ในปี 2548 มีเหตุการณ์ร้ายแรงและอุปสรรคทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยต้องเผชิญหลายประการ
* ผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิปลายปี 2547 เป็นข้อจำกัดต่อภาวะการท่องเที่ยวของไทยในปี 2548 นอกจากนี้ยังมีความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ที่ส่งผลกระทบ จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงมากในช่วงต้นปี แต่สถานการณ์ได้ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับในช่วงครึ่งหลังของปีและรวม 11 เดือนแรกของปี 2548 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงร้อยละ3.2 และคาดว่าตลอดทั้งปี 2548 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมประมาณ 11.4 ล้านคนลดลงจากปี 2547 ร้อยละ 2.4 โดยรวมประเมินว่าเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อกระทบรายได้จากการท่องเที่ยวปี 2548 ประมาณ 41,100 ล้านบาท
* ภัยแล้งตั้งแต่ปลายปี 2547 และต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2548 ได้สร้างความเสียหายต่อผลผลิตอ้อย มันสำปะหลัง และข้าว คิดเป็นมูลค่าความเสียหายในปี 2548 ประมาณ 17,950 ล้านบาท
* ไข้หวัดนกที่ยังเกิดขึ้นในหลายจังหวัด ซึ่งกระทบผลผลิตสัตว์ปีก
* ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่เดือนพฤษภาคมและถึงระดับสูงสุดของปีในเดือนสิงหาคม-กันยายน เฉลี่ย 56.60 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นร้อยละ 6.2 ในเดือนตุลาคม
รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจ
ในครึ่งหลังของปีหรือที่เรียกว่า "มาตรการมงฟอร์ต" ประกอบด้วย 27 มาตรการ ทั้งมาตรการเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน การประสานนโยบายการเงินการคลังเพื่อควบคุมเงินเฟ้อและดูแลไม่ให้มีผลกระทบด้านลบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจ การลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลและดูแลการปรับราคาสินค้าควบคู่กันไป การบริหารการนำเข้าและส่งเสริมการประหยัดพลังงาน และการกระตุ้นการส่งออกและยกระดับราคาสินค้าเกษตรผลของมาตรการต่อเศรษฐกิจ เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีขึ้นในครึ่งหลังของปี โดยในไตรมาสที่สามเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 5.3 สูงกว่าร้อยละ 3.2 และ 4.6 ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง และคาดว่ายังขยายตัวได้ดีเกินร้อยละ 5.0 ในไตรมาสสุดท้าย
* ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 6.1 และ 37.7 ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน และทำให้ปริมาณการนำเข้าในช่วง 11 เดือนลดลงร้อยละ 4.8
* มูลค่าการส่งออกขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นในขณะที่การนำเข้าชะลอตัว ดังนั้นดุลการค้าขาดดุลน้อยลงในครึ่งหลังและดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มกลับมาเกินดุล
* รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 ในไตรมาสที่ 3 และร้อยละ 33.1 ในเดือนตุลาคม
* อัตราเงินเฟ้อลดลงจากร้อยละ 6.2 ในเดือนตุลาคมเป็นร้อยละ 5.9 ในเดือนพฤศจิกายนและร้อยละ 5.8 ในเดือนธันวาคม
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
* ผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิปลายปี 2547 เป็นข้อจำกัดต่อภาวะการท่องเที่ยวของไทยในปี 2548 นอกจากนี้ยังมีความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ที่ส่งผลกระทบ จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงมากในช่วงต้นปี แต่สถานการณ์ได้ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับในช่วงครึ่งหลังของปีและรวม 11 เดือนแรกของปี 2548 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงร้อยละ3.2 และคาดว่าตลอดทั้งปี 2548 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมประมาณ 11.4 ล้านคนลดลงจากปี 2547 ร้อยละ 2.4 โดยรวมประเมินว่าเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อกระทบรายได้จากการท่องเที่ยวปี 2548 ประมาณ 41,100 ล้านบาท
* ภัยแล้งตั้งแต่ปลายปี 2547 และต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2548 ได้สร้างความเสียหายต่อผลผลิตอ้อย มันสำปะหลัง และข้าว คิดเป็นมูลค่าความเสียหายในปี 2548 ประมาณ 17,950 ล้านบาท
* ไข้หวัดนกที่ยังเกิดขึ้นในหลายจังหวัด ซึ่งกระทบผลผลิตสัตว์ปีก
* ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่เดือนพฤษภาคมและถึงระดับสูงสุดของปีในเดือนสิงหาคม-กันยายน เฉลี่ย 56.60 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นร้อยละ 6.2 ในเดือนตุลาคม
รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจ
ในครึ่งหลังของปีหรือที่เรียกว่า "มาตรการมงฟอร์ต" ประกอบด้วย 27 มาตรการ ทั้งมาตรการเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน การประสานนโยบายการเงินการคลังเพื่อควบคุมเงินเฟ้อและดูแลไม่ให้มีผลกระทบด้านลบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจ การลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลและดูแลการปรับราคาสินค้าควบคู่กันไป การบริหารการนำเข้าและส่งเสริมการประหยัดพลังงาน และการกระตุ้นการส่งออกและยกระดับราคาสินค้าเกษตรผลของมาตรการต่อเศรษฐกิจ เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีขึ้นในครึ่งหลังของปี โดยในไตรมาสที่สามเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 5.3 สูงกว่าร้อยละ 3.2 และ 4.6 ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง และคาดว่ายังขยายตัวได้ดีเกินร้อยละ 5.0 ในไตรมาสสุดท้าย
* ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 6.1 และ 37.7 ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน และทำให้ปริมาณการนำเข้าในช่วง 11 เดือนลดลงร้อยละ 4.8
* มูลค่าการส่งออกขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นในขณะที่การนำเข้าชะลอตัว ดังนั้นดุลการค้าขาดดุลน้อยลงในครึ่งหลังและดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มกลับมาเกินดุล
* รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 ในไตรมาสที่ 3 และร้อยละ 33.1 ในเดือนตุลาคม
* อัตราเงินเฟ้อลดลงจากร้อยละ 6.2 ในเดือนตุลาคมเป็นร้อยละ 5.9 ในเดือนพฤศจิกายนและร้อยละ 5.8 ในเดือนธันวาคม
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-