- สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยอัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.84375 - 4.875 ต่อปี ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทย และสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง เนื่องจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยมีความชัดเจนขึ้น
- เงินบาทปรับอ่อนลงเล็กน้อยในวันจันทร์ ก่อนจะแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินภูมิภาค ความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ค. ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง หลังจากรายงานการประชุม FOMC ครั้งที่ผ่านมาระบุว่ายังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงเพื่อรองรับการเบิกถอนเพื่อจ่ายชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี ตลอดจนความต้องการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 4.96875 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้มาลงทุนระยะสั้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.5 - 4.99 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สาม
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 46,400 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยตราสารทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนลดลง นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย อายุ 8 และ 12 ปี วงเงินรวม 4,250 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 31,292 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 4,958 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 175,018 ล้านบาท คิดเป็น 35,004 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 52 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ยังปรับลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยเฉพาะตราสารระยะปานกลาง-ยาว เนื่องจากคาดว่า ธปท. จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมในการประชุมครั้งต่อไป ณ สิ้นสัปดาห์
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวลดลง 1-4 basis points พันธบัตรฯ อายุระหว่าง 1-5 ปี อัตราผลตอบแทนลดลง 4-9 basis points และพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 11-15 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 65 และ 29 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลง โดยเฉพาะหลังจากการแถลงการณ์ผลการประชุมครั้งก่อนของธนาคารกลางสหรัฐ ที่ระบุว่า Fed ยังไม่มีความจำเป็นที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้ ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อไตรมาสสองที่ลดต่ำลง ซึ่งเป็นการย้ำความมั่นใจของนักลงทุนว่าคงจะไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกภายในปีนี้ ส่งผล ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 6-10 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ส.ค. 49 37.59
เฉลี่ย 21 - 25 ส.ค. 49 37.56
28 ส.ค. 49 37.68
29 ส.ค. 49 37.56
30 ส.ค. 49 37.49
31 ส.ค. 49 37.54
1 ก.ย. 49 37.50
เฉลี่ย 28 ส.ค. - 1 ก.ย. 49 37.53
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.53 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในช่วงต้นเงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.53 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าสัปดาห์ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาค ความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทยและจากนักลงทุนเพื่อทำกำไร ตลอดจนการขายสุทธิของนักทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สอง นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ค. ที่มีการเกินดุลกว่าสามร้อยล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากรายงานหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ระบุว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังไม่มีความจำเป็นที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อย่างเร่งด่วนในระยะต่อไป หลังจากตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกหลังจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันมา 13 ครั้ง ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปส่งสัญญาณว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ แม้ว่าจะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 3 ต่อปี ในการประชุมครั้งล่าสุดก็ตาม
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทย และสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง เนื่องจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยมีความชัดเจนขึ้น
- เงินบาทปรับอ่อนลงเล็กน้อยในวันจันทร์ ก่อนจะแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินภูมิภาค ความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ค. ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง หลังจากรายงานการประชุม FOMC ครั้งที่ผ่านมาระบุว่ายังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงเพื่อรองรับการเบิกถอนเพื่อจ่ายชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี ตลอดจนความต้องการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 4.96875 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้มาลงทุนระยะสั้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.5 - 4.99 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สาม
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 46,400 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยตราสารทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนลดลง นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย อายุ 8 และ 12 ปี วงเงินรวม 4,250 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 31,292 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 4,958 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 175,018 ล้านบาท คิดเป็น 35,004 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 52 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ยังปรับลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยเฉพาะตราสารระยะปานกลาง-ยาว เนื่องจากคาดว่า ธปท. จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมในการประชุมครั้งต่อไป ณ สิ้นสัปดาห์
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวลดลง 1-4 basis points พันธบัตรฯ อายุระหว่าง 1-5 ปี อัตราผลตอบแทนลดลง 4-9 basis points และพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 11-15 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 65 และ 29 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลง โดยเฉพาะหลังจากการแถลงการณ์ผลการประชุมครั้งก่อนของธนาคารกลางสหรัฐ ที่ระบุว่า Fed ยังไม่มีความจำเป็นที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้ ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อไตรมาสสองที่ลดต่ำลง ซึ่งเป็นการย้ำความมั่นใจของนักลงทุนว่าคงจะไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกภายในปีนี้ ส่งผล ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 6-10 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ส.ค. 49 37.59
เฉลี่ย 21 - 25 ส.ค. 49 37.56
28 ส.ค. 49 37.68
29 ส.ค. 49 37.56
30 ส.ค. 49 37.49
31 ส.ค. 49 37.54
1 ก.ย. 49 37.50
เฉลี่ย 28 ส.ค. - 1 ก.ย. 49 37.53
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.53 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในช่วงต้นเงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.53 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าสัปดาห์ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาค ความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทยและจากนักลงทุนเพื่อทำกำไร ตลอดจนการขายสุทธิของนักทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สอง นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ค. ที่มีการเกินดุลกว่าสามร้อยล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากรายงานหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ระบุว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังไม่มีความจำเป็นที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อย่างเร่งด่วนในระยะต่อไป หลังจากตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกหลังจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันมา 13 ครั้ง ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปส่งสัญญาณว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ แม้ว่าจะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 3 ต่อปี ในการประชุมครั้งล่าสุดก็ตาม
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-