จำนวนหมายเลขจดทะเบียนโทรศัพท์เคลื่อนที่
----------------------------------------------------------------------------------------
(ณ วันสิ้นงวด) 2550 2550 2551
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
โทรศัพท์พื้นฐาน (พันเลขหมาย) 6,709 6,719 6,696 6,732 6,709 6,722 6,723
จำนวนประชากร / เลขหมาย 9.8 9.8 9.8 9.8 9.8 9.8 9.8
----------------------------------------------------------------------------------------
โทรศัพท์เคลื่อนที่ (พันเลขหมาย) 53,086 43,475 47,229 50,367 53,086 55,383 57,590
ระบบ Prepaid 47,487 37,426 41,161 44,556 47,487 49,675 51,727
ระบบ Postpaid 5,599 6,049 6,069 5,811 5,599 5,708 5,863
โทรศัพท์เคลื่อนที่ (ร้อยละ) 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ระบบ Prepaid 89.5 86.1 87.2 88.5 89.5 89.7 89.8
ระบบ Postpaid 10.5 13.9 12.8 11.5 10.5 10.3 10.2
จำนวนประชากร / เลขหมาย 1.2 1.5 1.4 1.3 1.2 1.2 1.1
----------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
เมื่อพิจารณารายจ่ายของครัวเรือนจำแนกตามลักษณะความคงทนพบว่า รายจ่ายซื้ออาหารขยายตัวเพียงร้อยละ 1.9 จากร้อยละ 3.2
ในไตรมาสที่แล้ว ส่วนรายจ่ายซื้อสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารขยายตัวร้อยละ 2.6 จำแนกเป็นสินค้าไม่คงทน (ไม่รวมอาหาร) เช่น เครื่อง
ดื่ม ไฟฟ้าและน้ำประปา ยารักษาโรค และของใช้ในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 1.7 รายจ่ายซื้อสินค้ากึ่งคงทนประกอบด้วย เสื้อผ้า รองเท้า ภาชนะ
และสิ่งทอที่ใช้ในครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.3 ส่วนสินค้าคงทน เช่น ยานยนต์ เครื่องเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ คอมพิวเตอร์ วิทยุและ
โทรทัศน์ ขยายตัวร้อยละ 10.6 สำหรับรายจ่ายด้านบริการประกอบด้วย โรงแรมและภัตตาคาร บริการบันเทิงและนันทนาการการศึกษา การรักษา
พยาบาล และการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวสุทธิ ในไตรมาสนี้ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงในไตรมาสที่แล้ว
อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน
จำแนกตามลักษณะความคงทน (ร้อยละ)
2550 2550 2551
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
การใช้จ่ายของครัวเรือน 1.5 1.4 0.9 1.8 1.8 2.6 2.4
อาหาร 3.7 3.8 3.8 4.4 2.6 3.2 1.9
อื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร 0.9 0.7 0.1 1.1 1.7 2.4 2.6
สินค้าไม่คงทน 2.8 5.2 2.0 2.5 1.5 3.0 1.7
สินค้ากึ่งคงทน 0.8 -0.2 -0.2 0.5 2.7 3.7 3.3
สินค้าคงทน -5.2 -7.5 -7.4 0.4 -6.3 10.0 10.6
บริการ 1.6 -0.1 1.6 0.1 4.3 -2.1 0.0
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล
- ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 การเบิกจ่ายงบประมาณรวม 407,079 ล้านบาท สูงขึ้นเล็กน้อยจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.5
แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 320,567 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.9 และ รายจ่ายลงทุน 86,512 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.2 เนื่องจากในปีงบ
ประมาณ 2550 ที่ผ่านมา พรบ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลบังคับใช้ล่าช้า โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2550 จึงทำให้การเบิกจ่ายเงิน
งบประมาณเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกันยายน 2550 ดังนั้นการเบิกจ่ายปีปัจจุบันจึงมีอัตราเพิ่มต่ำ
- รายจ่ายเพื่อการอุปโภคทั้งหมดของรัฐบาลในราคาประจำปี มูลค่า 262,129 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ
2.6 โดยแบ่งได้เป็นค่าตอบแทนแรงงาน 190,442 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิ 71,687 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 3.9
- สำหรับมูลค่าที่แท้จริงของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ลดลง ร้อยละ 2.4 เป็นผลมาจากค่าตอบแทนแรงงานขยายตัวร้อยละ
0.4 ขณะที่รายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิลดลงร้อยละ 6.4
การเบิกจ่ายงบประมาณ (พันล้านบาท)
วงเงินงบประมาณ เม.ย. — มิ.ย.
2550 2551 % 2550 2551 %
--------------------------------------------------------------------------------
รวมรายจ่ายประจำ+ลงทุน 1,566.2 1,660.0 6.0 401.1 407.1 1.5
อัตราการเบิกจ่ายต่องบประมาณ (%) 25.6 24.5
--------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : ประมวลจากข้อมูล GFMIS
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้นหรือการลงทุน
"..การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 1.9.."
การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ1.9 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 5.4
- การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.3 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วเป็นผลมาจากการลงทุนทางด้านเครื่องจักรเครื่องมือชะลอลง
จากร้อยละ 8.3 เหลือร้อยละ 5.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าเครื่องจักรที่ชะลอตัว ในขณะที่การก่อสร้างปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยต่อเนื่องจาก
ไตรมาสที่แล้วโดยขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสนี้ ถึงแม้ว่าปริมาณพื้นที่ขออนุญาตปลูกสร้างใหม่ในไตรมาสนี้หดตัวลงแต่ยังมีปริมาณงานก่อสร้างต่อ
เนื่องจากส่วนที่ขออนุญาตไว้เดิมในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะการสร้างอาคารขนาดใหญ่มากกว่า 6 ชั้นขึ้นไป ที่ต้องใช้เวลาการก่อสร้างนานกว่า 1 -
2 ปี เช่น คอนโดมิเนียมเพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ เป็นต้น
- การลงทุนภาครัฐ ลดลงร้อยละ 5.2 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการลงทุนทางด้านการก่อสร้าง ลด
ลงร้อยละ 8.0 โดยลดลงทั้งรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในขณะที่การลงทุนในการเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวต่อเนื่องจากร้อยละ
6.5 ในไตรมาสที่แล้วเป็นร้อยละ 28.5 ในไตรมาสนี้
อัตราการขยายตัวของการลงทุน (ร้อยละ)
2550 2550 2551
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
ก่อสร้าง 2.2 0.4 1.8 1.5 5.4 1.4 -3.4
ภาคเอกชน -2.3 -0.6 -1.2 0.7 -8.5 0.4 1.3
ภาครัฐ 6.8 1.5 5.0 2.1 23.6 2.6 -8.0
เครื่องจักร 0.9 -2.1 -0.6 3.3 3.4 7.4 4.5
ภาคเอกชน 1.3 -2.8 -0.5 1.3 7.4 8.3 5.2
ภาครัฐ -1.7 3.9 -1.5 15.0 -22.3 0.6 0.3
มูลค่าการลงทุนรวม 1.4 -1.3 0.2 2.6 4.0 5.4 1.9
ภาคเอกชน 0.5 -2.3 -0.7 1.1 3.9 6.5 4.3
ภาครัฐ 4.0 2.2 2.7 5.8 4.5 2.0 -5.2
การก่อสร้างภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 1.3 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 เนื่องจากการก่อสร้างอาคาร
เพื่อที่อยู่อาศัยและอาคารเพื่อการพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 6.4 และร้อยละ 9.8 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ต่อเนื่องจากช่วง
ก่อนหน้าโดยเฉพาะอาคารคอนโดมิเนียมเพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ ในเขตเทศบาลและเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนอาคารโรงงานลด
ลงร้อยละ 10.8 เนื่องจากผู้ประกอบการยังชะลอดูทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ประกอบกับต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้นอย่างมาก
โดยเฉพาะราคาเหล็ก ปูนซีเมนต์ และไม้ เป็นต้น โดยสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 24.6 เทียบกับร้อยละ 13.9 ในไตรมาสที่แล้ว
อัตราการขยายตัวของการก่อสร้างภาคเอกชน (ร้อยละ)
2550 2550 2551
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
ที่อยู่อาศัย -1.3 0.8 -1.0 2.7 -8.4 -5.2 6.4
อาคารพาณิชย์ 6.5 6.8 2.4 5.1 11.7 14.3 9.8
โรงงาน 5.9 -15.7 -16.2 -7.9 -26.0 5.9 -10.8
อื่นๆ 8.8 2.7 6.7 -1.7 -9.1 8.8 -14.9
รวม -2.3 -0.6 -1.2 0.7 -8.5 0.4 1.3
การก่อสร้างภาครัฐ ลดลงร้อยละ 8.0 เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 เนื่องมาจากการเบิกจ่ายงบการลงทุนทางด้านการ
ก่อสร้างของรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลงร้อยละ 13.2 ในขณะที่การก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 3.3 ส่วนหนึ่งเป็นผล
มาจากการเบิกจ่ายในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ของการรถไฟแห่งประเทศ
ไทย โครงการบ้านเอื้ออาทร ของการเคหะแห่งชาติ โครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซ และปรับปรุงสถานีบริการน้ำมัน ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
เป็นต้น
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากร้อยละ 8.3 เนื่องจากการลงทุนในหมวดเครื่องจักร
ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.3 เทียบกับร้อยละ 9.5 ในไตรมาสที่แล้ว ประกอบกับ หมวดยานพาหนะยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วโดยขยาย
ตัวร้อยละ 12.2 เทียบกับร้อยละ 9.8 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในรถโดยสารประจำทาง รถตู้ และรถบรรทุกส่วนบุคคล เป็นต้น
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาครัฐ ขยายตัวร้อยละ 0.3 เป็นผลมาจากการลงทุนของรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขยายตัวร้อยละ 28.5 เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่หดตัวร้อยละ 6.5 โดยมีการซื้อเครื่องใช้สำนักงานและยานพาหนะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ภาครัฐวิสาหกิจ
ลดลงร้อยละ11.3 เนื่องจากไตรมาสนี้มีการลงทุนซื้อเครื่องบิน 1 ลำ มูลค่าเพียง 1,230 ล้านบาท ซึ่งเป็นการซื้อเครื่องบินที่เช่าอยู่เดิมเป็นกรรมสิทธิ์
ส่วนเปลี่ยนแปลงสินค้าคงเหลือ
ส่วนเปลี่ยนแปลงสินค้าคงเหลือ ณ ราคาประจำปีมีมูลค่า 21,675 ล้านบาท โดยภาคการผลิตมีการขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่แล้ว
ในขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงมีการนำเข้าสินค้าขั้นกลางในรูปวัตถุดิบมาสำรองเพื่อใช้ในการผลิตต่อไป ประกอบกับวัตถุดิบนำเข้ามีมูลค่า
สูงขึ้นจากราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รายการที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นและมีมูลค่าสูง ได้แก่ เคมีภัณฑ์และพลาสติก เหล็กและ
เหล็กกล้า และทองคำ นอกจากนี้หลังจากที่มีการนำเข้าน้ำ มันดิบสูงในไตรมาสที่ผ่านมาเพื่อใช้ผลิตน้ำมันสำ เร็จรูป แต่การใช้น้ำมันภายในประเทศใน
ไตรมาสนี้ได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สูงขึ้นและส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาคขนส่งมีการเปลี่ยนพลังงานจากการใช้น้ำมันมาใช้ก๊าซ
ธรรมชาติและก๊าซ LPG มากขึ้น จึงทำให้น้ำมันสำเร็จรูปคงเหลือในสต็อกเพิ่มขึ้น ส่วนหมวดสินค้าที่มีการสะสมสต๊อกลดลงในไตรมาสนี้ ได้แก่ เครื่องใช้
สำนักงาน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน จากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งข้าวเปลือก และน้ำตาล เนื่องจากอยู่ในช่วงนอกฤดูเก็บเกี่ยวผล
ผลิต อย่างไรก็ตามมูลค่าสต็อกสินค้าที่ลดลงนี้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า จึงทำให้ภาพรวมของการสะสมสต๊อกไตรมาสนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
(ยังมีต่อ).../ด้านต่างประเทศ..
----------------------------------------------------------------------------------------
(ณ วันสิ้นงวด) 2550 2550 2551
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
โทรศัพท์พื้นฐาน (พันเลขหมาย) 6,709 6,719 6,696 6,732 6,709 6,722 6,723
จำนวนประชากร / เลขหมาย 9.8 9.8 9.8 9.8 9.8 9.8 9.8
----------------------------------------------------------------------------------------
โทรศัพท์เคลื่อนที่ (พันเลขหมาย) 53,086 43,475 47,229 50,367 53,086 55,383 57,590
ระบบ Prepaid 47,487 37,426 41,161 44,556 47,487 49,675 51,727
ระบบ Postpaid 5,599 6,049 6,069 5,811 5,599 5,708 5,863
โทรศัพท์เคลื่อนที่ (ร้อยละ) 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ระบบ Prepaid 89.5 86.1 87.2 88.5 89.5 89.7 89.8
ระบบ Postpaid 10.5 13.9 12.8 11.5 10.5 10.3 10.2
จำนวนประชากร / เลขหมาย 1.2 1.5 1.4 1.3 1.2 1.2 1.1
----------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
เมื่อพิจารณารายจ่ายของครัวเรือนจำแนกตามลักษณะความคงทนพบว่า รายจ่ายซื้ออาหารขยายตัวเพียงร้อยละ 1.9 จากร้อยละ 3.2
ในไตรมาสที่แล้ว ส่วนรายจ่ายซื้อสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารขยายตัวร้อยละ 2.6 จำแนกเป็นสินค้าไม่คงทน (ไม่รวมอาหาร) เช่น เครื่อง
ดื่ม ไฟฟ้าและน้ำประปา ยารักษาโรค และของใช้ในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 1.7 รายจ่ายซื้อสินค้ากึ่งคงทนประกอบด้วย เสื้อผ้า รองเท้า ภาชนะ
และสิ่งทอที่ใช้ในครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.3 ส่วนสินค้าคงทน เช่น ยานยนต์ เครื่องเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ คอมพิวเตอร์ วิทยุและ
โทรทัศน์ ขยายตัวร้อยละ 10.6 สำหรับรายจ่ายด้านบริการประกอบด้วย โรงแรมและภัตตาคาร บริการบันเทิงและนันทนาการการศึกษา การรักษา
พยาบาล และการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวสุทธิ ในไตรมาสนี้ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงในไตรมาสที่แล้ว
อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน
จำแนกตามลักษณะความคงทน (ร้อยละ)
2550 2550 2551
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
การใช้จ่ายของครัวเรือน 1.5 1.4 0.9 1.8 1.8 2.6 2.4
อาหาร 3.7 3.8 3.8 4.4 2.6 3.2 1.9
อื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร 0.9 0.7 0.1 1.1 1.7 2.4 2.6
สินค้าไม่คงทน 2.8 5.2 2.0 2.5 1.5 3.0 1.7
สินค้ากึ่งคงทน 0.8 -0.2 -0.2 0.5 2.7 3.7 3.3
สินค้าคงทน -5.2 -7.5 -7.4 0.4 -6.3 10.0 10.6
บริการ 1.6 -0.1 1.6 0.1 4.3 -2.1 0.0
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล
- ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 การเบิกจ่ายงบประมาณรวม 407,079 ล้านบาท สูงขึ้นเล็กน้อยจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.5
แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 320,567 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.9 และ รายจ่ายลงทุน 86,512 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.2 เนื่องจากในปีงบ
ประมาณ 2550 ที่ผ่านมา พรบ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลบังคับใช้ล่าช้า โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2550 จึงทำให้การเบิกจ่ายเงิน
งบประมาณเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกันยายน 2550 ดังนั้นการเบิกจ่ายปีปัจจุบันจึงมีอัตราเพิ่มต่ำ
- รายจ่ายเพื่อการอุปโภคทั้งหมดของรัฐบาลในราคาประจำปี มูลค่า 262,129 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ
2.6 โดยแบ่งได้เป็นค่าตอบแทนแรงงาน 190,442 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิ 71,687 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 3.9
- สำหรับมูลค่าที่แท้จริงของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ลดลง ร้อยละ 2.4 เป็นผลมาจากค่าตอบแทนแรงงานขยายตัวร้อยละ
0.4 ขณะที่รายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิลดลงร้อยละ 6.4
การเบิกจ่ายงบประมาณ (พันล้านบาท)
วงเงินงบประมาณ เม.ย. — มิ.ย.
2550 2551 % 2550 2551 %
--------------------------------------------------------------------------------
รวมรายจ่ายประจำ+ลงทุน 1,566.2 1,660.0 6.0 401.1 407.1 1.5
อัตราการเบิกจ่ายต่องบประมาณ (%) 25.6 24.5
--------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : ประมวลจากข้อมูล GFMIS
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้นหรือการลงทุน
"..การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 1.9.."
การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ1.9 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 5.4
- การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.3 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วเป็นผลมาจากการลงทุนทางด้านเครื่องจักรเครื่องมือชะลอลง
จากร้อยละ 8.3 เหลือร้อยละ 5.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าเครื่องจักรที่ชะลอตัว ในขณะที่การก่อสร้างปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยต่อเนื่องจาก
ไตรมาสที่แล้วโดยขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสนี้ ถึงแม้ว่าปริมาณพื้นที่ขออนุญาตปลูกสร้างใหม่ในไตรมาสนี้หดตัวลงแต่ยังมีปริมาณงานก่อสร้างต่อ
เนื่องจากส่วนที่ขออนุญาตไว้เดิมในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะการสร้างอาคารขนาดใหญ่มากกว่า 6 ชั้นขึ้นไป ที่ต้องใช้เวลาการก่อสร้างนานกว่า 1 -
2 ปี เช่น คอนโดมิเนียมเพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ เป็นต้น
- การลงทุนภาครัฐ ลดลงร้อยละ 5.2 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการลงทุนทางด้านการก่อสร้าง ลด
ลงร้อยละ 8.0 โดยลดลงทั้งรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในขณะที่การลงทุนในการเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวต่อเนื่องจากร้อยละ
6.5 ในไตรมาสที่แล้วเป็นร้อยละ 28.5 ในไตรมาสนี้
อัตราการขยายตัวของการลงทุน (ร้อยละ)
2550 2550 2551
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
ก่อสร้าง 2.2 0.4 1.8 1.5 5.4 1.4 -3.4
ภาคเอกชน -2.3 -0.6 -1.2 0.7 -8.5 0.4 1.3
ภาครัฐ 6.8 1.5 5.0 2.1 23.6 2.6 -8.0
เครื่องจักร 0.9 -2.1 -0.6 3.3 3.4 7.4 4.5
ภาคเอกชน 1.3 -2.8 -0.5 1.3 7.4 8.3 5.2
ภาครัฐ -1.7 3.9 -1.5 15.0 -22.3 0.6 0.3
มูลค่าการลงทุนรวม 1.4 -1.3 0.2 2.6 4.0 5.4 1.9
ภาคเอกชน 0.5 -2.3 -0.7 1.1 3.9 6.5 4.3
ภาครัฐ 4.0 2.2 2.7 5.8 4.5 2.0 -5.2
การก่อสร้างภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 1.3 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 เนื่องจากการก่อสร้างอาคาร
เพื่อที่อยู่อาศัยและอาคารเพื่อการพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 6.4 และร้อยละ 9.8 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ต่อเนื่องจากช่วง
ก่อนหน้าโดยเฉพาะอาคารคอนโดมิเนียมเพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ ในเขตเทศบาลและเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนอาคารโรงงานลด
ลงร้อยละ 10.8 เนื่องจากผู้ประกอบการยังชะลอดูทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ประกอบกับต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้นอย่างมาก
โดยเฉพาะราคาเหล็ก ปูนซีเมนต์ และไม้ เป็นต้น โดยสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 24.6 เทียบกับร้อยละ 13.9 ในไตรมาสที่แล้ว
อัตราการขยายตัวของการก่อสร้างภาคเอกชน (ร้อยละ)
2550 2550 2551
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
ที่อยู่อาศัย -1.3 0.8 -1.0 2.7 -8.4 -5.2 6.4
อาคารพาณิชย์ 6.5 6.8 2.4 5.1 11.7 14.3 9.8
โรงงาน 5.9 -15.7 -16.2 -7.9 -26.0 5.9 -10.8
อื่นๆ 8.8 2.7 6.7 -1.7 -9.1 8.8 -14.9
รวม -2.3 -0.6 -1.2 0.7 -8.5 0.4 1.3
การก่อสร้างภาครัฐ ลดลงร้อยละ 8.0 เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 เนื่องมาจากการเบิกจ่ายงบการลงทุนทางด้านการ
ก่อสร้างของรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลงร้อยละ 13.2 ในขณะที่การก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 3.3 ส่วนหนึ่งเป็นผล
มาจากการเบิกจ่ายในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ของการรถไฟแห่งประเทศ
ไทย โครงการบ้านเอื้ออาทร ของการเคหะแห่งชาติ โครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซ และปรับปรุงสถานีบริการน้ำมัน ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
เป็นต้น
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากร้อยละ 8.3 เนื่องจากการลงทุนในหมวดเครื่องจักร
ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.3 เทียบกับร้อยละ 9.5 ในไตรมาสที่แล้ว ประกอบกับ หมวดยานพาหนะยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วโดยขยาย
ตัวร้อยละ 12.2 เทียบกับร้อยละ 9.8 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในรถโดยสารประจำทาง รถตู้ และรถบรรทุกส่วนบุคคล เป็นต้น
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาครัฐ ขยายตัวร้อยละ 0.3 เป็นผลมาจากการลงทุนของรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขยายตัวร้อยละ 28.5 เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่หดตัวร้อยละ 6.5 โดยมีการซื้อเครื่องใช้สำนักงานและยานพาหนะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ภาครัฐวิสาหกิจ
ลดลงร้อยละ11.3 เนื่องจากไตรมาสนี้มีการลงทุนซื้อเครื่องบิน 1 ลำ มูลค่าเพียง 1,230 ล้านบาท ซึ่งเป็นการซื้อเครื่องบินที่เช่าอยู่เดิมเป็นกรรมสิทธิ์
ส่วนเปลี่ยนแปลงสินค้าคงเหลือ
ส่วนเปลี่ยนแปลงสินค้าคงเหลือ ณ ราคาประจำปีมีมูลค่า 21,675 ล้านบาท โดยภาคการผลิตมีการขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่แล้ว
ในขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงมีการนำเข้าสินค้าขั้นกลางในรูปวัตถุดิบมาสำรองเพื่อใช้ในการผลิตต่อไป ประกอบกับวัตถุดิบนำเข้ามีมูลค่า
สูงขึ้นจากราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รายการที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นและมีมูลค่าสูง ได้แก่ เคมีภัณฑ์และพลาสติก เหล็กและ
เหล็กกล้า และทองคำ นอกจากนี้หลังจากที่มีการนำเข้าน้ำ มันดิบสูงในไตรมาสที่ผ่านมาเพื่อใช้ผลิตน้ำมันสำ เร็จรูป แต่การใช้น้ำมันภายในประเทศใน
ไตรมาสนี้ได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สูงขึ้นและส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาคขนส่งมีการเปลี่ยนพลังงานจากการใช้น้ำมันมาใช้ก๊าซ
ธรรมชาติและก๊าซ LPG มากขึ้น จึงทำให้น้ำมันสำเร็จรูปคงเหลือในสต็อกเพิ่มขึ้น ส่วนหมวดสินค้าที่มีการสะสมสต๊อกลดลงในไตรมาสนี้ ได้แก่ เครื่องใช้
สำนักงาน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน จากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งข้าวเปลือก และน้ำตาล เนื่องจากอยู่ในช่วงนอกฤดูเก็บเกี่ยวผล
ผลิต อย่างไรก็ตามมูลค่าสต็อกสินค้าที่ลดลงนี้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า จึงทำให้ภาพรวมของการสะสมสต๊อกไตรมาสนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
(ยังมีต่อ).../ด้านต่างประเทศ..