- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันยังมีความเหมาะสมทั้งต่อเสถียรภาพและการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
- สภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะตึงตัวขึ้นในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.90625 - 4.9375 และ 4.96875 - 5 ต่อปี ตามลำดับ
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield )ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนลดลง เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับพันธบัตรฯ สหรัฐฯ
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับและปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี ในวันศุกร์ ตามค่าเงินภูมิภาคและเงินเยน และเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาไม่ดีนัก
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 18 ตุลาคม ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 เนื่องจากเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสมต่อต่อเสถียรภาพและภาวะเศรษฐกิจไทย โดยคาดว่าภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีจะขยายตัวในอัตราที่น่าพอใจ เช่นเดียวกับเสถียรภาพเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น จากการปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อ โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงต้นสัปดาห์ทรงตัวในระดับสูง โดยสถาบันการเงินทยอยนำธุรกรรมที่ครบกำหนดมาลงทุน กระจายในตลาดซื้อคืนพันธบัตรทุกระยะ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.96875 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.875 และ 5 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์บางแห่งลดการลงทุนลงเพื่อดำรงเงินสดสำรองให้ได้ตามเกณฑ์เฉลี่ย ขณะที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อชดเชยการขาดดุลเคลียริ่งและเพื่อสำรองเงินสดรองรับการเบิกถอนของลูกค้าในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.90625 - 4.9375 และ 4.96875 - 5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.75 - 5 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดที่ร้อยละ 4.95 - 4.96 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 67,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน อายุ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 และ 11 วัน วงเงิน 32,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 14 ปี 6 เดือน วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วสัญญาใช้เงิน และพันธบัตร ธปท. มีอัตราผลตอบแทนลดลง ตามความต้องการของนักลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้นมาก นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการเคหะแห่งชาติ อายุ 6 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 38,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 29,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 155,406 ล้านบาท หรือคิดเป็น 31,081 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง จากความต้องการลงทุนที่มีเข้ามามากขึ้น ส่วนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลง 3-9 basis points สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลงในต้นสัปดาห์ จากแรงซื้อพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติ และการปรับลดลงของอัตราเงินเฟ้อทั้งทางด้านผู้ผลิตและผู้บริโภค ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้นในวันศุกร์จากการลดลงของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-7 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 5 ปี ปรับตัวลดลง 1-3 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย. 49 37.38
เฉลี่ย 9 - 13 ต.ค. 49 37.46
16 ต.ค. 49 37.40
17 ต.ค. 49 37.37
18 ต.ค. 49 37.30
19 ต.ค. 49 37.33
20 ต.ค. 49 37.22
เฉลี่ย 16 - 20 ต.ค. 49 37.32
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.32 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ตลอดสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดทำสถิติรอบใหม่ในรอบ 6 ปี ที่ระดับ 37.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็งค่าของเงินภูมิภาค โดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับแข็งค่าขึ้นจากข่าวธนาคารกลางรัสเซียปรับพอร์ตเงินตราต่างประเทศในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของตนโดยมีความต้องการซื้อเงินเยนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยบวกจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทย และการปรับตัวดีขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติกว่า 6 พันล้านบาทตลอดสัปดาห์ ตลอดจนเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเข้าลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ทั้งนี้ การตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ไม่ส่งผลต่อค่าเงินบาทมากนักเพราะนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้แล้ว ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ บางตัวออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ขณะที่เงินยูโรได้รับปัจจัยบวกจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในเดือนธันวาคม
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- สภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะตึงตัวขึ้นในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.90625 - 4.9375 และ 4.96875 - 5 ต่อปี ตามลำดับ
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield )ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนลดลง เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับพันธบัตรฯ สหรัฐฯ
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับและปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี ในวันศุกร์ ตามค่าเงินภูมิภาคและเงินเยน และเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาไม่ดีนัก
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 18 ตุลาคม ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 เนื่องจากเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสมต่อต่อเสถียรภาพและภาวะเศรษฐกิจไทย โดยคาดว่าภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีจะขยายตัวในอัตราที่น่าพอใจ เช่นเดียวกับเสถียรภาพเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น จากการปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อ โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงต้นสัปดาห์ทรงตัวในระดับสูง โดยสถาบันการเงินทยอยนำธุรกรรมที่ครบกำหนดมาลงทุน กระจายในตลาดซื้อคืนพันธบัตรทุกระยะ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.96875 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.875 และ 5 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์บางแห่งลดการลงทุนลงเพื่อดำรงเงินสดสำรองให้ได้ตามเกณฑ์เฉลี่ย ขณะที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อชดเชยการขาดดุลเคลียริ่งและเพื่อสำรองเงินสดรองรับการเบิกถอนของลูกค้าในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.90625 - 4.9375 และ 4.96875 - 5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.75 - 5 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดที่ร้อยละ 4.95 - 4.96 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 67,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน อายุ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 และ 11 วัน วงเงิน 32,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 14 ปี 6 เดือน วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วสัญญาใช้เงิน และพันธบัตร ธปท. มีอัตราผลตอบแทนลดลง ตามความต้องการของนักลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้นมาก นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการเคหะแห่งชาติ อายุ 6 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 38,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 29,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 155,406 ล้านบาท หรือคิดเป็น 31,081 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง จากความต้องการลงทุนที่มีเข้ามามากขึ้น ส่วนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลง 3-9 basis points สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลงในต้นสัปดาห์ จากแรงซื้อพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติ และการปรับลดลงของอัตราเงินเฟ้อทั้งทางด้านผู้ผลิตและผู้บริโภค ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้นในวันศุกร์จากการลดลงของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-7 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 5 ปี ปรับตัวลดลง 1-3 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย. 49 37.38
เฉลี่ย 9 - 13 ต.ค. 49 37.46
16 ต.ค. 49 37.40
17 ต.ค. 49 37.37
18 ต.ค. 49 37.30
19 ต.ค. 49 37.33
20 ต.ค. 49 37.22
เฉลี่ย 16 - 20 ต.ค. 49 37.32
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.32 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ตลอดสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดทำสถิติรอบใหม่ในรอบ 6 ปี ที่ระดับ 37.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็งค่าของเงินภูมิภาค โดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับแข็งค่าขึ้นจากข่าวธนาคารกลางรัสเซียปรับพอร์ตเงินตราต่างประเทศในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของตนโดยมีความต้องการซื้อเงินเยนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยบวกจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทย และการปรับตัวดีขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติกว่า 6 พันล้านบาทตลอดสัปดาห์ ตลอดจนเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเข้าลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ทั้งนี้ การตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ไม่ส่งผลต่อค่าเงินบาทมากนักเพราะนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้แล้ว ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ บางตัวออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ขณะที่เงินยูโรได้รับปัจจัยบวกจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในเดือนธันวาคม
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-