1 การติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะปานกลางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาว ซึ่งคนในสังคมไทยได้ร่วมกันกำหนดขึ้นภายใต้แนวคิดที่ยึด "คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา" พร้อมทั้งยึดหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย โดยกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ กล่าวคือ กลุ่มที่หนึ่ง เป็นยุทธศาสตร์การสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มยุทธศาสตร์การเสริมสร้างฐานรากของสังคมให้เข้มแข็ง ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและการคุ้มครองทางสังคม ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้าสู่สมดุลและยั่งยืน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในการผลักดันแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สู่การปฏิบัติภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตาม 7 ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ภายใต้ "วาระแห่งชาติ" 4 เรื่อง คือ การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาทุนทางสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องเร่งผลักดันให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยมีการจัดตั้งกลไกระดับชาติเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ทั้งในด้านการจัดทำยุทธศาสตร์วาระแห่งชาติ การผลักดันยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สำหรับการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สศช. ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อรายงานเสนอคณะรัฐมนตรีทุกปีอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมา สศช. ได้ติดตามประเมินผลในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (ปีงบประมาณ 2545 และ 2546) ซึ่งพบว่า การดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างมีคุณภาพมีเสถียรภาพและมีความมั่นคงมากขึ้น ภาคการผลิตขยายตัวสูงเกินกว่าเป้าหมาย ทำให้อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันปรับตัวดีขึ้น ปัญหาความยากจนลดลง มีการพัฒนาคุณภาพคนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบให้ดัชนีชี้วัดการพัฒนา ทั้งดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ดัชนีความอยู่ดีมีสุข และดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืน ปรับตัวดีขึ้นกว่าในช่วงปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
สำหรับในปี 2547 ซึ่งเป็นปีที่ 3 ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สศช. จะได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน พร้อมไปกับการประเมินผลการบรรลุเป้าหมายของแผนฯ ว่าการพัฒนาในระยะ 3 ปี ของแผนฯ สามารถตอบสนองเป้าหมายของแผนฯ ทั้งเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ เป้าหมายการลดความยากจน เป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต และเป้าหมายการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งจะครอบคลุมเป้าหมายตามวาระแห่งชาติด้วยได้มากน้อยเพียงใด และผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการดำเนินงานที่สำคัญในวาระแห่งชาติเรื่องใด รวมทั้งมีปัจจัยเงื่อนไขหรือปัญหาอุปสรรคอะไรที่ต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในระยะต่อไป เพื่อให้สามารถบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีกรอบการประเมินเป้าหมายต่างๆ ดังนี้
1.1 การประเมินเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ จะครอบคลุมการประเมินเป้าหมายด้านเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งสะท้อนถึงผลการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมโดยเฉพาะด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และภาวะการจ้างงานของประเทศ
1.2 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นการประเมินวาระแห่งชาติในด้านความสามารถในการแข่งขันของไทยที่ครอบคลุมสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งความก้าวหน้าการดำเนินงานภายใต้กรอบการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
1.3 การแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นการประเมินวาระแห่งชาติในด้านภาวะความยากจน และความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของคนยากจน คุณภาพชีวิตและการเข้าถึงบริการของรัฐ
1.4 การพัฒนาทุนทางสังคม เป็นการประเมินวาระแห่งชาติในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ทั้งการพัฒนาศักยภาพคนและการยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งการพัฒนาทุนทางสถาบันและทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
1.5 การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการประเมินการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
1.6 การบริหารจัดการที่ดี เป็นการประเมินการบรรลุเป้าหมายและผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการบริหารการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ให้มีความเป็นไปได้และบรรลุผลในทางปฏิบัติ
2 ผลที่เกิดขึ้นในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
2.1 การพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคในช่วง 3 ปีแรก ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 กำหนดให้เศรษฐกิจส่วนรวมขยายตัวอย่างมีคุณภาพและมีเสถียรภาพ โดยกำหนดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 4-5 ต่อปี เพิ่มการจ้างงานใหม่ในประเทศไม่ต่ำกว่า 230,000 คนต่อปี มีอัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี และรักษาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ระดับเฉลี่ยประมาณร้อยละ 1-2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ลดการขาดดุลเงินสดของรัฐบาลให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 1-1.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภายในปี 2549 และบริหารหนี้สาธารณะของประเทศให้อยู่ในระดับประมาณร้อยละ 60-62 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ1 รวมทั้งรักษาระดับภาระหนี้ในงบประมาณให้อยู่ในระดับเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 16-18 ของงบประมาณรายจ่ายรวม ซึ่งสรุปผลการพัฒนาในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ดังนี้
(1) เศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงกว่าเป้าหมายและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในกรอบที่ตั้งไว้ ในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เศรษฐกิจไทยได้ปรับตัวดีขึ้นมากโดยขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.1 ต่อปี โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ในปี 2545 และร้อยละ 6.9 และ 6.1 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ เทียบกับเป้าหมายการขยายตัวร้อยละ 4--5 ต่อปีในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 แม้ว่าในช่วงดังกล่าวประเทศไทยจะต้องเผชิญกับปัจจัยลบที่ไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าหลายประการ ได้แก่ การระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) การระบาดของไข้หวัดนก ปัญหาภัยแล้ง และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและได้ปรับฐานขึ้นสูงกว่าในอดีตมาก
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2545-2547 ประกอบด้วย อุปสงค์ภายในประเทศ และการส่งออกที่ขยายตัวได้มากขึ้นตามลำดับ ภายใต้เงื่อนไขเศรษฐกิจโลกที่เป็นช่วงของการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและเศรษฐกิจโลกขยายตัวสูงสุด (cyclical peak) ในปี 2547 สำหรับเงื่อนไขและปัจจัยภายในประเทศที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมีการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสาขาการผลิตต่างๆ นั้นประกอบด้วย การดำเนินมาตรการเศรษฐกิจภายใต้กรอบนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (Dual Track) ซึ่งให้ความสำคัญทั้งการสร้างศักยภาพของเศรษฐกิจจากตลาดภายในประเทศและการเชื่อมโยงกับตลาดโลก ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวทั้งด้านการบริโภค การลงทุนในประเทศ และการส่งออก โดยรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการและสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยให้การสนับสนุนด้านวิทยาการและเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงแหล่งทุนผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสถาบันการเงินภายใต้การกำกับของรัฐ เช่น ธนาคารประชาชน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ขณะเดียวกันในช่วงเวลาดังกล่าว การดำเนินนโยบายการเงินได้มีการ ผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2545 ที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ต่ำกว่าร้อยละ 2 ต่อปี เป็นต้นมาและในช่วงปี 2546-2547 นั้นนับว่าอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ สำหรับด้านนโยบายการคลังได้มีการดำเนินมาตรการด้านภาษีอากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน อาทิ (1) การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดศุลกากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความคล่องตัวในการแข่งขัน โดยการแก้ไขปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษีระหว่างอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ (2) การใช้ภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุน โดยปรับปรุงอัตราเงินชดเชยค่าภาษีอากร ภาษีสรรพสามิต และการยกเว้นภาษีเงินปันผลให้กับบริษัทจำกัด และ (3) มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการขนส่งทางทะเล โดยปรับลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าเช่าเรือเดินทะเลจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 1 เป็นการชั่วคราว เป็นต้น
1 กระทรวงการคลัง โดยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทำกรอบความยั่งยืนทางการคลังในระยะ 5--10 ปี โดยกำหนดให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 55
ในด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยในด้านต่างประเทศการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง2 ณ สิ้นปี 2547 ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ระดับ 48.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นประมาณ 4.4 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ และเป็นการเคลื่อนไหวที่สะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น ส่วนเสถียรภาพภายในประเทศ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำตลอดช่วงปี 2545-2547 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในปี 2545 และร้อยละ 1.8 และ 2.7 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นทำให้สถานการณ์การจ้างงานดีขึ้น โดยมีอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 ของกำลังแรงงานรวมในปี 2546 และ 2547
(2) ปัจจัยที่สนับสนุนให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยสูงกว่าเป้าหมาย
ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจปี 2545-2547 ขยายตัวได้เฉลี่ยร้อยละ 6.1 ได้แก่ เศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงขยายตัวและมีช่วงสูงสุดในปี 2547 สำหรับภายในประเทศรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการเศรษฐกิจภายใต้กรอบนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน ซึ่งให้ความสำคัญต่อการเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจจากตลาดภายในประเทศและการเชื่อมโยงกับตลาดโลก ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวทั้งด้านการบริโภค การลงทุนในประเทศ และการส่งออก ในขณะที่การดำเนินโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ นโยบายการคลังผ่อนคลาย และการส่งเสริมการส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
2 ภายใต้การบริหารระบบอัตราแลกเปลี่ยนกึ่งลอยตัว (Managed Float)
(2.1) การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.8 ต่อปี โดยขยายตัวร้อยละ 5.3 ในปี 2545 และร้อยละ 6.4 และ 5.6 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ ปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญได้แก่ อัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา รายได้เพิ่มขึ้นจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการสร้างผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้น การปรับเงินเดือนและค่าจ้าง ผลประกอบการและการจ่ายปันผลภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มขึ้น ตามลำดับ และราคาพืชผลและรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาสินค้าส่งออกที่เพิ่มเร็วกว่าราคาสินค้านำเข้าทำให้รายได้สุทธิเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการใช้จ่ายของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อรายได้และอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังปี 2547 ทำให้การบริโภคสินค้ากลุ่มนี้ชะลอตัวลง
(2.2) การลงทุนภาคเอกชน เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15.4 ต่อปี โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 และ 17.5 ในปี 2545 และ 2546 ตามลำดับ โดยเป็นการลงทุนด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นมากในปี 2545-2546 เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากแรงกระตุ้นของอัตราดอกเบี้ยต่ำ และมาตรการรัฐบาลเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตามการลงทุนด้านการก่อสร้างปี 2547 เริ่มชะลอตัว เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้น ประกอบกับฐานความต้องการที่สูงมากในปี 2546 สำหรับการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นสูงในปี 2545-2546 เพื่อซ่อมแซมเครื่องจักรและขยายกำลังการผลิตในบางสาขา อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ และเซรามิกส์ เป็นต้น สำหรับปี 2547 การลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวสูงต่อเนื่องร้อยละ 15.3
(2.3) ภาคการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกขยายตัวได้ดีขึ้นตามลำดับตั้งแต่ปี 2545 จากการที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นเร็วตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาสินค้านำเข้า ทำให้ดุลการค้ายังเกินดุลตลอดช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 แต่อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2547 ราคานำเข้าสินค้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคาสินค้าส่งออก เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นสูงมาก
มูลค่าการส่งออก ในปี 2545 เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว นำโดยเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และเศรษฐกิจจีนที่ได้รับประโยชน์จากการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก และปี 2546-2547 เศรษฐกิจโลกขยายตัวดีขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐฯ จีน และกลุ่มประเทศเอเซีย ทำให้ประเทศไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากทั้งในด้านราคาและปริมาณ มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 และ 23.0 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นต้น
มูลค่าการนำเข้า เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 ตามการลงทุนและการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีการนำเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นสูง ประกอบกับราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมากในปี 2546 และ 2547 โดยเฉพาะปี 2547 ราคาน้ำมันดิบแหล่งโอมานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.6 ทั้งนี้การนำเข้าเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าทุนประเภทเครื่องจักร แผงวงจรไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน ยานยนต์และส่วนประกอบ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่สำคัญ คือ เหล็กและเหล็กกล้า และสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทคงทน อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น
(3) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจมีความมั่นคง
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยมีความมั่นคงและเป็นไปตามเป้าหมายของแผนฯ 9 โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 4.5 ของ GDP ในปี 2547 อัตราการว่างงานลดลง อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลซึ่งใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะแรกของแผนฯ 9 เริ่มขาดดุลลดลงตั้งแต่ปี 2546 เมื่อเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นในปี 2546-2547 ทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงเหลือร้อยละ 47.8 ในปี 2547 จากร้อยละ 56.5 ในปี 2544
(3.1) ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลในช่วง 3 ปีแรกของแผนฯ 9 แม้ว่าตลอดช่วง 3 ปีแรกของแผนฯ 9 ปริมาณการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปริมาณการส่งออก แต่ราคาส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากกว่าราคาสินค้านำเข้าโดยเฉลี่ย ทำให้โดยรวมประเทศไทยได้เปรียบอัตราการค้า (Term of Trade)
แต่อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นมากในปี 2547 ทำให้ความได้เปรียบอัตราการค้าเริ่มลดลงและดุลการค้าเกินดุลลดลงจาก 3.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2546 เป็น 1.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2547 แต่เมื่อรวมกับดุลบริการบริจาคและเงินโอนที่เกินดุลเพิ่มขึ้นตามรายรับด้านการท่องเที่ยวและการขนส่งที่เพิ่มขึ้นมากทำให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงไม่มากจากการเกินดุล 8.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2546 เป็น 7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในปี 2547 หรือคิดเป็นการเกินดุลร้อยละ 4.5 ของ GDP
(3.2) ฐานะการคลัง ในปีงบประมาณ 2545-2547 รัฐบาลกำหนดกรอบงบประมาณในลักษณะที่เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยการตั้งงบประมาณประจำปีแบบขาดดุล แต่ได้ให้ความสำคัญในการรักษาความยั่งยืนทางการคลังมากขึ้นตามลำดับ ด้านการจัดเก็บรายได้มีสัดส่วนภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคเพิ่มขึ้นในขณะที่ภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศมีสัดส่วนน้อยลง เนื่องจากมีการลดอัตราอากรขาเข้าภายใต้กรอบข้อตกลงการค้าเสรีมากขึ้น โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2547 และสามารถจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและประสิทธิภาพการจัดเก็บเพิ่มขึ้น ในขณะที่ในด้านการใช้จ่ายนั้นมีความล่าช้าในการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2546 ขณะที่มีการเร่งการใช้จ่ายในปี 2547 ทำให้ดุลงบประมาณขาดดุล 14.2 พันล้านบาท และเมื่อรวมการขาดดุลนอกงบประมาณจำนวน 55.5 พันล้านบาท จากการไถ่ถอนพันธบัตรในประเทศ 26.5 พันล้านบาท และการไถ่ถอนหุ้น Tier I 25.1 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดปี 2547 ขาดดุล 69.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.1 ของ GDP
(4) การจ้างงานโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกสาขาเศรษฐกิจ
การจ้างงานเพิ่มขึ้นมากตามภาวะการผลิตและการลงทุนที่ขยายตัวดี จาก 32.997 ล้านคน ในปี 2545 เป็น 33.815 และ 35.824 ล้านคน ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.8 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 2.24 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 2.02 และ 1.98 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ คิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 708,000 คน ส่วนแรงงานที่ทำงานต่ำระดับ (น้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และพร้อมที่จะทำงานเพิ่ม) ได้ลดลงในช่วง 2 ปีแรกของแผนฯ 9 จากประมาณ 837 พันคน เหลือ 781 และ 643 พันคน ในปี 2545 และ 2546 ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นเป็น 741 พันคน ในปี 2547 สำหรับจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเพิ่มขึ้นจาก 6.9 ล้านคน ณ สิ้นปี 2545 เป็น 7.4 และ 7.8 ณ สิ้นปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ
2.2 ผลการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ประการหนึ่งที่มุ่งการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เข้าสู่สมดุลและยั่งยืน โดยรัฐบาลได้เห็นความจำเป็นที่ต้องเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิตให้แข่งขันได้ในเวทีโลกและปรับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ จึงได้กำหนดให้การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นวาระแห่งชาติ โดยกำหนดเป้าหมายให้มีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจทั้งภาคการผลิต การค้า และบริการ ให้การส่งออกสินค้าขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของภาคเกษตรขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 2.0 ต่อปี และภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.5 ต่อปี เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคเกษตรให้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.5 ต่อปี และในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.5 ต่อปี ให้ผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี และเพิ่มรายได้การท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเฉลี่ยร้อยละ 7-8 ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวในประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี ตลอดจนสร้างความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือให้ภาครัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายการวิจัยและพัฒนาไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.5 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี สำหรับผลการดำเนินงานที่สำคัญในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้
(1) ความสามารถในการแข่งขันของประเทศดีขึ้นเล็กน้อย ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานและประสิทธิภาพของรัฐบาลยังคงเป็นปัจจัยถ่วง ในระยะ 3 ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย โดยผลการจัดอันดับของสถาบันนานาชาติเพื่อพัฒนาด้านการจัดการ (International Institute for Management Development : IMD) ในปี 2547 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 29 ซึ่งดีขึ้นจากอันดับที่ 30 ในปี 2546 และอันดับที่ 31 ในปี 2545 จากการจัดอันดับรวม 60 ประเทศ โดยเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของปัจจัยด้านสมรรถนะเศรษฐกิจโดยรวม และประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ขณะที่ปัจจัยด้านโครงสร้างด้านพื้นฐานและประสิทธิภาพของรัฐบาลยังคงเป็นปัจจัยที่เหนี่ยวรั้งการพัฒนาข ดความสามารถของไทยอย่างไม่เปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ เนื่องจากการดำเนินงานเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน และการเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐบาลยังมีความล่าช้า ทำให้หลายปัจจัยในโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการของภาครัฐยังอยู่ในภาวะอ่อนด้อย โดยเฉพาะด้านคุณภาพการศึกษา สุขภาพของประชาชน และสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อศักยภาพของคน ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งการวิจัยและพัฒนายังทำได้น้อย ทำให้ภาคการผลิตของไทยไม่เข้มแข็ง และเป็นข้อจำกัดต่อการเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันของประเทศ
(2) การพัฒนาภาคการผลิตได้ผลดีในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ส่วนภาคเกษตรยังคงมีผลิตภาพการผลิตต่ำกว่าเป้าหมาย การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในอัตราค่อนข้างสูงเฉลี่ยร้อยละ 6.1 ต่อปี ในช่วงปี 2545-2547 เป็นผลจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม การค้าและบริการ ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับการขยายตัวของภาคเกษตรค่อนข้างมีความผันผวนจากผลกระทบ ทั้งด้านอากาศและการระบาดของไข้หวัดนก ขณะที่การเพิ่มผลิตภาพการผลิตยังทำได้ต่ำกว่าเป้าหมาย
(2.1) ภาคอุตสาหกรรมยังมีการขยายตัวได้สูงกว่าเป้าหมาย โดยในช่วงปี 2545-2547 เศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นมาก และจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศได้ส่งผลต่อเนื่องทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวมากขึ้น ทั้งกลุ่มการผลิตเพื่อขายภายในประเทศและการผลิตเพื่อส่งออก อาทิ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ยานยนต์ ยาง เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร และอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 6.9 10.4 และ 8.3 ในปี 2545 2546 และ 2547 ตามลำดับ แม้ว่าในปี 2547 การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมจะชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการภายในประเทศโดยเฉพาะด้านยานยนต์ลดลง แต่ในภาพรวมการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมยังคงสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดให้มีการขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.5 ต่อปี
(2.2) การส่งออกสินค้าขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวจากร้อยละ 4.6 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 18.6 และ 23.0 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ เนื่องจาก เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวและดีขึ้นเป็นลำดับในปี 2546 และ 2547 โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจจีน ซึ่งได้รับผลบวกจากการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก ประกอบกับความคืบหน้าของการค้าในภูมิภาคเอเชียด้วยกันเอง ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งพืชผลทางการเกษตรประสบภัยแล้งในหลายประเทศ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นในปี 2546-2547
(2.3) ภาคเกษตรสถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง ผลิตภาพการผลิตรวม ลดลงมากในปี 2547 การขยายตัวของภาคเกษตรในช่วงปี 2545-2547 มีความผันผวนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในปี 2547 ที่ภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 4.4 จากที่เคยขยายตัวถึงร้อยละ 8.7 ในปี 2546 ทั้งนี้ เนื่องจากผลผลิตที่สำคัญได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศและโรคระบาด อาทิ อ้อยและข้าวนาปี ลดลงจากผลกระทบภัยแล้ง ผลผลิตไก่เนื้อและไข่ไก่ลดลงจากปัญหาไข้หวัดนก ทั้งนี้ในช่วงเวลา ดังกล่าวผลิตภาพการผลิตรวม (Total Factor Productivity : TFP) สาขาเกษตรยังลดลงร้อยละ 1.25 โดยลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 7.53 ในปี 2547 สะท้อนถึงความจำเป็นต้องเร่งพัฒนา เทคโนโลยีการเกษตรและการบริหารจัดการในภาคเกษตร ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อ
ผลักดันการเพิ่มผลิตภาพการผลิตภาคเกษตรให้บรรลุเป้าหมาย พร้อมทั้งยกระดับการผลิตภาคเกษตร ให้มีสมรรถนะในการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรไทยมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย
(2.4) การท่องเที่ยวยังสามารถสร้างรายได้ให้เศรษฐกิจไทยได้สูงกว่า เป้าหมาย แม้จะชะลอตัวลงบ้างในปี 2546 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย อาทิ สถานการณ์สงครามอิรัก-สหรัฐฯ และการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ใน ภูมิภาคเอเชีย ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงมาก ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติในปี 2546 ลดลงถึงร้อยละ 4.4 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ ระบาดของโรคอย่างได้ผล ประกอบกันการเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยมาตรการต่างๆ ทำให้ สถานการณ์การท่องเที่ยวปรับตัว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงปลายปี 2547 จะ ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัยสึนามิ แต่ในภาพรวมของรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติใน ปี 2547 ยังคงขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 32.6 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
(3) การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความสามารถทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยียังต่ำกว่าเป้าหมายค่อนข้างมาก โดยในปี 2545 ค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาของ ไทยเป็นวงเงินรวม 13,302 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและในปี 2546 ได้จัดสรรเพิ่มขึ้นเป็น 15,499 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งยังต่ำกว่า เป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่กำหนดให้ค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาเป็นร้อยละ 0.4 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แม้ว่าภาครัฐและภาคเอกชนจะมีแนวโน้มลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา เพิ่มขึ้นแต่การลงทุนของภาคเอกชนยังมีสัดส่วนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับภาครัฐ โดยในปี 2546 ภาคเอกชน ลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาร้อยละ 0.11 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เทียบกับร้อยละ 0.15 ของ การลงทุนภาครัฐในช่วงเวลาเดียวกัน โดยคิดเป็นสัดส่วนภาครัฐต่อภาคเอกชนเป็น 56 : 44
2.3 ผลการแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้
(ยังมีต่อ)
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะปานกลางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาว ซึ่งคนในสังคมไทยได้ร่วมกันกำหนดขึ้นภายใต้แนวคิดที่ยึด "คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา" พร้อมทั้งยึดหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย โดยกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ กล่าวคือ กลุ่มที่หนึ่ง เป็นยุทธศาสตร์การสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มยุทธศาสตร์การเสริมสร้างฐานรากของสังคมให้เข้มแข็ง ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและการคุ้มครองทางสังคม ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้าสู่สมดุลและยั่งยืน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในการผลักดันแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สู่การปฏิบัติภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตาม 7 ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ภายใต้ "วาระแห่งชาติ" 4 เรื่อง คือ การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาทุนทางสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องเร่งผลักดันให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยมีการจัดตั้งกลไกระดับชาติเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ทั้งในด้านการจัดทำยุทธศาสตร์วาระแห่งชาติ การผลักดันยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สำหรับการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สศช. ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อรายงานเสนอคณะรัฐมนตรีทุกปีอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมา สศช. ได้ติดตามประเมินผลในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (ปีงบประมาณ 2545 และ 2546) ซึ่งพบว่า การดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างมีคุณภาพมีเสถียรภาพและมีความมั่นคงมากขึ้น ภาคการผลิตขยายตัวสูงเกินกว่าเป้าหมาย ทำให้อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันปรับตัวดีขึ้น ปัญหาความยากจนลดลง มีการพัฒนาคุณภาพคนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบให้ดัชนีชี้วัดการพัฒนา ทั้งดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ดัชนีความอยู่ดีมีสุข และดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืน ปรับตัวดีขึ้นกว่าในช่วงปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
สำหรับในปี 2547 ซึ่งเป็นปีที่ 3 ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สศช. จะได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน พร้อมไปกับการประเมินผลการบรรลุเป้าหมายของแผนฯ ว่าการพัฒนาในระยะ 3 ปี ของแผนฯ สามารถตอบสนองเป้าหมายของแผนฯ ทั้งเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ เป้าหมายการลดความยากจน เป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต และเป้าหมายการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งจะครอบคลุมเป้าหมายตามวาระแห่งชาติด้วยได้มากน้อยเพียงใด และผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการดำเนินงานที่สำคัญในวาระแห่งชาติเรื่องใด รวมทั้งมีปัจจัยเงื่อนไขหรือปัญหาอุปสรรคอะไรที่ต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในระยะต่อไป เพื่อให้สามารถบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีกรอบการประเมินเป้าหมายต่างๆ ดังนี้
1.1 การประเมินเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ จะครอบคลุมการประเมินเป้าหมายด้านเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งสะท้อนถึงผลการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมโดยเฉพาะด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และภาวะการจ้างงานของประเทศ
1.2 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นการประเมินวาระแห่งชาติในด้านความสามารถในการแข่งขันของไทยที่ครอบคลุมสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งความก้าวหน้าการดำเนินงานภายใต้กรอบการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
1.3 การแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นการประเมินวาระแห่งชาติในด้านภาวะความยากจน และความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของคนยากจน คุณภาพชีวิตและการเข้าถึงบริการของรัฐ
1.4 การพัฒนาทุนทางสังคม เป็นการประเมินวาระแห่งชาติในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ทั้งการพัฒนาศักยภาพคนและการยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งการพัฒนาทุนทางสถาบันและทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
1.5 การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการประเมินการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
1.6 การบริหารจัดการที่ดี เป็นการประเมินการบรรลุเป้าหมายและผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการบริหารการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ให้มีความเป็นไปได้และบรรลุผลในทางปฏิบัติ
2 ผลที่เกิดขึ้นในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
2.1 การพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคในช่วง 3 ปีแรก ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 กำหนดให้เศรษฐกิจส่วนรวมขยายตัวอย่างมีคุณภาพและมีเสถียรภาพ โดยกำหนดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 4-5 ต่อปี เพิ่มการจ้างงานใหม่ในประเทศไม่ต่ำกว่า 230,000 คนต่อปี มีอัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี และรักษาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ระดับเฉลี่ยประมาณร้อยละ 1-2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ลดการขาดดุลเงินสดของรัฐบาลให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 1-1.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภายในปี 2549 และบริหารหนี้สาธารณะของประเทศให้อยู่ในระดับประมาณร้อยละ 60-62 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ1 รวมทั้งรักษาระดับภาระหนี้ในงบประมาณให้อยู่ในระดับเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 16-18 ของงบประมาณรายจ่ายรวม ซึ่งสรุปผลการพัฒนาในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ดังนี้
(1) เศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงกว่าเป้าหมายและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในกรอบที่ตั้งไว้ ในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เศรษฐกิจไทยได้ปรับตัวดีขึ้นมากโดยขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.1 ต่อปี โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ในปี 2545 และร้อยละ 6.9 และ 6.1 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ เทียบกับเป้าหมายการขยายตัวร้อยละ 4--5 ต่อปีในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 แม้ว่าในช่วงดังกล่าวประเทศไทยจะต้องเผชิญกับปัจจัยลบที่ไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าหลายประการ ได้แก่ การระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) การระบาดของไข้หวัดนก ปัญหาภัยแล้ง และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและได้ปรับฐานขึ้นสูงกว่าในอดีตมาก
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2545-2547 ประกอบด้วย อุปสงค์ภายในประเทศ และการส่งออกที่ขยายตัวได้มากขึ้นตามลำดับ ภายใต้เงื่อนไขเศรษฐกิจโลกที่เป็นช่วงของการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและเศรษฐกิจโลกขยายตัวสูงสุด (cyclical peak) ในปี 2547 สำหรับเงื่อนไขและปัจจัยภายในประเทศที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมีการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสาขาการผลิตต่างๆ นั้นประกอบด้วย การดำเนินมาตรการเศรษฐกิจภายใต้กรอบนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (Dual Track) ซึ่งให้ความสำคัญทั้งการสร้างศักยภาพของเศรษฐกิจจากตลาดภายในประเทศและการเชื่อมโยงกับตลาดโลก ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวทั้งด้านการบริโภค การลงทุนในประเทศ และการส่งออก โดยรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการและสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยให้การสนับสนุนด้านวิทยาการและเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงแหล่งทุนผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสถาบันการเงินภายใต้การกำกับของรัฐ เช่น ธนาคารประชาชน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ขณะเดียวกันในช่วงเวลาดังกล่าว การดำเนินนโยบายการเงินได้มีการ ผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2545 ที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ต่ำกว่าร้อยละ 2 ต่อปี เป็นต้นมาและในช่วงปี 2546-2547 นั้นนับว่าอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ สำหรับด้านนโยบายการคลังได้มีการดำเนินมาตรการด้านภาษีอากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน อาทิ (1) การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดศุลกากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความคล่องตัวในการแข่งขัน โดยการแก้ไขปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษีระหว่างอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ (2) การใช้ภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุน โดยปรับปรุงอัตราเงินชดเชยค่าภาษีอากร ภาษีสรรพสามิต และการยกเว้นภาษีเงินปันผลให้กับบริษัทจำกัด และ (3) มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการขนส่งทางทะเล โดยปรับลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าเช่าเรือเดินทะเลจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 1 เป็นการชั่วคราว เป็นต้น
1 กระทรวงการคลัง โดยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทำกรอบความยั่งยืนทางการคลังในระยะ 5--10 ปี โดยกำหนดให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 55
ในด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยในด้านต่างประเทศการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง2 ณ สิ้นปี 2547 ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ระดับ 48.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นประมาณ 4.4 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ และเป็นการเคลื่อนไหวที่สะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น ส่วนเสถียรภาพภายในประเทศ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำตลอดช่วงปี 2545-2547 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในปี 2545 และร้อยละ 1.8 และ 2.7 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นทำให้สถานการณ์การจ้างงานดีขึ้น โดยมีอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 ของกำลังแรงงานรวมในปี 2546 และ 2547
(2) ปัจจัยที่สนับสนุนให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยสูงกว่าเป้าหมาย
ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจปี 2545-2547 ขยายตัวได้เฉลี่ยร้อยละ 6.1 ได้แก่ เศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงขยายตัวและมีช่วงสูงสุดในปี 2547 สำหรับภายในประเทศรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการเศรษฐกิจภายใต้กรอบนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน ซึ่งให้ความสำคัญต่อการเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจจากตลาดภายในประเทศและการเชื่อมโยงกับตลาดโลก ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวทั้งด้านการบริโภค การลงทุนในประเทศ และการส่งออก ในขณะที่การดำเนินโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ นโยบายการคลังผ่อนคลาย และการส่งเสริมการส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
2 ภายใต้การบริหารระบบอัตราแลกเปลี่ยนกึ่งลอยตัว (Managed Float)
(2.1) การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.8 ต่อปี โดยขยายตัวร้อยละ 5.3 ในปี 2545 และร้อยละ 6.4 และ 5.6 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ ปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญได้แก่ อัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา รายได้เพิ่มขึ้นจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการสร้างผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้น การปรับเงินเดือนและค่าจ้าง ผลประกอบการและการจ่ายปันผลภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มขึ้น ตามลำดับ และราคาพืชผลและรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาสินค้าส่งออกที่เพิ่มเร็วกว่าราคาสินค้านำเข้าทำให้รายได้สุทธิเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการใช้จ่ายของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อรายได้และอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังปี 2547 ทำให้การบริโภคสินค้ากลุ่มนี้ชะลอตัวลง
(2.2) การลงทุนภาคเอกชน เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15.4 ต่อปี โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 และ 17.5 ในปี 2545 และ 2546 ตามลำดับ โดยเป็นการลงทุนด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นมากในปี 2545-2546 เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากแรงกระตุ้นของอัตราดอกเบี้ยต่ำ และมาตรการรัฐบาลเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตามการลงทุนด้านการก่อสร้างปี 2547 เริ่มชะลอตัว เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้น ประกอบกับฐานความต้องการที่สูงมากในปี 2546 สำหรับการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นสูงในปี 2545-2546 เพื่อซ่อมแซมเครื่องจักรและขยายกำลังการผลิตในบางสาขา อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ และเซรามิกส์ เป็นต้น สำหรับปี 2547 การลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวสูงต่อเนื่องร้อยละ 15.3
(2.3) ภาคการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกขยายตัวได้ดีขึ้นตามลำดับตั้งแต่ปี 2545 จากการที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นเร็วตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาสินค้านำเข้า ทำให้ดุลการค้ายังเกินดุลตลอดช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 แต่อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2547 ราคานำเข้าสินค้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคาสินค้าส่งออก เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นสูงมาก
มูลค่าการส่งออก ในปี 2545 เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว นำโดยเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และเศรษฐกิจจีนที่ได้รับประโยชน์จากการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก และปี 2546-2547 เศรษฐกิจโลกขยายตัวดีขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐฯ จีน และกลุ่มประเทศเอเซีย ทำให้ประเทศไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากทั้งในด้านราคาและปริมาณ มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 และ 23.0 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นต้น
มูลค่าการนำเข้า เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 ตามการลงทุนและการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีการนำเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นสูง ประกอบกับราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมากในปี 2546 และ 2547 โดยเฉพาะปี 2547 ราคาน้ำมันดิบแหล่งโอมานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.6 ทั้งนี้การนำเข้าเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าทุนประเภทเครื่องจักร แผงวงจรไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน ยานยนต์และส่วนประกอบ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่สำคัญ คือ เหล็กและเหล็กกล้า และสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทคงทน อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น
(3) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจมีความมั่นคง
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยมีความมั่นคงและเป็นไปตามเป้าหมายของแผนฯ 9 โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 4.5 ของ GDP ในปี 2547 อัตราการว่างงานลดลง อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลซึ่งใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะแรกของแผนฯ 9 เริ่มขาดดุลลดลงตั้งแต่ปี 2546 เมื่อเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นในปี 2546-2547 ทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงเหลือร้อยละ 47.8 ในปี 2547 จากร้อยละ 56.5 ในปี 2544
(3.1) ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลในช่วง 3 ปีแรกของแผนฯ 9 แม้ว่าตลอดช่วง 3 ปีแรกของแผนฯ 9 ปริมาณการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปริมาณการส่งออก แต่ราคาส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากกว่าราคาสินค้านำเข้าโดยเฉลี่ย ทำให้โดยรวมประเทศไทยได้เปรียบอัตราการค้า (Term of Trade)
แต่อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นมากในปี 2547 ทำให้ความได้เปรียบอัตราการค้าเริ่มลดลงและดุลการค้าเกินดุลลดลงจาก 3.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2546 เป็น 1.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2547 แต่เมื่อรวมกับดุลบริการบริจาคและเงินโอนที่เกินดุลเพิ่มขึ้นตามรายรับด้านการท่องเที่ยวและการขนส่งที่เพิ่มขึ้นมากทำให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงไม่มากจากการเกินดุล 8.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2546 เป็น 7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในปี 2547 หรือคิดเป็นการเกินดุลร้อยละ 4.5 ของ GDP
(3.2) ฐานะการคลัง ในปีงบประมาณ 2545-2547 รัฐบาลกำหนดกรอบงบประมาณในลักษณะที่เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยการตั้งงบประมาณประจำปีแบบขาดดุล แต่ได้ให้ความสำคัญในการรักษาความยั่งยืนทางการคลังมากขึ้นตามลำดับ ด้านการจัดเก็บรายได้มีสัดส่วนภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคเพิ่มขึ้นในขณะที่ภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศมีสัดส่วนน้อยลง เนื่องจากมีการลดอัตราอากรขาเข้าภายใต้กรอบข้อตกลงการค้าเสรีมากขึ้น โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2547 และสามารถจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและประสิทธิภาพการจัดเก็บเพิ่มขึ้น ในขณะที่ในด้านการใช้จ่ายนั้นมีความล่าช้าในการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2546 ขณะที่มีการเร่งการใช้จ่ายในปี 2547 ทำให้ดุลงบประมาณขาดดุล 14.2 พันล้านบาท และเมื่อรวมการขาดดุลนอกงบประมาณจำนวน 55.5 พันล้านบาท จากการไถ่ถอนพันธบัตรในประเทศ 26.5 พันล้านบาท และการไถ่ถอนหุ้น Tier I 25.1 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดปี 2547 ขาดดุล 69.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.1 ของ GDP
(4) การจ้างงานโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกสาขาเศรษฐกิจ
การจ้างงานเพิ่มขึ้นมากตามภาวะการผลิตและการลงทุนที่ขยายตัวดี จาก 32.997 ล้านคน ในปี 2545 เป็น 33.815 และ 35.824 ล้านคน ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.8 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 2.24 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 2.02 และ 1.98 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ คิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 708,000 คน ส่วนแรงงานที่ทำงานต่ำระดับ (น้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และพร้อมที่จะทำงานเพิ่ม) ได้ลดลงในช่วง 2 ปีแรกของแผนฯ 9 จากประมาณ 837 พันคน เหลือ 781 และ 643 พันคน ในปี 2545 และ 2546 ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นเป็น 741 พันคน ในปี 2547 สำหรับจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเพิ่มขึ้นจาก 6.9 ล้านคน ณ สิ้นปี 2545 เป็น 7.4 และ 7.8 ณ สิ้นปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ
2.2 ผลการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ประการหนึ่งที่มุ่งการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เข้าสู่สมดุลและยั่งยืน โดยรัฐบาลได้เห็นความจำเป็นที่ต้องเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิตให้แข่งขันได้ในเวทีโลกและปรับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ จึงได้กำหนดให้การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นวาระแห่งชาติ โดยกำหนดเป้าหมายให้มีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจทั้งภาคการผลิต การค้า และบริการ ให้การส่งออกสินค้าขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของภาคเกษตรขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 2.0 ต่อปี และภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.5 ต่อปี เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคเกษตรให้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.5 ต่อปี และในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.5 ต่อปี ให้ผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี และเพิ่มรายได้การท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเฉลี่ยร้อยละ 7-8 ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวในประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี ตลอดจนสร้างความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือให้ภาครัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายการวิจัยและพัฒนาไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.5 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี สำหรับผลการดำเนินงานที่สำคัญในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้
(1) ความสามารถในการแข่งขันของประเทศดีขึ้นเล็กน้อย ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานและประสิทธิภาพของรัฐบาลยังคงเป็นปัจจัยถ่วง ในระยะ 3 ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย โดยผลการจัดอันดับของสถาบันนานาชาติเพื่อพัฒนาด้านการจัดการ (International Institute for Management Development : IMD) ในปี 2547 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 29 ซึ่งดีขึ้นจากอันดับที่ 30 ในปี 2546 และอันดับที่ 31 ในปี 2545 จากการจัดอันดับรวม 60 ประเทศ โดยเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของปัจจัยด้านสมรรถนะเศรษฐกิจโดยรวม และประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ขณะที่ปัจจัยด้านโครงสร้างด้านพื้นฐานและประสิทธิภาพของรัฐบาลยังคงเป็นปัจจัยที่เหนี่ยวรั้งการพัฒนาข ดความสามารถของไทยอย่างไม่เปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ เนื่องจากการดำเนินงานเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน และการเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐบาลยังมีความล่าช้า ทำให้หลายปัจจัยในโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการของภาครัฐยังอยู่ในภาวะอ่อนด้อย โดยเฉพาะด้านคุณภาพการศึกษา สุขภาพของประชาชน และสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อศักยภาพของคน ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งการวิจัยและพัฒนายังทำได้น้อย ทำให้ภาคการผลิตของไทยไม่เข้มแข็ง และเป็นข้อจำกัดต่อการเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันของประเทศ
(2) การพัฒนาภาคการผลิตได้ผลดีในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ส่วนภาคเกษตรยังคงมีผลิตภาพการผลิตต่ำกว่าเป้าหมาย การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในอัตราค่อนข้างสูงเฉลี่ยร้อยละ 6.1 ต่อปี ในช่วงปี 2545-2547 เป็นผลจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม การค้าและบริการ ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับการขยายตัวของภาคเกษตรค่อนข้างมีความผันผวนจากผลกระทบ ทั้งด้านอากาศและการระบาดของไข้หวัดนก ขณะที่การเพิ่มผลิตภาพการผลิตยังทำได้ต่ำกว่าเป้าหมาย
(2.1) ภาคอุตสาหกรรมยังมีการขยายตัวได้สูงกว่าเป้าหมาย โดยในช่วงปี 2545-2547 เศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นมาก และจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศได้ส่งผลต่อเนื่องทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวมากขึ้น ทั้งกลุ่มการผลิตเพื่อขายภายในประเทศและการผลิตเพื่อส่งออก อาทิ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ยานยนต์ ยาง เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร และอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 6.9 10.4 และ 8.3 ในปี 2545 2546 และ 2547 ตามลำดับ แม้ว่าในปี 2547 การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมจะชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการภายในประเทศโดยเฉพาะด้านยานยนต์ลดลง แต่ในภาพรวมการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมยังคงสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดให้มีการขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.5 ต่อปี
(2.2) การส่งออกสินค้าขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวจากร้อยละ 4.6 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 18.6 และ 23.0 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ เนื่องจาก เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวและดีขึ้นเป็นลำดับในปี 2546 และ 2547 โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจจีน ซึ่งได้รับผลบวกจากการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก ประกอบกับความคืบหน้าของการค้าในภูมิภาคเอเชียด้วยกันเอง ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งพืชผลทางการเกษตรประสบภัยแล้งในหลายประเทศ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นในปี 2546-2547
(2.3) ภาคเกษตรสถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง ผลิตภาพการผลิตรวม ลดลงมากในปี 2547 การขยายตัวของภาคเกษตรในช่วงปี 2545-2547 มีความผันผวนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในปี 2547 ที่ภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 4.4 จากที่เคยขยายตัวถึงร้อยละ 8.7 ในปี 2546 ทั้งนี้ เนื่องจากผลผลิตที่สำคัญได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศและโรคระบาด อาทิ อ้อยและข้าวนาปี ลดลงจากผลกระทบภัยแล้ง ผลผลิตไก่เนื้อและไข่ไก่ลดลงจากปัญหาไข้หวัดนก ทั้งนี้ในช่วงเวลา ดังกล่าวผลิตภาพการผลิตรวม (Total Factor Productivity : TFP) สาขาเกษตรยังลดลงร้อยละ 1.25 โดยลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 7.53 ในปี 2547 สะท้อนถึงความจำเป็นต้องเร่งพัฒนา เทคโนโลยีการเกษตรและการบริหารจัดการในภาคเกษตร ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อ
ผลักดันการเพิ่มผลิตภาพการผลิตภาคเกษตรให้บรรลุเป้าหมาย พร้อมทั้งยกระดับการผลิตภาคเกษตร ให้มีสมรรถนะในการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรไทยมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย
(2.4) การท่องเที่ยวยังสามารถสร้างรายได้ให้เศรษฐกิจไทยได้สูงกว่า เป้าหมาย แม้จะชะลอตัวลงบ้างในปี 2546 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย อาทิ สถานการณ์สงครามอิรัก-สหรัฐฯ และการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ใน ภูมิภาคเอเชีย ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงมาก ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติในปี 2546 ลดลงถึงร้อยละ 4.4 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ ระบาดของโรคอย่างได้ผล ประกอบกันการเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยมาตรการต่างๆ ทำให้ สถานการณ์การท่องเที่ยวปรับตัว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงปลายปี 2547 จะ ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัยสึนามิ แต่ในภาพรวมของรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติใน ปี 2547 ยังคงขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 32.6 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
(3) การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความสามารถทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยียังต่ำกว่าเป้าหมายค่อนข้างมาก โดยในปี 2545 ค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาของ ไทยเป็นวงเงินรวม 13,302 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและในปี 2546 ได้จัดสรรเพิ่มขึ้นเป็น 15,499 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งยังต่ำกว่า เป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่กำหนดให้ค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาเป็นร้อยละ 0.4 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แม้ว่าภาครัฐและภาคเอกชนจะมีแนวโน้มลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา เพิ่มขึ้นแต่การลงทุนของภาคเอกชนยังมีสัดส่วนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับภาครัฐ โดยในปี 2546 ภาคเอกชน ลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาร้อยละ 0.11 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เทียบกับร้อยละ 0.15 ของ การลงทุนภาครัฐในช่วงเวลาเดียวกัน โดยคิดเป็นสัดส่วนภาครัฐต่อภาคเอกชนเป็น 56 : 44
2.3 ผลการแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้
(ยังมีต่อ)