- สภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ แต่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ยังมีช่วงเคลื่อนไหวไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ระหว่างร้อยละ 4.84375 - 4.875 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 และ 14 วัน ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ระยะยาวปรับตัวลดลง สำหรับ US Treasury Yield ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเช่นกัน
- เงินบาทในวันจันทร์ปรับแข็งค่าขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่า BOJ จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรก สำหรับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น เนื่องจากดุลการค้าในเดือน พ.ค. มีการขาดดุลต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในวันจันทร์ โดยสถาบันการเงินมีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง กระจายในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 - 14 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.84375 4.96875 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันพุธ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงจึงลดการลงทุนระยะสั้นลง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 ต่อปี ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ที่อัตราเดียวกับวันจันทร์ในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากธนาคารพาณิชย์มีการนำเงินที่ได้รับจากการเรียกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย และปริมาณเงินจากธุรกรรมปริมาณสูงที่ครบกำหนดในตลาดเงินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.6 - 4.98 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.95 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.96 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 27,800 ล้านบาท ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงิน 22,000 ล้านบาท โดยพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลง ส่วนพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ 6 ปี วงเงิน 1,800 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 18,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 9,800 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 114,799 ล้านบาท คิดเป็น 28,700 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 59 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ค่อนข้างทรงตัว ยกเว้นในพันธบัตรฯ ระยะยาวอายุมากกว่า 10 ปี ที่อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 10 ปี เกือบไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 10 ปี ปรับตัวลดลง 1-3 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้นเท่ากันที่ 5 basis points
สำหรับ US Treasury Yield ทรงตัวในช่วงต้นสัปดาห์ และปรับลดลงในช่วง ปลายสัปดาห์ จากการลดลงของผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภค ตัวเลขผู้รับสวัสดิการว่างงานและยอดค้าปลีก ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 2-8 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มิ.ย. 49 38.30
เฉลี่ย 3 - 7 ก.ค. 49 38.02
10 ก.ค. 49 37.80
12 ก.ค. 49 37.80
13 ก.ค. 49 37.89
14 ก.ค. 49 37.99
เฉลี่ย 10 - 14 ก.ค. 49 37.87
เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่าง 37.80 - 38.99 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.4 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในวันจันทร์แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 13 - 14 ก.ค. นี้ ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน มิ.ย. ที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ หลังจากตลาดปิดทำการในวันอังคารเนื่องในวันเข้าพรรษา โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค แม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเผื่อเรียกประเภทข้ามคืนขึ้นร้อยละ 0.25 เป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยกว่า 2 พันล้านบาทตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมีเงินทุนไหลเข้าประเทศจากการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากตลาดนิวยอร์กกลับมายังประเทศตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียตลอดช่วงครึ่งแรกของเดือน ก.ค. ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาดี โดยเฉพาะตัวเลขดุลการค้าในเดือน พ.ค. ที่มีการขาดดุลต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ระยะยาวปรับตัวลดลง สำหรับ US Treasury Yield ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเช่นกัน
- เงินบาทในวันจันทร์ปรับแข็งค่าขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่า BOJ จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรก สำหรับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น เนื่องจากดุลการค้าในเดือน พ.ค. มีการขาดดุลต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในวันจันทร์ โดยสถาบันการเงินมีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง กระจายในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 - 14 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.84375 4.96875 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันพุธ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงจึงลดการลงทุนระยะสั้นลง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 ต่อปี ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ที่อัตราเดียวกับวันจันทร์ในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากธนาคารพาณิชย์มีการนำเงินที่ได้รับจากการเรียกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย และปริมาณเงินจากธุรกรรมปริมาณสูงที่ครบกำหนดในตลาดเงินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.6 - 4.98 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.95 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.96 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 27,800 ล้านบาท ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงิน 22,000 ล้านบาท โดยพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลง ส่วนพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ 6 ปี วงเงิน 1,800 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 18,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 9,800 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 114,799 ล้านบาท คิดเป็น 28,700 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 59 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ค่อนข้างทรงตัว ยกเว้นในพันธบัตรฯ ระยะยาวอายุมากกว่า 10 ปี ที่อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 10 ปี เกือบไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 10 ปี ปรับตัวลดลง 1-3 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้นเท่ากันที่ 5 basis points
สำหรับ US Treasury Yield ทรงตัวในช่วงต้นสัปดาห์ และปรับลดลงในช่วง ปลายสัปดาห์ จากการลดลงของผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภค ตัวเลขผู้รับสวัสดิการว่างงานและยอดค้าปลีก ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 2-8 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มิ.ย. 49 38.30
เฉลี่ย 3 - 7 ก.ค. 49 38.02
10 ก.ค. 49 37.80
12 ก.ค. 49 37.80
13 ก.ค. 49 37.89
14 ก.ค. 49 37.99
เฉลี่ย 10 - 14 ก.ค. 49 37.87
เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่าง 37.80 - 38.99 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.4 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในวันจันทร์แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 13 - 14 ก.ค. นี้ ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน มิ.ย. ที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ หลังจากตลาดปิดทำการในวันอังคารเนื่องในวันเข้าพรรษา โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค แม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเผื่อเรียกประเภทข้ามคืนขึ้นร้อยละ 0.25 เป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยกว่า 2 พันล้านบาทตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมีเงินทุนไหลเข้าประเทศจากการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากตลาดนิวยอร์กกลับมายังประเทศตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียตลอดช่วงครึ่งแรกของเดือน ก.ค. ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาดี โดยเฉพาะตัวเลขดุลการค้าในเดือน พ.ค. ที่มีการขาดดุลต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-