ทุนทางเศรษฐกิจ (Economic Capital) คือสินทรัพย์อย่างหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยอาจเป็นสินทรัพย์ที่สามารถมองเห็นได้ หรือเป็นสินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้ แต่ได้ถูกกำหนดให้มีมูลค่าหรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์(กิจกรรม)ทางด้านเศรษฐกิจได้ ซึ่งทุนทางเศรษฐกิจสามรถจัดแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
ทุนทางกายภาพ(Physical capital)
เป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตนและสามารถใช้ในงานการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ประกอบด้วย สินทรัพย์ถาวร เป็นสินทรัพย์ที่สามารถสร้างขึ้นได้ เช่นเครื่องมือ เครื่องจักร สิ่งปลูกสร้างและซอฟแวร์ ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในชาติเพื่อการส่งออก
สินทรัพย์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
มี 4 สาขาหลัก ได้แก่ ขนส่ง สื่อสาร พลังงาน และสาธารณูปการ นอกจากนี้ยังรวมถึงบริการทางการศึกษา บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อสนับสนุนการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สินทรัพย์ประเภทที่ดิน น้ำ และระบบนิเวศน์ที่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ทุนหรือสินทรัพย์ทางการเงิน(Financial capital/assets)
เป็นเครื่องมือที่แสดงสิทธิเรียกร้องและภาระผูกพันระหว่างภาคเศรษฐกิจหรือบุคคล ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงการออมและการลงทุน โดยภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และรัฐบาลที่มีเงินออมสามารถเลือกที่จะออมได้ในรูปแบบต่าง ๆ ในขณะที่ประชาชน ภาคธุรกิจ หรือรัฐบาลที่ขาดเงินออมแต่มีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อการใช้จ่ายและการลงทุน ก็สามารถระดมเงินจากระบบการเงิน โดยผ่านเครื่องมือทางการเงินที่รับฝากเงิน หรือการออกพันธบัตรเพื่อจำหน่ายให้กับประชาชนหรือภาคธุรกิจเอกชน เป็นต้น ทั้งนี้ สินทรัพย์ทางการเงินจะประกอบไปด้วย ทองที่ใช้เป็นทุนสำรอง และสิทธิพิเศษถอนเงิน (Speccial Drawing Rights:SDrs)ซึ่งดำรงไว้โดยธนาคารแห่งประเทศไทย เงินสดเงินฝากและสินเชื่อ เงินสะสมประกันชีวิต กองทุนที่เป็นการออมแบบผูกพันระยะยาว หลักทรัพย์ได้แก่ หุ้นทุน ตราสารหนี้ หน่วยลงทุน และตราสารอนุพันธ์ รวมทั้งสินเชื่อทางการค้าและอื่น ๆ
สินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้ทางกายภาพ แต่สามารถอ้างประสิทธิ ประโยชน์ได้ในอนาคต(Intangible Capital)
โดยส่วนใหญ่มาจากการค้นพบหรือนวัตกรรม รูปแบบปฏิบัติการองค์กร และทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสินทรัพย์ในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทในการทดแทนปัจจัยการผลิตในรูปที่ดิน พลังงาน หรือวัตถุดิบมากขึ้น สินทรัพย์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย กลุ่มที่มีการจดทะเบียนหรือสามารถวัดมูลค่าเป็นตัวเงินเช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ยี่ห้อ สิทธิทางการค้า กลุ่มความรู้/ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ทักษะและศักยภาพของมนุษย์ และการบริหารจัดการที่ดี
แรงงาน/ทรัพยากรมนุษย์
นับเป็นทั้งทุนทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ ในระบบเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ ในระบบเศรษฐกิจ คนจะมีบทบาทเป็นทั้งเจ้าของวัตถุดิบเป็นแรงงาน เป็นผู้ผลิต และเป็นผู้บริโภค ดังนั้นคนจึงเป็นทั้งผู้สร้างการพัฒนาและเป็นผู้รับผลจากการพัฒนา โดยที่แรงงานหรือทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการสร้างทุนทางเศรษฐกิจและจะได้รับผลจากการสร้างทุนทางเศรษฐกิจ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พส/พห-
ทุนทางกายภาพ(Physical capital)
เป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตนและสามารถใช้ในงานการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ประกอบด้วย สินทรัพย์ถาวร เป็นสินทรัพย์ที่สามารถสร้างขึ้นได้ เช่นเครื่องมือ เครื่องจักร สิ่งปลูกสร้างและซอฟแวร์ ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในชาติเพื่อการส่งออก
สินทรัพย์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
มี 4 สาขาหลัก ได้แก่ ขนส่ง สื่อสาร พลังงาน และสาธารณูปการ นอกจากนี้ยังรวมถึงบริการทางการศึกษา บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อสนับสนุนการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สินทรัพย์ประเภทที่ดิน น้ำ และระบบนิเวศน์ที่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ทุนหรือสินทรัพย์ทางการเงิน(Financial capital/assets)
เป็นเครื่องมือที่แสดงสิทธิเรียกร้องและภาระผูกพันระหว่างภาคเศรษฐกิจหรือบุคคล ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงการออมและการลงทุน โดยภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และรัฐบาลที่มีเงินออมสามารถเลือกที่จะออมได้ในรูปแบบต่าง ๆ ในขณะที่ประชาชน ภาคธุรกิจ หรือรัฐบาลที่ขาดเงินออมแต่มีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อการใช้จ่ายและการลงทุน ก็สามารถระดมเงินจากระบบการเงิน โดยผ่านเครื่องมือทางการเงินที่รับฝากเงิน หรือการออกพันธบัตรเพื่อจำหน่ายให้กับประชาชนหรือภาคธุรกิจเอกชน เป็นต้น ทั้งนี้ สินทรัพย์ทางการเงินจะประกอบไปด้วย ทองที่ใช้เป็นทุนสำรอง และสิทธิพิเศษถอนเงิน (Speccial Drawing Rights:SDrs)ซึ่งดำรงไว้โดยธนาคารแห่งประเทศไทย เงินสดเงินฝากและสินเชื่อ เงินสะสมประกันชีวิต กองทุนที่เป็นการออมแบบผูกพันระยะยาว หลักทรัพย์ได้แก่ หุ้นทุน ตราสารหนี้ หน่วยลงทุน และตราสารอนุพันธ์ รวมทั้งสินเชื่อทางการค้าและอื่น ๆ
สินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้ทางกายภาพ แต่สามารถอ้างประสิทธิ ประโยชน์ได้ในอนาคต(Intangible Capital)
โดยส่วนใหญ่มาจากการค้นพบหรือนวัตกรรม รูปแบบปฏิบัติการองค์กร และทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสินทรัพย์ในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทในการทดแทนปัจจัยการผลิตในรูปที่ดิน พลังงาน หรือวัตถุดิบมากขึ้น สินทรัพย์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย กลุ่มที่มีการจดทะเบียนหรือสามารถวัดมูลค่าเป็นตัวเงินเช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ยี่ห้อ สิทธิทางการค้า กลุ่มความรู้/ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ทักษะและศักยภาพของมนุษย์ และการบริหารจัดการที่ดี
แรงงาน/ทรัพยากรมนุษย์
นับเป็นทั้งทุนทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ ในระบบเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ ในระบบเศรษฐกิจ คนจะมีบทบาทเป็นทั้งเจ้าของวัตถุดิบเป็นแรงงาน เป็นผู้ผลิต และเป็นผู้บริโภค ดังนั้นคนจึงเป็นทั้งผู้สร้างการพัฒนาและเป็นผู้รับผลจากการพัฒนา โดยที่แรงงานหรือทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการสร้างทุนทางเศรษฐกิจและจะได้รับผลจากการสร้างทุนทางเศรษฐกิจ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พส/พห-