1. ความเป็นมา
1.1 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา Organization for Economic Co-operation and Development หรือ OECD จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1961 โดยพัฒนามาจาก OEEC (Organisation for European Economic Co-operation) เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการเงินช่วยเหลือจากสหรัฐฯ และแคนาดา ภายใต้แผนการณ์มาร์แชล (Marshall Plan) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการบูรณะฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคมของยุโรป ซึ่งกำลังประสบความเสียหายอย่างหนักภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2
1.2 OECD มีวัตถุประสงค์เป็นเวทีการเจรจาเพื่อการพัฒนากลั่นกรองนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิก รวมทั้งประสานงานและช่วยเหลือประเทศสมาชิกและไม่ใช่สมาชิกในการจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ บนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยอย่างรอบคอบและเป็นกลาง เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปร่วมระดับนโยบายในลักษณะ guidelines for best practices และการปรับเปลี่ยนนโยบายภายในประเทศสมาชิกให้สอดคล้องกับ guidelines เหล่านั้น
1.3 ภารกิจหลัก ได้แก่ การจัดทำนโยบายที่เน้นการช่วยเหลือรัฐสมาชิกให้บรรลุถึงการเจริญเติบโต การจ้างงาน และยกระดับความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ภายใต้เงื่อนไขของการคลังที่มีเสถียรภาพ ผ่านการค้าบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน
1.4 กระบวนการหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหมู่ประเทศสมาชิก ใช้หลัก peer review/peer pressure ซึ่งเน้นการโน้มน้าวด้วยเหตุผลทางวิชาการ ประกอบกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ ทั้งที่เป็นสมาชิกและมิใช่สมาชิก โดยไม่มีบทลงโทษ
1.5 ปัจจุบัน OECD ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งสิ้น 30 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยียม แคนาดา สาธารณรัฐเช็ค เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ลักเซมเบิร์ก เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส สาธารณรัฐสโลวัก สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และยังได้มีความร่วมมือและข้อตกลงกับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก จำนวนกว่า 70 ประเทศอีกด้วย
1.6 ในปี ค.ศ. 1998 ได้มีการจัดตั้ง Centre for Co-operation with Non-Members เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานกิจกรรมกับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ซึ่งมีการจัดกิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ขึ้นอยู่กับเนื้อหาหลักของนโยบาย เช่น กิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน การค้า การลงทุน ภาษี และเกษตร เป็นต้น และ 2) จัดขึ้นตามการแบ่งประเทศและภูมิภาค เช่น รัสเชีย จีน และบราซิล เป็นต้น
1.7 ปัจจุบัน OECD ได้แสดงความสนใจที่จะให้ไทยเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการการ ประมง และส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมคณะทำงานต่างๆ รวมทั้งการเป็นสมาชิก OECD ในอนาคต
2. ความร่วมมือระหว่างไทยกับ OECD
2.1 สถานะปัจจุบันของไทยในการสมัครเป็นผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการต่างๆ ของ OECD
1) คณะกรรมการการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แจ้งความประสงค์สมัครเป็นผู้สังเกตการณ์อย่างเป็นทางการในคณะกรรมการการเกษตร ซึ่งขณะนี้ ได้รับแจ้งจาก OECD ว่าไทยไม่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการดังกล่าว
2) คณะกรรมการการค้า
กระทรวงพาณิชย์ได้แจ้งความประสงค์สมัครเป็นผู้สังเกตการณ์อย่างเป็นทางการเมื่อเดือน ธ.ค. 47 ต่อมาเมื่อเดือน ก.พ. 48 คณะกรรมการการค้าส่งแบบสอบถาม เพื่อให้ประเทศที่สมัครเป็นผู้สังเกตการณ์ตอบ และจะนำข้อมูลนั้นมาประกอบการประชุมพิจารณารับผู้สังเกตการณ์ใหม่ ที่จะมีขึ้นในเดือน มิ.ย. 48 ปัจจุบันยังไม่ได้รับคำตอบรับจาก OECD
3) คณะกรรมการการประมง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับคำตอบรับให้เป็นผู้สังเกตการณ์อย่างเป็นทางการในคณะกรรมการการประมงแล้ว และได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการคณะกรรมการการประมงกับผู้เชี่ยวชาญระดับสูงของไทยไปแล้ว
2.2 การจัดตั้ง Depository Library ในไทย
ไทยเห็นชอบที่จะจัดตั้ง OECD Depository Library ขึ้น ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อเป็นศูนย์เผยแพร่สิ่งพิมพ์ต่างๆ ของ OECD โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการสั่งและจัดส่งสิ่งพิมพ์มายัง สศช. คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้เสร็จภายในเดือนตุลาคม 2549
2.3 การเข้าเป็นสมาชิก OECD Development Centre
นายกรัฐมนตรีมีบัญชาอนุมัติการสมัครเป็นสมาชิก OECD Development Centre ของไทยในเดือน ก.ค. 2547 และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ประสานงาน ต่อมาคณะมนตรี OECD มีมติตอบรับไทยเข้าเป็นสมาชิก Development Centre เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2547 และ เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ได้เข้าร่วมประชุม Governing Board ของ Development Centre แล้ว 4 ครั้ง เพื่อร่วมพิจารณาผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมาและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแผนงานในปี 2550-51 (Development Centre มีสมาชิกเป็นประเทศสมาชิก OECD 24 ประเทศ กับ 1 องค์กร และประเทศที่มิได้เป็นสมาชิก OECD 4 ประเทศ คือ ชิลี อินเดีย โมซัมบิก และโรมาเนีย กิจกรรมของ Development Centre เน้นการค้นคว้าและวิจัย การวางแผนและนโยบาย ที่ให้ความสำคัญกับงานพัฒนาภายใต้กรอบ OECD รวมถึงการเสริมสร้างทักษะการค้า การผลักดันการวางแผนงานการพัฒนาของหน่วยงานต่างๆ ของ OECD อย่างเป็นบูรณาการ)
3. การสมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ตามยุทธศาสตร์ใหม่ของ OECD
3.1 ข้อกำหนด
1) การเป็นผู้มีความคิดเห็นตรงกัน (Like-mindedness) วัดจาก เศรษฐกิจเสรี หลักประชาธิปไตย ผลงานด้านเศรษฐกิจพื้นฐาน หลักกฎหมายและธรรมภิบาล สิทธิมนุษยชนการมีส่วนร่วมในองค์กรระหว่างประเทศ การริเริ่มให้ความช่วยเหลือในการพัฒนา และการยอมรับ/รับรู้ข้อตกลงของ OECD
2) การเป็นผู้เล่นที่สำคัญ นั้นคือ OECD คาดหวังทั้งผลประโยชน์ที่สมาชิกพึงได้รับ และผลที่สมาชิกให้กับ OECD ทั้งในด้านขีดความสามารถและสาระสำคัญของนโยบายของประเทศสมาชิก
3) ผลประโยชน์ร่วม โดยพิจารณาจากประโยชน์ที่สมาชิกเก่าและใหม่ พึงได้รับจากการมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น
4) การพิจารณาในภาพรวม โดยพิจารณาองค์ประกอบของสมาชิกในภาพรวม เพื่อให้เกิดความสมดุลของสมาชิก
3.2 หลักการ
เลขาธิการ OECD เป็นผู้ลงนามความตกลงกับผู้แทนรัฐบาลของประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิก ในนามของ OECD ความตกลงนี้จัดทำขึ้นระหว่าง OECD กับประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิก ไม่ใช่ ระหว่างประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิกกับประเทศสมาชิกเดิม แต่ประเทศสมาชิกเดิมจะเป็นผู้ พิจารณาข้อสงวนต่าง ๆ ของประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิก โดยผู้ตัดสินใจหลักคือประเทศสมาชิกเดิม ส่วนสำนักเลขาธิการทำหน้าที่เป็น honest broker ในการเจรจา และการรับสมาชิกใหม่จะต้องเป็นเอกฉันท์ (Unanimity) ไม่ใช่แค่ฉันทามติ (consensus)
3.3 หน้าที่ที่สำคัญ
1) การเปิดเสรีในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้า การลงทุน หรือทางด้านความคิดและเทคโนโลยี
2) การสร้างกฎ ข้อสรุปหรือแนวทางที่ตกลงกัน แม้จะไม่มีสถานะผูกพันเหมือนกฎหมายหรือสนธิสัญญา แต่ OECD ก็มี Code ที่เป็นหลักใช้เป็นแนวทางให้สมาชิกปฏิบัติ
3) การเตือนภัยล่วงหน้า จากข้อมูลและประสบการณ์ระหว่างสมาชิกทำให้ OECD สามารถที่จะระบุแนวโน้มการเกิดวิกฤตการณ์ การป้องกันสิ่งแวดล้อม การจ้างงาน/การว่างงาน หรือนโยบายเศรษฐกิจมหภาค และนำมาเป็นประเด็นในความสนใจสำหรับสมาชิก
4) การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล นับเป็นกิจกรรมหลักของ OECD ที่ทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมข้อมูลและเผยแพร่ผลการวิเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกเหนือการให้บริการระหว่างสมาชิก
5) การให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่ด้อยกว่า ซึ่ง Development Aid Committee (DAC) มีหน้าที่ในการแนะนำทำให้สมาชิกจัดสรรงบช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในวงเงินประมาณ ร้อยละ 0.3-0.7 ของ GDP
3.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้จากการเข้าเป็นสมาชิก
1) การเรียนรู้จากประสบการณ์ของรัฐสมาชิก OECD ในการเปรียบเทียบนโยบายและแนวทางในการดำเนินการต่างๆ ในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเน้นเรื่อง การเปิดเสรีการค้าสินค้า / บริการ และการลงทุน การลดการควบคุม และกลไกการตลาดเป็นเครื่องให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน
2) การสร้างมาตรฐานในการเจรจาเปิดเสรี โดยใช้มาตรฐานที่ OECD มีอยู่เป็นแหล่งอ้างอิงลดแรงกดดัน และเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาเปิดเสรีการค้า การลงทุน
3) เข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งประสบการณ์ในการจัดทำนโยบายต่างๆ ของรัฐสมาชิกเป็นการลดการลองผิดลองถูก
4) การเป็นผู้นำ โดยเปลี่ยนสถานะจากผู้ตามหรือผู้ถูกกระทำจากกฎเกณฑ์ใหม่ๆ มาเป็นผู้ที่มีส่วนในการจัดทำหรือริเริ่ม กำหนดเงื่อนไขที่เป็นคุณสำหรับประเทศที่มีผลต่อประเทศอื่นๆ
3.5 ภาระในการเข้าเป็นสมาชิก
1) ผลกระทบจากข้อผูกพันจากการเปิดเสรีทางการค้าบริการ และการเคลื่อนย้ายทุน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของภาคบริการในประเทศ อาทิ สมาชิก OECD ใช้วิธี Top-down หรือ negative list ที่ระบุเพียงสาขาบริการ / การลงทุนที่ต้องการยกเว้น / สงวนไว้ และเป็นการกระทำแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่นำมาเป็นเครื่องมือต่อรอง เพื่อเรียกร้องให้ประเทศอื่นๆ ให้ผลประโยชน์ต่างตอบแทน ขณะที่การเปิดเสรีในสาขาบริการของไทย โดยเฉพาะในสาขาการเงินและการธนาคารยังยึดหลัก Positive list อยู่
2) การสูญเสียสถานการเป็นผู้รับ โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ในลักษณะของ Favorable treatment ในฐานะประเทศกำลังพัฒนาอาจหมดไป
3) ภาระทางการเงินจาก 1) เงินสมทบการเข้าเป็นสมาชิก เพื่อสนับสนุนกิจกรรม การบริหารขององค์กร และ 2) ภาระในการให้ความช่วยเหลือประเทศอื่นๆ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1.1 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา Organization for Economic Co-operation and Development หรือ OECD จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1961 โดยพัฒนามาจาก OEEC (Organisation for European Economic Co-operation) เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการเงินช่วยเหลือจากสหรัฐฯ และแคนาดา ภายใต้แผนการณ์มาร์แชล (Marshall Plan) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการบูรณะฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคมของยุโรป ซึ่งกำลังประสบความเสียหายอย่างหนักภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2
1.2 OECD มีวัตถุประสงค์เป็นเวทีการเจรจาเพื่อการพัฒนากลั่นกรองนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิก รวมทั้งประสานงานและช่วยเหลือประเทศสมาชิกและไม่ใช่สมาชิกในการจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ บนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยอย่างรอบคอบและเป็นกลาง เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปร่วมระดับนโยบายในลักษณะ guidelines for best practices และการปรับเปลี่ยนนโยบายภายในประเทศสมาชิกให้สอดคล้องกับ guidelines เหล่านั้น
1.3 ภารกิจหลัก ได้แก่ การจัดทำนโยบายที่เน้นการช่วยเหลือรัฐสมาชิกให้บรรลุถึงการเจริญเติบโต การจ้างงาน และยกระดับความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ภายใต้เงื่อนไขของการคลังที่มีเสถียรภาพ ผ่านการค้าบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน
1.4 กระบวนการหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหมู่ประเทศสมาชิก ใช้หลัก peer review/peer pressure ซึ่งเน้นการโน้มน้าวด้วยเหตุผลทางวิชาการ ประกอบกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ ทั้งที่เป็นสมาชิกและมิใช่สมาชิก โดยไม่มีบทลงโทษ
1.5 ปัจจุบัน OECD ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งสิ้น 30 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยียม แคนาดา สาธารณรัฐเช็ค เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ลักเซมเบิร์ก เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส สาธารณรัฐสโลวัก สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และยังได้มีความร่วมมือและข้อตกลงกับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก จำนวนกว่า 70 ประเทศอีกด้วย
1.6 ในปี ค.ศ. 1998 ได้มีการจัดตั้ง Centre for Co-operation with Non-Members เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานกิจกรรมกับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ซึ่งมีการจัดกิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ขึ้นอยู่กับเนื้อหาหลักของนโยบาย เช่น กิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน การค้า การลงทุน ภาษี และเกษตร เป็นต้น และ 2) จัดขึ้นตามการแบ่งประเทศและภูมิภาค เช่น รัสเชีย จีน และบราซิล เป็นต้น
1.7 ปัจจุบัน OECD ได้แสดงความสนใจที่จะให้ไทยเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการการ ประมง และส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมคณะทำงานต่างๆ รวมทั้งการเป็นสมาชิก OECD ในอนาคต
2. ความร่วมมือระหว่างไทยกับ OECD
2.1 สถานะปัจจุบันของไทยในการสมัครเป็นผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการต่างๆ ของ OECD
1) คณะกรรมการการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แจ้งความประสงค์สมัครเป็นผู้สังเกตการณ์อย่างเป็นทางการในคณะกรรมการการเกษตร ซึ่งขณะนี้ ได้รับแจ้งจาก OECD ว่าไทยไม่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการดังกล่าว
2) คณะกรรมการการค้า
กระทรวงพาณิชย์ได้แจ้งความประสงค์สมัครเป็นผู้สังเกตการณ์อย่างเป็นทางการเมื่อเดือน ธ.ค. 47 ต่อมาเมื่อเดือน ก.พ. 48 คณะกรรมการการค้าส่งแบบสอบถาม เพื่อให้ประเทศที่สมัครเป็นผู้สังเกตการณ์ตอบ และจะนำข้อมูลนั้นมาประกอบการประชุมพิจารณารับผู้สังเกตการณ์ใหม่ ที่จะมีขึ้นในเดือน มิ.ย. 48 ปัจจุบันยังไม่ได้รับคำตอบรับจาก OECD
3) คณะกรรมการการประมง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับคำตอบรับให้เป็นผู้สังเกตการณ์อย่างเป็นทางการในคณะกรรมการการประมงแล้ว และได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการคณะกรรมการการประมงกับผู้เชี่ยวชาญระดับสูงของไทยไปแล้ว
2.2 การจัดตั้ง Depository Library ในไทย
ไทยเห็นชอบที่จะจัดตั้ง OECD Depository Library ขึ้น ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อเป็นศูนย์เผยแพร่สิ่งพิมพ์ต่างๆ ของ OECD โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการสั่งและจัดส่งสิ่งพิมพ์มายัง สศช. คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้เสร็จภายในเดือนตุลาคม 2549
2.3 การเข้าเป็นสมาชิก OECD Development Centre
นายกรัฐมนตรีมีบัญชาอนุมัติการสมัครเป็นสมาชิก OECD Development Centre ของไทยในเดือน ก.ค. 2547 และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ประสานงาน ต่อมาคณะมนตรี OECD มีมติตอบรับไทยเข้าเป็นสมาชิก Development Centre เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2547 และ เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ได้เข้าร่วมประชุม Governing Board ของ Development Centre แล้ว 4 ครั้ง เพื่อร่วมพิจารณาผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมาและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแผนงานในปี 2550-51 (Development Centre มีสมาชิกเป็นประเทศสมาชิก OECD 24 ประเทศ กับ 1 องค์กร และประเทศที่มิได้เป็นสมาชิก OECD 4 ประเทศ คือ ชิลี อินเดีย โมซัมบิก และโรมาเนีย กิจกรรมของ Development Centre เน้นการค้นคว้าและวิจัย การวางแผนและนโยบาย ที่ให้ความสำคัญกับงานพัฒนาภายใต้กรอบ OECD รวมถึงการเสริมสร้างทักษะการค้า การผลักดันการวางแผนงานการพัฒนาของหน่วยงานต่างๆ ของ OECD อย่างเป็นบูรณาการ)
3. การสมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ตามยุทธศาสตร์ใหม่ของ OECD
3.1 ข้อกำหนด
1) การเป็นผู้มีความคิดเห็นตรงกัน (Like-mindedness) วัดจาก เศรษฐกิจเสรี หลักประชาธิปไตย ผลงานด้านเศรษฐกิจพื้นฐาน หลักกฎหมายและธรรมภิบาล สิทธิมนุษยชนการมีส่วนร่วมในองค์กรระหว่างประเทศ การริเริ่มให้ความช่วยเหลือในการพัฒนา และการยอมรับ/รับรู้ข้อตกลงของ OECD
2) การเป็นผู้เล่นที่สำคัญ นั้นคือ OECD คาดหวังทั้งผลประโยชน์ที่สมาชิกพึงได้รับ และผลที่สมาชิกให้กับ OECD ทั้งในด้านขีดความสามารถและสาระสำคัญของนโยบายของประเทศสมาชิก
3) ผลประโยชน์ร่วม โดยพิจารณาจากประโยชน์ที่สมาชิกเก่าและใหม่ พึงได้รับจากการมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น
4) การพิจารณาในภาพรวม โดยพิจารณาองค์ประกอบของสมาชิกในภาพรวม เพื่อให้เกิดความสมดุลของสมาชิก
3.2 หลักการ
เลขาธิการ OECD เป็นผู้ลงนามความตกลงกับผู้แทนรัฐบาลของประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิก ในนามของ OECD ความตกลงนี้จัดทำขึ้นระหว่าง OECD กับประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิก ไม่ใช่ ระหว่างประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิกกับประเทศสมาชิกเดิม แต่ประเทศสมาชิกเดิมจะเป็นผู้ พิจารณาข้อสงวนต่าง ๆ ของประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิก โดยผู้ตัดสินใจหลักคือประเทศสมาชิกเดิม ส่วนสำนักเลขาธิการทำหน้าที่เป็น honest broker ในการเจรจา และการรับสมาชิกใหม่จะต้องเป็นเอกฉันท์ (Unanimity) ไม่ใช่แค่ฉันทามติ (consensus)
3.3 หน้าที่ที่สำคัญ
1) การเปิดเสรีในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้า การลงทุน หรือทางด้านความคิดและเทคโนโลยี
2) การสร้างกฎ ข้อสรุปหรือแนวทางที่ตกลงกัน แม้จะไม่มีสถานะผูกพันเหมือนกฎหมายหรือสนธิสัญญา แต่ OECD ก็มี Code ที่เป็นหลักใช้เป็นแนวทางให้สมาชิกปฏิบัติ
3) การเตือนภัยล่วงหน้า จากข้อมูลและประสบการณ์ระหว่างสมาชิกทำให้ OECD สามารถที่จะระบุแนวโน้มการเกิดวิกฤตการณ์ การป้องกันสิ่งแวดล้อม การจ้างงาน/การว่างงาน หรือนโยบายเศรษฐกิจมหภาค และนำมาเป็นประเด็นในความสนใจสำหรับสมาชิก
4) การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล นับเป็นกิจกรรมหลักของ OECD ที่ทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมข้อมูลและเผยแพร่ผลการวิเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกเหนือการให้บริการระหว่างสมาชิก
5) การให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่ด้อยกว่า ซึ่ง Development Aid Committee (DAC) มีหน้าที่ในการแนะนำทำให้สมาชิกจัดสรรงบช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในวงเงินประมาณ ร้อยละ 0.3-0.7 ของ GDP
3.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้จากการเข้าเป็นสมาชิก
1) การเรียนรู้จากประสบการณ์ของรัฐสมาชิก OECD ในการเปรียบเทียบนโยบายและแนวทางในการดำเนินการต่างๆ ในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเน้นเรื่อง การเปิดเสรีการค้าสินค้า / บริการ และการลงทุน การลดการควบคุม และกลไกการตลาดเป็นเครื่องให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน
2) การสร้างมาตรฐานในการเจรจาเปิดเสรี โดยใช้มาตรฐานที่ OECD มีอยู่เป็นแหล่งอ้างอิงลดแรงกดดัน และเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาเปิดเสรีการค้า การลงทุน
3) เข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งประสบการณ์ในการจัดทำนโยบายต่างๆ ของรัฐสมาชิกเป็นการลดการลองผิดลองถูก
4) การเป็นผู้นำ โดยเปลี่ยนสถานะจากผู้ตามหรือผู้ถูกกระทำจากกฎเกณฑ์ใหม่ๆ มาเป็นผู้ที่มีส่วนในการจัดทำหรือริเริ่ม กำหนดเงื่อนไขที่เป็นคุณสำหรับประเทศที่มีผลต่อประเทศอื่นๆ
3.5 ภาระในการเข้าเป็นสมาชิก
1) ผลกระทบจากข้อผูกพันจากการเปิดเสรีทางการค้าบริการ และการเคลื่อนย้ายทุน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของภาคบริการในประเทศ อาทิ สมาชิก OECD ใช้วิธี Top-down หรือ negative list ที่ระบุเพียงสาขาบริการ / การลงทุนที่ต้องการยกเว้น / สงวนไว้ และเป็นการกระทำแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่นำมาเป็นเครื่องมือต่อรอง เพื่อเรียกร้องให้ประเทศอื่นๆ ให้ผลประโยชน์ต่างตอบแทน ขณะที่การเปิดเสรีในสาขาบริการของไทย โดยเฉพาะในสาขาการเงินและการธนาคารยังยึดหลัก Positive list อยู่
2) การสูญเสียสถานการเป็นผู้รับ โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ในลักษณะของ Favorable treatment ในฐานะประเทศกำลังพัฒนาอาจหมดไป
3) ภาระทางการเงินจาก 1) เงินสมทบการเข้าเป็นสมาชิก เพื่อสนับสนุนกิจกรรม การบริหารขององค์กร และ 2) ภาระในการให้ความช่วยเหลือประเทศอื่นๆ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-