- สภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นปักษ์ใหม่ ก่อนจะตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้
อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน 7 วัน และ Interbank ปิดตลาดสูงขึ้นกว่าช่วงต้นสัปดาห์เล็กน้อย
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของ พันธบัตรฯ
ไทยปรับตัวลดลง สวนทางกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะกลับมาเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ในกรอบที่อ่อนค่าลงตามทิศทางค่า
เงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี ส่งผลให้นักลงทุนเปลี่ยนการคาดการณ์จากที่เคยคาดว่า Fed อาจ
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงต้นสัปดาห์ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นปักษ์ใหม่ทรงตัวในระดับสูง โดยธนาคารพาณิชย์ทยอยนำสภาพคล่องส่วน
เกินมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ
4.84375 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 4.96875 และ 5 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพ
คล่องในระบบตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่งจากการโอนเงินในระบบ
ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์จึงลดการลงทุนระยะสั้นลง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ที่มีการขาดดุลเคลียริ่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะใน
ตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 และ 5 ต่อปี ตามลำดับ ในช่วงปลาย
สัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.8 - 5.1 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ
4.95 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.96 - 4.97 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน
พันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 34,565 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 17,000
ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยตั๋วเงินคลังมีอัตราผล
ตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนพันธบัตร ธปท. และพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลง นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการรถไฟแห่งประเทศไทย
อายุ 10 ปี วงเงิน 1,565 ล้านบาท และพันธบัตรการไฟฟ้านครหลวง อายุ 12 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาค
รัฐครบกำหนด 27,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 7,565 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 231,182 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนค่อนข้างมาก แต่เป็นธุรกรรม
Outright เพียงร้อยละ 38 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะธุรกรรม Outright มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13 ตราสารหนี้ที่มี
มูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ เนื่องจากมีแรงขาย
พันธบัตรฯ เพื่อทำกำไร ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 1-8 basis points ดัชนีราคา (Clean
price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 33 และ 22 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวลดลงในวันจันทร์ จากนั้นปรับตัวสูงขึ้น จากตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สูงขึ้น และยอดขายบ้าน
ใหม่เดือนสิงหาคม และในวันศุกร์ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่ปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี ทำให้นักลงทุนเกรงว่า Fed อาจจะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยอีกถ้าได้รับแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-7 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย. 49 37.38
เฉลี่ย 18 - 22 ก.ย. 49 37.37
25 ก.ย. 49 37.36
26 ก.ย. 49 37.45
27 ก.ย. 49 37.47
28 ก.ย. 49 37.49
29 ก.ย. 49 37.49
เฉลี่ย 25 - 29 ก.ย. 49 37.45
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาท
ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับแข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคและเป็นการปรับตัวเข้าสู่ระดับที่มีเสถียรภาพหลังจากเกิด
เหตุการณ์ยึดอำนาจการปกครอง อย่างไรก็ตาม เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ในกรอบที่อ่อนค่าลงในวันทำการที่เหลือของสัปดาห์ตามค่าเงินภูมิภาค
โดยเฉพาะเงินเยน ตลอดจนปัจจัยลบภายในประเทศจากการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่า
ขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดค่อนข้างมาก ส่งผลให้นัก
ลงทุนปรับเปลี่ยนการคาดการณ์จากที่เคยคาดในช่วงก่อนหน้าว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ลง และทำให้
นักลงทุนมีความต้องการซื้อคืนเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรระยะสั้นและปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน 7 วัน และ Interbank ปิดตลาดสูงขึ้นกว่าช่วงต้นสัปดาห์เล็กน้อย
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของ พันธบัตรฯ
ไทยปรับตัวลดลง สวนทางกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะกลับมาเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ในกรอบที่อ่อนค่าลงตามทิศทางค่า
เงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี ส่งผลให้นักลงทุนเปลี่ยนการคาดการณ์จากที่เคยคาดว่า Fed อาจ
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงต้นสัปดาห์ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นปักษ์ใหม่ทรงตัวในระดับสูง โดยธนาคารพาณิชย์ทยอยนำสภาพคล่องส่วน
เกินมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ
4.84375 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 4.96875 และ 5 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพ
คล่องในระบบตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่งจากการโอนเงินในระบบ
ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์จึงลดการลงทุนระยะสั้นลง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ที่มีการขาดดุลเคลียริ่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะใน
ตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 และ 5 ต่อปี ตามลำดับ ในช่วงปลาย
สัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.8 - 5.1 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ
4.95 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.96 - 4.97 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน
พันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 34,565 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 17,000
ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยตั๋วเงินคลังมีอัตราผล
ตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนพันธบัตร ธปท. และพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลง นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการรถไฟแห่งประเทศไทย
อายุ 10 ปี วงเงิน 1,565 ล้านบาท และพันธบัตรการไฟฟ้านครหลวง อายุ 12 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาค
รัฐครบกำหนด 27,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 7,565 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 231,182 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนค่อนข้างมาก แต่เป็นธุรกรรม
Outright เพียงร้อยละ 38 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะธุรกรรม Outright มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13 ตราสารหนี้ที่มี
มูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ เนื่องจากมีแรงขาย
พันธบัตรฯ เพื่อทำกำไร ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 1-8 basis points ดัชนีราคา (Clean
price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 33 และ 22 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวลดลงในวันจันทร์ จากนั้นปรับตัวสูงขึ้น จากตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สูงขึ้น และยอดขายบ้าน
ใหม่เดือนสิงหาคม และในวันศุกร์ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่ปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี ทำให้นักลงทุนเกรงว่า Fed อาจจะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยอีกถ้าได้รับแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-7 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย. 49 37.38
เฉลี่ย 18 - 22 ก.ย. 49 37.37
25 ก.ย. 49 37.36
26 ก.ย. 49 37.45
27 ก.ย. 49 37.47
28 ก.ย. 49 37.49
29 ก.ย. 49 37.49
เฉลี่ย 25 - 29 ก.ย. 49 37.45
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาท
ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับแข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคและเป็นการปรับตัวเข้าสู่ระดับที่มีเสถียรภาพหลังจากเกิด
เหตุการณ์ยึดอำนาจการปกครอง อย่างไรก็ตาม เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ในกรอบที่อ่อนค่าลงในวันทำการที่เหลือของสัปดาห์ตามค่าเงินภูมิภาค
โดยเฉพาะเงินเยน ตลอดจนปัจจัยลบภายในประเทศจากการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่า
ขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดค่อนข้างมาก ส่งผลให้นัก
ลงทุนปรับเปลี่ยนการคาดการณ์จากที่เคยคาดในช่วงก่อนหน้าว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ลง และทำให้
นักลงทุนมีความต้องการซื้อคืนเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรระยะสั้นและปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-