ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ให้ สศช. จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ขณะนี้ สศช. ได้เริ่มกระบวนการจัดทำแผนฯ 10 แล้ว โดยได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดการจัดทำแผนพัฒนา (Development Plan) เป็นการวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (Strategic Planning) เนื่องจากสภาพการณ์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมีความซับซ้อนมาก
เลขาธิการฯ กล่าวว่า การวางแผนพัฒนาประเทศที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ทัน รวมทั้งผลการปฏิรูปการเมือง อันเนื่องมาจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีความชัดเจนในเรื่องการกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้แผนพัฒนาแบบเดิมไม่สอดคล้องกับความต้องการของรัฐบาลหรือผู้ใช้แผนในปัจจุบัน นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการ คาดหวังให้ สศช. เน้นการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศเพื่อมุ่งสู่ความสมดุลและยั่งยืน
การดำเนินงานตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น สศช. จะมีการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 การประเมินสถานการณ์ ข้อเท็จจริง และแนวโน้มการพัฒนาประเทศ การกำหนดกรอบแนวคิด ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยใช้กระบวนการจัดการประชุม การสัมมนาเชิงปฏิบัติการตามกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และการศึกษา วิจัย เฉพาะด้าน เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จากนั้นจะเร่งยกร่างกรอบทิศทางของแผนยุทธศาสตร์ และนำไประดมความคิดเห็นในการสัมมนาระดับภาค 4 ภาค ก่อนที่จะนำเสนอในการประชุมประจำปีช่วงเดือนมิถุนายน 2548 แล้วจึงรับฟังความคิดเห็นผ่านสื่อต่างๆ และปรับปรุงเป็นร่างแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 เสนอต่อกรรมการบริหาร สศช. และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นและนำข้อเสนอมาปรับปรุงร่างแผนฯ 10 ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบและใช้เป็นกรอบหลักในการจัดสรรทรัพยากรของประเทศและจัดทำแผนปฏิบัติการของฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำหรับการสัมมนาครั้งแรก จะเป็นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการตามกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2548 โดยจะเชิญผู้แทนจากหน่วยงานวางแผนของทุกกระทรวงมาระดมความเห็นร่วมกับ สศช. ตามกระบวนวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกร่างกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาในเบื้องต้น ก่อนที่จะขยายวงกว้างไปสู่การรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับแนวทางการพัฒนาประเทศในช่วงแผนฯ 10 นี้จะต้องสอดรับกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่ สศช. กำลังดำเนินการอยู่ รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศได้อย่างยืดหยุ่น โดยในเบื้องต้นเห็นว่ามีแนวทางที่น่าจะนำมาพิจารณา ได้แก่
ภาคการผลิต : ส่งเสริมการผลิตเดิมที่ยังมีโอกาส และขยายโอกาสใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคการผลิตที่ยังคงมีศักยภาพในอนาคต โดยส่งเสริมการบริหารจัดการการเคลื่อนย้ายของสินค้า บริการ ข้อมูล และการเงินระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค (Logistics)
ภาคบริการ : แหล่งนำรายได้หลักสู่ประเทศ ควรสนับสนุนเรื่องการท่องเที่ยว โดยส่งเสริมการเชื่อมโยงเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในภูมิภาค ส่วนโครงสร้างตลาดการเงิน โดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ ให้เป็นแหล่งระดมทุนใหม่ ตลอดจนเน้นเรื่องการออมให้มากขึ้น และควรส่งเสริมบริการด้านการศึกษาและสาธารณสุข โดยมุ่งพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการให้บริการทางด้านการศึกษาและสาธารณสุขในภูมิภาค
ภาคสังคม : สร้างสมดุลของการแก้ไขและการป้องกัน เน้นมาตรการในการป้องกันปัญหาให้สมดุลกับการแก้ไขปัญหา เพื่อลดภาระในด้านค่าใช้จ่าย
การพัฒนาระบบราชการให้มุ่งการบริหารจัดการที่ดี ให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ พร้อมกับการปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรค และจะต้องมีความเป็นธรรมกับผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ของราชการด้วย
ท้ายที่สุด เลขาธิการฯ กล่าวว่า ประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่กล่าวมานั้น เป็นสิ่งที่ สศช. ได้จากการประเมินผลการพัฒนาประเทศในระยะของแผนฯ 9 รวมทั้งการประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ก็ได้ประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศที่จะเป็นประเด็นท้าทายการพัฒนาประเทศระยะต่อไปด้วย ซึ่ง สศช. จะหารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทาง ยุทธศาสตร์ วิธีการ และเป้าหมายที่ชัดเจนต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เลขาธิการฯ กล่าวว่า การวางแผนพัฒนาประเทศที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ทัน รวมทั้งผลการปฏิรูปการเมือง อันเนื่องมาจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีความชัดเจนในเรื่องการกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้แผนพัฒนาแบบเดิมไม่สอดคล้องกับความต้องการของรัฐบาลหรือผู้ใช้แผนในปัจจุบัน นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการ คาดหวังให้ สศช. เน้นการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศเพื่อมุ่งสู่ความสมดุลและยั่งยืน
การดำเนินงานตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น สศช. จะมีการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 การประเมินสถานการณ์ ข้อเท็จจริง และแนวโน้มการพัฒนาประเทศ การกำหนดกรอบแนวคิด ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยใช้กระบวนการจัดการประชุม การสัมมนาเชิงปฏิบัติการตามกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และการศึกษา วิจัย เฉพาะด้าน เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จากนั้นจะเร่งยกร่างกรอบทิศทางของแผนยุทธศาสตร์ และนำไประดมความคิดเห็นในการสัมมนาระดับภาค 4 ภาค ก่อนที่จะนำเสนอในการประชุมประจำปีช่วงเดือนมิถุนายน 2548 แล้วจึงรับฟังความคิดเห็นผ่านสื่อต่างๆ และปรับปรุงเป็นร่างแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 เสนอต่อกรรมการบริหาร สศช. และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นและนำข้อเสนอมาปรับปรุงร่างแผนฯ 10 ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบและใช้เป็นกรอบหลักในการจัดสรรทรัพยากรของประเทศและจัดทำแผนปฏิบัติการของฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำหรับการสัมมนาครั้งแรก จะเป็นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการตามกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2548 โดยจะเชิญผู้แทนจากหน่วยงานวางแผนของทุกกระทรวงมาระดมความเห็นร่วมกับ สศช. ตามกระบวนวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกร่างกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาในเบื้องต้น ก่อนที่จะขยายวงกว้างไปสู่การรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับแนวทางการพัฒนาประเทศในช่วงแผนฯ 10 นี้จะต้องสอดรับกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่ สศช. กำลังดำเนินการอยู่ รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศได้อย่างยืดหยุ่น โดยในเบื้องต้นเห็นว่ามีแนวทางที่น่าจะนำมาพิจารณา ได้แก่
ภาคการผลิต : ส่งเสริมการผลิตเดิมที่ยังมีโอกาส และขยายโอกาสใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคการผลิตที่ยังคงมีศักยภาพในอนาคต โดยส่งเสริมการบริหารจัดการการเคลื่อนย้ายของสินค้า บริการ ข้อมูล และการเงินระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค (Logistics)
ภาคบริการ : แหล่งนำรายได้หลักสู่ประเทศ ควรสนับสนุนเรื่องการท่องเที่ยว โดยส่งเสริมการเชื่อมโยงเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในภูมิภาค ส่วนโครงสร้างตลาดการเงิน โดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ ให้เป็นแหล่งระดมทุนใหม่ ตลอดจนเน้นเรื่องการออมให้มากขึ้น และควรส่งเสริมบริการด้านการศึกษาและสาธารณสุข โดยมุ่งพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการให้บริการทางด้านการศึกษาและสาธารณสุขในภูมิภาค
ภาคสังคม : สร้างสมดุลของการแก้ไขและการป้องกัน เน้นมาตรการในการป้องกันปัญหาให้สมดุลกับการแก้ไขปัญหา เพื่อลดภาระในด้านค่าใช้จ่าย
การพัฒนาระบบราชการให้มุ่งการบริหารจัดการที่ดี ให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ พร้อมกับการปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรค และจะต้องมีความเป็นธรรมกับผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ของราชการด้วย
ท้ายที่สุด เลขาธิการฯ กล่าวว่า ประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่กล่าวมานั้น เป็นสิ่งที่ สศช. ได้จากการประเมินผลการพัฒนาประเทศในระยะของแผนฯ 9 รวมทั้งการประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ก็ได้ประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศที่จะเป็นประเด็นท้าทายการพัฒนาประเทศระยะต่อไปด้วย ซึ่ง สศช. จะหารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทาง ยุทธศาสตร์ วิธีการ และเป้าหมายที่ชัดเจนต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-