- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าอัตรา
ดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสมทั้งต่อเสถียรภาพและการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
- สภาพคล่องทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี ในวันศุกร์ ขณะที่อัตรา
ดอกเบี้ย R/P 7 วัน 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯไทย
อายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับ US Treasury Yield
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับและปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 9 ปี ที่ 35.18 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ แม้ว่าเงินสกุลภูมิภาคและ
เงินเยนจะอ่อนค่าลง และ ธปท. จะมีการแทรกแซงค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 13 ธันวาคม ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 5.0 ต่อ
ปี โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันยังมีความเหมาะสมต่อต่อเสถียรภาพและภาวะเศรษฐกิจไทย โดยมองว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย
ไทยและต่างประเทศไม่มีนัยต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน นอกจากนี้ ยังเห็นควรให้ใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายแทนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ตั้งแต่การประชุมครั้งต่อไปในปี 2550 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายการเงินและนำไปสู่กรอบ
การดำเนินนโยบายที่โปร่งใส
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องบางส่วนทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบหลังจากผ่านพ้นช่วง
วันหยุดต่อเนื่อง โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่มีการสำรองไว้สูงในช่วงก่อนหน้าและสภาพคล่องจากการเป็นตัวแทนในการเรียก
เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย มาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลง
อย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 4.90625 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี ในวันศุกร์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ
7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 4.96875 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้น
มาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5 - 5.0 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 50,500 ล้านบาท โดยเป็น พันธบัตร ธปท. อายุ 9 วัน 12 วัน และ 2 ปี
วงเงินรวม 44,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี และ 20 ปี วงเงินรวม 6,500 ล้านบาท ส่วนตั๋วเงินคลังได้ประมูลไปเมื่อสัปดาห์ก่อน
เนื่องจากในวันจันทร์ที่ผ่านมาเป็นวันหยุดราชการ ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลง
เล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 61,364 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 10,864 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 180,090 ล้านบาท หรือคิดเป็น 45,022 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 7 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 64 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์
ก่อน โดยปรับตัวสูงขึ้นมากในวันศุกร์หลังจาก ธปท. เปิดเผยว่าจะมีการออกพันธบัตร ธปท. เพิ่มเติม เพื่อใช้ในการรักษาเสถียรภาพของเงินบาท ซึ่ง
ทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุน ส่วนการที่ ธปท.คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมนั้นไม่มีผลต่อตลาดมากนัก เพราะเป็นสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนแล้ว
อัตราผลตอบแทน ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-6 basis points ส่วนพันธบัตรอายุต่ำกว่า
2 ปี อัตราผลตอบแทนไม่เปลี่ยนแปลงและลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวลดลง 22 และ 5 basis point ตาม
ลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวลดลงในต้นสัปดาห์เนื่องจาก Fed คงอัตราดอกเบี้ยในวันอังคาร ต่อมาในช่วงปลายสัปดาห์อัตรา
ผลตอบแทนได้ปรับตัวสูงขึ้น จากการประกาศตัวเลขยอดค้าปลีกที่ขยายตัวขึ้นในเดือนพฤศจิกายน และผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ลดลงเกินคาด ส่งผลให้
ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 8-16 basis points ในขณะที่พันธบัตรอายุต่ำกว่า 1 ปี มีอัตราผล
ตอบแทนลดลง 3-32 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน พ.ย. 49 36.50
เฉลี่ย 4 - 8 ธ.ค. 49 35.64
12 ธ.ค. 49 35.31
13 ธ.ค. 49 35.24
14 ธ.ค. 49 35.21
15 ธ.ค. 49 35.18
เฉลี่ย 12 - 15 ธ.ค. 49 35.23
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.23 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทมีทิศ
ทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์และปรับแข็งค่าที่สุดนับตั้งแต่มีการปรับลดค่าเงินบาทในปี 2540 ที่ระดับ 35.18 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ โดยเงิน
บาทแข็งค่าขึ้นสวนทางกับค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนที่อ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือน พ.
ย. เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ก่อนที่เงินสกุลภูมิภาคจะกลับมาแข็งค่าอีกครั้งจากเงินทุนไหลเข้าสู่ภูมิภาค ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงของ ธปท.
เปิดเผยว่า ธปท. เตรียมออกมาตรการเพิ่มเติมภายในสิ้นปีนี้ เพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้าเพื่อเก็งกำไรที่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยกำลังพิจารณา
มาตรการเก็บภาษีเงินทุนไหลเข้าบางประเภท และอยู่ระหว่างการติดตามแหล่งที่มาของเงินทุนที่เข้ามาเก็งกำไร ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ.
ถูกกดดันจากคำกล่าวของอดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าเงินดอลลาร์ สรอ. ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีกจากปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ตลอด
จนรายงานหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เน้นถึงความเสี่ยงจากการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสมทั้งต่อเสถียรภาพและการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
- สภาพคล่องทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี ในวันศุกร์ ขณะที่อัตรา
ดอกเบี้ย R/P 7 วัน 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯไทย
อายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับ US Treasury Yield
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับและปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 9 ปี ที่ 35.18 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ แม้ว่าเงินสกุลภูมิภาคและ
เงินเยนจะอ่อนค่าลง และ ธปท. จะมีการแทรกแซงค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 13 ธันวาคม ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 5.0 ต่อ
ปี โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันยังมีความเหมาะสมต่อต่อเสถียรภาพและภาวะเศรษฐกิจไทย โดยมองว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย
ไทยและต่างประเทศไม่มีนัยต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน นอกจากนี้ ยังเห็นควรให้ใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายแทนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ตั้งแต่การประชุมครั้งต่อไปในปี 2550 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายการเงินและนำไปสู่กรอบ
การดำเนินนโยบายที่โปร่งใส
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องบางส่วนทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบหลังจากผ่านพ้นช่วง
วันหยุดต่อเนื่อง โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่มีการสำรองไว้สูงในช่วงก่อนหน้าและสภาพคล่องจากการเป็นตัวแทนในการเรียก
เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย มาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลง
อย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 4.90625 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี ในวันศุกร์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ
7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 4.96875 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้น
มาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5 - 5.0 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 50,500 ล้านบาท โดยเป็น พันธบัตร ธปท. อายุ 9 วัน 12 วัน และ 2 ปี
วงเงินรวม 44,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี และ 20 ปี วงเงินรวม 6,500 ล้านบาท ส่วนตั๋วเงินคลังได้ประมูลไปเมื่อสัปดาห์ก่อน
เนื่องจากในวันจันทร์ที่ผ่านมาเป็นวันหยุดราชการ ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลง
เล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 61,364 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 10,864 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 180,090 ล้านบาท หรือคิดเป็น 45,022 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 7 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 64 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์
ก่อน โดยปรับตัวสูงขึ้นมากในวันศุกร์หลังจาก ธปท. เปิดเผยว่าจะมีการออกพันธบัตร ธปท. เพิ่มเติม เพื่อใช้ในการรักษาเสถียรภาพของเงินบาท ซึ่ง
ทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุน ส่วนการที่ ธปท.คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมนั้นไม่มีผลต่อตลาดมากนัก เพราะเป็นสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนแล้ว
อัตราผลตอบแทน ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-6 basis points ส่วนพันธบัตรอายุต่ำกว่า
2 ปี อัตราผลตอบแทนไม่เปลี่ยนแปลงและลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวลดลง 22 และ 5 basis point ตาม
ลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวลดลงในต้นสัปดาห์เนื่องจาก Fed คงอัตราดอกเบี้ยในวันอังคาร ต่อมาในช่วงปลายสัปดาห์อัตรา
ผลตอบแทนได้ปรับตัวสูงขึ้น จากการประกาศตัวเลขยอดค้าปลีกที่ขยายตัวขึ้นในเดือนพฤศจิกายน และผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ลดลงเกินคาด ส่งผลให้
ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 8-16 basis points ในขณะที่พันธบัตรอายุต่ำกว่า 1 ปี มีอัตราผล
ตอบแทนลดลง 3-32 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน พ.ย. 49 36.50
เฉลี่ย 4 - 8 ธ.ค. 49 35.64
12 ธ.ค. 49 35.31
13 ธ.ค. 49 35.24
14 ธ.ค. 49 35.21
15 ธ.ค. 49 35.18
เฉลี่ย 12 - 15 ธ.ค. 49 35.23
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.23 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทมีทิศ
ทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์และปรับแข็งค่าที่สุดนับตั้งแต่มีการปรับลดค่าเงินบาทในปี 2540 ที่ระดับ 35.18 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ โดยเงิน
บาทแข็งค่าขึ้นสวนทางกับค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนที่อ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือน พ.
ย. เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ก่อนที่เงินสกุลภูมิภาคจะกลับมาแข็งค่าอีกครั้งจากเงินทุนไหลเข้าสู่ภูมิภาค ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงของ ธปท.
เปิดเผยว่า ธปท. เตรียมออกมาตรการเพิ่มเติมภายในสิ้นปีนี้ เพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้าเพื่อเก็งกำไรที่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยกำลังพิจารณา
มาตรการเก็บภาษีเงินทุนไหลเข้าบางประเภท และอยู่ระหว่างการติดตามแหล่งที่มาของเงินทุนที่เข้ามาเก็งกำไร ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ.
ถูกกดดันจากคำกล่าวของอดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าเงินดอลลาร์ สรอ. ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีกจากปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ตลอด
จนรายงานหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เน้นถึงความเสี่ยงจากการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-