สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดสัมมนา เรื่อง “มองให้ไกล ไปให้ถึง การพัฒนาที่ยั่งยืน” ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ เพื่อเป็นเวทีถ่ายทอดแนวคิด ระดมความเห็น ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเข้าใจถึงแนวคิดและวิธีดำเนินการตามบริบทไทยให้มากขึ้น
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า สศช. ได้นำเสนอแนวคิด วิธีการและข้อเสนอในการดำเนินการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเด็นที่ได้รับฉันทามติจากการสัมมนาครั้งที่ 1 เพื่อให้ที่ประชุมได้ร่วมคิดร่วมแสดงความคิดเห็น อันจะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์แนวทางการดำเนินงาน อันเป็นที่ยอมรับและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องที่มีความสำคัญ 4 เรื่อง ดังนี้
- การปรับโครงสร้างการผลิตสู่ภาคบริการ ประเทศที่พัฒนาแล้วและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจะมีลักษณะที่สำคัญ คือ เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ และสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพที่ดี โดยโครงสร้างการผลิตของประเทศเหล่านั้นจะมีสัดส่วนภาคบริการที่สูงกว่าภาคการผลิตอื่นมาก เนื่องจากภาคบริการใช้ปัจจัยทรัพยากรธรรมชาติน้อย มลพิษที่เกิดก็มีน้อยแต่สร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจที่สูง จึงต้องพิจารณาถึงการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนภาคบริการที่สะอาด ซึ่งนโยบายในแผนฯ 10 ของไทยได้มุ่งส่งเสริม 3 กลุ่มบริการ ได้แก่ 1) การขนส่ง เช่น ใช้เครื่องยนต์ พลังงานและระบบขนส่งที่สะอาด 2) การศึกษาที่มุ่งบูรณาการความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษา และ 3) นันทนาการ วัฒนธรรม และการกีฬา (ธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรม) ที่มีขีดความสามารถในการรองรับสถานประกอบการและนักท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ ฯลฯ
- การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ขณะนี้ประเทศไทยได้มีการบริโภคพลังงานจากต่างประเทศมหาศาล โดยต้องใช้พลังงานที่เป็นพลังงานนำเข้าตลอดเวลา โดยเฉพาะน้ำมัน การพึ่งพลังงานจากต่างประเทศในสัดส่วนที่มากเกินไป ได้นำไปสู่ปัญหาความไม่สมดุลในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ประเทศขาดดุลการค้ามากขึ้น และส่งผลกระทบต่อคนไทยทั่วหน้า ซึ่งจากนี้ไปคนไทยจะต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุด โดยหาพลังงานที่มีศักยภาพมาใช้แทน สร้างเศรษฐกิจที่มีความมั่นคง มีเสถียรภาพจากคนและทรัพยากรในท้องถิ่น ทางออกในเรื่องของพลังงานทดแทน คือจะต้องหากลยุทธ์ด้านราคาที่เหมาะสมเป็นธรรม และให้ประโยชน์กับทุกฝ่าย ซึ่งไทยมีสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพในการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพจำนวนมาก
- การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐสำหรับสินค้าและบริการที่สะอาด ภาครัฐต้องเป็นแบบอย่างเพื่อให้เกิดการบริโภคสินค้าและบริการที่สะอาด รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการขยายผลให้ภาคส่วนอื่นได้บริโภคและผลิตสินค้าที่สะอาด โดยที่ภาครัฐจะต้องสร้างกลไก กฎระเบียบและวิธีบริหารจัดการไปพร้อมๆ กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและรับผิดชอบของภาคธุรกิจ
เกี่ยวกับแผนที่นำทางการขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคสินค้าและบริการที่สะอาด ต้องเร่งให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมภายใน 3 ปี โดยการประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจทั้งแก่ผู้ผลิตและผู้จัดซื้อของหน่วยงานภาครัฐ มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เตรียมความพร้อมของระบบให้การรับรองและสิทธิประโยชน์กับผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในขอบข่ายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างมาตรการจูงใจแก่หน่วยงานและบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง มีระบบการติดตามตรวจสอบ มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ผลิตโดยให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี มีมาตรการป้องกันข้อขัดแย้งในการจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกับระเบียบปฏิบัติในการจัดซื้อที่มีอยู่เดิม และการดำเนินการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้
- การจัดทำบัญชีประชาชาติที่คำนึงถึงต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อม บัญชีประชาชาติที่ไทยใช้เป็นดัชนีวัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นการมองต้นทุนทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังไม่ได้หักลบทั้งมูลค่าการเสื่อมสภาพของทุนที่มนุษย์สร้าง และมูลค่าทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่สูญสิ้นหรือเสื่อมโทรม ออกจากมูลค่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติ และคำนวณรายจ่ายเพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อม รวมทั้งคำนวณเรื่องการเก็บภาษีหรือการอุดหนุนเพื่อสิ่งแวดล้อมรวมไว้ด้วย เพื่อให้เกิดบัญชีประชาชาติเขียวที่ได้คำนึงถึงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม และใช้วัดผลสำเร็จของการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เรียนรู้ถึงประสบการณ์ในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศต่างๆ และมีความเห็นร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ ตลอดจนจัดทำแผนปฏิบัติการของหน่วยงานได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังได้ข้อมูลพื้นฐานและองค์ความรู้เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาที่ยั่งยืนสอดคล้องกับบริบทไทยมากที่สุด พร้อมทั้งเป็นการขยายผลองค์ความรู้ไปยังหน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินงานให้เกิดสัมฤทธผลได้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า สศช. ได้นำเสนอแนวคิด วิธีการและข้อเสนอในการดำเนินการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเด็นที่ได้รับฉันทามติจากการสัมมนาครั้งที่ 1 เพื่อให้ที่ประชุมได้ร่วมคิดร่วมแสดงความคิดเห็น อันจะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์แนวทางการดำเนินงาน อันเป็นที่ยอมรับและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องที่มีความสำคัญ 4 เรื่อง ดังนี้
- การปรับโครงสร้างการผลิตสู่ภาคบริการ ประเทศที่พัฒนาแล้วและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจะมีลักษณะที่สำคัญ คือ เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ และสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพที่ดี โดยโครงสร้างการผลิตของประเทศเหล่านั้นจะมีสัดส่วนภาคบริการที่สูงกว่าภาคการผลิตอื่นมาก เนื่องจากภาคบริการใช้ปัจจัยทรัพยากรธรรมชาติน้อย มลพิษที่เกิดก็มีน้อยแต่สร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจที่สูง จึงต้องพิจารณาถึงการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนภาคบริการที่สะอาด ซึ่งนโยบายในแผนฯ 10 ของไทยได้มุ่งส่งเสริม 3 กลุ่มบริการ ได้แก่ 1) การขนส่ง เช่น ใช้เครื่องยนต์ พลังงานและระบบขนส่งที่สะอาด 2) การศึกษาที่มุ่งบูรณาการความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษา และ 3) นันทนาการ วัฒนธรรม และการกีฬา (ธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรม) ที่มีขีดความสามารถในการรองรับสถานประกอบการและนักท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ ฯลฯ
- การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ขณะนี้ประเทศไทยได้มีการบริโภคพลังงานจากต่างประเทศมหาศาล โดยต้องใช้พลังงานที่เป็นพลังงานนำเข้าตลอดเวลา โดยเฉพาะน้ำมัน การพึ่งพลังงานจากต่างประเทศในสัดส่วนที่มากเกินไป ได้นำไปสู่ปัญหาความไม่สมดุลในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ประเทศขาดดุลการค้ามากขึ้น และส่งผลกระทบต่อคนไทยทั่วหน้า ซึ่งจากนี้ไปคนไทยจะต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุด โดยหาพลังงานที่มีศักยภาพมาใช้แทน สร้างเศรษฐกิจที่มีความมั่นคง มีเสถียรภาพจากคนและทรัพยากรในท้องถิ่น ทางออกในเรื่องของพลังงานทดแทน คือจะต้องหากลยุทธ์ด้านราคาที่เหมาะสมเป็นธรรม และให้ประโยชน์กับทุกฝ่าย ซึ่งไทยมีสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพในการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพจำนวนมาก
- การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐสำหรับสินค้าและบริการที่สะอาด ภาครัฐต้องเป็นแบบอย่างเพื่อให้เกิดการบริโภคสินค้าและบริการที่สะอาด รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการขยายผลให้ภาคส่วนอื่นได้บริโภคและผลิตสินค้าที่สะอาด โดยที่ภาครัฐจะต้องสร้างกลไก กฎระเบียบและวิธีบริหารจัดการไปพร้อมๆ กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและรับผิดชอบของภาคธุรกิจ
เกี่ยวกับแผนที่นำทางการขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคสินค้าและบริการที่สะอาด ต้องเร่งให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมภายใน 3 ปี โดยการประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจทั้งแก่ผู้ผลิตและผู้จัดซื้อของหน่วยงานภาครัฐ มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เตรียมความพร้อมของระบบให้การรับรองและสิทธิประโยชน์กับผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในขอบข่ายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างมาตรการจูงใจแก่หน่วยงานและบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง มีระบบการติดตามตรวจสอบ มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ผลิตโดยให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี มีมาตรการป้องกันข้อขัดแย้งในการจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกับระเบียบปฏิบัติในการจัดซื้อที่มีอยู่เดิม และการดำเนินการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้
- การจัดทำบัญชีประชาชาติที่คำนึงถึงต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อม บัญชีประชาชาติที่ไทยใช้เป็นดัชนีวัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นการมองต้นทุนทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังไม่ได้หักลบทั้งมูลค่าการเสื่อมสภาพของทุนที่มนุษย์สร้าง และมูลค่าทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่สูญสิ้นหรือเสื่อมโทรม ออกจากมูลค่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติ และคำนวณรายจ่ายเพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อม รวมทั้งคำนวณเรื่องการเก็บภาษีหรือการอุดหนุนเพื่อสิ่งแวดล้อมรวมไว้ด้วย เพื่อให้เกิดบัญชีประชาชาติเขียวที่ได้คำนึงถึงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม และใช้วัดผลสำเร็จของการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เรียนรู้ถึงประสบการณ์ในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศต่างๆ และมีความเห็นร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ ตลอดจนจัดทำแผนปฏิบัติการของหน่วยงานได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังได้ข้อมูลพื้นฐานและองค์ความรู้เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาที่ยั่งยืนสอดคล้องกับบริบทไทยมากที่สุด พร้อมทั้งเป็นการขยายผลองค์ความรู้ไปยังหน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินงานให้เกิดสัมฤทธผลได้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-