(ต่อ2)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง และแนวโน้มปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 5, 2008 14:42 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          - การนำเข้าชะลอตัวลง ในไตรมาสที่สองของปี 2551 มูลค่านำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ ขยายตัวร้อยละ 29.3 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 
35.1 ในไตรมาสที่แล้ว โดยเป็นการชะลอตัวลงในทุกหมวด ยกเว้นหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่ขยายตัวได้ใกล้เคียงไตรมาสที่แล้วตามความ
ต้องการของการผลิตเพื่อส่งออก ราคานำเข้ายังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 17.7 ตามราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นสำคัญ ในขณะที่ปริมาณนำเข้าขยาย
ตัวร้อยละ 9.9 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 16.9 ในไตรมาสที่แล้วซึ่งเป็นการชะลอตัวตามภาวะการลงทุนภายในประเทศเป็นสำคัญ และเมื่อคิดในรูปเงิน
บาท มูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 20.4 ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6
- สินค้าทุน: มูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 17.3 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 39.4 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นการชะลอตัวลงตาม
ภาวะการลงทุนภายในประเทศที่ลดลง ปริมาณการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 11.1 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6
- สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป: มูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 27.9 ใกล้เคียงกับการขยายตัวร้อยละ 26.0 ในไตรมาสที่
แล้ว โดยเป็นการขยายตัวตามความต้องการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกที่ยังขยายตัวสูง ทั้งนี้ปริมาณการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 14.2 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ
12.0
- สินค้าเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น: มูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 51.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 68.5 ในไตรมาสที่แล้ว
โดยราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.1 เป็นการเพิ่มขึ้นตามราคานำเข้าน้ำมันดิบที่ยังเพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 70.24 แต่ปริมาณการนำเข้าสินค้าโดยรวมลดลง
ร้อยละ 1.2 โดยที่ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 8.1 เนื่องจากได้มีการนำเข้าน้ำมันดิบในปริมาณที่มากในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา จากการคาด
การณ์ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องและค่าการกลั่นที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมันทำให้จูงใจในการกลั่นเพื่อส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป
- สินค้าอุปโภคบริโภค: มูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 32.6 ปริมาณขยายตัวร้อยละ 26.1 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2
ทั้งนี้ค่าเงินบาทโดยเฉลี่ยที่แข็งค่าขึ้นกว่าในปีที่แล้วยังจูงใจให้ผู้บริโภคในกลุ่มที่มีอำนาจซื้อสูงจับจ่ายใช้สอยต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่
แท้จริงยังต่ำจึงจูงใจให้กลุ่มผู้มีเงินออมสูงใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
- สินค้าที่มูลค่านำ เข้าเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ น้ำ มันดิบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องจักรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะ
ผลิตภัณฑ์ทำจากยาง เคมีภัณฑ์ เหล็กสินแร่โลหะอื่น ๆ เครื่องเพชรพลอย/อัญมณี ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช ด้ายและเส้นใย เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ
ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม นาฬิกาและส่วนประกอบ เป็นต้น
- รวมครึ่งแรกของปี มูลค่านำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 32.0 ปริมาณขยายตัวร้อยละ 13.3 และราคา
เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เมื่อคิดเป็นรูปเงินบาทมูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 21.7 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4
- อัตราการค้า (Term of Trade) ลดลง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ราคานำเข้าเฉลี่ยในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 17.7 ซึ่งยังคงเร็วกว่าราคาส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ส่วนหนึ่งเนื่องจากราคานำเข้าน้ำมันยังคงเพิ่มขึ้นสูงมากซึ่งแม้ว่าราคาสินค้าเกษตร
ในไตรมาสที่สองจะเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน แต่สัดส่วนการนำเข้าน้ำมันต่อการนำเข้ารวมนั้นสูงกว่าพืชเกษตรส่งออกต่อมูลค่าการส่งออกรวม
- ดุลการค้ากลับมาเกินดุล ในไตรมาสที่ 2 ดุลการค้าเกินดุล 425 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 15,542 ล้านบาท)
เทียบกับที่ขาดดุล 109 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 3,834 ล้านบาท) ในไตรมาสที่แล้ว รวมครึ่งแรกของปีดุลการค้าเกินดุล 316 ล้านดอลลาร์
สรอ. หรือเท่ากับ11,708 ล้านบาท
- ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล จากดุลบริการ รายได้และเงินโอนสุทธิที่ขาดดุลจำ นวน 733 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่
สอง ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 308 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเท่ากับ 8,246 ล้านบาท รวมครึ่งแรกของปีดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล 2,760
ล้านดอลลาร์สรอ. หรือเท่ากับ 91,411 ล้านบาท
- ด้านการผลิต:
- สาขาเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 6.5 สูงกว่าร้อยละ 3.5 ในไตรมาสแรก และการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.9 ในทั้ง
ปี 2550 ผลผลิตพืชผลสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวอ้อย และปาล์มน้ำมัน รวมทั้งผลผลิตยางพาราก็ยังเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของ
ราคาข้าวตั้งแต่ต้นปี ทำให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย สำหรับพืชผล
เกษตรที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดและยางพารา การที่ผลผลิตข้าวโลกลดลง และมีการเข้มงวดการส่งออกของ
ประเทศผู้ส่งออก ประกอบกับประเทศผู้นำเข้าเริ่มไม่มั่นใจในความมั่นคงของอาหารทำให้อุปสงค์ในการนำเข้าสูงขึ้น ส่งผลให้การส่งออกข้าวไทยเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 61.43 ในไตรมาสสอง รวมครึ่งแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.1 ส่วนราคาพืชน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากอุปสงค์ของพืชน้ำมันสำหรับการผลิต
พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น การที่ระดับราคาสินค้าเกษตรโดยรวมเพิ่มขึ้นและปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้รายได้ของเกษตรกรในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ
53.2 รวมครึ่งแรกของปีสาขาเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 4.9
- สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 8.0 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 ในไตรมาสแรก ตามภาวะการ
ชะลอตัวของการใช้จ่ายในประเทศ และการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหลัก ประเภทสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วน
ประกอบ ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตที่หดตัวมากได้แก่ การผลิตเครื่องเรือนไม้สำหรับส่งออก เนื่องจากตลาดสหรัฐที่เป็นตลาดหลัก ประสบกับปัญหาวิกฤติ
อสังหาริมทรัพย์ และในไตรมาส 2 กำ ลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับร้อยละ 72.3 เทียบกับร้อยละ 73.5 ในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
รวมครึ่งแรกของปีสาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 9.0
- สาขาก่อสร้าง หดตัวร้อยละ 3.9 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสแรก ทำให้ในช่วงครึ่งแรกของปีสาขาก่อ
สร้างหดตัวร้อยละ 1.4 สาเหตุการหดตัวสาขาก่อสร้างในไตรมาสที่สองเนื่องมาจากการก่อสร้างภาครัฐลดลง ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวเล็ก
น้อย โดยที่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์มีการขยายตัว การหดตัวของการก่อสร้างนั้นเป็นผลกระทบจากการที่ราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นมาก
เป็นสำ คัญโดยเฉพาะราคาเหล็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.5
- สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 5.0 แต่เป็นการขยายตัวที่ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 8.3 ในไตร
มาสแรก แม้ว่าจำ นวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 15.0 แต่อัตราการเข้าพักยังทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้วในระดับร้อยละ
54.5 การชะลอตัวของสาขานี้เป็นเพราะราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งราคาอาหาร ค่าใช้จ่ายเดินทาง และราคาน้ำมัน ส่งผลกระทบต่อรายจ่ายนักท่อง
เที่ยวทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ประกอบกับค่าเงินบาทโดยเฉลี่ยที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทำให้คนไทยเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น
- สาขาการเงิน ขยายตัวร้อยละ 8.9 เนื่องจากสินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ ซึ่งสะท้อนถึง
ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนตามต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่สูงขึ้น ส่วนที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและการเช่าซื้อรถยนต์
เป็นหลัก ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ยังเพิ่มขึ้นแต่อย่างไรก็ตามอัตราการขยายตัวชะลอลง
เล็กน้อยจากร้อยละ 9.6 ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นช่วงของการเจริญเติบโตจากฐานที่ต่ำมากในไตรมาสแรกปี 2550
- ประสิทธิภาพการใช้น้ำมันโดยรวมดีขึ้นบนพื้นฐานของโครงสร้างการใช้พลังงานที่มีความสมดุลและยืดหยุ่นมากขึ้น
- สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประสิทธิภาพการใช้น้ำ มันโดยรวมปรับตัวดีขึ้น
โดยไตรมาสที่สองของปี 2551 สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 0.947 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกเล็กน้อย แต่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่สอง
ของปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ0.9806 ในขณะที่สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 อยู่ที่ ร้อยละ 0.933 ลดลงจากร้อยละ
0.9734 ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 นอกจากดัชนีซึ่งแสดงการใช้น้ำมันโดยรวมแล้ว การที่ผู้บริโภคในทุกภาคส่วนมีการปรับเปลี่ยนไปสู่พลังงาน
ทางเลือกที่มีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินและดีเซลธรรมดา ส่งผลให้ต้นทุนการใช้น้ำมันต่อการสร้างมูลค่า GDP ลดลง ซึ่งเป็นการแสดงประสิทธิภาพการใช้
น้ำมันที่ปรับตัวดีขึ้นอีกด้านหนึ่งด้วย
การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(% YoY) 2550 2551
ทั้งปี H1 Q3 Q4 Q1 Q2 H1
น้ำมันเบนซิน 1.69 2.11 4.39 -1.71 -1.92 -5.22 -3.58
ออกเทน(91 + 95) -6.10 -0.20 -4.70 -18.78 -26.42 -32.01 -29.17
แก๊สโซฮอล์ 37.79 12.91 46.23 77.03 111.95 94.07 102.15
น้ำมันดีเซล 2.13 0.73 5.61 1.81 -0.37 -3.99 -2.15
หมุนเร็ว+หมุนช้า -1.22 -1.17 1.78 -4.15 -10.23 -20.44 -15.22
หมุนเร็ว บี5 1360.62 1081.61 1768.31 1391.93 787.29 645.00 693.64
ก๊าซแอลพีจี 14.30 12.59 13.59 18.15 17.59 20.82 19.24
NGV 117.61 102.92 113.29 139.80 190.52 220.18 206.97
ที่มา:กระทรวงพลังงาน
- สถานการณ์การใช้น้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศ: ปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ใน
ไตรมาสที่สองปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.7 หรือมีปริมาณการใช้ประมาณ 8.4 ล้านลิตรต่อวัน (คิดเป็นร้อยละ 42 ของปริมาณการใช้
เบนซินทั้งหมด) ในขณะที่ปริมาณการใช้ไบโอดีเซล (บี5) เพิ่มขึ้นร้อยละ 645 โดยมีปริมาณการใช้อยู่ที่ประมาณ 9.7 ล้านลิตรต่อวัน สำหรับพลังงาน
ทางเลือกชนิดอื่นๆ เช่น ก๊าซแอลพีจีและก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ ปริมาณการใช้ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่สองปริมาณการใช้
เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 และร้อยละ 220.2 ตามลำดับ ในขณะเดียวกันปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปชนิดอื่น เช่น น้ำมันเบนซิน 95 และ 91 น้ำมันดีเซล
หมุนเร็ว ลดลงมากในอัตราร้อยละ 70.3 22.4 และ 20.5 ตามลำดับ สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคไปสู่
พลังงานทางเลือกที่มีราคาถูกกว่าราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลธรรมดาที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นทำ สถิติใหม่อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันจากราคาน้ำมันที่
ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นนั้น ยังส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศให้มีความเหมาะสมมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น ในอดีตนั้นรัฐบาล
มีนโยบายในการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลเนื่องจากเห็นว่าเป็นน้ำมันที่ใช้ในเชิงพาณิชย์และการขนส่งเป็นหลัก จากนโยบายดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนทั่ว
ไปหันมาใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณการจำหน่ายรถปิคอัพที่เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อย่างไร
ก็ตามเมื่อราคาน้ำมันดีเซลเริ่มปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2548 หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล จนกระทั่งช่วงต้นปีที่ผ่านมาราคาน้ำมัน
ดีเซลปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากและสูงกว่าราคาน้ำ มันเบนซิน ส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มปรับเปลี่ยนการใช้ไปสู่พลังงานชนิดอื่นมากขึ้น เห็นได้จากปริมาณการจำ
หน่ายรถปิคอัพที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วง 1-2 ไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังคงต้องให้ความสำคัญในการดูแลโครงสร้างการใช้ผลิตภัณฑ์
ปิโตรเลียมต่างๆ ให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ก๊าซแอลพีจีที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้องมีการนำเข้าเพิ่ม
มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ: อัตราการว่างงานต่ำ แต่แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาก และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง
-เงินเฟ้อ: แรงกดดันจากราคาอาหารและเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น ในไตรมาสที่สองเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 7.5 เพิ่มขึ้นต่อ
เนื่องจากร้อยละ 5.0 ในไตรมาสแรกของปีโดยแรงกดดันเงินเฟ้อในไตรมาสนี้ยังคงมาจากการปรับราคาสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่มิใช่แอลกอฮอล์
และการปรับราคาสินค้าหมวดยานพาหนะขนส่งและการสื่อสารเป็นหลัก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 และ 12.5 ตามลำดับ โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีราคา
เพิ่มขึ้นมากเป็นกลุ่มอาหารหลักในชีวิตประจำวัน ได้แก่ น้ำมันและไขมัน ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สด ไข่ และเครื่องปรุงอาหาร สำหรับสินค้าใน
หมวดยานพาหนะขนส่ง และการสื่อสาร ที่มีการปรับราคาเพิ่มสูง คือน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.6 รวมครึ่งแรกของปีเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 6.3
(ค)
-เงินเฟ้อพื้นฐาน: เพิ่มขึ้นสูงต่อเนื่อง ในไตรมาสที่สองเงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ
1.5 ในไตรมาสที่แล้ว สะท้อนราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นวงกว้างมากขึ้น ได้แก่ สินค้าประเภทอาหารสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้เบ็ดเตล็ดในบ้าน
ค่ายาและเวชภัณฑ์ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลค่าใช้จ่ายระดับอุดมศึกษา เป็นต้น และเมื่อรวมครึ่งแรกของปีเงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับร้อยละ 2.2
ดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่สอง ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 10.8 ในไตรมาสที่
แล้ว โดยดัชนีราคาเร่งตัวขึ้นในหมวดวัตถุดิบ และหมวดสินค้าสำเร็จรูป โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 และ 24.0 ตามลำดับ สำหรับราคาสินค้าสำเร็จรูป
เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 ใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว ซึ่งราคาสินค้าหมวดวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นมากเป็นราคาวัตถุดิบประเภทอาหารเป็นสำคัญได้แก่ ข้าวสาร แป้ง
ผลิตภัณฑ์จากแป้ง และเนื้อสัตว์ รวมครึ่งแรกของปีดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3(ฆ)
หมายเหตุ (ค) ในเดือนกรกฎาคม เงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 9.2 เงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับร้อยละ 3.7 ทำให้ในช่วง 7 เดือนแรกของปี
เงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 6.6 และเงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับร้อยละ 2.4
(ฆ) ในเดือนกรกฎาคม ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 ทำให้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 14.4
ภาวะการจ้างงาน (อัตราเพิ่ม %)
2550 2551
เฉลี่ย Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2*
การจ้างงาน 1.6 1.8 0.7 2.1 1.7 1.6 2.8
ภาคเกษตร 1.0 2.8 -0.5 1.2 0.6 0.4 2.7
ภาคนอกเกษตร 2.0 1.2 1.5 2.9 2.5 2.3 2.9
อุตสาหกรรม 2.1 0.2 1.3 5.4 1.7 0.4 -1.5
การก่อสร้าง -0.1 1.6 1.5 -4.9 1.0 0.5 3.1
โรงแรงและภัตตาคาร 3.0 4.3 2.0 4.0 1.8 1.2 1.7
อัตราการว่างงาน 1.4 1.6 1.6 1.2 1.1 1.7 1.4
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
*ตัวเลขเฉลี่ยรายเดือน
(ยังมีต่อ).../-การจ้างงานเฉลี่ย..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ