เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2549 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม “การสร้างพันธมิตรเพื่อการพัฒนาประเทศ” (Thailand: Partnership for Development, Conference of Interested Parties - CIP) ณ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อชี้แจงความต้องการของประเทศไทยในการพัฒนาสาขาต่างๆ ให้แก่ ผู้สนใจทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวมประมาณ 1,900 คน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ในการจัดเตรียมข้อมูลและการจัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การสร้างพันธมิตรเพื่อการพัฒนาประเทศอยู่ภายใต้กรอบการดำเนินงานเพื่อประเทศไทยที่ทันสมัย (The Kingdom of Thailand Modernization Framework) หรือ KTMF ซึ่งแต่ละตัวอักษรมีความหมายแอบแฝงคือ K หมายถึงความรู้ T คือเทคโนโลยี M คือ การบริหารจัดการ F คือการเงิน และทั้งหมดนี้ คือส่วนประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความทันสมัย
ซึ่งในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อเร่งพัฒนาประเทศสู่กระบวนทัศน์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมทั้งรักษาศักยภาพการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ ให้เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ที่ทันสมัยและแข่งขันได้นั้น จำเป็นต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการใช้เทคโนโลยี โดยแสวงหาทักษะความรู้ที่ดีที่สุดในโลกทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศให้ทันสมัยและเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
สำหรับแนวทางการดำเนินงานนั้นให้มีการเปิดรับความรู้และเทคโนโลยีจากทั่วโลก และสร้างโอกาส/ทางเลือกในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยในลักษณะบูรณาการ โดยการลงทุนในโครงการต่างๆ จะต้องคำนึงถึงการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง และกำหนดกระบวนการและหลักเกณฑ์การพิจารณาที่ยึดหลักความโปร่งใสและเปิดเผย ทั้งนี้โครงการลงทุนจะไม่ครอบคลุมการให้สัมปทานและ/หรือการร่วมลงทุนที่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
กรอบความร่วมมือด้านต่างๆ ที่ต้องการให้เกิดการลงทุนแบ่งออกเป็น 5 สาขา คือ
กลุ่มแรก การก่อสร้างสาธารณูปโภค เน้นด้านระบบการขนส่งมวลชนใน กทม. และการบูรณาการการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
กลุ่มที่สอง ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงระบบการแปลงของเสียเป็นพลังงาน และการสร้างข้อมูลพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ และแผนที่ดิจิตอลของทรัพยากรธรรมชาติ
กลุ่มที่สาม เทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ ครอบคลุมการพัฒนาระบบพื้นฐานในการจัดตั้งเครือข่ายของรัฐบาลในการบริการประชาชน ซึ่งจะเชื่อมโยงทั้งประเทศด้วยระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และทำให้หน่วยงานของรัฐเชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถให้บริการประชาชนในระบบออนไลน์ e-Government และปรับปรุงการใช้ซอฟท์แวร์ของหน่วยงานให้สอดรับกับการพัฒนา
กลุ่มที่สี่ ด้านความมั่นคงแห่งชาติที่ปรับสู่ความทันสมัย ถือเป็นความจำเป็นต่อภาพลักษณ์ของชาติ เพื่อให้สามารถบริหารด้านเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ เพื่อรักษาความสงบสุขและมั่นคงปลอดภัยให้กับประชาชนในชาติ
กลุ่มที่ห้า ประกอบด้วยสาขาเกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วัฒนธรรม และการให้บริการด้านสาธารณสุข รวมถึงการพัฒนาระบบการติดตามกระบวนการและควบคุมคุณภาพของอาหาร การปฏิรูปอุตสาหกรรมทูน่า และอุตสาหกรรมโคนมที่ทันสมัย การพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก การก่อตั้งมหาวิทยาลัยระดับโลกในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และจัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการผลิตวัคซีนที่มีความหลากหลาย
ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ผู้สนใจยื่นข้อเสนอทางเทคนิคมาเพื่อพิจารณาก่อน จากนั้นให้ยื่นข้อเสนอ/เงื่อนไขด้านการเงินในภายหลัง
การประชุมครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 โดยในการประชุมครั้งแรกได้เชิญเอกอัครราชทูตของประเทศที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทย เข้าร่วมฟังแนวนโยบายของรัฐบาลในการสร้างพันธมิตรเพื่อการพัฒนาประเทศ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ที่ผ่านมามามา
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การสร้างพันธมิตรเพื่อการพัฒนาประเทศอยู่ภายใต้กรอบการดำเนินงานเพื่อประเทศไทยที่ทันสมัย (The Kingdom of Thailand Modernization Framework) หรือ KTMF ซึ่งแต่ละตัวอักษรมีความหมายแอบแฝงคือ K หมายถึงความรู้ T คือเทคโนโลยี M คือ การบริหารจัดการ F คือการเงิน และทั้งหมดนี้ คือส่วนประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความทันสมัย
ซึ่งในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อเร่งพัฒนาประเทศสู่กระบวนทัศน์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมทั้งรักษาศักยภาพการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ ให้เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ที่ทันสมัยและแข่งขันได้นั้น จำเป็นต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการใช้เทคโนโลยี โดยแสวงหาทักษะความรู้ที่ดีที่สุดในโลกทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศให้ทันสมัยและเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
สำหรับแนวทางการดำเนินงานนั้นให้มีการเปิดรับความรู้และเทคโนโลยีจากทั่วโลก และสร้างโอกาส/ทางเลือกในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยในลักษณะบูรณาการ โดยการลงทุนในโครงการต่างๆ จะต้องคำนึงถึงการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง และกำหนดกระบวนการและหลักเกณฑ์การพิจารณาที่ยึดหลักความโปร่งใสและเปิดเผย ทั้งนี้โครงการลงทุนจะไม่ครอบคลุมการให้สัมปทานและ/หรือการร่วมลงทุนที่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
กรอบความร่วมมือด้านต่างๆ ที่ต้องการให้เกิดการลงทุนแบ่งออกเป็น 5 สาขา คือ
กลุ่มแรก การก่อสร้างสาธารณูปโภค เน้นด้านระบบการขนส่งมวลชนใน กทม. และการบูรณาการการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
กลุ่มที่สอง ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงระบบการแปลงของเสียเป็นพลังงาน และการสร้างข้อมูลพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ และแผนที่ดิจิตอลของทรัพยากรธรรมชาติ
กลุ่มที่สาม เทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ ครอบคลุมการพัฒนาระบบพื้นฐานในการจัดตั้งเครือข่ายของรัฐบาลในการบริการประชาชน ซึ่งจะเชื่อมโยงทั้งประเทศด้วยระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และทำให้หน่วยงานของรัฐเชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถให้บริการประชาชนในระบบออนไลน์ e-Government และปรับปรุงการใช้ซอฟท์แวร์ของหน่วยงานให้สอดรับกับการพัฒนา
กลุ่มที่สี่ ด้านความมั่นคงแห่งชาติที่ปรับสู่ความทันสมัย ถือเป็นความจำเป็นต่อภาพลักษณ์ของชาติ เพื่อให้สามารถบริหารด้านเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ เพื่อรักษาความสงบสุขและมั่นคงปลอดภัยให้กับประชาชนในชาติ
กลุ่มที่ห้า ประกอบด้วยสาขาเกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วัฒนธรรม และการให้บริการด้านสาธารณสุข รวมถึงการพัฒนาระบบการติดตามกระบวนการและควบคุมคุณภาพของอาหาร การปฏิรูปอุตสาหกรรมทูน่า และอุตสาหกรรมโคนมที่ทันสมัย การพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก การก่อตั้งมหาวิทยาลัยระดับโลกในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และจัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการผลิตวัคซีนที่มีความหลากหลาย
ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ผู้สนใจยื่นข้อเสนอทางเทคนิคมาเพื่อพิจารณาก่อน จากนั้นให้ยื่นข้อเสนอ/เงื่อนไขด้านการเงินในภายหลัง
การประชุมครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 โดยในการประชุมครั้งแรกได้เชิญเอกอัครราชทูตของประเทศที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทย เข้าร่วมฟังแนวนโยบายของรัฐบาลในการสร้างพันธมิตรเพื่อการพัฒนาประเทศ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ที่ผ่านมามามา
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-