ประเมินเงินกองทุน (Capital) คุณภาพสินทรัพย์ (Assets quality) รายได้ (Earnings) และสภาพคล่อง (Liquidity) ประกอบการพิจารณาด้วย
สำหรับ Secondary models ที่ FSS ใช้ได้แก่ Ordinary Least Square Model (OLS Model) ตัวอย่างตัวแปรตามที่ใช้ในแบบจำลองคือ ความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและต้นเงิน ตัวแปรอิสระที่ใช้ เช่น อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Assets) ความผันแปรของอัตราแลกเปลี่ยน อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ฯลฯ และ Probit Model โดยมีตัวแปรตาม ตือความน่าจะเป็นที่จะเกิดวิกฤตทางการเงิน (Probability of Financial Crisis) และตัวแปรอิสระคือ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ความผันแปรของเงินสำรองต่างประเทศ (Variation of Foreign Reserve) และอัตราการขยายตัวของการผลิต
(2) การวิเคราะห์ติดตาม (Off-site Surveillance) ผู้ตรวจสอบจะทำหน้าที่วิเคราะห์และติดตามดูแลระบบธนาคารพาณิชย์และรายธนคารพาณิชย์โดยพิจารณาจากปัจจัยที่สำคัญ 7 ตัว ได้แก่ อัตราการค้างชำระ (Delinquency Ratio) สภาพคล่อง อัตราการขยายตัวของเงินฝาก การขยายตัวของสินเชื่อใหม่ ผลกำไร/ขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเมื่อทวงถาม (Call
Rate Spread) อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ รวมถึงติดตามเหตุการณ์ที่สำคัญต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
เอกสารแนบ
1. บทบาทและหน้าที่ขององค์กรที่เจ้าหน้าที่ สศช. เดินทางไปดูงาน
(1) กระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ (Ministry of Finance and Economy: MOFE)
กระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ (Ministry of Finance and Economy: MOFE) เป็นการรวมกันของหน่วยงานกระทรวงการคลัง (Ministry of Finance) และหน่วยงานวางแผน (Economic Planning Board) ในปี 1994 และเพื่อป้องกันปัญหา over-concentration จึงได้แยกส่วนงานเกี่ยวข้องกับงบประมาณให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงการวางแผนและงบประมาณ (Ministry of
Planning and Budget) และส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับสถาบันการเงินไปอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับสถาบันการเงิน (Financial Supervisory Commission) ในขณะที่การตัดสินใจด้านนโยบายการเงินอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของธนาคารกลาง
ความรับผิดชอบหลักของ MOFE ในปัจจุบัน คือการกำหนดกรอบนโยบายเศรษฐกิจและสังคมในระยะปานกลางและระยะยาว นโยบายภาษี การกำหนดกรอบหนี้สาธารณะ กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน
(2) ธนาคารกลางประเทศเกาหลีใต้ (Bank of Korea: BOK)
ธนาคารกลางประเทศเกาหลี ตั้งขึ้นในปี 1950 บทบาทและหน้าที่หลักคือการรักษาเสถียรภาพของราคา โดยที่ธนาคารกลางจะกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อทุกปีโดยการหารือร่วมกับรัฐบาล และมีการประกาศต่อสาธารณชนให้ทราบถึงเป้าหมาย ภายใต้บทบาทหลักดังกล่าวธนาคารกลางดำเนินงานต่างๆ ประกอบด้วย การจัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตร การดำเนินนโยบายการเงินและสินเชื่อ เป็นนายธนาคารของรัฐบาล บริหารทุนสำรองระหว่างประเทศ และกำกับธนาคารพาณิชย์
การดำเนินนโยบายการเงินเป็นรูปแบบการกำหนดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเป็นเป้าหมาย (Inflation Targeting Monetary Regime) โดยที่เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในระยะปานกลางอยู่ที่ร้อยละ 2.5-3.5 คณะกรรมการนโยบายการเงินประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดทิศทางนโยบายการเงิน ซึ่งได้มาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี และมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี องค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ประกอบด้วย
* ผู้ว่าการธนาคารกลาง (Governor)
* รองผู้ว่าการธนาคารกลาง (Deputy Governor)
* กรรมการ 1 คน แต่งตั้งโดยคำแนะนำของ Ministry of Finance and Economy
* กรรมการ 1 คน แต่งตั้งโดยคำแนะนำของ Governor of Bank of Korea
* กรรมการ 1 คน แต่งตั้งโดยคำแนะนำของ Chairman of the Financial Supervisory
Commission
* กรรมการ 1 คน แต่งตั้งโดยคำแนะนำของ Chairman of the Chamber of Commerce and
Industry
* กรรมการ 1 คน แต่งตั้งโดยคำแนะนำของ Chairman of the Korea Federation of Bank
(3) Korea Institute for Industrial Economics and Trade (KIET)
KIET เป็นองค์การที่ไม่แสวงหากำไร (Non-profit and Non-partisan Organization) จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลเกาหลีใต้ในปี 1976 มีบทบาทและหน้าที่หลัก คือ วิเคราะห์และประมาณการภาพรวมอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมรายสาขาและแนวโน้มเศรษฐกิจ เพื่อเสนอแนะแนวนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม การกำหนดยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมและเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศ ต่อรัฐบาล
โครงสร้างหลักขององค์กร ประกอบด้วยศูนย์วิจัย 1 แห่ง ได้แก่ Research center for balanced national development และ 6 หน่วยงานวิจัยย่อย ได้แก่ (1) Leading Industries Division (2) Advanced Technologies and Service Industries Division (3) Industrial Competitiveness Division (4) Industrial Cooperation and Globalization Division (5) Small and Venture Business Division (6) Economic Survey and Forecasting Division
(2) สภาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Korea Federation of Small and Medium Business: KFSB)
KFSB เป็นองค์กรอิสระที่ไม่หวังผลกำไร ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1962 โดยความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาล (เงินทุนในการดำเนินงานจากเอกชนและรัฐบาลในสัดส่วน 40:60) เพื่อสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือแก่กิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง (Small and Medium Business: SMEs) ในการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของ SMEs จำนวนทั้งหมด 2.7 ล้านกิจการ โดยอาศัยความร่วมมือของเครือข่ายที่ครอบคลุมกว้างขวางทั่วประเทศ ซึ่งบริการที่จัดให้แก่สมาชิกมี 3 ส่วนหลัก คือ สนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร/ความรู้/เทคโนโลยี ให้คำแนะนำจากผู้ชำนาญการ และสร้างเครือข่ายของ SMEs ปัจจุบันมีกิจการ SMEs ที่เป็นสมาชิก KFSB ประมาณ 600 ราย และมีสาขาทั่วประเทศจำนวน 12 สาขา และเพื่อสนับสนุนบทบาทและหน้าที่หลักดังกล่าว KFSB ดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ดังนี้
(4.1) การสำรวจ ศึกษาและวิจัยเชิงนโยบาย
(4.2) ให้การสนับสนุนในการเริ่มต้นทางธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(4.3) จัดนิทรรศการการค้าและธุรกิจ
(4.4) ส่งเสริมและสนับสนุนการร่วมธุรกิจระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดย่อม
(4.5) การสนับสนุนด้านสินเชื่อ/สภาพคล่อง (Mutual Assistance Fund)
(4.6) โปรแกรมการพัฒนาทรัพยกรมนุษย์ และเป็นศูนย์กลางการอบรวม
(4.7) การดำเนินกลยุทธ์ภายใต้บริบทของโลกาภิวัตน์
(4.8) การให้บริการด้านข่าวสาร/ข้อมูล
(4.9) การให้ความช่วยเหลือด้านการตลาด
(3) Korea Center of International Finance (KCIF)
KCIF ถูกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2542 ภายใต้การกำกับของรัฐบาลเกาหลีและธนาคารกลางแห่งประเทศเกาหลี เพื่อเป็นหน่วยงานที่จัดทำระบบสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลเพื่อป้องกันมิให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเช่นที่เกิดขึ้นในปี 2541 หน้าที่หลักของ KCIF คือการพัฒนาระบบเตือนภัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยการจัดทำรายงานเครื่องชี้ที่ใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจและการติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะในเรื่องตลาดการเงินโลกและภาวะเศรษฐกิจโลก
บทบาทและหน้าที่หลักประกอบด้วย
(5.1) การติดตามภาวะเศรษฐกิจ การเงิน และการตลาดอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง (Full-time market monitoring) โดยอาศัยเครือข่ายข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ KCIF ได้พัฒนาและการจัดซื้อข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตลาดการเงินภายในและต่างประเทศ
(5.2) KCIF มีหน้าที่รายงานข้อมูลที่เป็น real time ต่อกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ และธนาคารกลาง รวมทั้งสถาบันการเงิน รวมทั้งการรายงานข้อมูลและการวิเคราะห์เบื้องต้นเพื่อการตัดสินใจต่อรัฐบาลที่ตารางเวลาที่มีกำหนดชัดเจน
(5.3) เสนอแนะทางเลือกนโยบายด้านการเงินระหว่างประเทศให้แก่รัฐบาล บนพื้นฐานของการวิเคราะห์เชิงลึกและทันเวลา KCIF เสนอแนะทางเลือกนโยบายการเงินระหว่างประเทศแก่ MOFE BOK และ Financial Supervisory Commission
(5.4) KCIF รายงานเครื่องชี้ระบบสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจแก่รัฐบาลเป็นประจำทุกเดือน และเป็นการรายงานเฉพาะต่อรัฐบาลเท่านั้น เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายเพือรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
(5.5) KCIF ให้คำปรึกษาต่อรัฐบาลในกระบวนการ/ขั้นตอนของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เช่น การออกพันธบัตรและ securities ในตลาดทุนต่างประเทศ และเรื่องความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับค่าเงิน
2. ภารกิจหลักของกระทรวงที่ดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจ
(1) กระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ (Ministry of Finance and Economy)
* กำหนดนโยบายทางการเงินและภาษีเพื่อสนับสนุนอุสาหกรรมขนาด เล็กและขนาดย่อม (SMEs) และการร่วมลงทุนจากต่างชาติ
* ส่งเสริมให้มีเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
* พัฒนาระบบการเงินให้มีความก้าวหน้า
* ยกระดับประสิทธิภาพของภาคราชการในการดำเนินงานด้านภาษีและการคลัง
(2) กระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs and Trade)
* การมีส่วนร่วมเจรจาในการประชุมองค์การการค้าโลกรอบ Doha Development Agenda
* ผลักดันการทำความตกลงการค้าเสรีพหุภาคี
* ดำเนินงานการประชุม APEC ที่เมืองปูซานให้ประสบความสำเร็จ
* การมีบทบาทในการเจรจาธุรกิจเพื่อสนับสนุนการส่งออกของธุรกิจภายในประเทศ และ
ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
(3) กระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรม และพลังงาน (Ministry of Commerce, Industry and Energy)
* ฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอให้สามารถขยายตัวได้
* สนับสนุนแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้เกิดการขยายตัวอย่างยั่งยืน
* ยกระดับการส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อให้อยู่ในระดับแถวหน้าทางการค้า
* ดำเนินนโยบายการขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาภูมิภาคให้มีความสมดุล
* เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและการจัดหาวัตถุดิบ
(4) กระทรวงแรงงาน (Ministry of Labor)
* วางแนวทางสำหรับการสร้างงานให้มีทั้งปริมาณงานและคุณภาพที่เพิ่มขึ้น
* ลดช่องว่างการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมอันเกิดจากประเภทของงาน และแก้ไขการกีดกันแรงงานในตลาดแรงงาน
* สร้างความเข็มแข็งด้านการคุ้มครองแรงงานและเครือข่ายทางสังคม
* สนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์ของสหภาพแรงงานต่างๆ
(5) กระทรวงการวางแผนและงบประมาณ (Ministry of Planning and Budget)
* จัดทำแผนงบประมาณทางการคลังโดยมุ่งเน้นการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะปานกลางและระยะยาว
* สนับสนุนการประกาศใช้กฎหมายการคลังแห่งชาติ โดยอาศัยระบบการบริหารทางการคลังแบบใหม่
* ปรับปรุงกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับแผนการลงทุนภาคเอกชน
* พัฒนาแนวทางการจัดการกองทุน
* ส่งเสริมนวัตกรรมบริหารจัดการให้แก่ภาครัฐวิสาหกิจและเครือข่าย
(6) คณะกรรมการการค้า (Fair Trade Commission)
* ตรวจสอบระบบและวางแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการแข่งขันทางการค้า
* ปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจ SMEs
* ส่งเสริมการสร้างบรรยากาศทางการตลาดที่มุ่งเน้นสิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภค
* นำนโยบายของกลุ่มธุรกิจแชโบล (Chaebol) ไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
(7) คณะกรรมการควบคุมและตรวจสอบทางการเงิน (Financial Supervisory Commission)
* สนับสนุนระบบการควบคุมและตรวจสอบของภาคการเงิน
* พัฒนาแนวทางการดำเนินงานและระบบการตรวจสอบของตลาดทุนให้เกิดความโปร่งใส
* ขยายความครอบคลุมของระบบการป้องกันและคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน
(8) องค์การบริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Business
Administration)
* จัดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่แก่ SMEs
* สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรและสนับสนุนการปรับโครงสร้าง SMEs
* ขับเคลื่อนให้เกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจ SMEs และธุรกิจส่วนตัว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
สำหรับ Secondary models ที่ FSS ใช้ได้แก่ Ordinary Least Square Model (OLS Model) ตัวอย่างตัวแปรตามที่ใช้ในแบบจำลองคือ ความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและต้นเงิน ตัวแปรอิสระที่ใช้ เช่น อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Assets) ความผันแปรของอัตราแลกเปลี่ยน อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ฯลฯ และ Probit Model โดยมีตัวแปรตาม ตือความน่าจะเป็นที่จะเกิดวิกฤตทางการเงิน (Probability of Financial Crisis) และตัวแปรอิสระคือ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ความผันแปรของเงินสำรองต่างประเทศ (Variation of Foreign Reserve) และอัตราการขยายตัวของการผลิต
(2) การวิเคราะห์ติดตาม (Off-site Surveillance) ผู้ตรวจสอบจะทำหน้าที่วิเคราะห์และติดตามดูแลระบบธนาคารพาณิชย์และรายธนคารพาณิชย์โดยพิจารณาจากปัจจัยที่สำคัญ 7 ตัว ได้แก่ อัตราการค้างชำระ (Delinquency Ratio) สภาพคล่อง อัตราการขยายตัวของเงินฝาก การขยายตัวของสินเชื่อใหม่ ผลกำไร/ขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเมื่อทวงถาม (Call
Rate Spread) อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ รวมถึงติดตามเหตุการณ์ที่สำคัญต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
เอกสารแนบ
1. บทบาทและหน้าที่ขององค์กรที่เจ้าหน้าที่ สศช. เดินทางไปดูงาน
(1) กระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ (Ministry of Finance and Economy: MOFE)
กระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ (Ministry of Finance and Economy: MOFE) เป็นการรวมกันของหน่วยงานกระทรวงการคลัง (Ministry of Finance) และหน่วยงานวางแผน (Economic Planning Board) ในปี 1994 และเพื่อป้องกันปัญหา over-concentration จึงได้แยกส่วนงานเกี่ยวข้องกับงบประมาณให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงการวางแผนและงบประมาณ (Ministry of
Planning and Budget) และส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับสถาบันการเงินไปอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับสถาบันการเงิน (Financial Supervisory Commission) ในขณะที่การตัดสินใจด้านนโยบายการเงินอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของธนาคารกลาง
ความรับผิดชอบหลักของ MOFE ในปัจจุบัน คือการกำหนดกรอบนโยบายเศรษฐกิจและสังคมในระยะปานกลางและระยะยาว นโยบายภาษี การกำหนดกรอบหนี้สาธารณะ กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน
(2) ธนาคารกลางประเทศเกาหลีใต้ (Bank of Korea: BOK)
ธนาคารกลางประเทศเกาหลี ตั้งขึ้นในปี 1950 บทบาทและหน้าที่หลักคือการรักษาเสถียรภาพของราคา โดยที่ธนาคารกลางจะกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อทุกปีโดยการหารือร่วมกับรัฐบาล และมีการประกาศต่อสาธารณชนให้ทราบถึงเป้าหมาย ภายใต้บทบาทหลักดังกล่าวธนาคารกลางดำเนินงานต่างๆ ประกอบด้วย การจัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตร การดำเนินนโยบายการเงินและสินเชื่อ เป็นนายธนาคารของรัฐบาล บริหารทุนสำรองระหว่างประเทศ และกำกับธนาคารพาณิชย์
การดำเนินนโยบายการเงินเป็นรูปแบบการกำหนดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเป็นเป้าหมาย (Inflation Targeting Monetary Regime) โดยที่เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในระยะปานกลางอยู่ที่ร้อยละ 2.5-3.5 คณะกรรมการนโยบายการเงินประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดทิศทางนโยบายการเงิน ซึ่งได้มาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี และมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี องค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ประกอบด้วย
* ผู้ว่าการธนาคารกลาง (Governor)
* รองผู้ว่าการธนาคารกลาง (Deputy Governor)
* กรรมการ 1 คน แต่งตั้งโดยคำแนะนำของ Ministry of Finance and Economy
* กรรมการ 1 คน แต่งตั้งโดยคำแนะนำของ Governor of Bank of Korea
* กรรมการ 1 คน แต่งตั้งโดยคำแนะนำของ Chairman of the Financial Supervisory
Commission
* กรรมการ 1 คน แต่งตั้งโดยคำแนะนำของ Chairman of the Chamber of Commerce and
Industry
* กรรมการ 1 คน แต่งตั้งโดยคำแนะนำของ Chairman of the Korea Federation of Bank
(3) Korea Institute for Industrial Economics and Trade (KIET)
KIET เป็นองค์การที่ไม่แสวงหากำไร (Non-profit and Non-partisan Organization) จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลเกาหลีใต้ในปี 1976 มีบทบาทและหน้าที่หลัก คือ วิเคราะห์และประมาณการภาพรวมอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมรายสาขาและแนวโน้มเศรษฐกิจ เพื่อเสนอแนะแนวนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม การกำหนดยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมและเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศ ต่อรัฐบาล
โครงสร้างหลักขององค์กร ประกอบด้วยศูนย์วิจัย 1 แห่ง ได้แก่ Research center for balanced national development และ 6 หน่วยงานวิจัยย่อย ได้แก่ (1) Leading Industries Division (2) Advanced Technologies and Service Industries Division (3) Industrial Competitiveness Division (4) Industrial Cooperation and Globalization Division (5) Small and Venture Business Division (6) Economic Survey and Forecasting Division
(2) สภาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Korea Federation of Small and Medium Business: KFSB)
KFSB เป็นองค์กรอิสระที่ไม่หวังผลกำไร ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1962 โดยความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาล (เงินทุนในการดำเนินงานจากเอกชนและรัฐบาลในสัดส่วน 40:60) เพื่อสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือแก่กิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง (Small and Medium Business: SMEs) ในการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของ SMEs จำนวนทั้งหมด 2.7 ล้านกิจการ โดยอาศัยความร่วมมือของเครือข่ายที่ครอบคลุมกว้างขวางทั่วประเทศ ซึ่งบริการที่จัดให้แก่สมาชิกมี 3 ส่วนหลัก คือ สนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร/ความรู้/เทคโนโลยี ให้คำแนะนำจากผู้ชำนาญการ และสร้างเครือข่ายของ SMEs ปัจจุบันมีกิจการ SMEs ที่เป็นสมาชิก KFSB ประมาณ 600 ราย และมีสาขาทั่วประเทศจำนวน 12 สาขา และเพื่อสนับสนุนบทบาทและหน้าที่หลักดังกล่าว KFSB ดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ดังนี้
(4.1) การสำรวจ ศึกษาและวิจัยเชิงนโยบาย
(4.2) ให้การสนับสนุนในการเริ่มต้นทางธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(4.3) จัดนิทรรศการการค้าและธุรกิจ
(4.4) ส่งเสริมและสนับสนุนการร่วมธุรกิจระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดย่อม
(4.5) การสนับสนุนด้านสินเชื่อ/สภาพคล่อง (Mutual Assistance Fund)
(4.6) โปรแกรมการพัฒนาทรัพยกรมนุษย์ และเป็นศูนย์กลางการอบรวม
(4.7) การดำเนินกลยุทธ์ภายใต้บริบทของโลกาภิวัตน์
(4.8) การให้บริการด้านข่าวสาร/ข้อมูล
(4.9) การให้ความช่วยเหลือด้านการตลาด
(3) Korea Center of International Finance (KCIF)
KCIF ถูกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2542 ภายใต้การกำกับของรัฐบาลเกาหลีและธนาคารกลางแห่งประเทศเกาหลี เพื่อเป็นหน่วยงานที่จัดทำระบบสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลเพื่อป้องกันมิให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเช่นที่เกิดขึ้นในปี 2541 หน้าที่หลักของ KCIF คือการพัฒนาระบบเตือนภัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยการจัดทำรายงานเครื่องชี้ที่ใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจและการติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะในเรื่องตลาดการเงินโลกและภาวะเศรษฐกิจโลก
บทบาทและหน้าที่หลักประกอบด้วย
(5.1) การติดตามภาวะเศรษฐกิจ การเงิน และการตลาดอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง (Full-time market monitoring) โดยอาศัยเครือข่ายข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ KCIF ได้พัฒนาและการจัดซื้อข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตลาดการเงินภายในและต่างประเทศ
(5.2) KCIF มีหน้าที่รายงานข้อมูลที่เป็น real time ต่อกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ และธนาคารกลาง รวมทั้งสถาบันการเงิน รวมทั้งการรายงานข้อมูลและการวิเคราะห์เบื้องต้นเพื่อการตัดสินใจต่อรัฐบาลที่ตารางเวลาที่มีกำหนดชัดเจน
(5.3) เสนอแนะทางเลือกนโยบายด้านการเงินระหว่างประเทศให้แก่รัฐบาล บนพื้นฐานของการวิเคราะห์เชิงลึกและทันเวลา KCIF เสนอแนะทางเลือกนโยบายการเงินระหว่างประเทศแก่ MOFE BOK และ Financial Supervisory Commission
(5.4) KCIF รายงานเครื่องชี้ระบบสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจแก่รัฐบาลเป็นประจำทุกเดือน และเป็นการรายงานเฉพาะต่อรัฐบาลเท่านั้น เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายเพือรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
(5.5) KCIF ให้คำปรึกษาต่อรัฐบาลในกระบวนการ/ขั้นตอนของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เช่น การออกพันธบัตรและ securities ในตลาดทุนต่างประเทศ และเรื่องความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับค่าเงิน
2. ภารกิจหลักของกระทรวงที่ดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจ
(1) กระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ (Ministry of Finance and Economy)
* กำหนดนโยบายทางการเงินและภาษีเพื่อสนับสนุนอุสาหกรรมขนาด เล็กและขนาดย่อม (SMEs) และการร่วมลงทุนจากต่างชาติ
* ส่งเสริมให้มีเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
* พัฒนาระบบการเงินให้มีความก้าวหน้า
* ยกระดับประสิทธิภาพของภาคราชการในการดำเนินงานด้านภาษีและการคลัง
(2) กระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs and Trade)
* การมีส่วนร่วมเจรจาในการประชุมองค์การการค้าโลกรอบ Doha Development Agenda
* ผลักดันการทำความตกลงการค้าเสรีพหุภาคี
* ดำเนินงานการประชุม APEC ที่เมืองปูซานให้ประสบความสำเร็จ
* การมีบทบาทในการเจรจาธุรกิจเพื่อสนับสนุนการส่งออกของธุรกิจภายในประเทศ และ
ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
(3) กระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรม และพลังงาน (Ministry of Commerce, Industry and Energy)
* ฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอให้สามารถขยายตัวได้
* สนับสนุนแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้เกิดการขยายตัวอย่างยั่งยืน
* ยกระดับการส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อให้อยู่ในระดับแถวหน้าทางการค้า
* ดำเนินนโยบายการขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาภูมิภาคให้มีความสมดุล
* เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและการจัดหาวัตถุดิบ
(4) กระทรวงแรงงาน (Ministry of Labor)
* วางแนวทางสำหรับการสร้างงานให้มีทั้งปริมาณงานและคุณภาพที่เพิ่มขึ้น
* ลดช่องว่างการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมอันเกิดจากประเภทของงาน และแก้ไขการกีดกันแรงงานในตลาดแรงงาน
* สร้างความเข็มแข็งด้านการคุ้มครองแรงงานและเครือข่ายทางสังคม
* สนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์ของสหภาพแรงงานต่างๆ
(5) กระทรวงการวางแผนและงบประมาณ (Ministry of Planning and Budget)
* จัดทำแผนงบประมาณทางการคลังโดยมุ่งเน้นการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะปานกลางและระยะยาว
* สนับสนุนการประกาศใช้กฎหมายการคลังแห่งชาติ โดยอาศัยระบบการบริหารทางการคลังแบบใหม่
* ปรับปรุงกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับแผนการลงทุนภาคเอกชน
* พัฒนาแนวทางการจัดการกองทุน
* ส่งเสริมนวัตกรรมบริหารจัดการให้แก่ภาครัฐวิสาหกิจและเครือข่าย
(6) คณะกรรมการการค้า (Fair Trade Commission)
* ตรวจสอบระบบและวางแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการแข่งขันทางการค้า
* ปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจ SMEs
* ส่งเสริมการสร้างบรรยากาศทางการตลาดที่มุ่งเน้นสิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภค
* นำนโยบายของกลุ่มธุรกิจแชโบล (Chaebol) ไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
(7) คณะกรรมการควบคุมและตรวจสอบทางการเงิน (Financial Supervisory Commission)
* สนับสนุนระบบการควบคุมและตรวจสอบของภาคการเงิน
* พัฒนาแนวทางการดำเนินงานและระบบการตรวจสอบของตลาดทุนให้เกิดความโปร่งใส
* ขยายความครอบคลุมของระบบการป้องกันและคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน
(8) องค์การบริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Business
Administration)
* จัดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่แก่ SMEs
* สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรและสนับสนุนการปรับโครงสร้าง SMEs
* ขับเคลื่อนให้เกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจ SMEs และธุรกิจส่วนตัว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-