(1.1) ราชการไทยมีโครงสร้างที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ขนาดเล็กลงพร้อมทั้งปรับตัวก้าวสู่ความทันสมัย มีประสิทธิภาพ ในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ภาคราชการไทยมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระทรวง กรม อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดในปี 2548 ได้ปรับลดกระทรวงจาก 20 กระทรวงเหลือ 18 กระทรวง เพื่อลดความซ้ำซ้อนและเกิดบูรณาการในการทำงานยิ่งขึ้น ควบคู่กับการลดขนาดอัตรากำลังโดยใช้มาตรการจูงใจในลักษณะต่าง ๆ ในส่วนของการพัฒนาระบบราชการ ซึ่งดำเนินการตามทิศทางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ โดยมีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เป็นเครื่องมือผลักดันที่สำคัญ ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐมีการบริหารที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานมากขึ้น โดยทุกส่วนราชการมีการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการ รวมทั้งแผนพัฒนาระบบราชการที่มุ่งสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติภารกิจ ปรับตัวสู่การบริหารจัดการสมัยใหม่ คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน พร้อมไปกับการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ส่วนราชการร้อยละ 90.6 ยังให้ความสำคัญมากขึ้นกับการพัฒนาขีดความสามารถของข้าราชการ ขณะที่เกือบครึ่งหนึ่งของหน่วยงานมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ในการดำเนินงาน
(1.2) ความโปร่งใสทั้งในส่วนภาครัฐและภาคเอกชนมีแนวโน้มดีขึ้น ประชาชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น จากการประเมินสถานการณ์การทุจริตคอรัปชั่นโดย Transparency International : TI พบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีภาพความโปร่งใสเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นจาก 3.2 คะแนนในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็น 3.3 และ 3.6 คะแนนในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามคะแนนดังกล่าวยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์และมาเลเซียที่มีภาพลักษณ์ความโปร่งใสดีกว่าไทย นอกจากนี้ จากการประเมินของ World Economic Forum
พบว่า ความโปร่งใสของภาครัฐในการชี้แจงเรื่องการดำเนินนโยบายมีแนวโน้มดีขึ้น ขณะที่หน่วยงานภาครัฐกว่าร้อยละ 60 ยังได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากขึ้น
(2) การกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นก้าวหน้ามากขึ้นในด้านภารกิจ แต่ด้านอำนาจทางการคลังและบุคลากรยังมีข้อจำกัด การกระจายอำนาจภารกิจ และความรับผิดชอบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พ.ร.บ. แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ก้าวหน้าเป็นลำดับ โดยสามารถดำเนินการถ่ายโอนภารกิจบางประเภทของส่วนราชการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้ว 180 ภารกิจ คิดเป็นร้อยละ 73.5 ของภารกิจเป้าหมาย และมีการถ่ายโอนบุคลากรไปแล้ว จำนวน 4,559 ราย ซึ่งยังมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับบุคลากรของหน่วยงานเจ้าของภารกิจเดิม โดยมีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่มาก อาทิ ความไม่สมัครใจและไม่มีมาตรการจูงใจที่เพียงพอ ขณะที่การกระจายอำนาจทางการคลังที่ยังไม่ก้าวหน้ามากนัก โดยสามารถจัดสรรรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 23.50 ในปี 2548 ซึ่งยังห่างจากเป้าหมายที่กำหนดให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ภายในปี 2549 อยู่มาก
(3) ภาคเอกชนไทยในสายตาต่างประเทศดีขึ้นตามลำดับ การเสริมสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีภาคเอกชนมีความก้าวหน้า
(3.1) อันดับธรรมาภิบาลธุรกิจเอกชนไทยดีขึ้นตามลำดับ โดยสถาบันจัดอันดับ IMD ได้จัดอันดับธรรมภิมาบาลภาคเอกชน ปรากฏว่าอันดับโดยเฉลี่ยของประเทศไทยดีขึ้น จากอันดับที่ 36 ในปี 2544 เลื่อนขึ้นเป็นอันดับที่ 32 ในปี 2545 และอันดับที่ 31 ในปี 2547 โดยปัจจัยส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ในการจัดลำดับธรรมาภิบาลภาคเอกชนได้ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ความรับผิดชอบทางสังคมและความพึงพอใจของลูกค้าที่มีการปรับตัวจากเดิมขึ้นมาก อย่างไรก็ตามปัจจัยด้อยที่ยังมีอยู่ ได้แก่ เรื่องการใช้ข้อมูลภายในเพื่อผลประโยชน์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ และเรื่องการแข่งขันทางการค้าที่ไทยมีความจำเป็นต้องปรับปรุงเพิ่มขึ้น
(3.2) "บรรษัทภิบาล"กลไกสำคัญในการสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีภาคเอกชนมีการผลักดันเป็นรูปธรรม ภาคเอกชนให้ความร่วมมือมากขึ้น จากปัญหาความอ่อนแอในการบริหารจัดการธุรกิจภาคเอกชน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ ในปี 2540 รัฐบาลเห็นความจำเป็นที่ต้องสร้างบรรษัทภิบาลขึ้นในสังคมไทย โดยเป้าหมาย ได้แก่ บริษัทจดทะเบียน สถาบันตัวกลางและองค์กรกำกับดูแล และได้ประกาศให้ปี 2545 เป็นปีเริ่มต้นแห่งการรณรงค์การมีบรรษัทภิบาลที่ดี พร้อมทั้งผลักดันการสร้างบรรษัทภิบาลในสังคมไทยให้มีความก้าวหน้าเป็นลำดับ โดย ได้ดำเนินมาตรการเพื่อส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทั้งมาตรการกำกับควบคู่กับมาตรการจูงใจไปพร้อมกัน อาทิ มีการจัดตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ เป็นกลไกระดับชาติขึ้นมาดูแล การจัดตั้งศูนย์พัฒนาการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนเพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน การกำหนดให้บริษัทที่จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนต้องมีกลไกตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจการบริหารงาน และผลักดันให้แก้ไขกฎหมายบริษัทมหาชนเพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการบริหารงานของบริษัทและกรรมการ ในส่วนมาตรการจูงใจและส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ได้แก่ สนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนมีการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการ (Governance Rating) โดยกำหนดสิทธิประโยชน์ อาทิ ลดหย่อนค่าธรรมเนียม ลดระยะเวลาในการรวมทุนให้กับบริษัทที่ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับที่ดี โดยปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการการจัดอันดับบรรษัทภิบาลเพิ่มขึ้น
(4) ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาเพิ่มขึ้นทั้งการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการพัฒนาท้องถิ่น
(4.1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มขึ้นทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่นในช่วงเวลากว่า 30 ปี ของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประชาชนตื่นตัวและเข้ามาใช้สิทธิในการเลือกตั้งเพิ่มมากขึ้น โดยในระดับประเทศอัตราผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเพียงร้อยละ 29.51 ในปี 2491 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่ำที่สุดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 61.3 ในการเลือกตั้งปี 2539 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับเก่า หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 สัดส่วนดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70.6 ในปี 2544 และ ร้อยละ 72.6 ในปี 2548 ซึ่งนับเป็นอัตราที่สูงที่สุดตลอดช่วงที่ผ่านมา ในส่วนการเมืองระดับท้องถิ่นก็มีทิศทางเดียวกัน โดยมีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับต่างๆ อาทิ เลือกผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สมาชิกสภา อบต./สภาตำบล มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสัดส่วนผู้ที่มีสิทธิและไปใช้สิทธิร้อยละ 80.0 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด ในปี 2540 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 97.2 ในปี 2545 ร้อยละ 98.2 ในปี 2546และ 98.3 ในปี 2547
(4.2) การมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยครัวเรือนที่มีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งคน ได้ร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม สมาชิกกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนเฉพาะกิจหรือสมาชิกองค์กรประชาชนที่จัดตั้งขึ้นในหมู่บ้าน ตำบล เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 85.9 ในปี 2540 เป็นร้อยละ 87.8 ในปี 2545 ร้อยละ 91.2 และ 91.9 ในปี 2546-2547 ตามลำดับ นอกจากนี้สัดส่วนครัวเรือนที่มีสมาชิกในครัวเรือนช่วยเหลือสังคมและชุมชนในกิจกรรมสาธารณะ อาทิ ปลูกต้นไม้ รักษาป่า และแหล่งน้ำ อนุรักษ์สัตว์ป่า สร้าง/ซ่อมแซมถนน เป็นต้น ยังมีสัดส่วนสูง
3 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
3.1 สรุปผลการดำเนินงานในระยะ 3 ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
ผลการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และวาระแห่งชาตินับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการประเทศหลายด้าน โดยเฉพาะการบริหารจัดการภาคราชการ การแก้ปัญหาเร่งด่วนของประเทศ และการวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับรากหญ้าถึงมหภาค ปัจจุบันการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาดังกล่าว ผ่านมาแล้ว 3 ปี ได้สร้างความเจริญก้าวหน้าต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างน่าพอใจในหลายๆ ด้าน กล่าวคือ เศรษฐกิจของประเทศตั้งแต่ปี 2545 ถึงปี 2547 ขยายตัวโดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 6.1 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่กำหนดไว้เฉลี่ยร้อยละ 4-5 ต่อปี ขณะที่การดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ มีส่วนช่วยให้คนยากจนลดลงเหลือเพียง 7.5 ล้านคน ในปี 2547 รวมทั้งช่วยให้คนจนได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น เช่นเดียวกับการดำเนินงานพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้มีส่วนผลักดันให้อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยสูงขึ้นจากอันดับที่ 31 ในปี 2545 เป็นอันดับที่ 29 ในปี 2547
นอกจากนี้ ในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 การดำเนินงานด้านการพัฒนาทุนทางสังคมยังสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตได้มากขึ้น อาทิ ประชาชนเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ และมีงานทำเพิ่มขึ้น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีทั้งด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีจุดด้อยที่ต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขโดยเฉพาะการบริหารจัดการภาครัฐ ในเรื่องความโปร่งใสของการดำเนินงานและคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของภาครัฐที่จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศและความเชื่อมั่นของต่างประเทศ เนื่องจากจะใช้การบริหารจัดการภาครัฐ เป็นปัจจัยหนึ่งในการประเมินเพื่อจัดอันดับประเทศในด้านต่างๆ เสมอ นอกจากนี้ประเด็นที่ยังต้องให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ การพัฒนาคุณภาพคนและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
3.2 ข้อเสนอแนะการดำเนินงานระยะต่อไป
การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และวาระแห่งชาติ 4 เรื่อง ถึงแม้จะช่วยแก้ปัญหาที่มีความสำคัญและได้วางรากฐานการพัฒนาในเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปแล้วระดับหนึ่ง แต่ยังต้องเร่งดำเนินการอีกหลายเรื่อง เพื่อแก้ไขจุดอ่อนที่เป็นอุปสรรค รวมทั้งดำเนินการเรื่องใหม่ๆ ที่ตอบสนองสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งประเด็นปัญหาเฉพาะหน้า และความเชื่อมโยงสอดคล้องกับแนวทางช่วงการบริหารจัดการประเทศภายใต้แผนการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ. 2548-2551) เพื่อให้การพัฒนาประเทศมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนี้
(1) การบริหารเศรษฐกิจมหภาคในระยะต่อไปต้องให้ความสำคัญมากขึ้นกับการสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ โดยให้ความสำคัญกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพ การรักษาวินัยและเสถียรภาพทางการเงินการคลังอย่างเข้มงวด การเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งมากขึ้น พร้อมไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการพึ่งตนเองและการกำหนดทิศทางที่ชัดเจน อาทิ การจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อลดการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุน ส่งเสริมการผลิตในประเทศและใช้วัตถุดิบในประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการออมของประเทศ เพื่อเป็นแหล่งเงินที่จะลดการพึ่งพาเงินทุนต่างประเทศ ทั้งยังต้องเตรียมความพร้อมให้สามารถจัดการกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกและปัจจัยภายนอกต่างๆ ได้อย่างรู้เท่าทัน อาทิ การเคลื่อนย้ายแรงงาน การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ การเคลื่อนย้ายเงินทุน และการเคลื่อนย้ายข้อมูลข่าวสาร โดยต้องดูแลให้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขระเบียบ กติกา และกฎหมายต่างๆ ให้รองรับการเคลื่อนย้ายต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ รวมทั้งการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเชิงรุกที่เชื่อมโยงกับการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย
(2) การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ ยังต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการบริหารจัดการทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อขจัดความยากจนให้สัมฤทธิ์ผลโดยเร่งดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนยากจนให้สามารถสร้างฐานะและพึ่งตนเองได้มากขึ้น อาทิ การเร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้สิน การจัดที่ดินทำกินพร้อมสาธารณูปโภคที่จำเป็นให้ทั่วถึงและเพียงพอ ขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้ง การสร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกณฑ์ที่สำคัญ การปรับปรุงระบบการผลิตและขยายการตลาดอย่างเต็มที่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่ไปกับการเร่งรัดปรับปรุงกฎระเบียบและระบบการบริหารจัดการของภาครัฐให้สามารถส่งเสริมการสร้างโอกาสและความเป็นธรรมให้แก่คนยากจนได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ อาทิ การสร้างระบบคุ้มครองทางสังคมแก่แรงงานนอกระบบและแรงงานภาคเกษตร การเสริมสร้างกระบวนการยุติธรรม การเร่งรัดพัฒนากฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับคนยากจน
(3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในระยะต่อไปต้องให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ โดยต้องเร่งปรับโครงสร้างทุกภาคการผลิตให้เข้มแข็งและแข่งขันได้ ให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพและมูลค่าผลผลิตบนพื้นฐานความรู้ทั้งภูมิปัญญาไทยและวิทยาการสมัยใหม่ ส่งเสริมให้ใช้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ภาคการผลิตและการค้าของประเทศขยายตัวได้อย่างยั่งยืนในอนาคต พร้อมทั้งพัฒนาระบบสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ การพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมให้เข้มแข็ง การพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาระบบข้อมูลและการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจและสังคม เพื่อสนับสนุนการวางแผนและการดำเนินยุทธศาสตร์ของชาติอย่างเป็นระบบ
(4) การพัฒนาทุนทางสังคม ต้องเร่งพัฒนาทุนทางสังคมทุกมิติให้มีความเข้มแข็งและใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ โดยให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องกับการพัฒนาให้คนมีสุขภาพแข็งแรง มีความรู้ มีครอบครัวที่อบอุ่น มีความมั่นคง และดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ดีอย่างมีความสุข พร้อมทั้งการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย ได้แก่ การเตรียมความพร้อมให้แก่สังคมผู้สูงอายุ การขยายตัวของความเป็นเมือง สังคมเมืองและปัญหาของเมืองใหญ่ทั้งกรุงเทพมหานครและเมืองหลักในภูมิภาค
(5) การพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในการสร้างความสมดุลของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งการฟื้นฟูสภาพป่า การฟื้นฟูทรัพยากรดินและใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ การคุ้มครองและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและการควบคุมมลพิษจากขยะน้ำเสียฝุ่นละอองและเสียงเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูลให้ทันสมัยเป็นปัจจุบัน การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การมีส่วนร่วมของเอกชนและชุมชนท้องถิ่น พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับนานาชาติอย่างรู้เท่าทัน
(6) การบริหารจัดการที่ดี ต้องผลักดันให้ทุกภาคส่วนตระหนักและร่วมสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทย ในภาพรวมต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเร่งรัดการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีผลใช้บังคับอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในภาคราชการต้องให้ความสำคัญมากขึ้นกับการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และกระบวนการทำงาน และจัดให้มีระบบการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และผลกระทบของการปฏิบัติงานภาครัฐอย่างเป็นระบบและมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ในส่วนของราชการส่วนท้องถิ่นต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถทางการคลังและวิชาการขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถบูรณาการภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานร่วมกับทุนทางสังคมในพื้นที่ให้มากขึ้น เช่นเดียวกันกับภาคเอกชนที่ต้องให้ความสำคัญกับการบูรณาการการทำงานกับภาครัฐและประชาชน และการสร้างความเข้าใจเพื่อให้เกิดพลังผลักดันการมีบรรษัทภิบาลที่ดี สำหรับภาคประชาสังคม จะต้องส่งเสริมการรวมกลุ่มของประชาชน นักวิชาการ สื่อมวลชน ให้เป็นกลไกตรวจสอบอิสระที่มีคุณภาพและเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเพื่อร่วมกันสร้างความโปร่งใส ลดการทุจริตประพฤติมิชอบในสังคมไทย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
(1.2) ความโปร่งใสทั้งในส่วนภาครัฐและภาคเอกชนมีแนวโน้มดีขึ้น ประชาชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น จากการประเมินสถานการณ์การทุจริตคอรัปชั่นโดย Transparency International : TI พบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีภาพความโปร่งใสเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นจาก 3.2 คะแนนในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็น 3.3 และ 3.6 คะแนนในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามคะแนนดังกล่าวยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์และมาเลเซียที่มีภาพลักษณ์ความโปร่งใสดีกว่าไทย นอกจากนี้ จากการประเมินของ World Economic Forum
พบว่า ความโปร่งใสของภาครัฐในการชี้แจงเรื่องการดำเนินนโยบายมีแนวโน้มดีขึ้น ขณะที่หน่วยงานภาครัฐกว่าร้อยละ 60 ยังได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากขึ้น
(2) การกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นก้าวหน้ามากขึ้นในด้านภารกิจ แต่ด้านอำนาจทางการคลังและบุคลากรยังมีข้อจำกัด การกระจายอำนาจภารกิจ และความรับผิดชอบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พ.ร.บ. แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ก้าวหน้าเป็นลำดับ โดยสามารถดำเนินการถ่ายโอนภารกิจบางประเภทของส่วนราชการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้ว 180 ภารกิจ คิดเป็นร้อยละ 73.5 ของภารกิจเป้าหมาย และมีการถ่ายโอนบุคลากรไปแล้ว จำนวน 4,559 ราย ซึ่งยังมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับบุคลากรของหน่วยงานเจ้าของภารกิจเดิม โดยมีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่มาก อาทิ ความไม่สมัครใจและไม่มีมาตรการจูงใจที่เพียงพอ ขณะที่การกระจายอำนาจทางการคลังที่ยังไม่ก้าวหน้ามากนัก โดยสามารถจัดสรรรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 23.50 ในปี 2548 ซึ่งยังห่างจากเป้าหมายที่กำหนดให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ภายในปี 2549 อยู่มาก
(3) ภาคเอกชนไทยในสายตาต่างประเทศดีขึ้นตามลำดับ การเสริมสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีภาคเอกชนมีความก้าวหน้า
(3.1) อันดับธรรมาภิบาลธุรกิจเอกชนไทยดีขึ้นตามลำดับ โดยสถาบันจัดอันดับ IMD ได้จัดอันดับธรรมภิมาบาลภาคเอกชน ปรากฏว่าอันดับโดยเฉลี่ยของประเทศไทยดีขึ้น จากอันดับที่ 36 ในปี 2544 เลื่อนขึ้นเป็นอันดับที่ 32 ในปี 2545 และอันดับที่ 31 ในปี 2547 โดยปัจจัยส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ในการจัดลำดับธรรมาภิบาลภาคเอกชนได้ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ความรับผิดชอบทางสังคมและความพึงพอใจของลูกค้าที่มีการปรับตัวจากเดิมขึ้นมาก อย่างไรก็ตามปัจจัยด้อยที่ยังมีอยู่ ได้แก่ เรื่องการใช้ข้อมูลภายในเพื่อผลประโยชน์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ และเรื่องการแข่งขันทางการค้าที่ไทยมีความจำเป็นต้องปรับปรุงเพิ่มขึ้น
(3.2) "บรรษัทภิบาล"กลไกสำคัญในการสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีภาคเอกชนมีการผลักดันเป็นรูปธรรม ภาคเอกชนให้ความร่วมมือมากขึ้น จากปัญหาความอ่อนแอในการบริหารจัดการธุรกิจภาคเอกชน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ ในปี 2540 รัฐบาลเห็นความจำเป็นที่ต้องสร้างบรรษัทภิบาลขึ้นในสังคมไทย โดยเป้าหมาย ได้แก่ บริษัทจดทะเบียน สถาบันตัวกลางและองค์กรกำกับดูแล และได้ประกาศให้ปี 2545 เป็นปีเริ่มต้นแห่งการรณรงค์การมีบรรษัทภิบาลที่ดี พร้อมทั้งผลักดันการสร้างบรรษัทภิบาลในสังคมไทยให้มีความก้าวหน้าเป็นลำดับ โดย ได้ดำเนินมาตรการเพื่อส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทั้งมาตรการกำกับควบคู่กับมาตรการจูงใจไปพร้อมกัน อาทิ มีการจัดตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ เป็นกลไกระดับชาติขึ้นมาดูแล การจัดตั้งศูนย์พัฒนาการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนเพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน การกำหนดให้บริษัทที่จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนต้องมีกลไกตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจการบริหารงาน และผลักดันให้แก้ไขกฎหมายบริษัทมหาชนเพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการบริหารงานของบริษัทและกรรมการ ในส่วนมาตรการจูงใจและส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ได้แก่ สนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนมีการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการ (Governance Rating) โดยกำหนดสิทธิประโยชน์ อาทิ ลดหย่อนค่าธรรมเนียม ลดระยะเวลาในการรวมทุนให้กับบริษัทที่ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับที่ดี โดยปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการการจัดอันดับบรรษัทภิบาลเพิ่มขึ้น
(4) ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาเพิ่มขึ้นทั้งการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการพัฒนาท้องถิ่น
(4.1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มขึ้นทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่นในช่วงเวลากว่า 30 ปี ของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประชาชนตื่นตัวและเข้ามาใช้สิทธิในการเลือกตั้งเพิ่มมากขึ้น โดยในระดับประเทศอัตราผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเพียงร้อยละ 29.51 ในปี 2491 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่ำที่สุดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 61.3 ในการเลือกตั้งปี 2539 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับเก่า หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 สัดส่วนดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70.6 ในปี 2544 และ ร้อยละ 72.6 ในปี 2548 ซึ่งนับเป็นอัตราที่สูงที่สุดตลอดช่วงที่ผ่านมา ในส่วนการเมืองระดับท้องถิ่นก็มีทิศทางเดียวกัน โดยมีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับต่างๆ อาทิ เลือกผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สมาชิกสภา อบต./สภาตำบล มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสัดส่วนผู้ที่มีสิทธิและไปใช้สิทธิร้อยละ 80.0 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด ในปี 2540 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 97.2 ในปี 2545 ร้อยละ 98.2 ในปี 2546และ 98.3 ในปี 2547
(4.2) การมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยครัวเรือนที่มีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งคน ได้ร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม สมาชิกกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนเฉพาะกิจหรือสมาชิกองค์กรประชาชนที่จัดตั้งขึ้นในหมู่บ้าน ตำบล เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 85.9 ในปี 2540 เป็นร้อยละ 87.8 ในปี 2545 ร้อยละ 91.2 และ 91.9 ในปี 2546-2547 ตามลำดับ นอกจากนี้สัดส่วนครัวเรือนที่มีสมาชิกในครัวเรือนช่วยเหลือสังคมและชุมชนในกิจกรรมสาธารณะ อาทิ ปลูกต้นไม้ รักษาป่า และแหล่งน้ำ อนุรักษ์สัตว์ป่า สร้าง/ซ่อมแซมถนน เป็นต้น ยังมีสัดส่วนสูง
3 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
3.1 สรุปผลการดำเนินงานในระยะ 3 ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
ผลการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และวาระแห่งชาตินับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการประเทศหลายด้าน โดยเฉพาะการบริหารจัดการภาคราชการ การแก้ปัญหาเร่งด่วนของประเทศ และการวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับรากหญ้าถึงมหภาค ปัจจุบันการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาดังกล่าว ผ่านมาแล้ว 3 ปี ได้สร้างความเจริญก้าวหน้าต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างน่าพอใจในหลายๆ ด้าน กล่าวคือ เศรษฐกิจของประเทศตั้งแต่ปี 2545 ถึงปี 2547 ขยายตัวโดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 6.1 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่กำหนดไว้เฉลี่ยร้อยละ 4-5 ต่อปี ขณะที่การดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ มีส่วนช่วยให้คนยากจนลดลงเหลือเพียง 7.5 ล้านคน ในปี 2547 รวมทั้งช่วยให้คนจนได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น เช่นเดียวกับการดำเนินงานพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้มีส่วนผลักดันให้อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยสูงขึ้นจากอันดับที่ 31 ในปี 2545 เป็นอันดับที่ 29 ในปี 2547
นอกจากนี้ ในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 การดำเนินงานด้านการพัฒนาทุนทางสังคมยังสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตได้มากขึ้น อาทิ ประชาชนเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ และมีงานทำเพิ่มขึ้น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีทั้งด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีจุดด้อยที่ต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขโดยเฉพาะการบริหารจัดการภาครัฐ ในเรื่องความโปร่งใสของการดำเนินงานและคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของภาครัฐที่จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศและความเชื่อมั่นของต่างประเทศ เนื่องจากจะใช้การบริหารจัดการภาครัฐ เป็นปัจจัยหนึ่งในการประเมินเพื่อจัดอันดับประเทศในด้านต่างๆ เสมอ นอกจากนี้ประเด็นที่ยังต้องให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ การพัฒนาคุณภาพคนและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
3.2 ข้อเสนอแนะการดำเนินงานระยะต่อไป
การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และวาระแห่งชาติ 4 เรื่อง ถึงแม้จะช่วยแก้ปัญหาที่มีความสำคัญและได้วางรากฐานการพัฒนาในเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปแล้วระดับหนึ่ง แต่ยังต้องเร่งดำเนินการอีกหลายเรื่อง เพื่อแก้ไขจุดอ่อนที่เป็นอุปสรรค รวมทั้งดำเนินการเรื่องใหม่ๆ ที่ตอบสนองสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งประเด็นปัญหาเฉพาะหน้า และความเชื่อมโยงสอดคล้องกับแนวทางช่วงการบริหารจัดการประเทศภายใต้แผนการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ. 2548-2551) เพื่อให้การพัฒนาประเทศมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนี้
(1) การบริหารเศรษฐกิจมหภาคในระยะต่อไปต้องให้ความสำคัญมากขึ้นกับการสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ โดยให้ความสำคัญกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพ การรักษาวินัยและเสถียรภาพทางการเงินการคลังอย่างเข้มงวด การเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งมากขึ้น พร้อมไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการพึ่งตนเองและการกำหนดทิศทางที่ชัดเจน อาทิ การจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อลดการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุน ส่งเสริมการผลิตในประเทศและใช้วัตถุดิบในประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการออมของประเทศ เพื่อเป็นแหล่งเงินที่จะลดการพึ่งพาเงินทุนต่างประเทศ ทั้งยังต้องเตรียมความพร้อมให้สามารถจัดการกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกและปัจจัยภายนอกต่างๆ ได้อย่างรู้เท่าทัน อาทิ การเคลื่อนย้ายแรงงาน การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ การเคลื่อนย้ายเงินทุน และการเคลื่อนย้ายข้อมูลข่าวสาร โดยต้องดูแลให้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขระเบียบ กติกา และกฎหมายต่างๆ ให้รองรับการเคลื่อนย้ายต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ รวมทั้งการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเชิงรุกที่เชื่อมโยงกับการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย
(2) การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ ยังต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการบริหารจัดการทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อขจัดความยากจนให้สัมฤทธิ์ผลโดยเร่งดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนยากจนให้สามารถสร้างฐานะและพึ่งตนเองได้มากขึ้น อาทิ การเร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้สิน การจัดที่ดินทำกินพร้อมสาธารณูปโภคที่จำเป็นให้ทั่วถึงและเพียงพอ ขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้ง การสร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกณฑ์ที่สำคัญ การปรับปรุงระบบการผลิตและขยายการตลาดอย่างเต็มที่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่ไปกับการเร่งรัดปรับปรุงกฎระเบียบและระบบการบริหารจัดการของภาครัฐให้สามารถส่งเสริมการสร้างโอกาสและความเป็นธรรมให้แก่คนยากจนได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ อาทิ การสร้างระบบคุ้มครองทางสังคมแก่แรงงานนอกระบบและแรงงานภาคเกษตร การเสริมสร้างกระบวนการยุติธรรม การเร่งรัดพัฒนากฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับคนยากจน
(3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในระยะต่อไปต้องให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ โดยต้องเร่งปรับโครงสร้างทุกภาคการผลิตให้เข้มแข็งและแข่งขันได้ ให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพและมูลค่าผลผลิตบนพื้นฐานความรู้ทั้งภูมิปัญญาไทยและวิทยาการสมัยใหม่ ส่งเสริมให้ใช้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ภาคการผลิตและการค้าของประเทศขยายตัวได้อย่างยั่งยืนในอนาคต พร้อมทั้งพัฒนาระบบสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ การพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมให้เข้มแข็ง การพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาระบบข้อมูลและการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจและสังคม เพื่อสนับสนุนการวางแผนและการดำเนินยุทธศาสตร์ของชาติอย่างเป็นระบบ
(4) การพัฒนาทุนทางสังคม ต้องเร่งพัฒนาทุนทางสังคมทุกมิติให้มีความเข้มแข็งและใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ โดยให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องกับการพัฒนาให้คนมีสุขภาพแข็งแรง มีความรู้ มีครอบครัวที่อบอุ่น มีความมั่นคง และดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ดีอย่างมีความสุข พร้อมทั้งการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย ได้แก่ การเตรียมความพร้อมให้แก่สังคมผู้สูงอายุ การขยายตัวของความเป็นเมือง สังคมเมืองและปัญหาของเมืองใหญ่ทั้งกรุงเทพมหานครและเมืองหลักในภูมิภาค
(5) การพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในการสร้างความสมดุลของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งการฟื้นฟูสภาพป่า การฟื้นฟูทรัพยากรดินและใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ การคุ้มครองและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและการควบคุมมลพิษจากขยะน้ำเสียฝุ่นละอองและเสียงเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูลให้ทันสมัยเป็นปัจจุบัน การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การมีส่วนร่วมของเอกชนและชุมชนท้องถิ่น พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับนานาชาติอย่างรู้เท่าทัน
(6) การบริหารจัดการที่ดี ต้องผลักดันให้ทุกภาคส่วนตระหนักและร่วมสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทย ในภาพรวมต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเร่งรัดการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีผลใช้บังคับอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในภาคราชการต้องให้ความสำคัญมากขึ้นกับการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และกระบวนการทำงาน และจัดให้มีระบบการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และผลกระทบของการปฏิบัติงานภาครัฐอย่างเป็นระบบและมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ในส่วนของราชการส่วนท้องถิ่นต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถทางการคลังและวิชาการขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถบูรณาการภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานร่วมกับทุนทางสังคมในพื้นที่ให้มากขึ้น เช่นเดียวกันกับภาคเอกชนที่ต้องให้ความสำคัญกับการบูรณาการการทำงานกับภาครัฐและประชาชน และการสร้างความเข้าใจเพื่อให้เกิดพลังผลักดันการมีบรรษัทภิบาลที่ดี สำหรับภาคประชาสังคม จะต้องส่งเสริมการรวมกลุ่มของประชาชน นักวิชาการ สื่อมวลชน ให้เป็นกลไกตรวจสอบอิสระที่มีคุณภาพและเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเพื่อร่วมกันสร้างความโปร่งใส ลดการทุจริตประพฤติมิชอบในสังคมไทย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-