(ต่อ8)บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 11, 2005 16:00 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                   อัตราขยายตัวของ GPP ภาคใต้ (ร้อยละ)                                                
จังหวัด อัตราขยายตัว สัดส่วนต่อ GRP
2545 2546 2545 2546
1. ภูเก็ต 7.3 -0.1 8.2 7.8
2. สุราษฎร์ธานี 6.0 6.0 12.9 12.9
3. ระนอง -2.2 7.9 2.0 2.0
4. พังงา 4.6 8.5 3.3 3.4
5. กระบี่ 2.4 15.0 5.0 5.5
6. ชุมพร 3.2 5.9 5.3 5.3
7. นครศรีธรรมราช 3.8 5.8 15.1 15.1
8. สงขลา 3.2 5.3 20.0 19.9
9. สตูล 3.2 -0.9 3.2 3.1
10. ยะลา 3.2 5.6 4.1 4.1
11. ตรัง 4.4 8.0 6.8 6.9
12. นราธิวาส 9.6 10.4 4.9 5.1
13. พัทลุง 7.1 6.5 3.6 3.6
14. ปัตตานี 3.9 1.6 5.6 5.3
รวมทั้งภาค 4.4 5.8 100.0 100.0
ภาคตะวันออก
ภาพรวม GRP ในปี 2546 ขยายตัวร้อยละ 9.9 ชะลอลงจากร้อยละ 13.2 ในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม นับเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงเป็นอันดับที่สองรองลงมาจากภาคกลางปัจจัยหลักของการชะลอตัวเกิดจากการผลิตนอกเกษตร โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสาขาหลักของภาคชะลอลง รวมทั้งสาขาการก่อสร้าง และสาขาโรงแรมและภัตตาคารอย่างรก็ตามสาขาการทำเหมืองแร่ฯ สาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ และ สาขาการขนส่งฯ ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเมื่ อปีก่อนหน้ นอกจากนั้น การผลิตในภาคเกษตรหดตัวลงร้อยละ 1.6 มีสาเหตุหลักมาจากสาขาเกษตรกรรมการล่าสัตว์ และการป่าไม้หดตัวลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 9.7 ในปีก่อนหน้า
การผลิตภาคเกษตร หดตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับการขยาย ตัวร้อยละ 7.5 ในปีก่อน มีสาเหตุหลักมาจากสาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ ที่หดตัวร้อยละ 2.7 โดยเฉพาะจากหมวดการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น ไก่ ได้ผลผลิตลดลง ส่วนหมวดการปลูกพืชผล เช่น ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อยขยายตัวได้ดี ส่วนสาขาการประมงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากที่เคย หดตัวร้อยละ 0.2 ในปีก่อนหน้า
อัตราขยายตัวและโครงสร้างการผลิตภาคตะวันออก (ร้อยละ)
อัตราขยายตัว โครงสร้าง
2545 2546 2545 2546
เกษตรกรรม 7.5 -1.6 6.6 5.9
นอกเกษตรกรรม 13.6 10.7 93.4 94.1
อุตสาหกรรม 19.2 12.4 54.6 55.8
เหมืองแร่ 9.1 12.6 7.8 8.0
ขายส่ง ขายปลีกฯ 4.9 9.5 8.2 8.2
สาขาอื่นๆ 6.4 6.3 22.8 22.1
GRP 13.2 9.9 100.0 100.0
การผลิตนอกภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 10.7 ชะลอลงจากร้อยละ 13.6 ในปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักที่สำคัญ คือ การผลิตสาขาอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 55.8 ของการผลิตของภาค ขยายตัวร้อยละ 12.4 ลดลงจากร้อยละ 19.2 ในปีที่ผ่านมา เป็นผลจากภาวะการผลิตทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้ในประเทศ และเพื่อการส่งออกที่ขยายตัวในอัตราชะลอลง ได้แก่ หมวดยานยนต์ หมวดเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ และหมวดเครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนสาขาอื่นๆ ที่ขยายตัวได้ดีในปีนี้ ได้แก่ สาขาการทำเหมืองแร่ฯ สาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ และสาขาการ ขนส่งฯ ขยายตัวร้อยละ 12.6 9.5 และ 9.9 ตามลำดับ
(ยังมีต่อ).../ภาวะการผลิต..

แท็ก ภาคใต้  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ