-สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ก่อนจะกลับมาปิดตลาดในอัตราเดิมในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มสูงขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทยมีทิศทางปรับตัวลดลง ในขณะที่พันธบัตรฯ สหรัฐฯอายุต่ำกว่า 6 เดือน และมากกว่า 7 ปี ปรับตัวสูงขึ้น
-เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ตามการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคหลังจากมีแรงกดดันให้ทางการจีนปรับขึ้นค่าเงินหยวนอีกครั้ง และมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในภูมิภาคเป็นจำนวนมาก ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในขณะนี้ใกล้จะอยู่ในระดับสูงสุดแล้ว
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการลงทุนลดลงเนื่องจาก
สภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่งหลังจากบริษัทแห่งหนึ่งมีการจ่ายเงินปันผล ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการสำรองเงินเผื่อการ
เบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดต่อเนื่องปลายสัปดาห์ จึงมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ
7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.625 และ 4.6875 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.65625 และ 4.71875 ต่อปี ในช่วงกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงปลายสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากสำรองเงินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงมาอยู่ระดับเดียวกับ ณ ช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.78125 ต่อปี ในวันพุธและวันศุกร์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.25 - 4.75 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดที่ร้อยละ 4.63 ต่อปี ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 4.67 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 48,500 ล้านบาท โดยเป็นการประมูลตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 29,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ อายุ 182 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 12,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 15 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตั๋วเงินคลังและตั๋วสัญญาใช้เงินที่ประมูลช่วงต้นสัปดาห์ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ส่วนพันธบัตร ธปท. พันธบัตรรัฐบาล รวมถึงตั๋วเงินคลังรุ่นที่ประมูลในปลายสัปดาห์มีอัตราผลตอบแทนลดลง และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 52,940 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นพันธบัตร FIDF2 รุ่นสุดท้ายจำนวน 20,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 4,440 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 199,309 ล้านบาท คิดเป็น 39,862 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 57.6 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 47 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. ในสัปดาห์นี้อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับตัวลดลงตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอาจจะเข้าใกล้ระดับสูงสุดแล้ว และมีแรงซื้อพันธบตัรรัฐบาลเข้ามามากทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 9-24 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 100 และ 13 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลงในระหว่างสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรระยะสั้นอายุต่ำกว่า 6 เดือน และมากกว่า 7 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1-7 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือน - 7 ปี อัตราผลตอบแทนปรับลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน เม.ย. 49 37.94
เฉลี่ย 17 - 21 เม.ย. 49 37.80
24 เม.ย. 49 37.62
25 เม.ย. 49 37.52
26 เม.ย. 49 37.66
27 เม.ย. 49 37.57
28 เม.ย. 49 37.47
เฉลี่ย 24 - 28 เม.ย. 49 37.57
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.57 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.6 โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ตามการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคและเงินเยน หลังจากที่มีแรงกดดันให้ทางการจีนปรับขึ้นค่าเงินหยวนอีกครั้งระหว่างการประชุมของประเทศกลุ่ม G-7 อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่กังวลว่า ธปท. อาจเข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ประกอบกับ ธปท. มีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของปี 2549 ลงจากร้อยละ 4.75 - 5.75 เหลือร้อยละ 4.25 - 5.25 สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นอีกครั้งตามค่าเงินใน
ภูมิภาค เนื่องจากยังคงมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคค่อนข้างมากรวมทั้งประเทศไทย ทั้งการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือใน
รูปแบบอื่นๆ เช่น เงินฝาก การปล่อยกู้ หรือการลงทุนในพันธบัตร ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ ธปท. เปิดเผยว่าเงินทุนไหลเข้าดังกล่าวส่วนใหญ่เป็น
เงินทุนระยะสั้น ซึ่งอาจสร้างความผันผวนให้กับค่าเงินบาทได้พอสมควร แต่ยังไม่มีสัญญาณการเก็งกำไรอย่างชัดเจนในขณะนี้ ในขณะเดียวกัน เงิน
ดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักตลอดสัปดาห์ แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ จะออกมาดี โดยเงินดอลลาร์
สรอ. ยังคงถูกกดดันจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในขณะนี้ใกล้จะอยู่ในระดับสูงสุดแล้ว ตลอดจนข่าวการปรับลด
ทรัพย์สินสกุลดอลลาร์ สรอ. ในพอร์ตเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางในบางประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มสูงขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทยมีทิศทางปรับตัวลดลง ในขณะที่พันธบัตรฯ สหรัฐฯอายุต่ำกว่า 6 เดือน และมากกว่า 7 ปี ปรับตัวสูงขึ้น
-เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ตามการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคหลังจากมีแรงกดดันให้ทางการจีนปรับขึ้นค่าเงินหยวนอีกครั้ง และมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในภูมิภาคเป็นจำนวนมาก ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในขณะนี้ใกล้จะอยู่ในระดับสูงสุดแล้ว
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการลงทุนลดลงเนื่องจาก
สภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่งหลังจากบริษัทแห่งหนึ่งมีการจ่ายเงินปันผล ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการสำรองเงินเผื่อการ
เบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดต่อเนื่องปลายสัปดาห์ จึงมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ
7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.625 และ 4.6875 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.65625 และ 4.71875 ต่อปี ในช่วงกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงปลายสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากสำรองเงินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงมาอยู่ระดับเดียวกับ ณ ช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.78125 ต่อปี ในวันพุธและวันศุกร์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.25 - 4.75 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดที่ร้อยละ 4.63 ต่อปี ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 4.67 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 48,500 ล้านบาท โดยเป็นการประมูลตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 29,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ อายุ 182 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 12,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 15 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตั๋วเงินคลังและตั๋วสัญญาใช้เงินที่ประมูลช่วงต้นสัปดาห์ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ส่วนพันธบัตร ธปท. พันธบัตรรัฐบาล รวมถึงตั๋วเงินคลังรุ่นที่ประมูลในปลายสัปดาห์มีอัตราผลตอบแทนลดลง และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 52,940 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นพันธบัตร FIDF2 รุ่นสุดท้ายจำนวน 20,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 4,440 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 199,309 ล้านบาท คิดเป็น 39,862 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 57.6 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 47 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. ในสัปดาห์นี้อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับตัวลดลงตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอาจจะเข้าใกล้ระดับสูงสุดแล้ว และมีแรงซื้อพันธบตัรรัฐบาลเข้ามามากทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 9-24 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 100 และ 13 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลงในระหว่างสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรระยะสั้นอายุต่ำกว่า 6 เดือน และมากกว่า 7 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1-7 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือน - 7 ปี อัตราผลตอบแทนปรับลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน เม.ย. 49 37.94
เฉลี่ย 17 - 21 เม.ย. 49 37.80
24 เม.ย. 49 37.62
25 เม.ย. 49 37.52
26 เม.ย. 49 37.66
27 เม.ย. 49 37.57
28 เม.ย. 49 37.47
เฉลี่ย 24 - 28 เม.ย. 49 37.57
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.57 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.6 โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ตามการแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคและเงินเยน หลังจากที่มีแรงกดดันให้ทางการจีนปรับขึ้นค่าเงินหยวนอีกครั้งระหว่างการประชุมของประเทศกลุ่ม G-7 อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่กังวลว่า ธปท. อาจเข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ประกอบกับ ธปท. มีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของปี 2549 ลงจากร้อยละ 4.75 - 5.75 เหลือร้อยละ 4.25 - 5.25 สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นอีกครั้งตามค่าเงินใน
ภูมิภาค เนื่องจากยังคงมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคค่อนข้างมากรวมทั้งประเทศไทย ทั้งการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือใน
รูปแบบอื่นๆ เช่น เงินฝาก การปล่อยกู้ หรือการลงทุนในพันธบัตร ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ ธปท. เปิดเผยว่าเงินทุนไหลเข้าดังกล่าวส่วนใหญ่เป็น
เงินทุนระยะสั้น ซึ่งอาจสร้างความผันผวนให้กับค่าเงินบาทได้พอสมควร แต่ยังไม่มีสัญญาณการเก็งกำไรอย่างชัดเจนในขณะนี้ ในขณะเดียวกัน เงิน
ดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักตลอดสัปดาห์ แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ จะออกมาดี โดยเงินดอลลาร์
สรอ. ยังคงถูกกดดันจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในขณะนี้ใกล้จะอยู่ในระดับสูงสุดแล้ว ตลอดจนข่าวการปรับลด
ทรัพย์สินสกุลดอลลาร์ สรอ. ในพอร์ตเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางในบางประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-