- ธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P ระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย Interbank ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยมีทิศทางปรับตัวลดลง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน โดยมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาค และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงมากในช่วงต้นสัปดาห์หลังจากมีข่าวการปรับลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์สหรัฐฯ ในทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชีย
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
ในช่วงต้นสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจาก การเตรียมปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคารมาลงทุนใน ตลาดเงินระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ระยะ 1 วันและ 7 วัน ซึ่งจะครบกำหนดก่อนการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันพุธที่ 2 มี.ค. อัตรา ดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันจึงปรับตัวลดลงจากร้อยละ 1.84375 และ 1.96875 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 1.6875 - 1.84375 ต่อปี และ 1.9375 - 1.96875 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ ตาม ความต้องการกู้ยืมในวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันเริ่มต้นปักษ์ใหม่ เพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8125 ต่อปี ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6875 ต่อปีในวันศุกร์ เนื่องจากสถาบันการเงินมีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นหลังจากทราบ ผลดุลเคลียริ่ง ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วันยังปิด ตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.9375 และ 2 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตรา ดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ ระหว่างร้อยละ 1.75 - 1.95 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาด เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.85 ต่อปีในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 26,500 ล้าน บาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 90 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 13,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,500 ล้านบาท ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงิน คลังอายุ 181 วันและพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 และ 10 ปี ที่มีอัตรา ผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ตามสัดส่วนเสนอประมูลที่ยังคงมีอยู่ ค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับสัปดาห์ก่อน มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 106,898 ล้าน บาท คิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 26,724 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 64.2 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อย ละ 53.7 ซึ่งหากคิดเฉพาะธุรกรรม Outright มูลค่าซื้อขายเพิ่มขึ้น เพียงร้อยละ 22 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาเป็นตั๋วเงินคลัง
อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ปรับเพิ่มขึ้นในวันจันทร์ตาม US Treasury Yield ที่ปรับสูงขึ้นในวันศุกร์ก่อนหน้า หลังจากนั้นอัตรา ผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวลดลง ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 5 ปีปรับลดลง 0-7 basis points และพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี อัตราผลตอบแทน เกือบไม่เปลี่ยนแปลง ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตร รัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 12 และ 10 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอด สัปดาห์ระหว่าง 0-6 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 38.39 - 38.52 บาทต่อ ดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า และมีค่าเฉลี่ยตลอด สัปดาห์ที่ 38.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจาก ค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนเช่นกัน โดยเงินบาทในต้นสัปดาห์ค่อนข้าง ทรงตัวจากปลายสัปดาห์ที่แล้วก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอด สัปดาห์ ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ ในตลาดหลักทรัพย์ไทย ตลอดจนการปรับแข็งค่าของเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินวอนเกาหลีใต้ที่ปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 7 ปี เทียบกับ เงินดอลลาร์ สรอ. หลังจากมีข่าวว่าธนาคารเกาหลีใต้จะดำเนินการ ปรับลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ในทุน สำรองระหว่างประเทศลง นอกจากนี้ ยังมีข่าวว่าประเทศในภูมิภาค เอเชียอื่นๆ เช่น ไทย ไต้หวัน และอินโดนีเซีย มีแผนจะนำทุนสำรอง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปตราสารของรัฐบาลสหรัฐฯ ไปลงทุนในสินทรัพย์ ภาคเอกชนเช่นเดียวกัน ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก ก่อนจะปรับ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากธนาคารกลางของ ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น และไต้หวันออกมาปฏิเสธข่าวการปรับสัดส่วน สินทรัพย์สหรัฐฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารเพื่อ การพัฒนาเอเชีย (ADB) กล่าวแนะนำว่าการกระจายการลงทุนของ ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ควรดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อย ไป และประเทศในภูมิภาคควรมีการพัฒนาตลาดพันธบัตร ภายในประเทศเพื่อใช้เป็นช่องทางการลงทุนสำหรับทุนสำรอง ระหว่างประเทศแทนการพึ่งพิงการลงทุนในสินทรัพย์สหรัฐฯ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยมีทิศทางปรับตัวลดลง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน โดยมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาค และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงมากในช่วงต้นสัปดาห์หลังจากมีข่าวการปรับลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์สหรัฐฯ ในทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชีย
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
ในช่วงต้นสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจาก การเตรียมปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคารมาลงทุนใน ตลาดเงินระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ระยะ 1 วันและ 7 วัน ซึ่งจะครบกำหนดก่อนการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันพุธที่ 2 มี.ค. อัตรา ดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันจึงปรับตัวลดลงจากร้อยละ 1.84375 และ 1.96875 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 1.6875 - 1.84375 ต่อปี และ 1.9375 - 1.96875 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ ตาม ความต้องการกู้ยืมในวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันเริ่มต้นปักษ์ใหม่ เพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8125 ต่อปี ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6875 ต่อปีในวันศุกร์ เนื่องจากสถาบันการเงินมีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นหลังจากทราบ ผลดุลเคลียริ่ง ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วันยังปิด ตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.9375 และ 2 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตรา ดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ ระหว่างร้อยละ 1.75 - 1.95 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาด เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.85 ต่อปีในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 26,500 ล้าน บาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 90 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 13,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,500 ล้านบาท ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงิน คลังอายุ 181 วันและพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 และ 10 ปี ที่มีอัตรา ผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ตามสัดส่วนเสนอประมูลที่ยังคงมีอยู่ ค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับสัปดาห์ก่อน มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 106,898 ล้าน บาท คิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 26,724 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 64.2 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อย ละ 53.7 ซึ่งหากคิดเฉพาะธุรกรรม Outright มูลค่าซื้อขายเพิ่มขึ้น เพียงร้อยละ 22 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาเป็นตั๋วเงินคลัง
อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ปรับเพิ่มขึ้นในวันจันทร์ตาม US Treasury Yield ที่ปรับสูงขึ้นในวันศุกร์ก่อนหน้า หลังจากนั้นอัตรา ผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวลดลง ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 5 ปีปรับลดลง 0-7 basis points และพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี อัตราผลตอบแทน เกือบไม่เปลี่ยนแปลง ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตร รัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 12 และ 10 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอด สัปดาห์ระหว่าง 0-6 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 38.39 - 38.52 บาทต่อ ดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า และมีค่าเฉลี่ยตลอด สัปดาห์ที่ 38.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจาก ค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนเช่นกัน โดยเงินบาทในต้นสัปดาห์ค่อนข้าง ทรงตัวจากปลายสัปดาห์ที่แล้วก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอด สัปดาห์ ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ ในตลาดหลักทรัพย์ไทย ตลอดจนการปรับแข็งค่าของเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินวอนเกาหลีใต้ที่ปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 7 ปี เทียบกับ เงินดอลลาร์ สรอ. หลังจากมีข่าวว่าธนาคารเกาหลีใต้จะดำเนินการ ปรับลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ในทุน สำรองระหว่างประเทศลง นอกจากนี้ ยังมีข่าวว่าประเทศในภูมิภาค เอเชียอื่นๆ เช่น ไทย ไต้หวัน และอินโดนีเซีย มีแผนจะนำทุนสำรอง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปตราสารของรัฐบาลสหรัฐฯ ไปลงทุนในสินทรัพย์ ภาคเอกชนเช่นเดียวกัน ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก ก่อนจะปรับ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากธนาคารกลางของ ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น และไต้หวันออกมาปฏิเสธข่าวการปรับสัดส่วน สินทรัพย์สหรัฐฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารเพื่อ การพัฒนาเอเชีย (ADB) กล่าวแนะนำว่าการกระจายการลงทุนของ ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ควรดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อย ไป และประเทศในภูมิภาคควรมีการพัฒนาตลาดพันธบัตร ภายในประเทศเพื่อใช้เป็นช่องทางการลงทุนสำหรับทุนสำรอง ระหว่างประเทศแทนการพึ่งพิงการลงทุนในสินทรัพย์สหรัฐฯ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-