แท็ก
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มงานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ (นางสาวชมพูนุช รามัญวงศ์ และนางสาวชลฎา เศวตนันทน์) เข้าร่วมการประชุม Mekong Development Forum ครั้งที่ 5 (5th MDF) ณ กรุงสต็อกโฮม ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ 3 - 6 เมษายน 2549 โดยผู้เข้าร่วมการประชุมในส่วนของไทย ได้แก่ สศช. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงสต็อกโฮม ในส่วนของต่างประเทศ ได้แก่ GMS National Coordinators ผู้แทนด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานไฟฟ้า และคมนาคมของประเทศ GMS ผู้แทนธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ผู้แทนส่วนราชการ องค์กรระหว่างประเทศ และภาคเอกชนของกลุ่มประเทศ Nordic (นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก และไอซ์แลนด์)
วัตถุประสงค์ของการประชุม MDF
เพื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความเชื่อมั่น และขยายความร่วมมือระหว่างประเทศ GMS และ ADB กับ Development Partners ในภูมิภาคต่างๆ เพื่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งในด้านการพัฒนาโดยภาครัฐให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนและเทคนิควิชาการ และด้านการดึงดูดการลงทุนของภาค เอกชน ซึ่ง MDF ได้จัดแล้ว รวมจำนวน 5 ครั้ง คือที่ประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อินเดีย สิงค์โปร์ และสวีเดน
สรุปสาระสำคัญการประชุม 5th MDF
1. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความร่วมมือระหว่างกรอบ GMS และกรอบความร่วมมือที่กลุ่ม Nordics ร่วมเป็นสมาชิก
1.1 ด้านสิ่งแวดล้อม กรอบความร่วมมือ Baltic Sea Region Co-Operation นั้น เป็นตัวอย่างของความสำเร็จของความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ที่เกิดจากการมุ่งเน้นการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม (Action-oriented) การยอมรับของประเทศสมาชิก (Commitment) และผสาน ความร่วมมือระหว่างภาคีทั้งภาครัฐ-เอกชน-NGOs และองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เพื่อผลักดัน Joint Comprehensive Environmental Action Programme (JCP) ที่เน้นกิจกรรมหลายด้าน ได้แก่ ด้านพัฒนาความสามารถสถาบันและทรัพยากรมนุษย์ ค้นคว้าวิจัย การลงทุนที่เกี่ยวข้อง (เช่น โรงงานบำบัดน้ำเสีย) การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจ ทั้งนี้ ผลสำเร็จ คือ การทำให้แหล่งมลพิษ (Hot Spots) 132 แห่ง มีจำนวนลดน้อยลงและหมดไปในที่สุด
1.2 ด้านพลังงาน ตลาดพลังงานในกลุ่ม Nordic เข้าสู่ยุคเปิดเสรีหลังปี 1996 และค่อยพัฒนาไปสู่การจัดตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าของภูมิภาค ซึ่งต้องพัฒนาโครงข่ายสายส่งเชื่อมโยงและกฎระเบียบที่โปร่งใสเพื่อรองรับ ในอนาคต Nordic จะมุ่งสู่การรวมกับภูมิภาคอื่น และจัดตั้งยุโรปตลาดเดียวในด้านไฟฟ้า แต่ทั้งนี้ ยังมี ทั้งที่เป็นปัญหาในปัจจุบันสำหรับการจัดตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาค ได้แก่ การประกอบการและให้บริการ การปรับให้เข้ากับระบบภาษี/ข้อจำกัดที่ต่างกันของแต่ละประเทศ การลงทุน และปัจจัยไม่แน่นอนหลายอย่างที่อาจเป็นปัญหาในอนาคต ได้แก่ ราคา การบริโภค และการยอมรับการใช้พลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์
1.3 ด้านคมนาคมขนส่ง จัดตั้ง Nordic Road Association เป็นกลไกความร่วมมือ (ประเทศ Nordic + Faroe Islands)โดยประธาน คือ อธิบดีกรมทางหลวง และรองประธาน คือ ภาคเอกชน และประกอบด้วยสมาชิกจากส่วนต่างๆ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกทั่วไป ให้มีคณะทำงานเชิงเทคนิค 5 กลุ่ม ดูแลด้าน 1) การเงินและการบริหาร 2) การวางแผนและออกแบบ 3) การก่อสร้าง 4) การประกอบการและบำรุงรักษา 5) การจราจรและสิ่งแวดล้อม
2. การสร้างความสัมพันธ์ในเชิงหุ้นส่วนระหว่างกลุ่มประเทศ GMS และ Nordic ADB และ GMS National Coordinator ของประเทศกัมพูชา จีน ลาว ไทยและเวียดนาม ได้รายงานการดำเนินงานของ GMS ในด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และการพัฒนา Economic Corridors โดยเน้นความ ก้าวหน้า ประโยชน์ที่ประเทศได้รับจากการพัฒนา และประเด็นท้าทาย ซึ่งเป็นแนวทางความร่วมมือ/การให้ความช่วยเหลือของกลุ่ม Nordic ต่อ GMS โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องขาดงบประมาณ ความสามารถในการบริหารจัดการปัญหาข้ามพรมแดนต่างๆ เช่น โรคติดต่อ แรงงาน ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ และการประสานการดำเนินงานกับภาคีต่างๆ เช่น ระหว่างสาขาสิ่งแวดล้อมและสาขาพัฒนา หรือระหว่างภาครัฐ-NGOs เป็นต้น
3. การดูงาน Sustainable City ณ Swedish Trade Council และ Hammarby Sjstad กรุงสต็อกโฮม
3.1 Sustainable City - Hammarby Sjstad เป็นการปรับพื้นที่ย่าน Hammarby Sjstad ทางใต้ของกรุงสต็อกโฮม ซึ่งเดิมมีสภาพค่อนข้างเสื่อมโทรม เพราะเป็นท่าเรือและทางระบายน้ำของเมือง ให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำงานแห่งใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ใหญ่ที่สุดของ สวีเดน ด้วยการก่อสร้างอาคาร/บริเวณแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อลดการใช้ พลังงานในบ้าน และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้ได้ร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับอาคาร/สิ่งก่อสร้างแบบมาตรฐานปกติ ซึ่งแนวคิด Sustainable City นี้ได้นำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ในประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น จีน แคนาดา และแอฟริกาใต้
3.2 หลักการของ Sustainable City เป็น Swedish Partnership Initiative ของแผนงาน Swedish Environmental Technology Network ที่มุ่งเสนอแนวทางการดำเนินงานที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักบูรณาการแบบองค์รวม และแนวคิดแบบ Cluster ในการพัฒนาเมืองเพื่อให้เกิดความสมดุลยทั้งในด้านชีววิทยา สังคม และเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ หลักการของ Sustainable City ประกอบด้วยการพัฒนาเมืองด้านต่างๆ ได้แก่ การปกครอง/บริหารจัดการเมือง การวางผังเมือง การมีส่วนร่วม ความร่วมมือรัฐ-เอกชน การฝึกอบรม เทคโนโลยีสารสนเทศ การวางผังที่ดิน พลังงาน ขยะ น้ำและน้ำเสีย การก่อสร้าง/สถาปัตยกรรม และการจราจร/ขนส่ง เป็นต้น
ความเห็นต่อการประชุม 5th MDF
1. กรอบ GMS ควรเร่งขยายความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับสวีเดน และกลุ่ม Nordic เพื่อการพัฒนาประเทศและอนุภูมิภาคต่อไป เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่มีความสนใจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และมีความพร้อมในหลายด้าน ดังนั้น Follow up - MDF Activities ที่มีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ กรอบ ACMECS เองก็สามารถเข้ามารับประโยชน์จากความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนนี้ได้อีกทางหนึ่ง
2. ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และได้ผลักดันแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน ควรแสดงบทบาทที่เข้มแข็งอย่างต่อเนื่องในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีและยั่งยืนให้เกิดทั่วโลก โดยถือเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นวาระทางการเมืองที่สำคัญของประเทศ เช่นเดียวกับประเทศสวีเดน
3. การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในกลุ่มสแกนดิเนเวีย (Nordic Countries) มีความก้าวหน้าค่อนข้างมากทั้งในการเลือกใช้แหล่งพลังงานที่หลากหลาย (โดยเฉพาะน้ำที่มีเหลือเฟือในนอร์เวย์ และพลังงานนิวเคลียร์ในสวีเดน) รูปแบบการดำเนินการโดยแยกบทบาทระหว่างระบบการผลิต ระบบสายส่ง และระบบจำหน่าย และบทบาทระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการดำเนินการโดยภาคเอกชน และในปัจจุบันภาคเอกชนสวีเดนมีการลงทุนในโครงการพลังงานไฟฟ้าในกลุ่มประเทศ GMS รวมทั้งไทย ซึ่ง สศช. ควรจะศึกษาเป็นตัวอย่างประกอบในการกำหนดยุทธศาสตร์พลังงานของไทย
4. สวีเดนได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน เป็นตัวอย่างที่ใช้ระบบการวางแผนแบบบูรณาการระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง สศช. ควรจะศึกษาเป็นตัวอย่างในการวางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 แม้ว่าการลงทุนในเมืองที่เป็นโครงการนำร่องของสวีเดนจะมีวงเงินค่อนข้างสูง แต่ไทยสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
วัตถุประสงค์ของการประชุม MDF
เพื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความเชื่อมั่น และขยายความร่วมมือระหว่างประเทศ GMS และ ADB กับ Development Partners ในภูมิภาคต่างๆ เพื่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งในด้านการพัฒนาโดยภาครัฐให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนและเทคนิควิชาการ และด้านการดึงดูดการลงทุนของภาค เอกชน ซึ่ง MDF ได้จัดแล้ว รวมจำนวน 5 ครั้ง คือที่ประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อินเดีย สิงค์โปร์ และสวีเดน
สรุปสาระสำคัญการประชุม 5th MDF
1. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความร่วมมือระหว่างกรอบ GMS และกรอบความร่วมมือที่กลุ่ม Nordics ร่วมเป็นสมาชิก
1.1 ด้านสิ่งแวดล้อม กรอบความร่วมมือ Baltic Sea Region Co-Operation นั้น เป็นตัวอย่างของความสำเร็จของความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ที่เกิดจากการมุ่งเน้นการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม (Action-oriented) การยอมรับของประเทศสมาชิก (Commitment) และผสาน ความร่วมมือระหว่างภาคีทั้งภาครัฐ-เอกชน-NGOs และองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เพื่อผลักดัน Joint Comprehensive Environmental Action Programme (JCP) ที่เน้นกิจกรรมหลายด้าน ได้แก่ ด้านพัฒนาความสามารถสถาบันและทรัพยากรมนุษย์ ค้นคว้าวิจัย การลงทุนที่เกี่ยวข้อง (เช่น โรงงานบำบัดน้ำเสีย) การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจ ทั้งนี้ ผลสำเร็จ คือ การทำให้แหล่งมลพิษ (Hot Spots) 132 แห่ง มีจำนวนลดน้อยลงและหมดไปในที่สุด
1.2 ด้านพลังงาน ตลาดพลังงานในกลุ่ม Nordic เข้าสู่ยุคเปิดเสรีหลังปี 1996 และค่อยพัฒนาไปสู่การจัดตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าของภูมิภาค ซึ่งต้องพัฒนาโครงข่ายสายส่งเชื่อมโยงและกฎระเบียบที่โปร่งใสเพื่อรองรับ ในอนาคต Nordic จะมุ่งสู่การรวมกับภูมิภาคอื่น และจัดตั้งยุโรปตลาดเดียวในด้านไฟฟ้า แต่ทั้งนี้ ยังมี ทั้งที่เป็นปัญหาในปัจจุบันสำหรับการจัดตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาค ได้แก่ การประกอบการและให้บริการ การปรับให้เข้ากับระบบภาษี/ข้อจำกัดที่ต่างกันของแต่ละประเทศ การลงทุน และปัจจัยไม่แน่นอนหลายอย่างที่อาจเป็นปัญหาในอนาคต ได้แก่ ราคา การบริโภค และการยอมรับการใช้พลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์
1.3 ด้านคมนาคมขนส่ง จัดตั้ง Nordic Road Association เป็นกลไกความร่วมมือ (ประเทศ Nordic + Faroe Islands)โดยประธาน คือ อธิบดีกรมทางหลวง และรองประธาน คือ ภาคเอกชน และประกอบด้วยสมาชิกจากส่วนต่างๆ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกทั่วไป ให้มีคณะทำงานเชิงเทคนิค 5 กลุ่ม ดูแลด้าน 1) การเงินและการบริหาร 2) การวางแผนและออกแบบ 3) การก่อสร้าง 4) การประกอบการและบำรุงรักษา 5) การจราจรและสิ่งแวดล้อม
2. การสร้างความสัมพันธ์ในเชิงหุ้นส่วนระหว่างกลุ่มประเทศ GMS และ Nordic ADB และ GMS National Coordinator ของประเทศกัมพูชา จีน ลาว ไทยและเวียดนาม ได้รายงานการดำเนินงานของ GMS ในด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และการพัฒนา Economic Corridors โดยเน้นความ ก้าวหน้า ประโยชน์ที่ประเทศได้รับจากการพัฒนา และประเด็นท้าทาย ซึ่งเป็นแนวทางความร่วมมือ/การให้ความช่วยเหลือของกลุ่ม Nordic ต่อ GMS โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องขาดงบประมาณ ความสามารถในการบริหารจัดการปัญหาข้ามพรมแดนต่างๆ เช่น โรคติดต่อ แรงงาน ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ และการประสานการดำเนินงานกับภาคีต่างๆ เช่น ระหว่างสาขาสิ่งแวดล้อมและสาขาพัฒนา หรือระหว่างภาครัฐ-NGOs เป็นต้น
3. การดูงาน Sustainable City ณ Swedish Trade Council และ Hammarby Sjstad กรุงสต็อกโฮม
3.1 Sustainable City - Hammarby Sjstad เป็นการปรับพื้นที่ย่าน Hammarby Sjstad ทางใต้ของกรุงสต็อกโฮม ซึ่งเดิมมีสภาพค่อนข้างเสื่อมโทรม เพราะเป็นท่าเรือและทางระบายน้ำของเมือง ให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำงานแห่งใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ใหญ่ที่สุดของ สวีเดน ด้วยการก่อสร้างอาคาร/บริเวณแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อลดการใช้ พลังงานในบ้าน และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้ได้ร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับอาคาร/สิ่งก่อสร้างแบบมาตรฐานปกติ ซึ่งแนวคิด Sustainable City นี้ได้นำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ในประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น จีน แคนาดา และแอฟริกาใต้
3.2 หลักการของ Sustainable City เป็น Swedish Partnership Initiative ของแผนงาน Swedish Environmental Technology Network ที่มุ่งเสนอแนวทางการดำเนินงานที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักบูรณาการแบบองค์รวม และแนวคิดแบบ Cluster ในการพัฒนาเมืองเพื่อให้เกิดความสมดุลยทั้งในด้านชีววิทยา สังคม และเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ หลักการของ Sustainable City ประกอบด้วยการพัฒนาเมืองด้านต่างๆ ได้แก่ การปกครอง/บริหารจัดการเมือง การวางผังเมือง การมีส่วนร่วม ความร่วมมือรัฐ-เอกชน การฝึกอบรม เทคโนโลยีสารสนเทศ การวางผังที่ดิน พลังงาน ขยะ น้ำและน้ำเสีย การก่อสร้าง/สถาปัตยกรรม และการจราจร/ขนส่ง เป็นต้น
ความเห็นต่อการประชุม 5th MDF
1. กรอบ GMS ควรเร่งขยายความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับสวีเดน และกลุ่ม Nordic เพื่อการพัฒนาประเทศและอนุภูมิภาคต่อไป เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่มีความสนใจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และมีความพร้อมในหลายด้าน ดังนั้น Follow up - MDF Activities ที่มีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ กรอบ ACMECS เองก็สามารถเข้ามารับประโยชน์จากความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนนี้ได้อีกทางหนึ่ง
2. ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และได้ผลักดันแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน ควรแสดงบทบาทที่เข้มแข็งอย่างต่อเนื่องในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีและยั่งยืนให้เกิดทั่วโลก โดยถือเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นวาระทางการเมืองที่สำคัญของประเทศ เช่นเดียวกับประเทศสวีเดน
3. การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในกลุ่มสแกนดิเนเวีย (Nordic Countries) มีความก้าวหน้าค่อนข้างมากทั้งในการเลือกใช้แหล่งพลังงานที่หลากหลาย (โดยเฉพาะน้ำที่มีเหลือเฟือในนอร์เวย์ และพลังงานนิวเคลียร์ในสวีเดน) รูปแบบการดำเนินการโดยแยกบทบาทระหว่างระบบการผลิต ระบบสายส่ง และระบบจำหน่าย และบทบาทระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการดำเนินการโดยภาคเอกชน และในปัจจุบันภาคเอกชนสวีเดนมีการลงทุนในโครงการพลังงานไฟฟ้าในกลุ่มประเทศ GMS รวมทั้งไทย ซึ่ง สศช. ควรจะศึกษาเป็นตัวอย่างประกอบในการกำหนดยุทธศาสตร์พลังงานของไทย
4. สวีเดนได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน เป็นตัวอย่างที่ใช้ระบบการวางแผนแบบบูรณาการระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง สศช. ควรจะศึกษาเป็นตัวอย่างในการวางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 แม้ว่าการลงทุนในเมืองที่เป็นโครงการนำร่องของสวีเดนจะมีวงเงินค่อนข้างสูง แต่ไทยสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-