แท็ก
อัตราดอกเบี้ย
- สภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ
7 วัน เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.84375 -- 4.875 และ 4.96875 -- 5 ต่อปี ตามลำดับ ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่
อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันและ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ระยะ
สั้นปรับตัวลดลง ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้น สวนทางกับค่าเงินภูมิภาคที่ปรับอ่อนลงจากการทดสอบนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ เนื่องจากมีเงินทุนไหล
เข้าเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดต่างประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงิน
สกุลหลัก จากการคาดการณ์ว่า Fed จะไม่ปรับลดดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงต้นสัปดาห์ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นปักษ์ใหม่ทรงตัวในระดับสูง โดยธนาคารพาณิชย์ทยอยนำสภาพคล่องส่วน
เกินมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงจากร้อยละ
4.90625 และ 5 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 และ 4.96875 ต่อปี ในวันอังคาร ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพ
คล่องตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ลดการลงทุนลง
ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ
4.875 และ 5 ต่อปี ตามลำดับ ในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี
สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.9 - 4.98 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ยังคงปิดตลาดที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ไม่
เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 25,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 13,000
ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี วงเงิน 6,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี วงเงิน 6,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผล
ตอบแทนลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด
26,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 1,000 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 139,304
ล้านบาท หรือคิดเป็น 27,861 ล้านบาทต่อวันลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 23ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมา
ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวลดลง เนื่องจากมีความต้องการลงทุนเข้ามามากขึ้น ในขณะที่พันธบัตรฯ
ระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ตามการปรับขึ้นของ US Treasury Yield ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี
ปรับตัวลดลงเล็กน้อย และพันธบัตรฯ อายุระหว่าง 5 -10 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-6 basis points และพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่ม
ขึ้น 7-12 basis points
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ จากรายงานการประชุมของ Fed ที่แสดงถึงความกังวลต่อภาวะ
เงินเฟ้อ ประกอบกับในช่วงปลายสัปดาห์มีการประกาศตัวเลขยอดค้าปลีก สินค้าคงเหลือ และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น แสดงถึงความแข็งแกร่ง
ของ ศก.สหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนคาดว่าจะยังไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยลงในระยะเวลาอันใกล้นี้ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วง
อายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 8-17 basis points ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย. 49 37.38
เฉลี่ย 2 - 6 ต.ค. 49 37.54
9 ต.ค. 49 37.52
10 ต.ค. 49 37.48
11 ต.ค. 49 37.42
12 ต.ค. 49 37.47
13 ต.ค. 49 37.42
เฉลี่ย 9 - 13 ต.ค. 49 37.46
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่าง 37.42 - 37.52 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในกรอบที่แข็งค่าขึ้น โดยเงินบาทมีค่าเฉลี่ย
ตลอดสัปดาห์ที่ 37.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับใน
ช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ สวนทางกับค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ โดยเงินบาทได้รับ
ปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติเป็นจำนวนมาก ตลอดจนความต้องการขาย
เงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี โดยถูกกดดันจากข่าวกองทุนเทมาเส็กของ
สิงคโปร์กำลังพิจารณาปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น ก่อนที่เงินบาทจะปรับแข็งค่าขึ้นอีกครั้งในวันศุกร์ตามทิศทางค่าเงินใน
ภูมิภาค ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักตลอดสัปดาห์ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดี
ประกอบกับรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ ในครั้งที่ผ่านมาและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางแสดงความ
กังวลต่อความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารสหรัฐฯ จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
7 วัน เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.84375 -- 4.875 และ 4.96875 -- 5 ต่อปี ตามลำดับ ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่
อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันและ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ระยะ
สั้นปรับตัวลดลง ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้น สวนทางกับค่าเงินภูมิภาคที่ปรับอ่อนลงจากการทดสอบนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ เนื่องจากมีเงินทุนไหล
เข้าเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดต่างประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงิน
สกุลหลัก จากการคาดการณ์ว่า Fed จะไม่ปรับลดดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงต้นสัปดาห์ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นปักษ์ใหม่ทรงตัวในระดับสูง โดยธนาคารพาณิชย์ทยอยนำสภาพคล่องส่วน
เกินมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงจากร้อยละ
4.90625 และ 5 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 และ 4.96875 ต่อปี ในวันอังคาร ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพ
คล่องตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ลดการลงทุนลง
ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ
4.875 และ 5 ต่อปี ตามลำดับ ในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี
สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.9 - 4.98 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ยังคงปิดตลาดที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ไม่
เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 25,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 13,000
ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี วงเงิน 6,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี วงเงิน 6,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผล
ตอบแทนลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด
26,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 1,000 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 139,304
ล้านบาท หรือคิดเป็น 27,861 ล้านบาทต่อวันลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 23ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมา
ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวลดลง เนื่องจากมีความต้องการลงทุนเข้ามามากขึ้น ในขณะที่พันธบัตรฯ
ระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ตามการปรับขึ้นของ US Treasury Yield ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี
ปรับตัวลดลงเล็กน้อย และพันธบัตรฯ อายุระหว่าง 5 -10 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-6 basis points และพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่ม
ขึ้น 7-12 basis points
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ จากรายงานการประชุมของ Fed ที่แสดงถึงความกังวลต่อภาวะ
เงินเฟ้อ ประกอบกับในช่วงปลายสัปดาห์มีการประกาศตัวเลขยอดค้าปลีก สินค้าคงเหลือ และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น แสดงถึงความแข็งแกร่ง
ของ ศก.สหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนคาดว่าจะยังไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยลงในระยะเวลาอันใกล้นี้ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วง
อายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 8-17 basis points ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย. 49 37.38
เฉลี่ย 2 - 6 ต.ค. 49 37.54
9 ต.ค. 49 37.52
10 ต.ค. 49 37.48
11 ต.ค. 49 37.42
12 ต.ค. 49 37.47
13 ต.ค. 49 37.42
เฉลี่ย 9 - 13 ต.ค. 49 37.46
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่าง 37.42 - 37.52 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในกรอบที่แข็งค่าขึ้น โดยเงินบาทมีค่าเฉลี่ย
ตลอดสัปดาห์ที่ 37.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับใน
ช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ สวนทางกับค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ โดยเงินบาทได้รับ
ปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติเป็นจำนวนมาก ตลอดจนความต้องการขาย
เงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี โดยถูกกดดันจากข่าวกองทุนเทมาเส็กของ
สิงคโปร์กำลังพิจารณาปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น ก่อนที่เงินบาทจะปรับแข็งค่าขึ้นอีกครั้งในวันศุกร์ตามทิศทางค่าเงินใน
ภูมิภาค ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักตลอดสัปดาห์ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดี
ประกอบกับรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ ในครั้งที่ผ่านมาและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางแสดงความ
กังวลต่อความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารสหรัฐฯ จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-