2.2 สมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2549 : ราคาน้ำมันดิบดูไบบาเรลละ 55-58 ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าเฉลี่ยบาเรลละ
49.30 ดอลลาร์ใน ปี 2548 การขยายตัวเศรษฐกิจโลกเท่ากับร้อย ละ 4.4
(1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.4 ในปี 2549 ใกล้เคียงกับร้อยละ 4.5 ในปี 2548 โดยที่เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น
ขยายตัวดีขึ้นมากจากร้อยละ 2.8 เป็นร้อยละ 3.3 ในปี 2549 ตามการบริโภคและการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้น เศรษฐกิจสหภาพยุโรปขยายตัวได้ดีขึ้น
จากร้อยละ 1.4 เป็นร้อยละ 1.9 จากการฟื้นตัวได้ดีขึ้นของเยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาลี ที่ได้รับผลประโยชน์จากการส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้น
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 3.2 ตามภาวะการใช้จ่ายในประเทศและตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง เศรษฐกิจ
จีนชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 9.9 เป็นร้อยละ 9.0 จากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่ชะลอตัวลงและค่าเงินหยวนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นและเริ่ม
ส่งผลกระทบต่อการส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ได้รับแรงกดดันจากภาคเอกชนสหรัฐฯให้กีดกันการค้าจาก
ประเทศจีนมากขึ้น สำหรับกลุ่มเอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่นและจีนชะลอตัวลงตามการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัว นอกจากนี้แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
ในตลาดโลกจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี 2549
(2) ราคาน้ำมัน: ปรับสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ยบาเรลละ 57 ดอลลาร์ สรอ. จากสมมุติฐานเดิมบาเรลละ 52
ดอลลาร์ สรอ.
- ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง คาดว่าราคาเฉลี่ยทั้งปี 2549 จะอยู่ในช่วง 55-58 ดอลลาร์ สรอ. โดย
ราคาเฉลี่ยที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ 57 ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าบาเรลละ 49.30 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 และเป็นการ
ปรับเพิ่มจากสมมุติฐานเดิมที่เฉลี่ยบาเรลละ 52 ดอลลาร์ สรอ. (ของช่วงประมาณการ 50-55 ดอลลาร์ สรอ.) สำหรับความเคลื่อนไหวราคาน้ำมัน
ตลอดปี 2549 นั้น ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2549 ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมากอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 58.22 ดอลลาร์ สรอ. และคาดว่าในไตรมาสแรก
ซึ่งยังเป็นช่วงฤดูหนาวนั้น ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่บาเรลละ 58.40 ดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นจากบาเรลละ 52.85 ดอลลาร์ในไตรมาสสุดท้ายของ
ปี 2548 และคาดว่าราคาจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องในไตรมาสที่สองประมาณบาเรลละ 58.7 ดอลลาร์ แต่จะเริ่มปรับตัวลดลงในไตรมาสที่
สามและไตรมาสที่สี่เฉลี่ยบาร์เรลละ 56.80 และ 55.50 ดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
- ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 กรมสารนิเทศการพลังงาน กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (EIA) คาดว่าราคาน้ำมันดิบ
อ้างอิง West Texas Intermediate (WTI) ในปี 2549 จะอยู่ที่บาเรลละ 64-65 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งโดยปกติราคาอ้างอิงจะสูงกว่าราคา
น้ำมันดิบดูไบประมาณบาเรลละ 6-8 ดอลลาร์ สรอ.
- ในปัจจุบันราคาอ้างอิงโดยเฉลี่ยสำหรับน้ำมันดิบ เบรนท์ในตลาดล่วงหน้าของสหรัฐฯ ตลอดปี 2549 เท่ากับบาเรลละ
65 ดอลลาร์ และโดยเฉลี่ยราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะสูงกว่าราคน้ำมันดิบดูไบประมาณบาเรลละ 5-6 ดอลลาร์ สรอ. (C)
(3) ราคาส่งออกและนำเข้าสินค้า คาดว่าในปี 2549 ราคาสินค้าในตลาดโลกยังมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตจากราคา
น้ำมันและวัตถุดิบที่สูงขึ้น และ
***********************************************************************************************************
(C) อ้างอิงจาก Global Weekly Economic Monitor โดย Lehman Brother ฉบับประจำวันที่ 3 มีนาคม 2549
***********************************************************************************************************
เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีซึ่งทำให้ความต้องการสินค้ายังเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต
ในประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้นและทำให้กำลังการผลิตส่วนเกินของโลกลดลงกว่าในปี 2548 ราคาส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 8.5 ปรับลดลงจากร้อยละ 10.9 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามแนวโน้มราคาส่งออกที่ชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังปี 2548 ในทุก
หมวดสินค้า ยกเว้นราคาสินค้าเกษตรส่งออก สำหรับราคาสินค้านำเข้าปรับเพิ่มจากร้อยละ 8.5 เป็นร้อยละ 9 เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นกว่าที่
คาดไว้เดิม
2.3 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2549: เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4.5 -5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.5-4.5 และดุลบัญชี
เดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 2.0-2.5 ของ GDP
ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.5-5.5 ต่ำกว่าร้อยละ 4.7-5.7 ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 6
ธันวาคม 2548 เล็กน้อย อัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-4.5 เท่ากับที่ประมาณการไว้เดิม ถึงแม้ว่าจะปรับเพิ่มราคาน้ำมันแต่เงินบาทที่มีแนวโน้ม
แข็งค่ากว่าที่คาดไว้เดิม และแนวโน้มการชะลอตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนที่มากกว่าที่คาดไว้เดิมจะช่วยลดแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ คาดว่าดุลบัญชี
เดินสะพัดขาดดุลประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์ สรอ หรือร้อยละ 2.2 ของ GDP และอัตราการว่างงานคาดว่าจะทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.8-
2.0 ใกล้เคียงกับปี 2548 การปรับลดประมาณลงเล็กน้อยในครั้งนี้มีเหตุผลหลัก ๆ ดังนี้
* ปรับลดการประมาณการการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน เนื่องจากข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจล่าสุดในไตรมาสสุดท้ายปี
2548 และเดือนมกราคม 2549 แสดงว่าอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการใช้จ่ายครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องและ
มากกว่าที่คาดไว้เดิม อันเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและการปรับดอกเบี้ยสูงขึ้นของสถาบันการเงิน ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบสูงกว่าคาดไว้เดิม
* ปรับเพิ่มปริมาณการส่งออกและปรับลดปริมาณการนำเข้าทั้งสินค้าและบริการทำให้ปริมาณการส่งออกสุทธิรวมทั้งสินค้าและบริการ
สูงกว่าในการประมาณการครั้งก่อน ได้ปรับเพิ่มรายรับที่แท้จริงภาคบริการตามการปรับเพิ่มการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2549 ขึ้นตามแนวโน้ม
จำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสสุดท้ายปี 2548 และในเดือนมกราคม 2549 ทั้งนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ
เท่ากับ 13.8 ล้านคน นอกจากนี้ยังปรับประมาณการปริมาณการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามการปรับแนวโน้มล่าสุดและการปรับเพิ่มสมมุติฐานอัตรา
การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยที่คาดว่าปริมาณการค้าโลกจะขยายตัวประมาณร้อยละ 7.5 สูงกว่าร้อยละ 7.0 ในปี 2548 รวมทั้งได้ปรับลด
ปริมาณการนำเข้าสินค้าเนื่องจากคาดว่าจะมีการใช้วัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปจากสินค้าคงคลังมากขึ้น และทำให้การสะสมสะต็อกลดลงกว่าในปี 2548
* อย่างไรก็ตามในภาพรวมเศรษฐกิจเป็นการปรับประมาณการลงจากการประมาณการในครั้งก่อนเพียงเล็กน้อย การขยายตัวของ
เศรษฐกิจในปี 2549 มีลักษณะที่มาจากการสนับสนุนของการส่งออกสุทธิมากขึ้นกว่าที่คาดไว้เมื่อครั้งที่ผ่านมา ในขณะที่แรงขับเคลื่อนของอุปสงค์ภายใน
ประเทศมีน้อยลง
(1) กรณีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูงร้อยละ 5.5
ราคาน้ำมันดิบลดลงในช่วงกลางปีและราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่บาเรลละ 57 ดอลลาร์หรือต่ำกว่า (2) เร่งรัดการส่งออกทั้งปีให้
ขยายตัวร้อยละ 17 จากแนวโน้มการขยายตัวปกติร้อยละ 14-15 โดยต้องเร่งขยายการส่งออกสินค้าเกษตร ในกลุ่มยางพารา กุ้ง ไก่ และอาหาร
ทะเลกระป๋อง และ การส่งออกในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์และชิ้นส่วน รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมกลุ่มประเภทของใช้ในบ้าน สบู่และเครื่อง
สำอาง เป็นต้น (3) เร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ได้รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 70,000-80,000 ล้านบาท จากฐาน
รายรับในปี 2548 และ (4) เร่งรัดการเบิกจ่ายงบรัฐบาลและและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการเบิกจ่ายของกองทุนเพื่อ
การพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (กองทุน SML) และงบเพื่อดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
(2) กรณีการขยายตัวในกรณีต่ำร้อยละ 4.5
มีโอกาสเป็นไปได้ถ้าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่าบาเรลละ 58-60 ดอลลาร์ สรอ. เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าที่คาดซึ่ง
จะกระทบการส่งออกของไทยให้ต่ำกว่าเป้าหมาย และราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีที่สูงกว่าระดับ 58 ดอลลาร์ต่อบาเรล จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่า
ร้อยละ 4.0 และทำให้การใช้จ่ายครัวเรือนชะลอตัวมากกว่าที่คาด แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบดูไบจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับนั้นมี
ความเป็นไปได้น้อยหากพิจารณาจากราคาเฉลี่ยใน 2 เดือนแรกของปี ใน 2 เดือนแรกราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเท่ากับบาเรลละ 58 ดอลลาร์
สรอ. ซึ่งน่าจะเป็นระดับราคาที่สูงในช่วงปี และเป็นไปตามภาวะฤดูกาลที่ในฤดูหนาวราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับสูงสุดในแต่ละปี และเศรษฐกิจสหรัฐฯ
และจีนที่ชะลอตัวจะลดแรงกดดันจากด้านความต้องการใช้ลงบ้าง อย่างไรก็ตามยังมีเงื่อนไขอื่นๆ ที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่ำกว่าค่ากลาง
ของช่วงประมาณการร้อยละ 4.5-5.5 เช่น เหตุการณ์ทางการเมืองซึ่งหากมีความยืดเยื้อจะกระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน และการเบิกจ่ายงบ
รัฐบาล เป็นต้น
(3) ความน่าจะเป็นของภาวะเศรษฐกิจปี 2549 ในกรณีต่าง ๆ
โอกาสที่ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปีจะต่ำหรือสูงกว่า 57 ดอลลาร์ต่อบาเรลนั้นมีความเป็นไปได้ใกล้เคียงกัน เนื่องจากปัจจัยเชิงเทคนิคและ
จิตวิทยาทำให้ราคาน้ำมันตอบสนองต่อข่าวสารสถานการณ์น้ำมันทั้งทางด้านความต้องการใช้และเงื่อนไขด้านการผลิตทั้งที่เป็นข่าวบวกหรือลบอย่างรวด
เร็ว และจากความเคลื่อนไหวในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีทั้งข่าวที่เป็นบวกและลบ เช่น ข้อมูลความต้องการน้ำมันที่ชะลอตัว หรือข้อมูลการสะสมสต็อกที่
เพิ่มขึ้น เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจโลกนั้นมีโอกาสที่จะขยายตัวได้ต่ำกว่าร้อยละ 4.4 มากกว่าที่จะขยายตัวได้สูงกว่า ซึ่งจะส่งผลให้การ
ส่งออกของไทยต่ำกว่าที่ประมาณการ และนอกจากนี้จากปัจจัยจากสถานการณ์ทางการเมืองและแนวโน้มชะลอตัวตามวัฏจักรทำให้คาดว่าโอกาสที่การลง
ทุนจะชะลอตัวมากกว่าค่าแนวโน้มนั้นมีความเป็นไปได้มากกว่ากรณีที่จะขยายตัวได้สูงกว่า
ดังนั้นโอกาสความน่าจะเป็นที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2549 จะมีค่าต่ำกว่าค่ากลางร้อยละ 5.0 จึงมีมากกว่าโอกาสที่เศรษฐกิจจะ
ขยายตัวได้สูงกว่าค่ากลาง ซึ่งเป็นการกระจายของความน่าจะเป็นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่สมมาตรและเบ้ลงทางต่ำ (Asymmetric
probability distribution) โดยที่ค่าความน่าจะเป็นที่การขยายตัวของเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยทั้งปี 2549 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.5-5.5 เป็นร้อย
ละ 81.0
4. การบริหารนโยบายเศรษฐกิจปี 2549
เนื่องจากยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่าที่ประเมินไว้ ประกอบกับเศรษฐกิจโลกอยู่
ในช่วงของการปรับตัวจากภาวะไม่สมดุลระหว่างประเทศ ปี 2549 จึงยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว การบริหารเศรษฐกิจควรเร่ง
รัดการดำเนินการต่อไปในการสร้างรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยว และมาตรการพลังงานทดแทน เพื่อดูแลการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด พร้อมกับ
การส่งเสริมการออมในประเทศ ในขณะเดียวกัน ควรส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน และเร่งรัดการใช้งบประมาณของรัฐบาลโดยเฉพาะในส่วนที่สร้าง
รายได้ให้แก่เศรษฐกิจรากหญ้าและภาคเกษตร รวมถึงการเริ่มดำเนินการลงทุนในโครงการ Mega project เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศ มาตรการที่ สศช. เสนอในการแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจไทยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2548 ยังเป็นมาตรการที่ควรต้องเร่งดำเนินการ
ได้แก่
* การส่งเสริมการใช้ NGV และ Gasohol เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบ
* การส่งเสริมการลงทุนเอกชนให้เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในปี 2549
* การเร่งรัดการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เป็นไปตามแผนเพื่อสร้างความทันสมัยให้กับประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนัก
ลงทุนและธุรกิจเอกชนถึงความชัดเจนของแผนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ และสามารถคาดการณ์ถึงการมีบริการของโครงสร้างพื้นฐานที่จะเพิ่มขึ้นใน
อนาคตได้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ภาคธุรกิจเอกชนใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินและการขยายธุรกิจ
* การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบกองทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน (กองทุน SML) ศูนย์ซ่อมสร้างประจำหมู่บ้านและชุมชน
(Fix-it Centers) รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารราชการแบบบูรณาการของผู้ว่าราชการ
จังหวัด (งบผู้ว่าราชการจังหวัด CEO)
* การสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและการส่งเสริมการพัฒนามูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ภาคการเกษตร
* การส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของธุรกิจท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับตลาดกลุ่มเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม และใช้
ประโยชน์จากการเปิดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเพื่อให้เป็นศูนย์การบินของภูมิภาค รวมทั้งการกำหนดเป้าหมายเพิ่ม
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างน้อยร้อยละ 10
* การผลักดันการส่งออกให้สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายอย่างน้อยร้อยละ 17-18 โดยให้ความสำคัญของกลุ่มสินค้าส่งออก
ใหม่ที่มีศักยภาพและเติบโตสูงในปีที่แล้วอย่างต่อเนื่อง
* การส่งเสริมการออมอย่างเป็นระบบเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐในอนาคต รวมทั้งเพื่อสนับสนุน
สภาพคล่องภายในประเทศเพื่อการระดมทุน
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2548-49 (1/)
ข้อมูลเบื้องต้น ประมาณการ
ปี 2548 ปี2549
2546 2547 6 ธ.ค.48 เบื้องต้น 6 ธ.ค.48 6 มี.ค.49
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 5,929.0 6,503.5 7,101.8 7,103.0 7,790.7 7,777.7
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 93,142 101,305 109,658 109,554 119,429 119,033
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 142.9 161.4 176.2 176.3 190.0 194.4
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,244 2,514 2,721 2,719 2,913 2,958
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 7.0 6.2 4.7 4.5 4.7-5.7 4.5-5.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 12.1 13.8 11.1 11.0 12.8 8.7
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 17.7 16.3 11.0 11.2 12.0 9.3
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -0.7 6.8 11.5 10.6 15.0 6.8
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.8 5.7 5.8 5.4 5.0 4.5
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.4 5.9 4.7 4.4 4.8 4.2
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.3 4.7 12.8 12.2 6.5 6.2
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.0 9.6 4.3 4.4 5.5 7.8
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 94.9 110.1 109.2 127.1 125.9
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 21.6 16.0 15 15.5 15.3
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.5 8.4 4.3 4.3 4.6 6.8
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.5 13.5 8.9 9.3 8.7 7.0
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 74.3 93.5 117.7 117.8 138.3 135.5
อัตราการขยายตัว (%) 17.4 25.7 25.6 26.0 17.5 15.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 10.7 12.3 9.2 8.9 9.0 6.0
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 3.8 1.5 -7.6 -8.6 -11.1 -9.6
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 8.0 6.6 -3.2 -3.7 -4.9 -4.0
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 5.6 4.1 -1.8 -2.0 -(2.2-2.7) -(2.0-2.5)
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.8 2.7 4.5 4.5 3.5-4.5 3.5-4.5
GDP Deflator 1.6 3.3 4.5 4.6 4.5 4.5
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์ สรอ. 41.5 40.3 - 40.3 41.0 40.0
อัตราการว่างงาน 2.0 2.0 - 1.7 - 1.8
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 มีนาคม 2549
หมายเหตุ (1/) ข้อมูลเบื้องต้นปี 2546 และ 2547 มีการปรับปรุงตามการปรับข้อมูลย้อนหลังของสำนักบัญชีประชาชาติ
(ข้อมูลรายได้ประชาชาติ) และธนาคารแห่งประเทศไทย (การนำเข้าและส่งออก)
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
49.30 ดอลลาร์ใน ปี 2548 การขยายตัวเศรษฐกิจโลกเท่ากับร้อย ละ 4.4
(1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.4 ในปี 2549 ใกล้เคียงกับร้อยละ 4.5 ในปี 2548 โดยที่เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น
ขยายตัวดีขึ้นมากจากร้อยละ 2.8 เป็นร้อยละ 3.3 ในปี 2549 ตามการบริโภคและการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้น เศรษฐกิจสหภาพยุโรปขยายตัวได้ดีขึ้น
จากร้อยละ 1.4 เป็นร้อยละ 1.9 จากการฟื้นตัวได้ดีขึ้นของเยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาลี ที่ได้รับผลประโยชน์จากการส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้น
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 3.2 ตามภาวะการใช้จ่ายในประเทศและตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง เศรษฐกิจ
จีนชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 9.9 เป็นร้อยละ 9.0 จากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่ชะลอตัวลงและค่าเงินหยวนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นและเริ่ม
ส่งผลกระทบต่อการส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ได้รับแรงกดดันจากภาคเอกชนสหรัฐฯให้กีดกันการค้าจาก
ประเทศจีนมากขึ้น สำหรับกลุ่มเอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่นและจีนชะลอตัวลงตามการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัว นอกจากนี้แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
ในตลาดโลกจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี 2549
(2) ราคาน้ำมัน: ปรับสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ยบาเรลละ 57 ดอลลาร์ สรอ. จากสมมุติฐานเดิมบาเรลละ 52
ดอลลาร์ สรอ.
- ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง คาดว่าราคาเฉลี่ยทั้งปี 2549 จะอยู่ในช่วง 55-58 ดอลลาร์ สรอ. โดย
ราคาเฉลี่ยที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ 57 ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าบาเรลละ 49.30 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 และเป็นการ
ปรับเพิ่มจากสมมุติฐานเดิมที่เฉลี่ยบาเรลละ 52 ดอลลาร์ สรอ. (ของช่วงประมาณการ 50-55 ดอลลาร์ สรอ.) สำหรับความเคลื่อนไหวราคาน้ำมัน
ตลอดปี 2549 นั้น ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2549 ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมากอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 58.22 ดอลลาร์ สรอ. และคาดว่าในไตรมาสแรก
ซึ่งยังเป็นช่วงฤดูหนาวนั้น ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่บาเรลละ 58.40 ดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นจากบาเรลละ 52.85 ดอลลาร์ในไตรมาสสุดท้ายของ
ปี 2548 และคาดว่าราคาจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องในไตรมาสที่สองประมาณบาเรลละ 58.7 ดอลลาร์ แต่จะเริ่มปรับตัวลดลงในไตรมาสที่
สามและไตรมาสที่สี่เฉลี่ยบาร์เรลละ 56.80 และ 55.50 ดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
- ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 กรมสารนิเทศการพลังงาน กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (EIA) คาดว่าราคาน้ำมันดิบ
อ้างอิง West Texas Intermediate (WTI) ในปี 2549 จะอยู่ที่บาเรลละ 64-65 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งโดยปกติราคาอ้างอิงจะสูงกว่าราคา
น้ำมันดิบดูไบประมาณบาเรลละ 6-8 ดอลลาร์ สรอ.
- ในปัจจุบันราคาอ้างอิงโดยเฉลี่ยสำหรับน้ำมันดิบ เบรนท์ในตลาดล่วงหน้าของสหรัฐฯ ตลอดปี 2549 เท่ากับบาเรลละ
65 ดอลลาร์ และโดยเฉลี่ยราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะสูงกว่าราคน้ำมันดิบดูไบประมาณบาเรลละ 5-6 ดอลลาร์ สรอ. (C)
(3) ราคาส่งออกและนำเข้าสินค้า คาดว่าในปี 2549 ราคาสินค้าในตลาดโลกยังมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตจากราคา
น้ำมันและวัตถุดิบที่สูงขึ้น และ
***********************************************************************************************************
(C) อ้างอิงจาก Global Weekly Economic Monitor โดย Lehman Brother ฉบับประจำวันที่ 3 มีนาคม 2549
***********************************************************************************************************
เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีซึ่งทำให้ความต้องการสินค้ายังเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต
ในประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้นและทำให้กำลังการผลิตส่วนเกินของโลกลดลงกว่าในปี 2548 ราคาส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 8.5 ปรับลดลงจากร้อยละ 10.9 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามแนวโน้มราคาส่งออกที่ชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังปี 2548 ในทุก
หมวดสินค้า ยกเว้นราคาสินค้าเกษตรส่งออก สำหรับราคาสินค้านำเข้าปรับเพิ่มจากร้อยละ 8.5 เป็นร้อยละ 9 เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นกว่าที่
คาดไว้เดิม
2.3 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2549: เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4.5 -5.5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.5-4.5 และดุลบัญชี
เดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 2.0-2.5 ของ GDP
ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.5-5.5 ต่ำกว่าร้อยละ 4.7-5.7 ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 6
ธันวาคม 2548 เล็กน้อย อัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-4.5 เท่ากับที่ประมาณการไว้เดิม ถึงแม้ว่าจะปรับเพิ่มราคาน้ำมันแต่เงินบาทที่มีแนวโน้ม
แข็งค่ากว่าที่คาดไว้เดิม และแนวโน้มการชะลอตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนที่มากกว่าที่คาดไว้เดิมจะช่วยลดแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ คาดว่าดุลบัญชี
เดินสะพัดขาดดุลประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์ สรอ หรือร้อยละ 2.2 ของ GDP และอัตราการว่างงานคาดว่าจะทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.8-
2.0 ใกล้เคียงกับปี 2548 การปรับลดประมาณลงเล็กน้อยในครั้งนี้มีเหตุผลหลัก ๆ ดังนี้
* ปรับลดการประมาณการการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน เนื่องจากข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจล่าสุดในไตรมาสสุดท้ายปี
2548 และเดือนมกราคม 2549 แสดงว่าอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการใช้จ่ายครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องและ
มากกว่าที่คาดไว้เดิม อันเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและการปรับดอกเบี้ยสูงขึ้นของสถาบันการเงิน ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบสูงกว่าคาดไว้เดิม
* ปรับเพิ่มปริมาณการส่งออกและปรับลดปริมาณการนำเข้าทั้งสินค้าและบริการทำให้ปริมาณการส่งออกสุทธิรวมทั้งสินค้าและบริการ
สูงกว่าในการประมาณการครั้งก่อน ได้ปรับเพิ่มรายรับที่แท้จริงภาคบริการตามการปรับเพิ่มการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2549 ขึ้นตามแนวโน้ม
จำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสสุดท้ายปี 2548 และในเดือนมกราคม 2549 ทั้งนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ
เท่ากับ 13.8 ล้านคน นอกจากนี้ยังปรับประมาณการปริมาณการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามการปรับแนวโน้มล่าสุดและการปรับเพิ่มสมมุติฐานอัตรา
การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยที่คาดว่าปริมาณการค้าโลกจะขยายตัวประมาณร้อยละ 7.5 สูงกว่าร้อยละ 7.0 ในปี 2548 รวมทั้งได้ปรับลด
ปริมาณการนำเข้าสินค้าเนื่องจากคาดว่าจะมีการใช้วัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปจากสินค้าคงคลังมากขึ้น และทำให้การสะสมสะต็อกลดลงกว่าในปี 2548
* อย่างไรก็ตามในภาพรวมเศรษฐกิจเป็นการปรับประมาณการลงจากการประมาณการในครั้งก่อนเพียงเล็กน้อย การขยายตัวของ
เศรษฐกิจในปี 2549 มีลักษณะที่มาจากการสนับสนุนของการส่งออกสุทธิมากขึ้นกว่าที่คาดไว้เมื่อครั้งที่ผ่านมา ในขณะที่แรงขับเคลื่อนของอุปสงค์ภายใน
ประเทศมีน้อยลง
(1) กรณีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูงร้อยละ 5.5
ราคาน้ำมันดิบลดลงในช่วงกลางปีและราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่บาเรลละ 57 ดอลลาร์หรือต่ำกว่า (2) เร่งรัดการส่งออกทั้งปีให้
ขยายตัวร้อยละ 17 จากแนวโน้มการขยายตัวปกติร้อยละ 14-15 โดยต้องเร่งขยายการส่งออกสินค้าเกษตร ในกลุ่มยางพารา กุ้ง ไก่ และอาหาร
ทะเลกระป๋อง และ การส่งออกในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์และชิ้นส่วน รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมกลุ่มประเภทของใช้ในบ้าน สบู่และเครื่อง
สำอาง เป็นต้น (3) เร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ได้รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 70,000-80,000 ล้านบาท จากฐาน
รายรับในปี 2548 และ (4) เร่งรัดการเบิกจ่ายงบรัฐบาลและและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการเบิกจ่ายของกองทุนเพื่อ
การพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (กองทุน SML) และงบเพื่อดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
(2) กรณีการขยายตัวในกรณีต่ำร้อยละ 4.5
มีโอกาสเป็นไปได้ถ้าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่าบาเรลละ 58-60 ดอลลาร์ สรอ. เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าที่คาดซึ่ง
จะกระทบการส่งออกของไทยให้ต่ำกว่าเป้าหมาย และราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีที่สูงกว่าระดับ 58 ดอลลาร์ต่อบาเรล จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่า
ร้อยละ 4.0 และทำให้การใช้จ่ายครัวเรือนชะลอตัวมากกว่าที่คาด แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบดูไบจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับนั้นมี
ความเป็นไปได้น้อยหากพิจารณาจากราคาเฉลี่ยใน 2 เดือนแรกของปี ใน 2 เดือนแรกราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเท่ากับบาเรลละ 58 ดอลลาร์
สรอ. ซึ่งน่าจะเป็นระดับราคาที่สูงในช่วงปี และเป็นไปตามภาวะฤดูกาลที่ในฤดูหนาวราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับสูงสุดในแต่ละปี และเศรษฐกิจสหรัฐฯ
และจีนที่ชะลอตัวจะลดแรงกดดันจากด้านความต้องการใช้ลงบ้าง อย่างไรก็ตามยังมีเงื่อนไขอื่นๆ ที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่ำกว่าค่ากลาง
ของช่วงประมาณการร้อยละ 4.5-5.5 เช่น เหตุการณ์ทางการเมืองซึ่งหากมีความยืดเยื้อจะกระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน และการเบิกจ่ายงบ
รัฐบาล เป็นต้น
(3) ความน่าจะเป็นของภาวะเศรษฐกิจปี 2549 ในกรณีต่าง ๆ
โอกาสที่ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปีจะต่ำหรือสูงกว่า 57 ดอลลาร์ต่อบาเรลนั้นมีความเป็นไปได้ใกล้เคียงกัน เนื่องจากปัจจัยเชิงเทคนิคและ
จิตวิทยาทำให้ราคาน้ำมันตอบสนองต่อข่าวสารสถานการณ์น้ำมันทั้งทางด้านความต้องการใช้และเงื่อนไขด้านการผลิตทั้งที่เป็นข่าวบวกหรือลบอย่างรวด
เร็ว และจากความเคลื่อนไหวในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีทั้งข่าวที่เป็นบวกและลบ เช่น ข้อมูลความต้องการน้ำมันที่ชะลอตัว หรือข้อมูลการสะสมสต็อกที่
เพิ่มขึ้น เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจโลกนั้นมีโอกาสที่จะขยายตัวได้ต่ำกว่าร้อยละ 4.4 มากกว่าที่จะขยายตัวได้สูงกว่า ซึ่งจะส่งผลให้การ
ส่งออกของไทยต่ำกว่าที่ประมาณการ และนอกจากนี้จากปัจจัยจากสถานการณ์ทางการเมืองและแนวโน้มชะลอตัวตามวัฏจักรทำให้คาดว่าโอกาสที่การลง
ทุนจะชะลอตัวมากกว่าค่าแนวโน้มนั้นมีความเป็นไปได้มากกว่ากรณีที่จะขยายตัวได้สูงกว่า
ดังนั้นโอกาสความน่าจะเป็นที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2549 จะมีค่าต่ำกว่าค่ากลางร้อยละ 5.0 จึงมีมากกว่าโอกาสที่เศรษฐกิจจะ
ขยายตัวได้สูงกว่าค่ากลาง ซึ่งเป็นการกระจายของความน่าจะเป็นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่สมมาตรและเบ้ลงทางต่ำ (Asymmetric
probability distribution) โดยที่ค่าความน่าจะเป็นที่การขยายตัวของเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยทั้งปี 2549 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.5-5.5 เป็นร้อย
ละ 81.0
4. การบริหารนโยบายเศรษฐกิจปี 2549
เนื่องจากยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่าที่ประเมินไว้ ประกอบกับเศรษฐกิจโลกอยู่
ในช่วงของการปรับตัวจากภาวะไม่สมดุลระหว่างประเทศ ปี 2549 จึงยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว การบริหารเศรษฐกิจควรเร่ง
รัดการดำเนินการต่อไปในการสร้างรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยว และมาตรการพลังงานทดแทน เพื่อดูแลการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด พร้อมกับ
การส่งเสริมการออมในประเทศ ในขณะเดียวกัน ควรส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน และเร่งรัดการใช้งบประมาณของรัฐบาลโดยเฉพาะในส่วนที่สร้าง
รายได้ให้แก่เศรษฐกิจรากหญ้าและภาคเกษตร รวมถึงการเริ่มดำเนินการลงทุนในโครงการ Mega project เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศ มาตรการที่ สศช. เสนอในการแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจไทยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2548 ยังเป็นมาตรการที่ควรต้องเร่งดำเนินการ
ได้แก่
* การส่งเสริมการใช้ NGV และ Gasohol เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบ
* การส่งเสริมการลงทุนเอกชนให้เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในปี 2549
* การเร่งรัดการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เป็นไปตามแผนเพื่อสร้างความทันสมัยให้กับประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนัก
ลงทุนและธุรกิจเอกชนถึงความชัดเจนของแผนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ และสามารถคาดการณ์ถึงการมีบริการของโครงสร้างพื้นฐานที่จะเพิ่มขึ้นใน
อนาคตได้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ภาคธุรกิจเอกชนใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินและการขยายธุรกิจ
* การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบกองทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน (กองทุน SML) ศูนย์ซ่อมสร้างประจำหมู่บ้านและชุมชน
(Fix-it Centers) รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารราชการแบบบูรณาการของผู้ว่าราชการ
จังหวัด (งบผู้ว่าราชการจังหวัด CEO)
* การสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและการส่งเสริมการพัฒนามูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ภาคการเกษตร
* การส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของธุรกิจท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับตลาดกลุ่มเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม และใช้
ประโยชน์จากการเปิดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเพื่อให้เป็นศูนย์การบินของภูมิภาค รวมทั้งการกำหนดเป้าหมายเพิ่ม
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างน้อยร้อยละ 10
* การผลักดันการส่งออกให้สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายอย่างน้อยร้อยละ 17-18 โดยให้ความสำคัญของกลุ่มสินค้าส่งออก
ใหม่ที่มีศักยภาพและเติบโตสูงในปีที่แล้วอย่างต่อเนื่อง
* การส่งเสริมการออมอย่างเป็นระบบเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐในอนาคต รวมทั้งเพื่อสนับสนุน
สภาพคล่องภายในประเทศเพื่อการระดมทุน
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2548-49 (1/)
ข้อมูลเบื้องต้น ประมาณการ
ปี 2548 ปี2549
2546 2547 6 ธ.ค.48 เบื้องต้น 6 ธ.ค.48 6 มี.ค.49
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 5,929.0 6,503.5 7,101.8 7,103.0 7,790.7 7,777.7
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 93,142 101,305 109,658 109,554 119,429 119,033
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 142.9 161.4 176.2 176.3 190.0 194.4
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,244 2,514 2,721 2,719 2,913 2,958
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 7.0 6.2 4.7 4.5 4.7-5.7 4.5-5.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 12.1 13.8 11.1 11.0 12.8 8.7
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 17.7 16.3 11.0 11.2 12.0 9.3
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -0.7 6.8 11.5 10.6 15.0 6.8
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.8 5.7 5.8 5.4 5.0 4.5
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.4 5.9 4.7 4.4 4.8 4.2
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.3 4.7 12.8 12.2 6.5 6.2
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.0 9.6 4.3 4.4 5.5 7.8
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 94.9 110.1 109.2 127.1 125.9
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 21.6 16.0 15 15.5 15.3
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.5 8.4 4.3 4.3 4.6 6.8
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.5 13.5 8.9 9.3 8.7 7.0
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 74.3 93.5 117.7 117.8 138.3 135.5
อัตราการขยายตัว (%) 17.4 25.7 25.6 26.0 17.5 15.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 10.7 12.3 9.2 8.9 9.0 6.0
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 3.8 1.5 -7.6 -8.6 -11.1 -9.6
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 8.0 6.6 -3.2 -3.7 -4.9 -4.0
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 5.6 4.1 -1.8 -2.0 -(2.2-2.7) -(2.0-2.5)
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.8 2.7 4.5 4.5 3.5-4.5 3.5-4.5
GDP Deflator 1.6 3.3 4.5 4.6 4.5 4.5
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์ สรอ. 41.5 40.3 - 40.3 41.0 40.0
อัตราการว่างงาน 2.0 2.0 - 1.7 - 1.8
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 มีนาคม 2549
หมายเหตุ (1/) ข้อมูลเบื้องต้นปี 2546 และ 2547 มีการปรับปรุงตามการปรับข้อมูลย้อนหลังของสำนักบัญชีประชาชาติ
(ข้อมูลรายได้ประชาชาติ) และธนาคารแห่งประเทศไทย (การนำเข้าและส่งออก)
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-