สรุปการประชุมคณะกรรมการ
โครงการขับเคลื่อนเพื่อผลิตภัณฑ์ที่สะอาดและสร้างความพร้อมสำหรับ SMEs ของ
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปโดยใช้ Green Camp
ครั้งที่ 2/2548
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2548
ณ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บางลำพู กรุงเทพฯ
1. ความเป็นมา
โครงการขับเคลื่อนเพื่อผลิตภัณฑ์ที่สะอาด และสร้างความพร้อมสำหรับ SMEs ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ Green Camp ได้รับการผลักดันจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยบรรจุไว้ในการเสนอขอใช้งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2548 ในวงเงิน 31.35 ล้านบาท โดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินโครงการฯ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ประสานงาน
ในการนี้ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการฯ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2548 เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และกำหนดแนวทางเพื่อเสนอเป็นนโยบายของประเทศ และได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ ไปแล้ว 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2548
2. สาระสำคัญของการประชุม ครั้งที่ 2/2548
2.1 ผลการดำเนินงาน
การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยเฉพาะในส่วนของผู้ประกอบการตอบเข้ารับการฝึกอบรมค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นช่วง High Season ของการผลิต ซึ่งทางสถาบันฯ อยากให้ภาคเอกชนเข้ารับการอบรมกันมากๆ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ มีองค์ความรู้ สามารถสอนต่อกันได้ โดยอาจจะจัดให้มีการอบรมในวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อลดปัญหาการลางานในวันปกติ และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น รวมทั้งอาจให้ Incentive แก่ผู้ประกอบการที่ส่งคนเข้ารับการอบรม และทางสถาบันฯ จะได้มีการประชุมชี้แจงแก่ผู้ประกอบการในวันที่ 28 พ.ย. 2548 เพื่อให้เห็นความสำคัญในการฝึกอบรมดังกล่าว สำหรับผลจากการอบรมรุ่นที่ 1 จำนวน 21 คน พบว่า สามารถผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 19 คน โดย 2 คนที่เหลือมีภารกิจด่วนและป่วย
2.2 การดำเนินงานในระยะต่อไป ได้มีการพิจารณาใน 3 เรื่อง ดังนี้
1) การจัดฝึกอบรม In-house Training
ภายในปี 2548 จะดำเนินการฝึกอบรม Train the Trainer ประมาณ 3 รุ่น โดยได้จัดฝึกอบรมรุ่นที่ 1 ไปแล้ว จำนวน 21 คน รุ่นที่ 2 กำลังอยู่ระหว่างการอบรม จำนวน 19 คน และรุ่นที่ 3 คาดว่าจะมีผู้รับการอบรมประมาณ 24 คน สำหรับที่เหลือจะจัดฝึกอบรมในปี 2549 โดยจะมีการจัดฝึกอบรมที่นิคมอุตสาหกรรมในต่างจังหวัด อาทิ อยุธยา เชียงใหม่ เพื่อความสะดวกของผู้ประกอบการที่อยู่ห่างไกล โดยมีเป้าหมายจัดฝึกอบรมให้ครบจำนวน 200 คน เพื่อให้ขยายผลต่อไปยังโรงงานต่างๆ อีก จำนวน 1,000 คน โดยการอบรมดังกล่าวต้องเสียค่าใช้จ่ายคนละ 15,000 บาท สำหรับหลักสูตรการอบรม จำนวน 4 วัน
ที่ประชุมมีความเห็นว่า ภาคเอกชนแสดงความสนใจเข้ารับการอบรมจำนวนค่อนข้างน้อย อาจเนื่องจากยังขาดความตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการอบรมถือว่าค่อนข้างสูง จึงควรเน้นการประชาสัมพันธ์ให้เอกชนมีความเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดฝึกอบรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเอง เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยอาจจะให้ภาคเอกชนเป็นผู้รับภาระในการหาสถานที่ฝึกอบรม และทางสถาบันไฟฟ้าฯ จะเป็นผู้สนับสนุนในด้านวิทยากร เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับภาคเอกชน ซึ่งจะได้พิจารณารายละเอียดค่าใช้จ่ายในการประชุมคราวต่อไป
2) การจัดทำ Website โครงการ / ชื่อ Domain
ภายในเว็ปไซต์จะมี Service Network และจะทำการทดสอบระบบในต้นเดือนหน้า รวมทั้งยังมิได้มีการตั้งชื่อเว็ปไซต์
ที่ประชุมมีความเห็นว่า ต้องให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้าง Awearness แก่ผู้ประกอบการ โดยการประชุมคราวหน้าควรจะมี Road Map ในด้านการประชาสัมพันธ์ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมช่วยเผยแพร่ข้อมูลในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งคิดหาช่องทางที่จะทำเว็ปไซต์ให้ได้อย่างรวดเร็ว ราคาถูก และมีคุณภาพ ตลอดจนจะมีการพิจารณาตั้งชื่อ Website ในการประชุมครั้งต่อไป
3) LCA & Eco-Design Software
ในโอกาสที่ทางทีมงานกำลังจะไปอบรมที่เดนมาร์ก จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเดนมาร์กเพื่อหาซอฟต์แวร์ LCA & Eco-Design ที่เหมาะสมสำหรับนำมาให้บริการแก่ SMEs ในประเทศไทยต่อไป
ที่ประชุมเห็นควรให้มีการบูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยต้องมี Platform เดียวกัน และให้ภาคเอกชนสามารถเข้ามาถึงได้ รวมทั้งสามารถ LINK ข้อมูลต่างประเทศได้ ทั้งนี้ให้ดูแนวโน้มต่างประเทศด้วยว่าในอนาคตจะใช้ซอฟต์แวร์แบบใด เพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย ตลอดจนคำนึงถึงกรอบระยะเวลาในการจัดหาซอฟต์แวร์ดังกล่าวด้วย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
โครงการขับเคลื่อนเพื่อผลิตภัณฑ์ที่สะอาดและสร้างความพร้อมสำหรับ SMEs ของ
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปโดยใช้ Green Camp
ครั้งที่ 2/2548
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2548
ณ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บางลำพู กรุงเทพฯ
1. ความเป็นมา
โครงการขับเคลื่อนเพื่อผลิตภัณฑ์ที่สะอาด และสร้างความพร้อมสำหรับ SMEs ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ Green Camp ได้รับการผลักดันจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยบรรจุไว้ในการเสนอขอใช้งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2548 ในวงเงิน 31.35 ล้านบาท โดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินโครงการฯ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ประสานงาน
ในการนี้ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการฯ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2548 เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และกำหนดแนวทางเพื่อเสนอเป็นนโยบายของประเทศ และได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ ไปแล้ว 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2548
2. สาระสำคัญของการประชุม ครั้งที่ 2/2548
2.1 ผลการดำเนินงาน
การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยเฉพาะในส่วนของผู้ประกอบการตอบเข้ารับการฝึกอบรมค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นช่วง High Season ของการผลิต ซึ่งทางสถาบันฯ อยากให้ภาคเอกชนเข้ารับการอบรมกันมากๆ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ มีองค์ความรู้ สามารถสอนต่อกันได้ โดยอาจจะจัดให้มีการอบรมในวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อลดปัญหาการลางานในวันปกติ และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น รวมทั้งอาจให้ Incentive แก่ผู้ประกอบการที่ส่งคนเข้ารับการอบรม และทางสถาบันฯ จะได้มีการประชุมชี้แจงแก่ผู้ประกอบการในวันที่ 28 พ.ย. 2548 เพื่อให้เห็นความสำคัญในการฝึกอบรมดังกล่าว สำหรับผลจากการอบรมรุ่นที่ 1 จำนวน 21 คน พบว่า สามารถผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 19 คน โดย 2 คนที่เหลือมีภารกิจด่วนและป่วย
2.2 การดำเนินงานในระยะต่อไป ได้มีการพิจารณาใน 3 เรื่อง ดังนี้
1) การจัดฝึกอบรม In-house Training
ภายในปี 2548 จะดำเนินการฝึกอบรม Train the Trainer ประมาณ 3 รุ่น โดยได้จัดฝึกอบรมรุ่นที่ 1 ไปแล้ว จำนวน 21 คน รุ่นที่ 2 กำลังอยู่ระหว่างการอบรม จำนวน 19 คน และรุ่นที่ 3 คาดว่าจะมีผู้รับการอบรมประมาณ 24 คน สำหรับที่เหลือจะจัดฝึกอบรมในปี 2549 โดยจะมีการจัดฝึกอบรมที่นิคมอุตสาหกรรมในต่างจังหวัด อาทิ อยุธยา เชียงใหม่ เพื่อความสะดวกของผู้ประกอบการที่อยู่ห่างไกล โดยมีเป้าหมายจัดฝึกอบรมให้ครบจำนวน 200 คน เพื่อให้ขยายผลต่อไปยังโรงงานต่างๆ อีก จำนวน 1,000 คน โดยการอบรมดังกล่าวต้องเสียค่าใช้จ่ายคนละ 15,000 บาท สำหรับหลักสูตรการอบรม จำนวน 4 วัน
ที่ประชุมมีความเห็นว่า ภาคเอกชนแสดงความสนใจเข้ารับการอบรมจำนวนค่อนข้างน้อย อาจเนื่องจากยังขาดความตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการอบรมถือว่าค่อนข้างสูง จึงควรเน้นการประชาสัมพันธ์ให้เอกชนมีความเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดฝึกอบรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเอง เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยอาจจะให้ภาคเอกชนเป็นผู้รับภาระในการหาสถานที่ฝึกอบรม และทางสถาบันไฟฟ้าฯ จะเป็นผู้สนับสนุนในด้านวิทยากร เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับภาคเอกชน ซึ่งจะได้พิจารณารายละเอียดค่าใช้จ่ายในการประชุมคราวต่อไป
2) การจัดทำ Website โครงการ / ชื่อ Domain
ภายในเว็ปไซต์จะมี Service Network และจะทำการทดสอบระบบในต้นเดือนหน้า รวมทั้งยังมิได้มีการตั้งชื่อเว็ปไซต์
ที่ประชุมมีความเห็นว่า ต้องให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้าง Awearness แก่ผู้ประกอบการ โดยการประชุมคราวหน้าควรจะมี Road Map ในด้านการประชาสัมพันธ์ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมช่วยเผยแพร่ข้อมูลในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งคิดหาช่องทางที่จะทำเว็ปไซต์ให้ได้อย่างรวดเร็ว ราคาถูก และมีคุณภาพ ตลอดจนจะมีการพิจารณาตั้งชื่อ Website ในการประชุมครั้งต่อไป
3) LCA & Eco-Design Software
ในโอกาสที่ทางทีมงานกำลังจะไปอบรมที่เดนมาร์ก จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเดนมาร์กเพื่อหาซอฟต์แวร์ LCA & Eco-Design ที่เหมาะสมสำหรับนำมาให้บริการแก่ SMEs ในประเทศไทยต่อไป
ที่ประชุมเห็นควรให้มีการบูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยต้องมี Platform เดียวกัน และให้ภาคเอกชนสามารถเข้ามาถึงได้ รวมทั้งสามารถ LINK ข้อมูลต่างประเทศได้ ทั้งนี้ให้ดูแนวโน้มต่างประเทศด้วยว่าในอนาคตจะใช้ซอฟต์แวร์แบบใด เพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย ตลอดจนคำนึงถึงกรอบระยะเวลาในการจัดหาซอฟต์แวร์ดังกล่าวด้วย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-