(ต่อ5)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกและแนวโน้มปี 2549

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 8, 2006 14:40 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          ภาคการเงิน : ดอกเบี้ยปรับสูงขึ้นตามลำดับ การขยายตัวของสินเชื่อเริ่มมี สัญญาณชะลอตัว และสภาพคล่องของตลาดเงินยังอยู่ในระดับสูง  โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้ 
- คณะกรรมการนโยบายการเงินปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง ๆ ละ 25 bps. ในไตรมาสแรก และปรับเพิ่มขึ้นอีก 1 ครั้งในเดือนเมษายน 2549 เป็นร้อยละ 4.75 ต่อปี ขณะที่ Fed Fund Rate ในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี ธนาคารพาณิชย์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการแข่งขันกันมากขึ้นในปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อรักษาฐานเงินฝากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนของ 5 ธนาคารใหญ่อยู่ที่ร้อยละ 4.375 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR อยู่ที่ร้อยละ 7.625 ต่อปี และคาดว่าอาจมีการปรับดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นอีกเพียงเล็กน้อยเนื่องจากสภาพคล่องในระบบการเงินยังมีอยู่สูง และการลงทุนที่ชะลอตัวจะไม่ทำให้สภาพคล่องตึงตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ยังอาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีการปรับดอกเบี้ยขึ้นในระดับที่น้อยกว่าดอกเบี้ยนโยบายและดอกเบี้ยเงินฝาก
- การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ทำให้เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น โดยเงินฝากในไตรมาสแรกที่ไม่รวมผลจากการจัดตั้งธนาคารใหม่ขยายตัวร้อยละ 7.6 เทียบกับการขยายตัวเพียงประมาณร้อยละ 3 ในช่วงไตรมาสเดียวกันของปี 2548 และเงินฝากประจำที่ลดลงตลอดตั้งแต่ปี 2545 ถึงช่วงกลางปี 2548 มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 27.3 ในไตรมาสนี้ โดยที่ส่วนหนึ่งมีการโยกย้ายเงินฝากออมทรัพย์ที่ยังไม่มีการปรับเพิ่มดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป ไปสู่เงินฝากประจำที่เสนออัตราดอกเบี้ยสูงกว่ามาก ทำให้เงินฝากออมทรัพย์หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี โดยลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 4.2
- สินเชื่อธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมีแนวโน้ม ชะลอตัว โดยขยายตัวร้อยละ 6.6 เทียบกับระยะภาคอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนมากที่สุดขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่ำลงมากจากช่วงต้นปี 2548 ก่อนมีการปรับดอกเบี้ย ที่มีอัตราการขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 13 และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลชะลอตัวจากร้อยละ 16.1 ในไตรมาสแรกของปี2548 เป็นร้อยละ 11.7 ในไตรมาสแรกของปีนี้โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยชะลอลงมากจากการขยายตัวร้อยละ 22.9 เป็นร้อยละ 9.5 ในปีนี้ทั้งนี้ยังไม่มีสัญญาณการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อันเนื่องมาจากการปรับเพิ่มดอกเบี้ยที่ชัดเจน
- เงินบาทมีค่าเฉลี่ยในไตรมาสแรกที่ 39.29 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ4.2 แต่อ่อนค่าลงจากระยะเดียวกันของปี 2548ร้อยละ 1.9 และยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสสอง และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปีที่ระดับ 37.47 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในช่วงปลายเดือนเมษายน และมีค่าเฉลี่ยในเดือนพฤษภาคมที่ 37.97 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. การแข็งค่าของเงิน บาทมีทิศทางเดี ยวกับค่าเงินในภูมิภาคทุกสกุล เนื่องจากมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากและมีการคาดการณ์ถึงแนวโน้มการปรับค่าเงินหยวน ค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ แข็งค่าขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน และเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) ปรับขึ้นค่อนข้างมาก และค่าเงินที่แท้จริงของไทยแข็งกว่าหลายประเทศในภูมิภาคซึ่งอาจการทบกับความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออก
การออกตราสารทุนของภาคธุรกิจมีมูลค่าลดลงมากในไตรมาสนี้ ขณะที่การระดมทุนด้วยตราสารหนี้ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดจะปรับเพิ่มขึ้นก็ตาม และมีการเพิ่มตั๋วเงินระยะสั้นเข้ามาเป็นเพิ่มขึ้นก็ตาม และมีการเพิ่มตั๋วเงินระยะสั้นเข้ามาเป็นตราสารเพื่อระดมทุนหมุนเวียนได้สะดวกขึ้น
ภาวะตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากมีนักลงทุน ต่างประเทศเข้าซื้อหุ้นสะสมเป็นจำนวนมาก ขณะที่นักลงทุนในประเทศทั้งรายย่อยและนักลงทุนสถาบันชะลอการลงทุน ผลประกอบการของธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 13 ขณะที่กำไรของกลุ่มสถาบันการเงินอยู่ในระดับทรงตัว
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณตราสารระยะยาวในตลาดที่ค่อนข้างจำกัด และนักลงทุนคาดว่าการปรับเพิ่มดอกเบี้ยจะไม่ส่งผลในระยะยาวเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจะสามารถปรับตัวและทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย
1.2 เศรษฐกิจโลกในไตรมาสแรกปี 2549 : มีการขยายตัวในลักษณะที่ฐานกว้างมากขึ้นจากการที่เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีขึ้นในเกือบทุกประเทศ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าและการลงทุนเป็นสำคัญ แต่แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อมีมากขึ้น ประเทศส่วนใหญ่จึงมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
เศรษฐกิจสหรัฐ จีน สหภาพยุโรป และเศรษฐกิจของประเทศหลักในภูมิภาคอาเซียนขยายตัวได้ดีขึ้น โดยการส่งออกสินค้าและบริการและการลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ดีขึ้น แต่เศรษฐกิจญี่ปุ่นชลอตัวลงเนื่องจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนในที่อยู่อาศัย และการส่งออกสินค้าและบริการชะลอตัว ในขณะที่การนำเข้าที่เร่งตัวขึ้นมากเพื่อสนับสนุนการลงทุน เศรษฐกิจอินโดนีเซียก็ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่สี่ปี 2548 เล็กน้อยเช่นกัน ตามภาวะการชะลอตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนและการใช้จ่ายรัฐบาล กลุ่มประเทศ NIEs ทั้งสิงคโปร์และเกาหลีใต้ ขยายตัวได้สูง จากการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์
และผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวมากในช่วงวัฏจักรขาขึ้นของอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า การลงทุนฟื้นตัวได้ดีขึ้นในประเทศเศรษฐกิจหลักในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ เยอรมัน สหราชอาณาจักร มาเลเซียและอินโดนีเซีย
เศรษฐกิจสหรัฐ ขยายตัวได้เร่งขึ้นในไตรมาสที่หนึ่งตามการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนในหมวดซอฟท์แวร์และอุปกรณ์ที่ขยายตัวได้ดี เศรษฐกิจจีนยังมีความร้อนแรงสูง เนื่องจากการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวในอัตราสูง เศรษฐกิจญี่ปุ่นชลอตัวเล็กน้อยเนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอตัว แต่มีสัญญาณการฟื้นตัวได้ดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2548 โดยที่ภาวะเงินฝืดและสินเชื่อหดตัวหมดไป และอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 4.1 ต่ำสุดในรอบ 7 ปี
ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อในไตรมาสแรกยังอยู่ในระดับสูงและเศรษฐกิจโลกมีการปรับตัวจากปัญหาความไม่สมดุลมากขึ้น จะเห็นว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งญี่ปุ่น และจีน มีการเกินดุลการค้าลดลงในขณะที่สหรัฐ และฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าลดลงในไตรมาสที่หนึ่ง แต่สหภาพยุโรปขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น
(ยังมีต่อ).../2.ประมาณ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ