(ต่อ7)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง และแนวโน้มปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 8, 2008 14:59 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          2.6 การประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูง
เศรษฐกิจทั้งปี 2551 จะสามารถขยายตัวในอัตราสูงอย่างน้อยร้อยละ 5.5 ได้ภายใต้เงื่อนไข (i) เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 4.0 และการส่งออกของไทยสามารถปรับตัวและแข่งขันได้ภายใต้ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 8 โดยที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 16 และรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8-9 (ii) การเบิกจ่ายภาครัฐ
เฉลี่ยรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 ของวงเงินงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (iii) ความเชื่อมั่นประชาชนและภาคธุรกิจฟื้นกลับมาหลังจากลด
ลงในไตรมาสสอง และ (iv)ราคาน้ำมันดิบลดลงในครึ่งหลังของปีเนื่องจากมีการปรับเพิ่มปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปกและความต้องการในตลาด
น้ำมันโลกชะลอตัว และเป็นการปรับตัวลดลงจากราคาที่สูงเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานมากในช่วง 7 เดือนแรกโดยที่ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีไม่เกิน
บาร์เรลละ 110-115 ดอลลาร์ สรอ.
"...จากการประเมินปัจจัยสนับสนุน ปัจจัยเสี่ยงและการขยายตัวในระดับสูงในครึ่งแรกที่ผ่านมาคาดว่าโอกาสที่เศรษฐกิจไทยปี 2551 จะ
ขยายตัวได้ร้อยละ 5.2 — 5.7 เป็นประมาณร้อยละ 85..."
3. การบริหารเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังปี 2551
ในช่วงต่อไปรัฐบาลยังจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการที่จะบริหารความเสี่ยงและลดผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงเรื่องราคาน้ำมันและ
อัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงในช่วงปีนี้ เนื่องจากยังมีความเสี่ยงที่ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะยังผันผวนได้ง่ายในภาวะที่ตลาดยังค่อนข้าง
ตึงตัว โดยที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพและการรณรงค์การประหยัดพลังงาน รวมทั้งการเร่งรัดการใช้พลังงานทดแทนให้
ได้ตามเป้าหมาย ในขณะเดียวกัน ต้องเร่งรัดมาตรการระยะยาวให้เริ่มดำเนินการได้ตามกำหนดเวลาโดยเฉพาะโครงการภาครัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐาน ระบบการขนส่งและการกระจายสินค้า และระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑลให้เป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งการเร่งรัดการเบิก
จ่ายงบประมาณสำหรับชนบท การส่งเสริมการส่งออกและการท่องเที่ยว และการดูแลราคาสินค้าเกษตรในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว โดยที่รัฐบาลควรมีแนว
ทางการบริหารเศรษฐกิจในช่วงหลังของปี 2551 ดังนี้
(1) ยังมีความจำเป็นที่จะต้องบรรเทาผลกระทบจากภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากแม้ว่าราคาน้ำมันจะมีแนวโน้ม
ลดลงตั้งแต่เดือนสิงหาคมก็ตาม หากแต่ยังมีแรงกดดันเดิมของต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นสะสมและรอการปรับราคาสินค้าสินค้าอุปโภคบริโภค
(2) รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องดูแลภาคการส่งออกสินค้าของประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันได้เพื่อให้เป็นแรงขับเคลื่อน
เศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ที่ผลกระทบจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (sub-prime) และราคาน้ำมันที่สูงมีผลทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว
เป็นวงกว้างมากขึ้นโดยครอบคลุมถึงตลาดเอเชียรวมทั้งญี่ปุ่นและจีน ซึ่งตลาดเหล่านี้ในช่วงปีที่แล้วและปีนี้บทบาทมากขึ้นอย่างชัดเจนในฐานะตลาดส่งออก
ที่สำคัญของไทย
(3) จะต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งในส่วนของงบรายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุน โดยให้
ความสำคัญของการเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการ SML ให้กระจายสู่ชนบทได้เร็ว รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในส่วนขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนสนับสนุนมาตรการบรรเทาผลกระทบความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น
(4) ดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว 4 เดือนสุดท้ายของปี รวมทั้งสร้างความมั่นใจในปริมาณการผลิตพืช
พลังงานให้เพียงพอกับความต้องการน้ำมันแก๊สโซฮอล์
(5) จะต้องเร่งเตรียมมาตรการทางด้านการตลาดเพื่อเตรียมรับฤดูกาลท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึงในเดือนกันยายนนี้ จะเห็นว่าในช่วงที่
ผ่านมาภาคการท่องเที่ยวมีปัจจัยข้อจำกัดหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนราคาน้ำมัน ราคาค่าโดยสารของสายการบิน และผลกระทบจากการแข่ง
ขันกีฬาโอลิมปิก 2008
(6) ติดตามความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิดเพื่อประกอบการพิจารณานโยบายรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน ซึ่งเมื่อราคาน้ำมัน
ลดลงสู่ระดับที่มีเสถียรภาพมากขึ้นแล้ว ควรพิจารณาทบทวนมาตรการภาษีสรรพสามิตน้ำมันสำเร็จรูปและปรับอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่อให้
เกิดการประหยัดการใช้พลังงาน
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2551
ข้อมูลจริง ประมาณการปี 2551
2548 2549 2550 26 พ.ค._f 25 ส.ค._f
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 7,095.6 7,830.3 8,469.1 9,418.6 9,410.1
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 109,440.9 120,763.4 128,319 142,705.6 142,577.1
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 176.2 206.6 245.4 292.5 284.3
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,715 3,186.40 3,718.2 4,431.9 4,307.5
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 4.5 5.1 4.8 4.5-5.5 5.2 — 5.7
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 10.6 3.8 1.4 8.5 6.2
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 10.6 3.7 0.5 9.3 7.3
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) 10.8 3.9 4.0 6.0 3.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.3 3.0 2.7 4.7 3.5
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 4.5 3.2 1.4 3.8 3.2
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 10.8 2.3 10.8 10.0 5.0
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 3.9 8.5 7.1 7.3 8.5
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 109.4 127.9 150.0 171.3 174.8
อัตราการขยายตัว (%) 15.2 17.0 17.3 13.3 16.5
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 7.4 11.2 10.9 6.3 8.0
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.7 2.6 3.5 10.0 8.4
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 117.6 126.9 138.5 169.8 171.2
อัตราการขยายตัว (%) 25.8 7.9 9.1 22.0 23.6
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 18.4 1.3 3.5 11.0 9.5
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) -8.3 1.0 11.6 1.5 3.6
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1/ -7.6 2.2 15.8 6.0 7.5
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) -4.3 1.0 6.4 2.0 2.6
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 4.5 4.7 2.3 5.3-5.8 6.5 — 7.0
GDP Deflator 4.5 5.0 2.7 5.5-6.0 5.5 — 6.0
อัตราการว่างงาน 1.8 1.5 1.4 1.5 1.5
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 25 สิงหาคม 2551
หมายเหตุ 1/ Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account, and its
contra entry recorded as income on equity in current account.
แนวโน้มราคาน้ำมันในช่วงครึ่งหลังของปี 2551
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี ราคาน้ำมันเฉลี่ย (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และ WTI) ปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจาก 90.4 ดอลลาร์ต่อบาเรล
ในเดือนมกราคม เป็น 133.04 ดอลลาร์ต่อบาเรลในเดือนกรกฎาคม และเฉลี่ย 7 เดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.5 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยมีสาเหตุ
สำคัญจากภาวะตลาดที่ค่อนข้างตึงตัว จากปริมาณความต้องการใช้ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศในเอเชียและตะวันออกกลาง ในขณะที่
ปริมาณการผลิตค่อนข้างทรงตัว นอกจากนั้นยังมีปัจจัยจากการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่งส่งผลให้มีการปรับพอร์ตการลงทุนของกองทุนต่างๆ
ไปสู่สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมันและสินค้าเกษตรมากขึ้น
ทั้งนี้ในช่วงเดือนกรกฎาคม ราคาน้ำมันยังคงปรับเพิ่มขึ้นและทำสถิติปิดสูงสุดที่ 140.77 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ณ วันที่ 4 ก.ค.
2551(ราคาดูไบ) อย่างไรก็ตามในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมต่อเนื่องเดือนสิงหาคมราคาน้ำมันดิบเริ่มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 19 ส.
ค. 2551 ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 109.45 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล การปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในช่วง 1 เดือนที่
ผ่านมานั้น สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มราคาน้ำมันในช่วงที่เหลือของปี ซึ่งนักวิเคราะห์จากหลายสถาบันคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยมีสาเหตุ
สำคัญ ดังนี้
1. ปริมาณความต้องการใช้มีแนวโน้มลดลง จากผลของเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว จากรายงานภาวะตลาดน้ำมันฉบับเดือน
กรกฎาคมของ IEA คาดการณ์ว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำมันโดยรวมของโลกในปี 2551 จะขยายตัวร้อยละ 1 ชะลอลงจากปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อย
ละ 1.3 โดยมีปัจจัยสำคัญจากปริมาณความต้องการใช้ในกลุ่มประเทศ OECD โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและยุโรปที่คาดว่าปริมาณ
ความต้องการใช้จะปรับลดลงร้อยละ 2 และ 1 ตามลำดับ ในทางตรงข้ามปริมาณความต้องการใช้ในกลุ่มประเทศแปซิฟิกจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 โดย
เฉพาะความต้องการใช้ในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.1 และ 4.9 ตามลำดับ
2. ปริมาณการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการขยายกำลังการผลิตในช่วงที่ผ่านมาของทั้งกลุ่มประเทศโอเปคและนอกโอเปค
จากรายงานของ IEA ฉบับล่าสุด ได้ปรับประมาณการจากเดิมที่คาดว่าปริมาณการผลิตจะต่ำกว่าปริมาณความต้องการใช้ถึง 1.7 ล้านบาร์เรลต่อวันใน
ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี เหลือเพียง 0.88 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตทั้งปี 2551 ยังคงต่ำกว่าปริมาณการใช้ที่
ประมาณวันละ 0.52 ล้านบาร์เรล ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะยังคงเป็นแรงผลักดันให้ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าจะมีแนวโน้มปรับลดลงจากในช่วงครึ่ง
ปีแรกก็ตาม
(ยังมีต่อ).../หน่วย: ล้านบาเรลต่อวัน..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ