(ต่อ6)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง และแนวโน้มปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 8, 2008 14:45 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          (2) เศรษฐกิจเอเชียที่รวมทั้งเศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่นมีแนวโน้มชะลอตัวลงเช่นกัน เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ชี้ว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 
2551 เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียจะได้รับผลกระทบจากการที่ตลาดโลกชะลอตัวที่ชัดเจนมากขึ้น โดยสิงคโปร์ประกาศปรับประมาณการการส่งออก
สินค้าที่มิใช่น้ำ มันจากการขยายตัวเป็นการหดตัวร้อยละ 2-4 ในขณะที่มาเลเซียรายงานอัตราการขยายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมระดับต่ำสุดในรอบ
10 เดือน นอกจากนั้น แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรกทำให้ประเทศต่าง ๆ ปรับเปลี่ยนมาใช้นโยบายการเงินแบบเข้ม
งวดมากขึ้นซึ่งคาดว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปี
สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้นในไตรมาสที่สองมีอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 7 ปี จึงทำให้แรงส่งเศรษฐกิจมีน้อยลง และราคาน้ำ มันที่ยังอยู่
ในระดับสูงและความเชื่อมั่นที่ลดลงจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวในระยะต่อไป นอกจากนี้การชะลอตัวของเศรษฐกิจเอเชียซึ่งเป็นหัวจักรขับเคลื่อนการ
ส่งออกของญี่ปุ่นจะทำให้การส่งออกชะลอลงชัดเจน โดยคาดว่าทั้งปี 2551 เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.2 ชะลอลงจากที่ขยายตัว ร้อย
ละ 2.1
เศรษฐกิจจีนชะลอตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสสองปี 2550 เป็นต้นมา โดยที่การลงทุนและปริมาณการส่งออกชะลอตัว ประกอบกับต้น
ทุนค่าแรงงานและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมทั้งราคาน้ำมันที่สูงทำให้ผลประกอบการภาคธุรกิจเอกชนลดลง และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นโดยเฉพาะ
ภายใต้สถานการณ์ที่มีกำลังการผลิตส่วนเกินในระบบสูง เป็นที่คาดว่าทั้งปี 2551 เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 10 ชะลอลงจากร้อยละ 11.9 ในปี
2550
(3) เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรมีแนวโน้มชะลอตัวลงเช่นกัน ในไตรมาสที่สองเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า
เป็นครั้งแรกนับจากการประกาศใช้เงินตราสกุลเดียวในปี 2534 นอกจากนั้นการที่การใช้จ่ายและความเชื่อมั่นได้ปรับตัวลดลงมาก คาดว่ากิจกรรมทาง
เศรษฐกิจและกลุ่มประเทศยูโรในช่วงครึ่งหลังของปีจะมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวมากขึ้น เนื่องจากผลกระทบอัตราเงินเฟ้อและการชะลอตัวของตลาด
สหรัฐฯ และประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มยูโรเองซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญภายในภูมิภาคเอง โดยคาดว่าทั้งปี 2551 เศรษฐกิจยูโรจะขยายตัวร้อยละ
1.3 ชะลอลงมากจากร้อยละ 3.0 ในปี 2550
แนวโน้มการชะลอตัวของกลุ่มประเทศสำคัญ ๆ ดังกล่าวเมื่อรวมกับผลจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเข้มงวดเพื่อลดแรงกดดันด้าน
เงินเฟ้อคาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไปชะลอตัวลงจากครึ่งปีแรก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนและอินเดียซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจ
จะชะลอตัวลงจากร้อยละ 11.9 และร้อยละ 9.2 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 10.0 และร้อยละ 8.5 ตามลำดับแนวโน้มดังกล่าวคาดว่าจะทำให้อัตรา
การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกโดยภาพรวมในปีนี้ขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.1 ในปีที่ผ่านมา
2.2 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังและทั้งปี2551: เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวในครึ่งหลังเนื่องจากคาดว่าการส่งออกจะชะลอ
ตัว และการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ แต่การขยายตัวสูงในครึ่งแรกของปีทำให้ภาพรวมการขยายตัวเฉลี่ยทั้งปีอยู่ในเกณฑ์ดีร้อย
ละ 5.2 — 5.7
2.2.1 ประเด็นหลัก
- เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกขยายตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ และเป็นแรงส่งให้กับระบบเศรษฐกิจ (economic momentum) แต่อุปสงค์ภาย
ในประเทศยังอ่อนแอ แต่อย่างไรก็ตามในครึ่งหลังของปียังมีปัจจัยภายในประเทศที่สนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ
- คาดว่าในครึ่งหลังของปี 2551 นี้เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงกว่าในช่วงครึ่งแรกของปี (ขยายตัวร้อยละ 5.7 ในครึ่ง
แรก) ตามภาวะการชะลอตัวของการส่งออกอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในขณะที่การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศยังช้า และในไตรมาส
สุดท้ายนั้นเป็นการขยายตัวของเศรษฐกิจจากฐานการขยายตัวที่สูงในครึ่งหลังของปีที่แล้ว (ร้อยละ 4.7 ใน Q3/50 และร้อยละ 5.8 ใน Q4/50)
- การส่งออกสินค้าและบริการท่องเที่ยวมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะการส่งออกในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยาน
ยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสัญญาณชะลอตัว สำหรับการท่องเที่ยวนั้นจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา และค่าเดินทาง
และค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อ
- ในครึ่งหลังปี 2551 คาดว่ามาตรการทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและมาตรการเศรษฐกิจเพื่อลดผลกระทบจากภาวะ
ราคาน้ำ มันแพงและอัตราเงินเฟ้อสูง (6 มาตรการ 6 เดือนแก้วิกฤตเศรษฐกิจ) จะช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนให้ขยายตัวต่อไป
ได้ แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าอัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนจะยังต่ำเนื่องจากยังมีข้อจำกัดจากการที่ (i) ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง
แม้จะมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากในครึ่งแรกของปี (ii) อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะยังอยู่ในระดับสูงสุดในไตรมาสสามที่ประมาณร้อยละ 8.0-9.0 ก่อนที่
ปรับตัวลดลงในไตรมาสสุดท้ายของปีและ (iii) ความเชื่อมั่นยังต่ำ ประกอบกับการลงทุนนั้นเป็นการฟ้นื ตัวต่อเนื่องจากฐานการลงทุนที่มีการฟื้นตัว
ชัดเจนในช่วงครึ่งหลังปี 2550 ด้วย (high base effect)
- ยังมีความจำเป็นที่จะต้องบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากราคาน้ำมันที่ยังสูงและแรงกดดันต่อเงินเฟ้อในขณะที่ยังมีแรงกดดันจากต้นทุนการ
ผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นมากและยังมีสินค้าอุปโภคบริโภคที่รอการปรับราคา ทั้งนี้ใน 7 เดือนแรกดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4
2.2.2 ปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัว การขยายตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปีจะมีแรงสนับสนุนจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
(1) การดำเนินมาตรการภาครัฐเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุน รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันใน
ภาคธุรกิจเอกชน ประกอบด้วยมาตรการภาษีเพื่อเพิ่มรายได้แก่ประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มขีดความ
สามารถในการแข่งขัน มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่
ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มาตรการเงินทุนเพื่อประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก และมาตรการกระตุ้น
ภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งมาตรการเพื่อลดผลกระทบราคาน้ำ มันและสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชนรายได้ต่ำในช่วง 6 เดือนหลังของปี
(2) ฐานรายได้ของเกษตรกรจะยังเพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าเกษตรหลัก (ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน) ที่ยังสูงกว่าในปีที่ผ่าน
มาในครึ่งแรกของปี 2551 นี้ รายได้เกษตรกรโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 ในไตรมาสแรก และร้อยละ 53.2 ในไตรมาสที่สอง และคาดว่าราคา
สินค้าเกษตรหลักจะยังเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังเนื่องจากตลาดโลกยังมีข้อจำกัดด้านผลผลิตในขณะที่ความต้องการยังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มพืชพลังงาน
(3) การปรับเพิ่มเงินค่าครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการรวมทั้งให้ปรับเงินช่วยเหลือการครองชีพของ
เจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นที่ได้รับในลักษณะเช่นเดียวกับเงินค่าครองชีพของข้าราชการ และมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2551 รวมทั้งเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่
เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 นี้ ดังนั้นการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ การเพิ่มค่าครองชีพ และเงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจจึงมีผลเต็มที่ในครึ่ง
หลังของปี 2551
(4) อัตราดอกเบี้ยแท้จริงยังอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน แต่การที่อัตรา
เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเร็วกว่ามาก ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังต่ำและยังจูงใจในการใช้จ่ายและการลงทุนเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างการเปลี่ยน
แปลงของราคาสินค้าและบริการและต้นทุนทางการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
2.2.3 ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังปี 2551
(1) ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศไทยจะชัดเจนมากขึ้นในช่วงปลายปี เนื่องจากภาวะการชะลอตัว
ของเศรษฐกิจโลกที่เป็นวงกว้างมากขึ้นและครอบคลุมทั่วตลาดเอเชียซึ่งเป็นตลาดสำคัญที่รองรับการส่งออกของไทยในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับสินค้า
เกษตรเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้นจากการปรับเพิ่มผลผลิตของหลายประเทศ และมีการระบายสต็อกข้าวของประเทศจีนและเวียดนาม และการระบายสต็อก
ยางพาราของประเทศจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย
(2) การลงทุนยังฟื้นตัวช้าโดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐซึ่งลดลงในไตรมาสสอง ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนก็ชะลอตัวลงในภาวะที่ต้นทุน
การผลิตสูงขึ้น ในขณะที่ความต้องการสินค้าส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัว และตลาดภายในยังชะลอตัว
(3) ราคาน้ำ มันมีแนวโน้มชะลอตัวลงแต่ต้องระมัดระวังผลกระทบจากราคาที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นบางช่วงที่อาจจะผันผวนตามภาวะการ
ผลิต ภัยธรรมชาติ และความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตและส่งออก ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีความผันผวนตามได้ง่าย
(4) ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงจากการขาดดุลการค้าโดยเฉพาะจากการขาดดุลน้ำมันประกอบกับมีแนวโน้มการเคลื่อนย้ายทุนออกสุทธิ
ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นกลยุทธ์การปรับพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติและเพื่อการชดเชยความเสียหายจากผลกระทบ sub-prime ดุลการชำระเงินจึงมี
แนวโน้มลดลงและกดดันค่าเงินบาทให้อ่อนลง
(5) ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจลดลงอันเนื่องมาจากปัญหาค่าครองชีพและความไม่แน่นอนด้านการเมือง ประกอบกับมีข่าวสาร
เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและความเสียหายในภาคการเงินโลก
2.3 ข้อสมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2551
(1) เศรษฐกิจโลกในปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.0 ปรับเพิ่มขึ้นจากสมมุติฐานการขยายตัวร้อยละ 3.8 ที่คาดไว้ในการ
ประมาณการครั้งก่อน แต่ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.9 ในปี 2550 ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจชะลอตัวเป็นวงกว้างทั้งในประเทศเศรษฐกิจหลัก
เป็นสำคัญ ได้แก่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ยุโรป จีน และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกและอาเซียน (5) การปรับเพิ่มสมมุติฐานการขยายตัวเป็นผลจาก
การปรับเพิ่มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จีน มาเลเซีย และเกาหลีใต้ซึ่งขยายตัวได้สูงกว่าที่คาดไว้และสามารถชดเชยการปรับลดการประมาณ
การของประเทศ ฮ่องกง และกลุ่มยุโรโซน การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในครึ่งแรกของปีที่สูงกว่าที่คาดเอาไว้เดิมนั้นได้ทำให้การส่งออกของไทยใน
ครึ่งแรกของปีเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม
(2) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจะเท่ากับ 110 — 120 ดอลลาร์ต่อบาเรลเท่ากับข้อสมมุติฐานในการประมาณการครั้งก่อน ซึ่งสูงกว่าราคา
เฉลี่ย 68.83 ดอลลาร์ต่อบาเรลในปี 2550 ประมาณร้อยละ 67 ทั้งนี้ในไตรมาสที่สองราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยเท่ากับ 117.02 ดอลลาร์ต่อบาเรล สูงขึ้น
ถึงร้อยละ 77.80 จากไตรมาสที่สองปี 2550 และเพิ่มสูงขึ้นจาก 91.50 ดอลลาร์ต่อบาเรลในไตรมาสแรก แต่อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งหลังของเดือน
กรกฎาคม ราคาน้ำมันดิบเริ่มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณการชะลอตัวชัดเจนมากขึ้นและเป็นวงกว้างในหลายประเทศ และ ณ วันที่
19 ส.ค. 2551 ราคาน้ำมันดิบดูไบลดลงมาอยู่ที่ 109.45 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลจากระดับราคาเฉลี่ยสูงสุดที่ 138.97 ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน
กรกฎาคม และคาดว่าราคาน้ำมันดิบจะยังมีแนวโน้มชะลอตัวในระยะต่อไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่เริ่มทรงตัวใน
ปลายปี
(3) ราคาสินค้าออกในรูปของเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 จากคาดการณ์เดิมร้อยละ 7.0 และราคานำเข้าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 14.6 สูงกว่าสมมุติฐานเดิมร้อยละ 11.0 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มตามข้อมูลล่าสุดที่แสดงว่าราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาด แต่อย่างไรก็ตามคาด
ว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาน้ำมันมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงหลังของปีเนื่องจากความต้องการที่ชะลอลงและปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรของโลกเริ่ม
กลับมาเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นปรับผลผลิตตามแรงกดดันและแรงจูงใจด้านราคาในช่วงต้นปี (supply response) ราคานำเข้าที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคาส่งออกจะ
ทำให้ประเทศเสียเปรียบอัตราการค้า (Term of trade) มากขึ้นในปีนี้ ทั้งนี้เป็นไปตามภาวะราคาน้ำมันนำเข้าและราคาวัตถุดิบนำเข้าที่เพิ่มเร็วกว่า
ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกของไทย
2.4 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2551: เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 5.2-5.7 และอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 6.5-7.0
และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.6 ของ GDP
(1) การแถลงข่าววันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประมาณการการ
ขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2551 ในช่วงร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 5.3-5.8 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.0 ของ GDP
(2) ในการแถลงข่าวครั้งวันที่ 25 สิงหาคมนี้ สศช. ได้ปรับเพิ่มการประมาณการเศรษฐกิจปี 2551 เป็นร้อยละ 5.2-5.7 ด้วยเหตุผล
ดังนี้
(2.1) เศรษฐกิจในครึ่งแรกขยายตัวสูงกว่าที่คาดไว้และจะเป็นแรงส่งที่ช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีความต่อเนื่อง จึง
พิจารณาว่าโอกาสความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจทั้งปีจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 5.0 นั้นมีน้อยมาก
(2.2) การส่งออกขยายตัวสูงมากกว่าที่คาดไว้มากตลอดช่วง 7 เดือนแรกของปีซึ่งชี้ว่าในช่วงที่เหลือของปีจะชะลอตัวช้าไม่
มากเท่าที่เคยประเมินไว้ในการแถลงข่าวครั้งก่อนทั้งในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร และช่วยชดเชยอุปสงค์ภายในประเทศที่มีแนวโน้มที่จะ
ขยายตัวได้ช้ากว่าที่คาดไว้เดิมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
(2.3) สำหรับอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มเร่งตัวมากขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้ จากแรงสนับสนุนของการดำเนินมาตรการ
ทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 6 มาตรการเพื่อแก้ปัญหาวิกฤต การปรับเพิ่มเงินเดือนและอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่มีผลตั้งแต่เดือนพฤษภาคมและมิถุนายน การ
ดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายและการลงทุนมาตรการสินเชื่อสำหรับประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก และราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับ
สูงนอกจากนี้ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มลดลงและลดแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อโดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้ายซึ่งมีฐานราคาที่สูงในช่วง
เดียวกันของปีที่แล้ว (high base effect) แต่อย่างไรก็ตามในภาพรวมอุปสงค์ในประเทศของทั้งปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวได้ช้ากว่าที่คาดไว้เดิม
2.5 องค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2551
2.5.1 ด้านอุปสงค์
(1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ปรับลดจากการคาดการณ์เดิมร้อยละ 4.7 จากการปรับลดลงทั้งการใช้
จ่ายรัฐบาลและการใช้จ่ายครัวเรือน ทั้งนี้เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าที่คาดไว้เดิม
(2) การลงทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 ปรับลดลงจากที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.5 ในครั้งก่อน จากการปรับลดทั้งการลงทุนภาครัฐ
และภาคเอกชน โดยที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 7.3 และการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 3.0 การปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของการลง
ทุนภาคเอกชนนั้น พิจารณาจากการลงทุนที่ชะลอตัวในไตรมาสสอง และการนำเข้าสินค้าทุนมีแนวโน้มชะลอลง ในขณะที่ต้นทุนการผลิตยังสูง และโอกาส
ทางการตลาดยังมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
(3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 ปรับเพิ่มขึ้นจากการประมาณการเดิมร้อยละ 13.3 โดยปรับ
เพิ่มการประมาณการขยายตัวของปริมาณการส่งออกเป็นร้อยละ 8.0 เป็นการปรับเพิ่มตามสถานการณ์ล่าสุดใน 7 เดือนแรกของปี ที่แสดงว่าทั้งปริมาณ
และราคาการส่งออกยังขยายตัวได้ดีกว่าที่คาด อย่างไรก็ตามคาดว่าปริมาณการส่งออกจะชะลอลงในช่วงที่เหลือของปีตามภาวการณ์ชะลอตัวของ
เศรษฐกิจโลก และเป็นการชะลอตัวลงจากฐานการส่งออกที่สูงในปีที่แล้วนอกจากนี้ยังได้ปรับเพิ่มแนวโน้มราคาส่งออกให้สูงขึ้นตามสถานการณ์ราคาน้ำมัน
และราคาสินค้าเกษตร สำหรับกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะยังขยายตัวได้ดีประกอบด้วยข้าวมันสำปะหลังอาหารอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดยานยนต์ อุปกรณ์ และ
ส่วนประกอบ สำหรับปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการนั้นคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 สูงกว่าร้อยละ 7.1 ในปี 2550
(4) มูลค่าการนำเข้าจะเร่งตัวขึ้นมากขึ้นในช่วงหลังของปีตามภาวะการลงทุนและการใช้จ่ายภายในประเทศโดยมูลค่าทั้งปีจะเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 23.6 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 9.1 ในปี 2550 มาก และเป็นการปรับเพิ่มการประมาณการจากเดิมร้อยละ 22 โดยปรับลดปริมาณตามภาวะ
การชะลอตัวในไตรมาสสองแต่ปรับเพิ่มราคาสินค้านำเข้าตามสถานการณ์ล่าสุดที่แสดงว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะในกลุ่มเหล็กและทองคำเพิ่มขึ้น
เร็วกว่าที่คาดในขณะที่ราคาน้ำมันก็ยังสูงตามที่คาดไว้เดิมปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการนั้นคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เร่งตัวขึ้นมากจากร้อยละ
3.5 ในปี 2550
(5) ดุลการค้าคาดว่าจะยังเกินดุลประมาณ 3.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเมื่อรวมกับดุลบริการที่คาดว่าจะเกินดุล จะส่งผลให้ดุลบัญชี
เดินสะพัดเกินดุลประมาณ7.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 2.6 ของ GDP ซึ่งสูงการคาดการณ์เดิมเล็กน้อยตามการปรับเพิ่มมูลค่าการส่งออก
2.5.2 แนวโน้มสถานการณ์ด้านการผลิต โดยรวมในปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าในปี 2550 สถานการณ์ด้านการผลิตมีแนวโน้ม
ดังนี้
(1) สาขาเกษตรกรรม มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะสินค้าที่สำคัญ เช่น
(1.1) ข้าว การผลิตข้าวของไทยมีแนวโน้มที่ดีโดยเฉพาะผลผลิตข้าวนาปรังที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 จากปีที่ผ่าน
มา เป็นผลมาจากปัจจัยทางด้านราคาในช่วงครึ่งแรกของปีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีแรงจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น และมี
การดูแลเพื่อให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผลผลิตข้าวโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะผลผลิตฤดูการใหม่ของเวียดนามที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น และ
รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศยกเลิกการห้ามการส่งออกข้าวแล้ว นอกจากนี้ประเทศจีนยังได้ระบายสต็อกข้าวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จึงทำ ให้อุปทานใน
ตลาดโลกเพิ่มขึ้นและส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง แต่ผลจากมาตรการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังของรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 15
มิถุนายน 2551 จะช่วยพยุงให้ราคาข้าวในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดีช่วยชะลอการอ่อนตัวของราคาข้าวเปลือกได้ระดับหนึ่ง รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจาก
ภาครัฐที่อนุมัติยุทธศาสตร์ข้าวไทย ในปีงบประมาณปี 2551 โดยกำหนดให้ไทยเป็นผู้นำคุณภาพข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวเป็นที่หนึ่งของโลก เพื่อเกษตรกรมี
รายได้มั่นคง
(1.2) มันสำ ปะหลัง คาดว่ามันสำ ปะหลังในปี 2551 มีผลผลิตลดลงประมาณร้อยละ 3.6 ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่ออกสู่ตลาดในช่วงต้นปี
ประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังอยู่ในระดับสูง ทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล 91 และ 95 การที่ผลผลิตมัน
สำปะหลังมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่อุปสงค์ในผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในประเทศสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น
ส่วนอุปสงค์มันสำ ปะหลังจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน และเกาหลีใต้ ที่ต้องการมันเส้นและมันอัดเม็ดจากประเทศไทยเพิ่มขึ้น จึงคาดว่าราคา
มันสำปะหลังจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไป
(1.3) ยางพารา คาดว่าผลผลิตยางพาราปี 2551 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.59 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเนื้อที่เปิดกรีด ในขณะที่ระดับ
ราคามีแนวโน้มชะลอตัวลง จากการเพิ่มขึ้นของอุปทานยางพาราโลก ประกอบกับราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามตลาดต่างประเทศยังมีความ
ต้องการยางธรรมชาติเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตลาดยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่นคาดว่าการส่งออกยังมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนอุปสงค์ภายในประเทศ
ยัง มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องเช่น อุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์อุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยาง
(1.4) ประมง คาดว่าผลผลิตกุ้งในปี 2551 จะลดลงร้อยละ 15.0 เนื่องจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวนทำให้ผลผลิตได้รับความ
เสียหาย ประกอบกับต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งจากราคาอาหาร และปัจจัยทางด้านราคาน้ำมัน ในขณะที่ระดับราคาค่อนข้างทรงตัว ทำให้
เกษตรกรชะลอการเลี้ยง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินมาตรการรับจำนำกุ้งจากเกษตรกร เพื่อช่วยยกระดับราคา ส่วนการส่งออกมีแนวโน้มที่ดี
ขึ้น หลังจากเป็นไทยชนะคดีฟ้องร้องสหรัฐฯ ต่อองค์กรการค้าโลก ในการนำ วิธีการคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดมาใช้กับการคำนวณอากรตอบโต้การ
ทุ่มตลาด และการเรียกเก็บเงินค้ำประกันอากร (Continuous bond) ดังนั้นคาดว่าการส่งออกกุ้งไปตลาดสหรัฐฯ เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น เนื่องจากกุ้ง
ไทยสามารถแข่งขันด้านราคาในตลาดสหรัฐฯ ได้ นอกจากนี้ตลาด EU ก็มีแนวโน้มในการนำ เข้ากุ้งจากไทยมากขึ้น จึงคาดว่าการส่งออกกุ้งไทยในปี
2551 จะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
(2) ภาคอุตสาหกรรม คาดว่าครึ่งหลังของปี 2551 มีแนวโน้มชะลอตัว ตามภาวะการใช้จ่ายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และภาวะ
เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่มีแนวโน้มชะลอตัวอย่างไรก็ตามคาดว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 2551 จะมีอัตราขยายตัวที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่ง
เป็นผลมาจากการขยายตัวที่สูงถึงร้อยละ 9.0 ในช่วงครึ่งแรกของปี สำหรับอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มดี คือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้น
ส่วน โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์รถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกรวมทั้งอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานทางเลือก ส่วนอุตสาหกรรมที่ต้องเฝ้าระวัง คือ
อุตสาหกรรมเครื่องหนังและเครื่องเรือนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการแข่งขันที่สูงขึ้นจากราคาสินค้าราคาถูกจากต่างชาติ ดังนั้นผู้
ประกอบการจะต้องมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตของโลกที่มีการแข่งขันจากผู้ผลิตต้นทุนต่ำ เช่น จีน อินเดีย และเวียดนาม เป็น
ต้น
(3) สาขาการก่อสร้าง ในครึ่งแรกของปี 2551 หดตัวร้อยละ 1.4 คาดว่าในครึ่งหลังของปีภาวะการก่อสร้างมีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากการ
เดินหน้าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega project) มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่จะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2552 นอกจากนี้
พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากที่เริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคม 2551 จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยจะเริ่มมีการโยก
ย้ายเงินฝากจากธนาคารมาลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น เพื่อรับผลตอบแทนที่สูงในลักษณะการลงทุนในรูปแบบการซื้อเพื่อให้เช่าหรือปล่อยขาย
เมื่อโครงการเสร็จแล้วในภายหลังอย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงในปี 2551 คือปัจจัยราคาวัสดุก่อสร้าง และค่าครองชีพของประชาชนที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผล
กระทบต่อผู้ประกอบการ ในการตัดสินใจในการลงทุน และทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอลง
(4) สาขาบริการท่องเที่ยว เป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2551 จำนวน 15.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากปี 2550 และ
คาดว่ารายได้จากนักท่องเที่ยวประมาณ 600,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 506,435 ล้านบาทในปี 2550 อย่างไรก็ตามครึ่งแรกของปี 2551 มีนักท่อง
เที่ยวต่างชาติ 7.9 ล้านคน หรือร้อยละ 50.3 ของเป้าหมาย การที่จะให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้จึงมีการจัดทำแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวในตลาดหลักๆ
เช่น ภูมิภาคยุโรป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง พร้อมทั้งการรักษาฐานตลาดเดิม และบุกตลาดใหม่
คือเวียดนามฟิลิปปินส์รัสเซียกลุ่มยุโรปตะวันออกตะวันออกกลาง ซึ่งในปี 2551 — 2552 รัฐบาลได้ประกาศให้เป็น “ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย” ซึ่งแนว
ทางการดำเนินงาน คือ การฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวการสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเชิงพื้นที่ที่มีศักยภาพ เช่น การพัฒนาแหล่งท่อง
เที่ยวชายฝั่งอ่าวไทย The Royal Coast หรือ Thailand Riviera ส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ การยกระดับให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่อง
เที่ยวระดับโลก(World Class Destination) รวมทั้งสนับสนุนกิจการวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมด้านการท่องเที่ยว (SMEs) โดยการจัดตั้ง
แผนสินเชื่อสถาบันการเงินที่เอื้อต่อการลงทุนด้านการท่องเที่ยว และพัฒนาเป็นธนาคารท่องเที่ยวในอนาคต 2.5.3 แนวโน้มเงินเฟ้อ ในปี 2551 อัตรา
เงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 6.5-7.0 สูงกว่าที่คาดการณ์เดิมร้อยละ 5.3-5.8 เนื่องจากการปรับเพิ่มราคาวัตถุดิบ ราคาอาหารและสินค้า
เกษตรสูงขึ้น ในขณะที่ราคาน้ำมันยังสูงเช่นที่คาดการณ์ไว้เดิม รวมทั้งมีการปรับเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้างเพิ่มเติมที่มีผลตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา
ใน 7 เดือนอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 6.6 โดยมีอัตราสูงสุดที่ร้อยละ 9.2 ในเดือนกรกฎาคม และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในไตร
มาสสาม ก่อนที่จะปรับลดลงในไตรมาสสุดท้าย เนื่องจากปัจจัย ดังนี้
- ราคาน้ำมันดิบเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวตามภาวะความต้องการในตลาดโลกที่ชะลอตัวลง
- ฐานราคาที่สูงขึ้นในช่วงปลายปี 2550 ช่วยลดแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อในช่วงปลายปี 2551 นี้
- ผลของมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลลิตรละ 3 บาทช่วยลดแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 1.0
ต่อเดือนในช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม (ลดแรงกดดันเงินเฟ้อของทั้งปีลงเฉลี่ยประมาณร้อยละ 0.41)
(ยังมีต่อ).../2.6 การประมาณการ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ