- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์
ก่อนหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันและ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มสูงขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ตามการคาดการณ์การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ
- เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ โดยมีค่าเฉลี่ยแทบไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เคลื่อนไหวตามค่าเงินใน
ภูมิภาคและเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund
Rate ในสัปดาห์หน้า
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับ
สูงก่อนการปิดสำรองรายปักษ์ในวันพฤหัสบดี จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย
ระยะดังกล่าวปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.84375 และ 4.96875 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 และ 4.96875 - 5.0 ต่อ
ปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 5 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องปรับสูงขึ้นเล็กน้อยในวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันสิ้น
ปักษ์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการปิดสำรองสภาพคล่องมาลงทุน โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ
7 วัน จึงปิดตลาดลดลงเล็กน้อย ก่อนที่จะปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่อัตราเดิมหลังจากธนาคารพาณิชย์กลับมามีความต้องการกู้ยืมสูงขึ้นในวันศุกร์ แต่อัตราดอกเบี้ย
ระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดช่วงปลายสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.5 -
5.02 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 33,000 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,000
ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 และ 10 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 12,000 ล้านบาท
โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารเกือบทุกประเภทปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 28 วันที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีตราสาร
ภาครัฐครบกำหนด 19,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 14,000 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาด
รองในสัปดาห์มีมูลค่า 114,017 ล้านบาท คิดเป็น 22,803 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 26 ซึ่งเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ
56 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับ
ตัวสูงขึ้น เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลว่าจะมีการปรับ Fed Fund Rate ขึ้นอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ
อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6-18 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 6 เดือน มีอัตราผลตอบแทนลดลง 0-6 basis
points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 67 และ 25 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนมีความมั่นใจ
ว่า Fed คงจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งหนึ่งในปลายเดือนนี้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9-11
basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 1 เดือนที่อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน พ.ค. 49 37.97
เฉลี่ย 14 - 16 มิ.ย. 49 38.36
19 มิ.ย. 49 38.43
20 มิ.ย. 49 38.35
21 มิ.ย. 49 38.26
22 มิ.ย. 49 38.26
23 มิ.ย. 49 38.40
เฉลี่ย 19 - 23 มิ.ย. 49 38.34
เงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 38.26 - 38.43 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์แทบไม่
เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยเงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 38.26 - 38.43 บาทในสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทในวันจันทร์อ่อน
ค่าลงค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน หลังจากตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับข่าวการยิงทดสอบขีปนาวุธของเกาหลี
เหนือ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี เป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ในช่วง
ปลายเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะเงินเยนที่แข็ง
ค่าขึ้นตามการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทภายใน
ประเทศได้แก่ ความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศของนักลงทุน สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์เงินบาทปรับอ่อนค่าลง
อีกครั้ง โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินเยน ในขณะที่นักลงทุนกลับมาให้น้ำหนักกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของธนาคาร
สหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ก่อนหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันและ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มสูงขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ตามการคาดการณ์การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ
- เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ โดยมีค่าเฉลี่ยแทบไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เคลื่อนไหวตามค่าเงินใน
ภูมิภาคและเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund
Rate ในสัปดาห์หน้า
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับ
สูงก่อนการปิดสำรองรายปักษ์ในวันพฤหัสบดี จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย
ระยะดังกล่าวปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.84375 และ 4.96875 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 และ 4.96875 - 5.0 ต่อ
ปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 5 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องปรับสูงขึ้นเล็กน้อยในวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันสิ้น
ปักษ์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการปิดสำรองสภาพคล่องมาลงทุน โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ
7 วัน จึงปิดตลาดลดลงเล็กน้อย ก่อนที่จะปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่อัตราเดิมหลังจากธนาคารพาณิชย์กลับมามีความต้องการกู้ยืมสูงขึ้นในวันศุกร์ แต่อัตราดอกเบี้ย
ระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดช่วงปลายสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.5 -
5.02 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 33,000 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,000
ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 และ 10 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 12,000 ล้านบาท
โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารเกือบทุกประเภทปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 28 วันที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีตราสาร
ภาครัฐครบกำหนด 19,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 14,000 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาด
รองในสัปดาห์มีมูลค่า 114,017 ล้านบาท คิดเป็น 22,803 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 26 ซึ่งเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ
56 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับ
ตัวสูงขึ้น เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลว่าจะมีการปรับ Fed Fund Rate ขึ้นอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ
อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6-18 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 6 เดือน มีอัตราผลตอบแทนลดลง 0-6 basis
points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 67 และ 25 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนมีความมั่นใจ
ว่า Fed คงจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งหนึ่งในปลายเดือนนี้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9-11
basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 1 เดือนที่อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน พ.ค. 49 37.97
เฉลี่ย 14 - 16 มิ.ย. 49 38.36
19 มิ.ย. 49 38.43
20 มิ.ย. 49 38.35
21 มิ.ย. 49 38.26
22 มิ.ย. 49 38.26
23 มิ.ย. 49 38.40
เฉลี่ย 19 - 23 มิ.ย. 49 38.34
เงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 38.26 - 38.43 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์แทบไม่
เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยเงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 38.26 - 38.43 บาทในสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทในวันจันทร์อ่อน
ค่าลงค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน หลังจากตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับข่าวการยิงทดสอบขีปนาวุธของเกาหลี
เหนือ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี เป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ในช่วง
ปลายเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะเงินเยนที่แข็ง
ค่าขึ้นตามการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทภายใน
ประเทศได้แก่ ความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศของนักลงทุน สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์เงินบาทปรับอ่อนค่าลง
อีกครั้ง โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินเยน ในขณะที่นักลงทุนกลับมาให้น้ำหนักกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของธนาคาร
สหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-