แท็ก
ทรัพยากรธรรมชาติ
การประเมินผลการพัฒนาประเทศและการวิเคราะห์บริบทการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต ได้สะท้อนให้เห็นชัดเจนถึงศักยภาพและโอกาสของทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถนำมาพัฒนาและเสริมสร้างให้เป็นประโยชน์กับการพัฒนาประเทศได้
กรอบแนวคิดการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
ดังนั้นการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จึงจำเป็นต้องมุ่งสร้าง"ความสมดุล และภูมิคุ้มกัน" ให้เกิดขึ้นกับคน สังคม ระบบเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการรักษาสมดุลระหว่างความพอเพียงและการแข่งขัน บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในทุกระดับ
โดยมีจุดมุ่งหมายที่มุ่งพัฒนาสู่ "สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน(Green Society)"ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของการพัฒนาให้เกิดขึ้นทุกมิติ ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย และการดำรงอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืนของสังคม รวมทั้งเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดไป
แนวคิดพื้นฐานของแผนฯ 10
ยังคงยึด "คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา"และน้อมนำ"ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวปฏิบัติในรบริหารและพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยมีการขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติในแต่ละยุทธศาสตร์ของแผนฯ อย่างชัดเจนบนพื้นฐานแนวคิดที่สำคัญ ได้แก่
- การดำเนินงานในทางสายกลางที่อยู่บนพื้นฐานความดี เน้นการพึ่งตนเองเป็นหลักมีการเตรียมพร้อมทั้งคนและระบบที่ดีเพื่อก้าวทันยุคโลกาภิวัตน์
- ความสมดุลและความยั่งยืน เน้นการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม มีความหลากหลายและกระจายความเสี่ยง มีการใช้ทุนที่มีอยู่ในสังคม ทั้งทุนทางทรัพกรธรรมและสิ่งแวดล้อม ทุนทางสังคม และทุนทางเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพและก่อประโยชน์สูงสุด โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตที่ดีงาม
- ความประมาณอย่างมีเหตุผล เป็นการใช้ชีวิต การผลิต และการบริโภคอยู่บนความพอประมาณ มีเหตุผล ไม่มากไม่น้อยเกินไป
- การมีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันโลก เป็นการเตรียมความพร้อมของคนและสังคมให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ ให้รู้เขา รู้เรา เพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบที่อาจเดขึ้น มีความยืดหยุ่นในการปรับตัว รวมทั้งเลือกสิ่งที่ดีประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
- การเสริมสร้างคุณภาพคน ให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความอดทน มีความเพียร มีวินัย มีสติ ตั้งอยู่ความไม่ประมาทมีการพัฒนาปัญญาและความรู้อย่างต่อเนื่อง
ทิศทางในการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
การกำหนดทิศทางการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จำเป็นต้องวางยุทธศาสตร์ให้คนและสังคมไทยสามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรู้เท่าทันภายใต้หลักการ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ที่สามารถพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกัน และการสร้างสมดุลของการพัฒนาให้เกิดขึ้นในทุกมิติโดยอาศัยทั้งทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคมและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม รวมทั้งระดับประเทศภายใต้กรอบแนวคิดที่สำคัญ ดังนี้
การพัฒนาทุนทางเศรษฐกิจ
การพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนและมั่นคงเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างภูมิต้านทาน และสร้างความสมดุลในการพัฒนาแต่ละด้านให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นเสาหลักในการพัฒนาระยะต่อไป ดังนั้น การสะสมทุนเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เพื่อนำไปสู่ความมั่งคั่งของประเทศในอนาคตจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทุนอื่น ๆ ไปพร้อมกัน
ทั้งนี้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพ และมีเสถียรภาพ จะต้องเป็นการเติบโตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนได้ในระยะยาว มีการกระจายการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ต้องอาศัยทุนทางเศรษฐกิจทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการผลิต การค้า และการบริการ ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งมีการสอดคล้องกับศักยภาพทางการผลิตของประเทศและความต้องการของตลาด รวมถึงมีแบบแผนการผลิตและบริโภคที่เหมาะสมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกัน การสร้างรากฐานทุนทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ดิน ป่าไม้ แร่ธาตุ และน้ำ ให้เป็นวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตของภาคเศรษฐกิจได้อย่างมีคุณภาพนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยิ่ง เนื่องจากทรัพยากรที่เสื่อมโทรมลงหมายถึงต้นทุนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น ดังนั้นการดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนจึงเป็นปัจจัยสำคัญหรือต้นทุนสำคัญในการพัฒนาฌสรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน
การพัฒนาทุนทางสังคม
"ทุนทางสังคม" เกิดจาก การรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ สายใยความผูกพัน และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านความสัมพันธ์ในองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรม และองค์ความรู้ซึ่งเป็นพลังชุมชนและสังคม
ทั้งนี้ ทุนทางสังคมมีความเชื่อมโยงกับทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อกันโดยการพัฒนาคุณภาพคนทั้งความรู้คู่คุณธรรมเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ การใช้คุณค่าเอกลักษณ์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีงามจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการผลิต การค้า และการบริการ รวมทั้งสร้างความมั่นคงให้กับองค์กรในระยะยาว
การใช้วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมและภูมิปัญญาท้องถิ่น การรวมกลุ่มของคนในชุมชนสถายันทางสังคมที่ตระหนักถึงความสำคัญและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างรู่คุณค่า การมีส่วนร่วมในการพัฒนา อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะภาคธุรกิจเอกชนที่มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในสังคมไทย คุณค่าที่ดีงาม การเปิดกว้างและการยอมรับซึ่งกันและกันเป็นปัจจัยที่ทำให้สังคมไทยดำรงอยู่ บรรเทาหรือขจัดปัญหา/ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม รวมทั้งสังคมไทยจะสามารถพัฒนาให้เข้มแข็งได้ด้วยพลังของทุนทางสังคม
การพัฒนาทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใช้การตลาดเป็นตัวชี้นำ มาสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพและความเป็นไปได้ของระบบนิเวศ โดยมีการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นหนทางที่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ที่มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขมีความมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป
โดยทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพจะเป็นประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาที่สำคัญในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ พันธุกรรม และระบบนิเวศซึ่งเป็นฐานทรัพยากรที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทยเป็นทุนที่มีมูลค่าสูงและหายากในโลก
มีความเชื่อมโยงกับทุนทางสังคมเพราะเป็นที่มาของภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิธีการดำรงชีวิตของชุมชน เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตทั้งเกษตร อุตสาหกรรมและการบริการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนและการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเป็นปัจจัยพื้นฐานการผลิตและการดำรงชิวิตรวมทั้งมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์การแข่งขันและการค้าระหว่างประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พส/พห-
กรอบแนวคิดการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
ดังนั้นการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จึงจำเป็นต้องมุ่งสร้าง"ความสมดุล และภูมิคุ้มกัน" ให้เกิดขึ้นกับคน สังคม ระบบเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการรักษาสมดุลระหว่างความพอเพียงและการแข่งขัน บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในทุกระดับ
โดยมีจุดมุ่งหมายที่มุ่งพัฒนาสู่ "สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน(Green Society)"ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของการพัฒนาให้เกิดขึ้นทุกมิติ ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย และการดำรงอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืนของสังคม รวมทั้งเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดไป
แนวคิดพื้นฐานของแผนฯ 10
ยังคงยึด "คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา"และน้อมนำ"ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวปฏิบัติในรบริหารและพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยมีการขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติในแต่ละยุทธศาสตร์ของแผนฯ อย่างชัดเจนบนพื้นฐานแนวคิดที่สำคัญ ได้แก่
- การดำเนินงานในทางสายกลางที่อยู่บนพื้นฐานความดี เน้นการพึ่งตนเองเป็นหลักมีการเตรียมพร้อมทั้งคนและระบบที่ดีเพื่อก้าวทันยุคโลกาภิวัตน์
- ความสมดุลและความยั่งยืน เน้นการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม มีความหลากหลายและกระจายความเสี่ยง มีการใช้ทุนที่มีอยู่ในสังคม ทั้งทุนทางทรัพกรธรรมและสิ่งแวดล้อม ทุนทางสังคม และทุนทางเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพและก่อประโยชน์สูงสุด โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตที่ดีงาม
- ความประมาณอย่างมีเหตุผล เป็นการใช้ชีวิต การผลิต และการบริโภคอยู่บนความพอประมาณ มีเหตุผล ไม่มากไม่น้อยเกินไป
- การมีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันโลก เป็นการเตรียมความพร้อมของคนและสังคมให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ ให้รู้เขา รู้เรา เพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบที่อาจเดขึ้น มีความยืดหยุ่นในการปรับตัว รวมทั้งเลือกสิ่งที่ดีประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
- การเสริมสร้างคุณภาพคน ให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความอดทน มีความเพียร มีวินัย มีสติ ตั้งอยู่ความไม่ประมาทมีการพัฒนาปัญญาและความรู้อย่างต่อเนื่อง
ทิศทางในการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
การกำหนดทิศทางการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จำเป็นต้องวางยุทธศาสตร์ให้คนและสังคมไทยสามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรู้เท่าทันภายใต้หลักการ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ที่สามารถพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกัน และการสร้างสมดุลของการพัฒนาให้เกิดขึ้นในทุกมิติโดยอาศัยทั้งทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคมและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม รวมทั้งระดับประเทศภายใต้กรอบแนวคิดที่สำคัญ ดังนี้
การพัฒนาทุนทางเศรษฐกิจ
การพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนและมั่นคงเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างภูมิต้านทาน และสร้างความสมดุลในการพัฒนาแต่ละด้านให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นเสาหลักในการพัฒนาระยะต่อไป ดังนั้น การสะสมทุนเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เพื่อนำไปสู่ความมั่งคั่งของประเทศในอนาคตจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทุนอื่น ๆ ไปพร้อมกัน
ทั้งนี้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพ และมีเสถียรภาพ จะต้องเป็นการเติบโตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนได้ในระยะยาว มีการกระจายการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ต้องอาศัยทุนทางเศรษฐกิจทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการผลิต การค้า และการบริการ ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งมีการสอดคล้องกับศักยภาพทางการผลิตของประเทศและความต้องการของตลาด รวมถึงมีแบบแผนการผลิตและบริโภคที่เหมาะสมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกัน การสร้างรากฐานทุนทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ดิน ป่าไม้ แร่ธาตุ และน้ำ ให้เป็นวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตของภาคเศรษฐกิจได้อย่างมีคุณภาพนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยิ่ง เนื่องจากทรัพยากรที่เสื่อมโทรมลงหมายถึงต้นทุนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น ดังนั้นการดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนจึงเป็นปัจจัยสำคัญหรือต้นทุนสำคัญในการพัฒนาฌสรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน
การพัฒนาทุนทางสังคม
"ทุนทางสังคม" เกิดจาก การรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ สายใยความผูกพัน และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านความสัมพันธ์ในองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรม และองค์ความรู้ซึ่งเป็นพลังชุมชนและสังคม
ทั้งนี้ ทุนทางสังคมมีความเชื่อมโยงกับทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อกันโดยการพัฒนาคุณภาพคนทั้งความรู้คู่คุณธรรมเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ การใช้คุณค่าเอกลักษณ์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีงามจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการผลิต การค้า และการบริการ รวมทั้งสร้างความมั่นคงให้กับองค์กรในระยะยาว
การใช้วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมและภูมิปัญญาท้องถิ่น การรวมกลุ่มของคนในชุมชนสถายันทางสังคมที่ตระหนักถึงความสำคัญและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างรู่คุณค่า การมีส่วนร่วมในการพัฒนา อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะภาคธุรกิจเอกชนที่มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในสังคมไทย คุณค่าที่ดีงาม การเปิดกว้างและการยอมรับซึ่งกันและกันเป็นปัจจัยที่ทำให้สังคมไทยดำรงอยู่ บรรเทาหรือขจัดปัญหา/ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม รวมทั้งสังคมไทยจะสามารถพัฒนาให้เข้มแข็งได้ด้วยพลังของทุนทางสังคม
การพัฒนาทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใช้การตลาดเป็นตัวชี้นำ มาสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพและความเป็นไปได้ของระบบนิเวศ โดยมีการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นหนทางที่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ที่มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขมีความมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป
โดยทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพจะเป็นประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาที่สำคัญในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ พันธุกรรม และระบบนิเวศซึ่งเป็นฐานทรัพยากรที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทยเป็นทุนที่มีมูลค่าสูงและหายากในโลก
มีความเชื่อมโยงกับทุนทางสังคมเพราะเป็นที่มาของภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิธีการดำรงชีวิตของชุมชน เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตทั้งเกษตร อุตสาหกรรมและการบริการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนและการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเป็นปัจจัยพื้นฐานการผลิตและการดำรงชิวิตรวมทั้งมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์การแข่งขันและการค้าระหว่างประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พส/พห-