ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองปี 2551 ในด้านต่าง ๆ เป็นดังนี้
- การใช้จ่ายครัวเรือน: ขยายตัวใกล้เคียงไตรมาสที่แล้วในไตรมาสที่สองของปี 2551 การใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสแรก โดยปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวในไตรมาสที่สองนี้ ได้แก่รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.2 ตามปริมาณและราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 และมาตรการภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนภายใต้กรอบมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมทั้งผลของการปรับเพิ่มเงินเดือนเพื่อช่วยค่าครองชีพในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วอย่างไรก็ตามมีแรงกดดันจากด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 7.5 ในไตรมาสนี้ ประกอบกับความเชื่อมั่นประชาชนที่ลดลงจากความไม่มั่นใจเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตสถานการณ์ทางการเมือง และความไม่สงบในภาคใต้ ทำให้การใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวได้ไม่เต็มที่
รายการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมากค่อนข้างกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มสินค้าคงทน การใช้จ่ายซื้อสินค้าประเภทคงทนขยายตัวร้อยละ 10.6 ใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว จากการใช้จ่ายซื้อสินค้าประเภท รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน (อาทิ เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว พัดลม ตู้เย็น เป็นต้น) เพิ่มขึ้น สำหรับการใช้จ่ายซื้อสินค้ากึ่งคงทน สินค้าอาหาร ขยายตัวร้อยละ 3.3 และ 1.9 ตามลำดับ ชะลอตัวลงซึ่งเป็นผลจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในหมวดอาหาร สำหรับการใช้จ่ายซื้อสินค้าบริการทรงตัวจากไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว
รวมครึ่งแรกของปี การใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เป็นการใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทน สินค้ากึ่งคงทน และอาหารร้อยละ 10.3 3.5 และ 2.6 ตามลำดับ ส่วนการใช้จ่ายซื้อสินค้าบริการลดลงร้อยละ 0.9
- การลงทุนภาคเอกชน: ชะลอตัวลง โดยมีแรงกดดันด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นนักธุรกิจลดลงการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่สองขยายตัวร้อยละ 4.3 เทียบกับร้อยละ 6.5 ในไตรมาสที่แล้ว โดยมีแรงกดดันด้านต้นทุนเพิ่มขึ้นทั้งจากราคาน้ำมัน ราคาวัตถุดิบ ราคาวัสดุก่อสร้าง และค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงภาวะการเมืองที่มีความไม่แน่นอนทำให้ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการลดลงอย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยพื้นฐานที่สนับสนุน ประกอบด้วยอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ยังคงต่ำ และอัตราการใช้กำลังการผลิตของหลายอุตสาหกรรมที่เกือบเต็มกำลัง อาทิ กระดาษและผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ หัวอ่านข้อมูล เป็นต้น ประกอบกับมาตรการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและ SMEs และมาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุน และมาตรการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน(ข) ยังช่วยสนับสนุนให้การลงทุนยังคงขยายตัวได้
ทั้งนี้การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ขยายตัวร้อยละ 5.2 โดยมีการนำเข้าสินค้าทุน (ณ ราคาปี 2543) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรกลไฟฟ้า เครื่องจักรกลอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ทำจากโลหะ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ (ณ ราคาปี 2543)ในช่วงเดือนเมษายน — พฤษภาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ส่วนการซื้อรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ลดลงร้อยละ 5.7 สำหรับการลงทุนก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.3 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่แล้ว จากการลงทุนก่อสร้างอาคารพาณิชย์ที่ยังขยายตัวสูงร้อยละ 9.8 และการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 6.4 จากที่ลดลงในช่วง 2 ไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการขยายตัวของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยเฉพาะประเภทคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้า สำหรับการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และการก่อสร้างประเภทอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 10.8 และ 14.9 ตามลำดับ
รวมครึ่งแรกของปี 2551 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.4 โดยการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ร้อยละ 6.7 และการลงทุนก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 0.8 แยกเป็นการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ และที่อยู่อาศัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 และ 0.6 ตามลำดับ การก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และการก่อสร้างประเภทอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 2.5 และ 3.1 ตามลำดับ
- มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูง โดยราคาเพิ่มขึ้นมาก แต่ปริมาณเร่งตัวขึ้นเล็กน้อย ในไตรมาสที่สองของปี 2551 การส่งออกยังคงขยายตัวได้สูง โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 26.3 ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เทียบกับร้อยละ 9.9 ในไตรมาสที่แล้วในขณะที่ปริมาณขยายตัวร้อยละ 12.3 ใกล้เคียงกับร้อยละ 11.8 ในไตรมาสที่แล้ว เมื่อคิดในรูปเงินบาท มูลค่าส่งออกในไตรมาสที่สองขยายตัวร้อยละ 16.7 และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.9 เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
- สินค้าเกษตร: ราคาส่งออกเร่งตัวขึ้นมาก ในไตรมาสที่สอง มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 64.2 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 45.9 ในไตรมาสแรกของปี 2551 โดยราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.5 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 26.5 ในไตรมาสที่แล้ว โดยราคาส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญเพิ่มขึ้นทุกสินค้า ทั้งข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โลกประกอบกับมีความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตอาหารโลกสำหรับปริมาณส่งออกขยายตัวร้อยละ 7.7 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 15.3 ในไตรมาสที่แล้ว จากปริมาณการส่งออกข้าวที่ชะลอตัวลง และปริมาณการส่งออกมันสำปะหลัง และข้าวโพดที่ลดลง
- สินค้าอุตสาหกรรม: ราคาและปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสินค้าส่งออกมีลักษณะการขยายตัวเป็นวงกว้าง (broad base) มากขึ้น ในไตรมาสที่สองมูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 24.3 ราคาและปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 และ 14.8 ตามลำ ดับ สินค้าส่งออกสำ คัญที่ยังขยายตัวได้สูงได้แก่ รถยนต์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องป ระดับ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แต่อย่างไรก็ตามเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัว นอกจากนี้การส่งออกอื่นๆ อาทิ น้ำ มันสำ เร็จรูป เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางเครื่องสำอางค์/สบู่/ผลิตภัณฑ์รักษาผิว เลนส์ เป็นต้น ขยายตัวได้สูงและสามารถชดเชยการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าหลักได้ สำหรับสินค้าส่งออกที่ยังลดลงได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ
หมายเหตุ (ข) มาตรการวันที่ 4 มีนาคม 2551 โดยมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน และ SMEs ประกอบด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แก่ห้างหุ้นส่วนที่มิใช่นิติบุคคลตาม พรบ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน และมีเงินได้ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคล สำหรับกำไรสุทธิในส่วน 150,000 แรก (เดิมต้องเสีย 15%) แก่บริษัทหรือห้าง นิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท (SME ที่เข้าเกณฑ์ประหยัดรายจ่าย รายละ 22,500 บาท) และมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุน/เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ การให้บริษัทหรือห้างนิติบุคคลสามารถหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรได้มากขึ้น การยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายเพื่อติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน การที่บริษัทหรือห้างนิติบุคคล สามารถหักค่าเสื่อมราคา Software ได้ภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีการลดภาษีธุรกิจเฉพาะจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 0.1 สำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ และการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนและการจดทะเบียนจำนอง อสังหาริมทรัพย์จากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 0.01
การใช้กำลังการผลิต
2550 2551
(ร้อยละ) ทั้งปี H1 Q3 Q4 Q1 Q2 H1
อัตราการใช้กำลังการผลิตรวม 74.4 73.9 73.7 76.1 76.7 72.3 74.5
เครื่องดื่ม 81.5 81.4 76.5 86.8 87.6 81.1 84.4
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 90.8 90.1 91.0 91.9 92.0 91.5 91.7
ผลิตภัณฑ์เคมี 95.9 90.4 101.0 101.8 92.6 95.8 94.2
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 88.2 87.5 90.8 87.1 88.8 89.8 89.3
วัสดุก่อสร้าง 78.4 78.4 80.6 76.1 79.7 73.1 76.4
ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง 72.6 68.9 75.7 76.9 78.0 76.9 77.4
ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ 79.3 72.2 81.5 91.1 81.0 79.3 80.2
ส่งออก
ส่งออก 30 — 60% ของผลผลิต 69.6 71.4 65.9 69.7 80.7 64.5 72.6
ส่งออก >60% ของผลผลิต 71.1 70.0 69.7 74.6 67.6 65.0 66.3
การส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ
การส่งออก 2550 2551
(%YOY) ทั้งปี H1 Q3 Q4 Q1 Q2 H1
ข้าว มูลค่า 34.2 16.9 59.4 108.1 156.0 134.7 34.2
ราคา 9.5 7.3 4.2 13.6 90.9 51.7 9.5
ปริมาณ 22.7 7.7 53.1 82.7 35.3 56.1 22.7
ยางพารา มูลค่า 4.5 -6.4 17.8 33.6 30.5 32.1 4.5
ราคา 7.1 -7.2 27.0 33.8 26.9 30.1 7.1
ปริมาณ -3.0 0.6 -7.4 0.0 2.9 1.3 -3.0
มันสำปะหลัง มูลค่า 23.1 -1.1 13.0 13.5 20.0 16.3 23.1
ราคา 24.5 40.5 55.4 58.9 61.9 60.6 24.5
ปริมาณ 3.8 -29.7 -27.2 -29.3 -25.5 -27.8 3.8
ข้าวโพด มูลค่า 48.6 296.4 -9.7 229.6 -6.6 110.8 48.6
ราคา -7.0 -41.4 37.9 15.0 186.3 110.3 -7.0
ปริมาณ 22.7 395.3 -34.4 181.1 -43.5 82.6 22.7
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
2550 2551
(%YOY) ทั้งปี H1 Q3 Q4 Q1 Q2 สัดส่วน
ตลาดหลัก 10.9 2.4 17.3 12.2 20.7 16.5 52.0
สหรัฐฯ -1.3 -9.3 5.2 7.2 6.2 6.7 11.3
ญี่ปุ่น 9.7 1.9 11.9 6.3 19.8 13.0 11.3
EU (15) 15.5 10.4 7.6 11.7 8.3 10.0 12.1
อาเซียน (5) 19.6 8.5 41.3 21.8 42.9 32.9 17.2
ตลาดอื่นๆ 25.6 22.2 30.8 31.7 30.6 31.1 48.0
ฮ่องกง 19.7 23.6 39.3 46.3 34.0 39.9 5.9
ไต้หวัน -1.5 -22.4 -5.4 -26.7 -13.3 -20.5 1.7
เกาหลีใต้ 11.1 5.1 12.1 13.9 12.2 13.0 1.8
ตะวันออกกลาง 29.0 31.7 32.2 23.9 31.3 27.8 5.2
อินเดีย 47.1 62.8 56.7 17.0 24.4 31.6 1.8
จีน 26.4 25.8 25.4 34.2 21.5 27.4 9.6
- ตลาดส่งออก: ขยายตัวได้ดีทั้งตลาดส่งออกหลักและตลาดส่งออกอื่น ๆ มูลค่าส่งออกไปยังตลาดหลักขยายตัวร้อยละ 20.7 โดยตลาดญี่ปุ่นและตลาดอาเซียน(5) ขยายตัวสูงร้อยละ 19.8 และ 42.9 ตามลำดับสำหรับตลาดสหรัฐขยายตัวร้อยละ 6.2 ใกล้เคียงไตรมาสที่แล้ว แต่ตลาดสหภาพยุโรปชะลอตัวลง โดยขยายตัวร้อยละ 8.3 เนื่องจากปัญหา sub-prime ของสหรัฐฯที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปชัดเจนมากขึ้น สำหรับการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ31.1 โดยตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ จีน อินเดีย ฮ่องกง ทวีปออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก
- รวมครึ่งแรกของปี มูลค่าส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สรอ. ขยายตัวร้อยละ 24.7 ราคาและปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 และ 12.0 ตามลำดับ เมื่อคิดในรูปเงินบาท มูลค่าส่งออกขยายตัวร้อยละ 17.8 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9
(ยังมีต่อ).../-การนำเข้าชะลอตัวลง..