรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการชะลอลงอย่างไรก็ตามรายได้ดอกเบี้ยสุทธิยังขยายตัวดีจากการให้สินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่อเพื่อการ
อุปโภคบริโภคส่วนบุคคล
"..บริการอื่นๆ ขยายตัวสูงขึ้นเล็กน้อย.."
สาขาการบริการอื่น ๆ
ขยายตัวร้อยละ 0.7 สูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 0.2 ในไตรมาสที่แล้ว การบริหารราชการแผ่นดินฯ ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากที่ลดลง
ร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่แล้ว สาขาการศึกษา ทรงตัวจากที่ลดลงร้อยละ 0.9 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการศึกษาภาครัฐบาล ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อย
ละ 90.0 ลดลงร้อยละ 0.7 ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ส่วนภาคเอกชนชะลอตัวลงเล็กน้อย สาขาบริการชุมชนฯ ขยายตัวร้อยละ 0.3 ชะลอตัว
ลงจากไตรมาสที่แล้ว ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 โดยสลากกินแบ่งรัฐบาลซึ่งมีสัดส่วนสูงสุดของสาขา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 บริการกระจายเสียงวิทยุ
และโทรทัศน์ขยายตัวร้อยละ 3.7 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่บริการส่วนบุคคลอื่นๆ ลดลงร้อยละ 7.4 ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว
ส่วนบริการเสริมสวย และบริการด้านกีฬา ลดลงร้อยละ 10.4 และ 5.7 ตามลำดับ
ด้านการใช้จ่าย
การใช้จ่ายของครัวเรือน
"..รายจ่ายของครัวเรือนชะลอลงเล็กน้อย ร้อยละ 2.4 เป็นผลกระทบจากการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ และความไม่แน่นอนทางการ
เมืองและเศรษฐกิจ.."
- การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.4 เทียบกับร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่แล้ว เมื่อปรับค่าการเปลี่ยน
แปลงตามฤดูกาล การใช้จ่ายลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.4
- แม้ว่ารายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวได้ดี จากการขยายตัวของทั้งผลผลิตและราคาสินค้าเกษตร รวมทั้งรายได้นอกภาคเกษตรที่ปรับตัว
สูงขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานและการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ อย่างไรก็ตามการเร่งตัวของราคาสินค้าและบริการ โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงและ
อาหาร ได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นอีกในไตรมาสนี้ ประกอบกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจ ได้ส่งผล
กระทบให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและชะลอการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการในเกือบทุกหมวด ยกเว้นสินค้าคงทนประเภทยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่
ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากฐานการใช้จ่ายในระดับต่ำในปีที่แล้ว
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและอัตราการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภค
2550 -------- 2550 --------- -- 2551--
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม 77.1 79.1 77.1 75.8 76.3 79.4 78.9
อัตราการขยายตัว (ร้อยละ) -6.5 -7.3 -5.0 -5.7 -8.0 0.4 2.3
อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป 2.2 2.4 1.9 1.6 2.9 5.0 7.5
อาหารสด 6.6 8.9 7.2 7.4 3.2 10.3 14.5
พลังงาน 2.4 -1.0 -0.2 -1.4 12.7 17.2 23.0
อื่น ๆ 1.0 1.4 0.9 0.8 1.1 1.5 2.8
ที่มา : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
- การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนที่ไม่รวมคนไทยในต่างประเทศและคนต่างประเทศในประเทศไทย ขยายตัวร้อยละ 2.3
อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือนในประเทศ (ร้อยละ)
2550 -------- 2550 -------- --2551--
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
การใช้จ่ายของครัวเรือนในประเทศ 1.9 2.0 1.5 2.2 1.9 4.4 3.4
หัก : การใช้จ่ายของชาวต่างประเทศในประเทศ 6.3 8.4 4.8 6.2 5.3 18.5 15.1
การใช้จ่ายของครัวเรือนไม่รวมนักท่องเที่ยว 1.4 1.2 1.2 1.7 1.6 2.6 2.3
บวก : การใช้จ่ายของคนไทยในต่างประเทศ 2.3 6.9 -8.9 2.8 8.3 2.8 5.7
การใช้จ่ายของครัวเรือนไทยทั้งหมด 1.5 1.4 0.9 1.8 1.8 2.6 2.4
รายจ่ายครัวเรือนจำแนกตามหมวด
หมวดสินค้าเกษตร ป่าไม้ และประมง ขยายตัวร้อยละ 1.5 โดยการบริโภคผักและผลไม้ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ส่วนสัตว์น้ำลด
ลงร้อยละ 2.4 สอดคล้องกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด
หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ และเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวร้อยละ 2.2 เป็นผลมาจากการบริโภคเนื้อสัตว์และสินค้าเกษตรแปรรูป
ขยายตัวร้อยละ 3.4 เครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 2.4 ส่วนการอุปโภคเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและสิ่งทออื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 1.7
หมวดไฟฟ้าและประปา ชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 1.7 จากร้อยละ 5.9 ในไตรมาสที่แล้ว โดยชะลอลงทั้งการใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้า
ร้อยละ 1.2 และค่าน้ำประปาร้อยละ 3.8
หมวดยานพาหนะ ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 15.7 เทียบกับร้อยละ 15.1 ในไตรมาสที่แล้ว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผู้ประกอบการนำรถยนต์
นั่งขนาดเล็กและรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่ช่วยประหยัดน้ำมันรวมทั้งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าออกสู่ตลาดเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจของผู้บริโภค รายได้
เกษตรกรที่ปรับตัวสูงขึ้น การเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์นั่งขนาดเล็กและรถ
จักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้น และการปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ที่เติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ประกอบกับฐานการใช้จ่ายในระดับ
ต่ำในปีที่แล้ว โดยปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 ในขณะที่รถยนต์บรรทุกส่วน
บุคคล (รถปิคอัพ) ลดลงร้อยละ 5.7
ปริมาณการจำหน่ายยานยนต์
2550 -------------2550 ----------- ---2551---
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
รถยนต์นั่ง (คัน) 169,559 37,522 45,567 45,633 40,837 52,471 56,967
อัตราเพิ่มร้อยละ -11.4 -16.2 -7.7 2.1 -22.4 39.8 25.0
รถยนต์พาณิชย์ (คัน) 461,692 100,748 108,677 113,178 139,089 108,315 102,531
อัตราเพิ่มร้อยละ -5.9 -19.4 -5.8 3.8 -1.4 7.5 -5.7
รถจักรยานยนต์ (พันคัน) 1,558 393 397 366 402 409 461
อัตราเพิ่มร้อยละ -18.9 -23.3 -20.9 -23.3 -6.3 4.0 16.2
ที่มา : สถาบันยานยนต์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
หมวดโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 5.5 เทียบกับร้อยละ 8.3 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากบริการโรงแรมขยายตัวร้อยละ
13.0 สอดคล้องกับภาวะการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ส่วนบริการภัตตาคารไตรมาสนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.7
หมวดขนส่งและสื่อสาร ขยายตัวร้อยละ 5.0 สูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 4.8 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากบริการขนส่งขยายตัวร้อย
ละ 2.3 และบริการไปรษณีย์และสื่อสารโทรคมนาคมขยายตัวร้อยละ 8.9 โดยจำนวนเลขหมายการใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 0.4 และจำนวนเลขหมายการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9
(ยังมีต่อ).../จำนวนหมายเลข..
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร
ขยายตัวร้อยละ 5.0 ชะลอลงจากร้อยละ 8.3 ในไตรมาสก่อน โดยบริการภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 1.6 ชะลอลงจากไตรมาสก่อน
ส่วนบริการโรงแรม ขยายตัวร้อยละ 13.0 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่ขยายตัวร้อยละ 15.0 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการ
ฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มเอเชียตะวันออก สำหรับอัตราการเข้าพักอยู่ที่ร้อยละ 54.5 เท่ากับระยะเดียวกันปีก่อน
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ จำแนกตามถิ่นที่อยู่ (พันคน)
2550 ------------ 2550 ---------- ---2551 ---
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
เอเชีย 7,611 1,854 1,752 1,930 2,075 2,101 2,014
ยุโรป 3,906 1,279 676 756 1,195 1,444 777
อเมริกา 921 253 202 195 271 289 231
อื่นๆ 2,026 445 493 570 518 506 569
รวม 14,464 3,831 3,123 3,451 4,059 4,340 3,591
อัตราเพิ่มร้อยละ 4.6 5.8 0.4 2.7 8.8 13.3 15.0
ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
"..ภาคการเงินชะลอลงเล็กน้อย.."
สาขาตัวกลางทางการเงิน
ขยายตัวร้อยละ 8.9 ชะลอลงจากร้อยละ 9.6 ในไตรมาสที่แล้ว โดยกิจการธนาคารพาณิชย์มีรายได้จากการให้เช่าซื้อและสัญญาเช่าทาง
การเงิน และรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการชะลอลงอย่างไรก็ตามรายได้ดอกเบี้ยสุทธิยังขยายตัวดีจากการให้สินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่อเพื่อการ
อุปโภคบริโภคส่วนบุคคล
"..บริการอื่นๆ ขยายตัวสูงขึ้นเล็กน้อย.."
สาขาการบริการอื่น ๆ
ขยายตัวร้อยละ 0.7 สูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 0.2 ในไตรมาสที่แล้ว การบริหารราชการแผ่นดินฯ ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากที่ลดลง
ร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่แล้ว สาขาการศึกษา ทรงตัวจากที่ลดลงร้อยละ 0.9 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการศึกษาภาครัฐบาล ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อย
ละ 90.0 ลดลงร้อยละ 0.7 ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ส่วนภาคเอกชนชะลอตัวลงเล็กน้อย สาขาบริการชุมชนฯ ขยายตัวร้อยละ 0.3 ชะลอตัว
ลงจากไตรมาสที่แล้ว ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 โดยสลากกินแบ่งรัฐบาลซึ่งมีสัดส่วนสูงสุดของสาขา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 บริการกระจายเสียงวิทยุ
และโทรทัศน์ขยายตัวร้อยละ 3.7 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่บริการส่วนบุคคลอื่นๆ ลดลงร้อยละ 7.4 ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว
ส่วนบริการเสริมสวย และบริการด้านกีฬา ลดลงร้อยละ 10.4 และ 5.7 ตามลำดับ
ด้านการใช้จ่าย
การใช้จ่ายของครัวเรือน
"..รายจ่ายของครัวเรือนชะลอลงเล็กน้อย ร้อยละ 2.4 เป็นผลกระทบจากการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ และความไม่แน่นอนทางการ
เมืองและเศรษฐกิจ.."
- การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.4 เทียบกับร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่แล้ว เมื่อปรับค่าการเปลี่ยน
แปลงตามฤดูกาล การใช้จ่ายลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.4
- แม้ว่ารายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวได้ดี จากการขยายตัวของทั้งผลผลิตและราคาสินค้าเกษตร รวมทั้งรายได้นอกภาคเกษตรที่ปรับตัว
สูงขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานและการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ อย่างไรก็ตามการเร่งตัวของราคาสินค้าและบริการ โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงและ
อาหาร ได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นอีกในไตรมาสนี้ ประกอบกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจ ได้ส่งผล
กระทบให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและชะลอการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการในเกือบทุกหมวด ยกเว้นสินค้าคงทนประเภทยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่
ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากฐานการใช้จ่ายในระดับต่ำในปีที่แล้ว
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและอัตราการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภค
2550 -------- 2550 --------- -- 2551--
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม 77.1 79.1 77.1 75.8 76.3 79.4 78.9
อัตราการขยายตัว (ร้อยละ) -6.5 -7.3 -5.0 -5.7 -8.0 0.4 2.3
อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป 2.2 2.4 1.9 1.6 2.9 5.0 7.5
อาหารสด 6.6 8.9 7.2 7.4 3.2 10.3 14.5
พลังงาน 2.4 -1.0 -0.2 -1.4 12.7 17.2 23.0
อื่น ๆ 1.0 1.4 0.9 0.8 1.1 1.5 2.8
ที่มา : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
- การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนที่ไม่รวมคนไทยในต่างประเทศและคนต่างประเทศในประเทศไทย ขยายตัวร้อยละ 2.3
อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือนในประเทศ (ร้อยละ)
2550 -------- 2550 -------- --2551--
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
การใช้จ่ายของครัวเรือนในประเทศ 1.9 2.0 1.5 2.2 1.9 4.4 3.4
หัก : การใช้จ่ายของชาวต่างประเทศในประเทศ 6.3 8.4 4.8 6.2 5.3 18.5 15.1
การใช้จ่ายของครัวเรือนไม่รวมนักท่องเที่ยว 1.4 1.2 1.2 1.7 1.6 2.6 2.3
บวก : การใช้จ่ายของคนไทยในต่างประเทศ 2.3 6.9 -8.9 2.8 8.3 2.8 5.7
การใช้จ่ายของครัวเรือนไทยทั้งหมด 1.5 1.4 0.9 1.8 1.8 2.6 2.4
รายจ่ายครัวเรือนจำแนกตามหมวด
หมวดสินค้าเกษตร ป่าไม้ และประมง ขยายตัวร้อยละ 1.5 โดยการบริโภคผักและผลไม้ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ส่วนสัตว์น้ำลด
ลงร้อยละ 2.4 สอดคล้องกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด
หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ และเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวร้อยละ 2.2 เป็นผลมาจากการบริโภคเนื้อสัตว์และสินค้าเกษตรแปรรูป
ขยายตัวร้อยละ 3.4 เครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 2.4 ส่วนการอุปโภคเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและสิ่งทออื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 1.7
หมวดไฟฟ้าและประปา ชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 1.7 จากร้อยละ 5.9 ในไตรมาสที่แล้ว โดยชะลอลงทั้งการใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้า
ร้อยละ 1.2 และค่าน้ำประปาร้อยละ 3.8
หมวดยานพาหนะ ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 15.7 เทียบกับร้อยละ 15.1 ในไตรมาสที่แล้ว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผู้ประกอบการนำรถยนต์
นั่งขนาดเล็กและรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่ช่วยประหยัดน้ำมันรวมทั้งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าออกสู่ตลาดเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจของผู้บริโภค รายได้
เกษตรกรที่ปรับตัวสูงขึ้น การเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์นั่งขนาดเล็กและรถ
จักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้น และการปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ที่เติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ประกอบกับฐานการใช้จ่ายในระดับ
ต่ำในปีที่แล้ว โดยปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 ในขณะที่รถยนต์บรรทุกส่วน
บุคคล (รถปิคอัพ) ลดลงร้อยละ 5.7
ปริมาณการจำหน่ายยานยนต์
2550 -------------2550 ----------- ---2551---
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
รถยนต์นั่ง (คัน) 169,559 37,522 45,567 45,633 40,837 52,471 56,967
อัตราเพิ่มร้อยละ -11.4 -16.2 -7.7 2.1 -22.4 39.8 25.0
รถยนต์พาณิชย์ (คัน) 461,692 100,748 108,677 113,178 139,089 108,315 102,531
อัตราเพิ่มร้อยละ -5.9 -19.4 -5.8 3.8 -1.4 7.5 -5.7
รถจักรยานยนต์ (พันคัน) 1,558 393 397 366 402 409 461
อัตราเพิ่มร้อยละ -18.9 -23.3 -20.9 -23.3 -6.3 4.0 16.2
ที่มา : สถาบันยานยนต์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
หมวดโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 5.5 เทียบกับร้อยละ 8.3 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากบริการโรงแรมขยายตัวร้อยละ
13.0 สอดคล้องกับภาวะการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ส่วนบริการภัตตาคารไตรมาสนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.7
หมวดขนส่งและสื่อสาร ขยายตัวร้อยละ 5.0 สูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 4.8 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากบริการขนส่งขยายตัวร้อย
ละ 2.3 และบริการไปรษณีย์และสื่อสารโทรคมนาคมขยายตัวร้อยละ 8.9 โดยจำนวนเลขหมายการใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 0.4 และจำนวนเลขหมายการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9
(ยังมีต่อ).../จำนวนหมายเลข..