หน่วย: ล้านบาเรลต่อวัน
2548 2549 ----------------2550-------------- ----------2551_f--------- 2551_f
Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี Q1 Q2f Q3f Q4f ทั้งปี
ปริมาณการผลิต 84.6 85.3 84.20 84.41 84.45 85.59 84.66 85.68 85.85 87.16 87.22 86.48
Non-OPEC 50.4 51.1 49.19 49.31 49.04 49.40 49.24 48.91 48.98 49.65 49.95 49.38
OPECน้ำมันดิบ 29.7 29.7 35.01 35.09 35.41 36.19 35.43 32.17 32.28 32.72 32.12 32.32
NGL 4.5 4.6 4.57 4.51 4.48 4.54 4.53 4.59 4.59 4.79 5.14 4.78
Supply — Demand 0.7 0.6 -1.90 -0.69 -1.15 -1.51 -1.34 -0.92 -0.35 0.56 -0.88 -0.52
3. ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่เริ่มปรับตัวแข็งค่าขึ้น ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เริ่มปรับตัวแข็งค่าขึ้น โดยมี
สาเหตุสำคัญจากการคาดการณ์ว่า ในช่วงปลายปี Fed อาจจะเริ่มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยหลังจากที่ปรับลดลงมาโดยตลอดหลังจากเกิดปัญหาซับไพร์มใน
ช่วงที่ผ่านมา กอปรกับการโยกเงินลงทุนจากภูมิภาคอื่น เช่น ยุโรป ซึ่งคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงที่เหลือของปี นอกจากนั้นบท
วิเคราะห์จากหลายสถาบันยังชี้ให้เห็นว่า ค่าเงินดอลลาร์ในปัจจุบันอาจจะอ่อนค่ากว่ามูลค่าที่แท้จริง จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้มีการกลับเข้ามาซื้อเงิน
ดอลลาร์มากขึ้น ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์เริ่มปรับตัวแข็งค่าขึ้นนั้น ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็เริ่มปรับตัวลดลง และคาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงต่อไป หาก
ค่าเงินดอลลาร์ยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น สศช. คาดว่าราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบทั้งปีจะอยู่ในช่วง 110 -120 ดอลลาร์ สรอ.โดยที่ราคาน้ำมันดิบมีแนว
โน้มชะลอตัวในครึ่งหลังของปี จากการคาดการณ์ว่าความต้องการใช้มีแนวโน้มลดลงจากผลของเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยในช่วงครึ่ง
ปีหลังจะอยู่ที่ประมาณ 115-125 ดอลลาร์สรอ.ต่อบาร์เรล
a. EIA คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ WTI เป็น 127 ดอลลาร์ และ 133 ดอลลาร์ในปี 2551 และ 2552 ตามลำดับ (จากคาดการณ์เมื่อ
เดือนมิถุนายนบาร์เรลละ 122 ดอลลาร์ในปี 2551 และเพิ่มจากบาร์เรลละ 72 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2550)
b. Lehman Brothers คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในปี 2551 ที่บาเรลละ 115 ดอลลาร์ สรอ. (จาก 72.60 ดอลลาร์ สรอ.
ในปี 2550) ก่อนที่จะลดลงเป็นบาเรลละ 93 ดอลลาร์ในปี 2552
หน่วย: ล้านดอลลาร์ ต่อบาเรล
$/bbl 2550 ------------------- 2551 ------------------ ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด
ทั้งปี Q1 Q2 Q3f Q4f ทั้งปี f
WTI 72.64 98.03 124.02 142.67 145 127.39 147.79 87.150
Brent 72.6 96.72 122.21 130 110 115 145.51 87.86
Dubai 68.83 91.50 117.02 125 110 110 140.77 84.13
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงหลังของปี 2551
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2550 และเร่งตัวมากขึ้นจนกลายเป็นประเด็นปัญหาหลักและเป็นความกังวลถึง
ผลกระทบต่อภาวะค่าครองชีพของประชาชนโดยเฉพาะในเรื่องราคาน้ำมันและราคาพืชอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้ข้อจำกัดผลผลิตในตลาดโลก
ในขณะที่ความต้องการเพิ่มขึ้นมาก
- ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา นั้นธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียรายงานว่าสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีราคาเพิ่ม
ขึ้นมาก ได้แก่ น้ำมันดิบมีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 98.3 รองลงมาเป็นราคายางพาราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.02 ราคาปาล์มน้ำมันนั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ
40.08 ราคาทองคำเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.44 ราคาทองแดงเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.40 และราคาน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.13
- แต่อย่างไรก็ตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้เริ่มลดลงตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา จะเห็นว่าดัชนีผสมของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ 19
รายการ (Commodity Research Bureau Index: CRB Index) ลดลงอย่างต่อเนื่องและลดลงเกือบร้อยละ 15 ในระยะเวลาเพียงเดือนครึ่ง
ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดจากที่เคยลดลงร้อยละ 10.5 ในเดือนมีนาคม 2523 เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย โดยที่ราคาน้ำมันดิบ (West Texas
Intermediate: WTI) ลดลงจากระดับสูงสุดบาเรลละ 147 ดอลลาร์ในเดือนกรกฎาคมเป็นบาเรลละ 112.71 ดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 18
สิงหาคม ราคาก๊าซธรรมชาติได้ลดลงร้อยละ 32 สำหรับราคาในกลุ่มโลหะมีค่าก็ลดลงมากเช่นกัน เช่น ในเดือนกรกฎาคมราคาทองคำลดลงต่ำกว่าเป็น
ต่ำกว่าออนซ์ละ 800 ดอลลาร์ สรอ. เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้วเป็นต้นมา โดยที่ราคาลดลงต่อเนื่องจากเฉลี่ย 923 ดอลลาร์ สรอ.
ในไตรมาสแรก และ 896 ดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสสอง ในขณะที่ราคาโลหะเงินนั้นลดลงอย่างรวดเร็ว
- ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมานั้น ประกอบด้วย
- ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวทำให้ความต้องการน้ำมันและวัตถุดิบชะลอตัวลง รวมทั้งความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอ
ตัวต่อเนื่องทำให้หมดช่วงการเก็งกำไร และมีการเทขายตามความต้องการเงินทุน(fund liquidation) ในขณะเดียวกันก็มีส่วนที่ครบสัญญาการซื้อ
ขายล่วงหน้า
- การซื้อทองคำเพื่อการเก็งกำไรลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันที่ชะลอลงตามลำดับและทำให้แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อลดลง ใน
ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาปริมาณการซื้อล่วงหน้า (net long position) ลดลงมากโดยที่มี liquidation of longs ประมาณสัปดาห์ละ 4-5
ล้านออนซ์
- การคาดการณ์ว่านโยบายการเงินในประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะเข้มงวดมากขึ้นเพื่อบรรเทาแรงกดดันต่ออัตราเงิน
เฟ้อ และค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ประกอบกับภาวะสินเชื่อตึงตัวทำให้มีการโยกเงินลงทุนออกจากตลาดล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น โดยที่มีการคาด
การณ์กันว่าจะมีเงินทุนไหลออกจากตลาดอ้างอิงสินค้าโภคภัณฑ์ประมาณ 24 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสสามนี้ เทียบกับที่เงินทุนไหลเข้า จำนวน
25.8 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรก และ 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสสอง
- สินค้าโภคภัณฑ์บางประเภทมีการผลิตเพิ่มขึ้นแล้ว (supply response) จึงลดลงแรงกดดันต่อราคา เช่น กลุ่มโลหะที่ใช้
ในอุตสาหกรรม พืชผลทางการเกษตร (ข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพด เป็นต้น) โดยที่ผลผลิตข้าวโพดของสหรัฐฯ นั้นคาดว่าผลผลิตต่อไร่จะเพิ่มขึ้นเป็น
155 บุชเชลต่อเอเคอร์
- เริ่มมีความกังวลว่ากฎระเบียบและข้อบังคับในการทำธุรกรรมในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์จะเข้มงวดขึ้น
- สำหรับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในช่วงต่อไปนั้น เป็นที่คาดกันจะยังมีแนวโน้มลดลง โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
- ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวเป็นวงกว้างครอบคลุมหลายประเทศรวมทั้งประเทศจีน จะทำให้ความต้องการน้ำมันและวัตถุ
ดิบชะลอตัวลง และกดดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง
- แต่อย่างไรก็ตามราคาจะมีความผันผวนได้ถ้ามีปัญหาการเมืองระหว่างประเทศและในประเทศผู้ผลิตสำคัญ
(geopolitical problems) และภัยธรรมชาติ
- ราคาอาหารอาจจะลดลงไม่มากเนื่องจากตลาดยังคงตึงตัว
- ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ที่ลดลงภายใต้สถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว จะลดแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อในประเทศ
ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ในการดำเนินนโยบายการเงิน และในประเทศที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอ
ลงมากก็จะเริ่มหันมาให้ลำดับความสำคัญกับการขยายตัวของเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องเงินเฟ้อ ทั้งนี้เป็นที่คาดกันว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆ และ
ในระดับภาพรวมของโลกจะสูงสุดในไตรมาสที่สามและชะลอตัวลงหลังจากนั้น และคาดว่าสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยูโร และญี่ปุ่นจะไม่มีการเปลี่ยน
แปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่เหลือของปีหากไม่มีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและปัญหาเงินเฟ้อที่รุนแรง
แม้กระนั้นก็ตาม แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในเดือนสิงหาคม
ราคาน้ำมันดิบลดลงมาอยู่ในระดับ 113 — 115 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ต่ำกว่าระดับสูงสุดที่ 147 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ราคาทองคำลดลงต่ำกว่า
800 เหรียญสหรัฐต่อทรอยออนซ์เป็นครั้งแรกในปี 2551 ราคาข้าวโพดและราคาน้ำมันปาล์มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าในระยะแรกจะมีการคาดการณ์
ว่าการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าดังกล่าวอาจเป็นการปรับตัวในระยะสั้น แต่ข้อมูลต่าง ๆ เริ่มแสดงให้เห็นว่าราคาสินค้าในตลาดโลกอาจผ่านจุดช่วง
สูงสุดมาแล้ว และมีการคาดการณ์โดยทั่วไปว่าระดับราคาสินค้าในตลาดโลกในช่วงครึ่งปีหลังของปีจะอยู่ในระดับต่ำกว่าครึ่งปีแรก แนวโน้มดังกล่าวจะ
ช่วยลดความจำเป็นในการดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวและป้องกันการชะลอตัวอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจโลก และลดแรงกดดันต่อฐานะดุลการค้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
2548 2549 ----------------2550-------------- ----------2551_f--------- 2551_f
Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี Q1 Q2f Q3f Q4f ทั้งปี
ปริมาณการผลิต 84.6 85.3 84.20 84.41 84.45 85.59 84.66 85.68 85.85 87.16 87.22 86.48
Non-OPEC 50.4 51.1 49.19 49.31 49.04 49.40 49.24 48.91 48.98 49.65 49.95 49.38
OPECน้ำมันดิบ 29.7 29.7 35.01 35.09 35.41 36.19 35.43 32.17 32.28 32.72 32.12 32.32
NGL 4.5 4.6 4.57 4.51 4.48 4.54 4.53 4.59 4.59 4.79 5.14 4.78
Supply — Demand 0.7 0.6 -1.90 -0.69 -1.15 -1.51 -1.34 -0.92 -0.35 0.56 -0.88 -0.52
3. ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่เริ่มปรับตัวแข็งค่าขึ้น ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เริ่มปรับตัวแข็งค่าขึ้น โดยมี
สาเหตุสำคัญจากการคาดการณ์ว่า ในช่วงปลายปี Fed อาจจะเริ่มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยหลังจากที่ปรับลดลงมาโดยตลอดหลังจากเกิดปัญหาซับไพร์มใน
ช่วงที่ผ่านมา กอปรกับการโยกเงินลงทุนจากภูมิภาคอื่น เช่น ยุโรป ซึ่งคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงที่เหลือของปี นอกจากนั้นบท
วิเคราะห์จากหลายสถาบันยังชี้ให้เห็นว่า ค่าเงินดอลลาร์ในปัจจุบันอาจจะอ่อนค่ากว่ามูลค่าที่แท้จริง จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้มีการกลับเข้ามาซื้อเงิน
ดอลลาร์มากขึ้น ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์เริ่มปรับตัวแข็งค่าขึ้นนั้น ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็เริ่มปรับตัวลดลง และคาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงต่อไป หาก
ค่าเงินดอลลาร์ยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น สศช. คาดว่าราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบทั้งปีจะอยู่ในช่วง 110 -120 ดอลลาร์ สรอ.โดยที่ราคาน้ำมันดิบมีแนว
โน้มชะลอตัวในครึ่งหลังของปี จากการคาดการณ์ว่าความต้องการใช้มีแนวโน้มลดลงจากผลของเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยในช่วงครึ่ง
ปีหลังจะอยู่ที่ประมาณ 115-125 ดอลลาร์สรอ.ต่อบาร์เรล
a. EIA คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ WTI เป็น 127 ดอลลาร์ และ 133 ดอลลาร์ในปี 2551 และ 2552 ตามลำดับ (จากคาดการณ์เมื่อ
เดือนมิถุนายนบาร์เรลละ 122 ดอลลาร์ในปี 2551 และเพิ่มจากบาร์เรลละ 72 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2550)
b. Lehman Brothers คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในปี 2551 ที่บาเรลละ 115 ดอลลาร์ สรอ. (จาก 72.60 ดอลลาร์ สรอ.
ในปี 2550) ก่อนที่จะลดลงเป็นบาเรลละ 93 ดอลลาร์ในปี 2552
หน่วย: ล้านดอลลาร์ ต่อบาเรล
$/bbl 2550 ------------------- 2551 ------------------ ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด
ทั้งปี Q1 Q2 Q3f Q4f ทั้งปี f
WTI 72.64 98.03 124.02 142.67 145 127.39 147.79 87.150
Brent 72.6 96.72 122.21 130 110 115 145.51 87.86
Dubai 68.83 91.50 117.02 125 110 110 140.77 84.13
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงหลังของปี 2551
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2550 และเร่งตัวมากขึ้นจนกลายเป็นประเด็นปัญหาหลักและเป็นความกังวลถึง
ผลกระทบต่อภาวะค่าครองชีพของประชาชนโดยเฉพาะในเรื่องราคาน้ำมันและราคาพืชอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้ข้อจำกัดผลผลิตในตลาดโลก
ในขณะที่ความต้องการเพิ่มขึ้นมาก
- ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา นั้นธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียรายงานว่าสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีราคาเพิ่ม
ขึ้นมาก ได้แก่ น้ำมันดิบมีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 98.3 รองลงมาเป็นราคายางพาราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.02 ราคาปาล์มน้ำมันนั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ
40.08 ราคาทองคำเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.44 ราคาทองแดงเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.40 และราคาน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.13
- แต่อย่างไรก็ตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้เริ่มลดลงตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา จะเห็นว่าดัชนีผสมของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ 19
รายการ (Commodity Research Bureau Index: CRB Index) ลดลงอย่างต่อเนื่องและลดลงเกือบร้อยละ 15 ในระยะเวลาเพียงเดือนครึ่ง
ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดจากที่เคยลดลงร้อยละ 10.5 ในเดือนมีนาคม 2523 เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย โดยที่ราคาน้ำมันดิบ (West Texas
Intermediate: WTI) ลดลงจากระดับสูงสุดบาเรลละ 147 ดอลลาร์ในเดือนกรกฎาคมเป็นบาเรลละ 112.71 ดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 18
สิงหาคม ราคาก๊าซธรรมชาติได้ลดลงร้อยละ 32 สำหรับราคาในกลุ่มโลหะมีค่าก็ลดลงมากเช่นกัน เช่น ในเดือนกรกฎาคมราคาทองคำลดลงต่ำกว่าเป็น
ต่ำกว่าออนซ์ละ 800 ดอลลาร์ สรอ. เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้วเป็นต้นมา โดยที่ราคาลดลงต่อเนื่องจากเฉลี่ย 923 ดอลลาร์ สรอ.
ในไตรมาสแรก และ 896 ดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสสอง ในขณะที่ราคาโลหะเงินนั้นลดลงอย่างรวดเร็ว
- ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมานั้น ประกอบด้วย
- ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวทำให้ความต้องการน้ำมันและวัตถุดิบชะลอตัวลง รวมทั้งความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอ
ตัวต่อเนื่องทำให้หมดช่วงการเก็งกำไร และมีการเทขายตามความต้องการเงินทุน(fund liquidation) ในขณะเดียวกันก็มีส่วนที่ครบสัญญาการซื้อ
ขายล่วงหน้า
- การซื้อทองคำเพื่อการเก็งกำไรลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันที่ชะลอลงตามลำดับและทำให้แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อลดลง ใน
ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาปริมาณการซื้อล่วงหน้า (net long position) ลดลงมากโดยที่มี liquidation of longs ประมาณสัปดาห์ละ 4-5
ล้านออนซ์
- การคาดการณ์ว่านโยบายการเงินในประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะเข้มงวดมากขึ้นเพื่อบรรเทาแรงกดดันต่ออัตราเงิน
เฟ้อ และค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ประกอบกับภาวะสินเชื่อตึงตัวทำให้มีการโยกเงินลงทุนออกจากตลาดล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น โดยที่มีการคาด
การณ์กันว่าจะมีเงินทุนไหลออกจากตลาดอ้างอิงสินค้าโภคภัณฑ์ประมาณ 24 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสสามนี้ เทียบกับที่เงินทุนไหลเข้า จำนวน
25.8 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรก และ 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสสอง
- สินค้าโภคภัณฑ์บางประเภทมีการผลิตเพิ่มขึ้นแล้ว (supply response) จึงลดลงแรงกดดันต่อราคา เช่น กลุ่มโลหะที่ใช้
ในอุตสาหกรรม พืชผลทางการเกษตร (ข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพด เป็นต้น) โดยที่ผลผลิตข้าวโพดของสหรัฐฯ นั้นคาดว่าผลผลิตต่อไร่จะเพิ่มขึ้นเป็น
155 บุชเชลต่อเอเคอร์
- เริ่มมีความกังวลว่ากฎระเบียบและข้อบังคับในการทำธุรกรรมในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์จะเข้มงวดขึ้น
- สำหรับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในช่วงต่อไปนั้น เป็นที่คาดกันจะยังมีแนวโน้มลดลง โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
- ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวเป็นวงกว้างครอบคลุมหลายประเทศรวมทั้งประเทศจีน จะทำให้ความต้องการน้ำมันและวัตถุ
ดิบชะลอตัวลง และกดดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง
- แต่อย่างไรก็ตามราคาจะมีความผันผวนได้ถ้ามีปัญหาการเมืองระหว่างประเทศและในประเทศผู้ผลิตสำคัญ
(geopolitical problems) และภัยธรรมชาติ
- ราคาอาหารอาจจะลดลงไม่มากเนื่องจากตลาดยังคงตึงตัว
- ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ที่ลดลงภายใต้สถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว จะลดแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อในประเทศ
ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ในการดำเนินนโยบายการเงิน และในประเทศที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอ
ลงมากก็จะเริ่มหันมาให้ลำดับความสำคัญกับการขยายตัวของเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องเงินเฟ้อ ทั้งนี้เป็นที่คาดกันว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆ และ
ในระดับภาพรวมของโลกจะสูงสุดในไตรมาสที่สามและชะลอตัวลงหลังจากนั้น และคาดว่าสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยูโร และญี่ปุ่นจะไม่มีการเปลี่ยน
แปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่เหลือของปีหากไม่มีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและปัญหาเงินเฟ้อที่รุนแรง
แม้กระนั้นก็ตาม แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในเดือนสิงหาคม
ราคาน้ำมันดิบลดลงมาอยู่ในระดับ 113 — 115 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ต่ำกว่าระดับสูงสุดที่ 147 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ราคาทองคำลดลงต่ำกว่า
800 เหรียญสหรัฐต่อทรอยออนซ์เป็นครั้งแรกในปี 2551 ราคาข้าวโพดและราคาน้ำมันปาล์มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าในระยะแรกจะมีการคาดการณ์
ว่าการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าดังกล่าวอาจเป็นการปรับตัวในระยะสั้น แต่ข้อมูลต่าง ๆ เริ่มแสดงให้เห็นว่าราคาสินค้าในตลาดโลกอาจผ่านจุดช่วง
สูงสุดมาแล้ว และมีการคาดการณ์โดยทั่วไปว่าระดับราคาสินค้าในตลาดโลกในช่วงครึ่งปีหลังของปีจะอยู่ในระดับต่ำกว่าครึ่งปีแรก แนวโน้มดังกล่าวจะ
ช่วยลดความจำเป็นในการดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวและป้องกันการชะลอตัวอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจโลก และลดแรงกดดันต่อฐานะดุลการค้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-